For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for เพลงชาติ.

เพลงชาติ

มุมมองและกรณีตัวอย่างในบทความนี้อาจไม่ได้แสดงถึงมุมมองที่เป็นสากลของเรื่อง คุณสามารถช่วยแก้ไขบทความนี้ โดยเพิ่มมุมมองสากลให้มากขึ้น หรือแยกประเด็นย่อยไปสร้างเป็นบทความใหม่ (เมษายน 2022) (เรียนรู้ว่าจะนำสารแม่แบบนี้ออกได้อย่างไรและเมื่อไร)
ภาพยนตร์หรือวีดิทัศน์ประกอบเพลงชาติ มักมีการใช้ภาพประกอบเพลงที่แสดงถึงความฮึกเหิมและปลุกใจให้รักชาติ (ตัวอย่างในที่นี้ เป็นภาพยนตร์เพลงชาติสหรัฐ สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2487)

เพลงชาติ (อังกฤษ: national anthem) หมายถึง บทเพลงที่ประพันธ์ขึ้น เพื่อปลุกเร้าให้หวนระลึกถึงหรือสรรเสริญประวัติศาสตร์ชาติ ขนบธรรมเนียมประเพณีของชาติ หรือการต่อสู้ของชนในชาติ โดยได้รับการยอมรับจากรัฐบาลของชาตินั้น ๆ อย่างเป็นทางการ หรือความตกลงใจร่วมกันของประชาชนในชาติว่า เพลงดังกล่าวเป็นเพลงประจำชาติของตน

ในหนังสือ "เพลงชาติ" โดย สุกรี เจริญสุข ได้กล่าวถึงความหมายของเพลงชาติไว้ 4 ประการ คือ

  1. เพลงชาติสามารถแสดงถึงความเป็นชาติของประชาชนในชาตินั้น ๆ ได้
  2. เพลงชาติสามารถแสดงถึงฐานะทางการเมืองว่า เป็นประเทศที่มีเอกราช ไม่ขึ้นแก่ใคร
  3. เพลงชาติเป็นสัญลักษณ์หรือเครื่องหมายประจำชาติ
  4. เพลงชาติเป็นกลิ่นไอทางศิลปวัฒนธรรมของประชาชนในกลุ่มชนชาตินั้น ๆ [1]

การเกิดของเพลงชาติ

[แก้]

เพลงชาติมีที่มาได้ 3 ลักษณะ ดังนี้[1]

  1. เพลงชาติเกิดจากเพลงที่ประชาชนนิยม: เพลงชาติประเภทนี้เกิดจากเพลงที่คนนิยมร้องทั่วไปไปในทุกโอกาส เป็นเพลงที่ประชาชนมีความศรัทธานิยมชมชอบ เช่น เพลงก็อดเซฟเดอะคิง (God Save The King) ของสหราชอาณาจักร เพลง ลันด์เดอร์แบร์เกอ ลันด์อัมชโตรเมอ ของประเทศออสเตรีย เป็นต้น
  2. เพลงชาติเกิดจากความกดดันทางการเมือง : โดยเหตุที่เพลงเป็นเครื่องมือประกอบกิจกรรมทางการเมืองมาตลอด เพลงชาติประเภทนี้จึงเกิดขึ้นจากการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงทางการปกครองและการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม เช่น เพลงลามาร์แซแยส (ฝรั่งเศส: La Marseillaise) ของประเทศฝรั่งเศส เพลงชาติไทยของประเทศไทย ฯลฯ
  3. เพลงชาติที่เกิดขึ้นโดยลัทธิชาตินิยม : เพลงชาติประเภทนี้เริ่มเกิดขึ้นในยุคโรแมนติก โดยคีตกวีชาวรัสเซียชื่อ ไมเคิล อิแวนโนวิช กลินกา ได้ประพันธ์เพลงเกี่ยวกับการต่อสู้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคืออุปรากรเรื่อง "A Life for the Tsar"[a] เพื่อปลุกเร้าให้ชาวรัสเซียเกิดความรักชาติ บทเพลงเหล่านี้ได้กระตุ้นให้กลุ่มคนต่าง ๆ เกิดความคิดชาตินิยมที่จะใช้เพลงชาติเป็นเครื่องหมายแบ่งแยกดินแดน ศาสนา เชื้อชาติ และผลประโยชน์ออกจากกัน แนวคิดดังกล่าวนี้ได้แผ่ขยายไปยังยังกลุ่มเชื้อชาติต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง และเกิดบทเพลงปลุกเร้าให้เกิดความรักชาติขึ้นจำนวนมากจากคีตกวีต่าง ๆ ทั้งนี้ งานเพลงหลายชิ้นไม่ได้เป็นเพลงชาติโดยตรง แต่ก็กระตุ้นให้เกิดความคิดรักชาติตามลัทธิชาตินิยม และทำให้กลุ่มนักการปกครองทั้งหลายสนใจที่จะมีเพลงประจำชาติเฉพาะขึ้นมา

การใช้

[แก้]
ก่อนการแข่งขันกีฬานานาชาติจะมีการบรรเลงเพลงชาติเสมอ โดยธรรมเนียมปฏิบัติ ผู้เข้าชมกีฬาจะยืนตรง เพื่อแสดงความเคารพต่อเพลงชาติ (ในภาพ เป็นการเคารพเพลงชาติ ในการแข่งรถที่ทะเลสาบเจนีวา (Lake Geneva Raceway) สหรัฐ)
ในกรณีของประเทศไทย จะมีการบรรเลงเพลงชาติเป็นสัญญาณเทียบเวลาและสัญญาณการเชิญธงชาติขึ้นสู่ยอดเสาในเวลา 8.00 น. และเชิญธงลงในเวลา 18.00 น. เป็นประจำทุกวัน (ในภาพ เป็นการเชิญธงชาติประจำวันในเวลาเย็น ที่กองบังคับการกองพลที่ 1 รักษาพระองค์ กรุงเทพฯ)
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้

เพลงชาติถูกนำไปใช้ในบริบทต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง โดยมักมีการนำไปบรรเลงในวันหยุดและเทศกาลสำคัญของชาติ และมีความสัมพันธ์กับการจัดกิจกรรมกีฬาอย่างใกล้ชิด ในการแข่งขันกีฬาอย่างเช่นกีฬาโอลิมปิกนั้น จะมีการบรรเลงเพลงชาติเป็นเกียรติแก่ผู้ที่ชนะเลิศและได้รับเหรียญทองในพิธีมอบเหรียญรางวัล และยังใช้บรรเลงก่อนเริ่มการแข่งขันกีฬาด้วย ซึ่งธรรมเนียมดังกล่าวนี้เริ่มมีขึ้นในการแข่งขันเบสบอลในสหรัฐช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2[2] สำหรับในประเทศอื่น ๆ การใช้เพลงชาตินั้นขึ้นอยู่กับการยอมรับสถานะความเป็นรัฐชาติต่อประเทศนั้น ๆ ด้วย เช่น ในกรณีของไต้หวัน (สาธารณรัฐจีน) คณะกรรมการโอลิมปิกสากลไม่ได้ยอมรับว่าไต้หวันมีสถานะเป็นรัฐชาติที่มีเอกราชเป็นของตนเอง และต้องใช้ชื่อประเทศในแข่งขันกีฬาว่า "จีนไทเป" ไต้หวันจึงต้องใช้เพลงธงชาติ (จีนตัวย่อ: 国旗歌; จีนตัวเต็ม: 國旗歌; พินอิน: gúoqígē กั๋วฉีเกอ; อังกฤษ: National Banner Song) เป็นเพลงสำหรับไต้หวันในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก เป็นต้น[b][3]

ในบางประเทศก็มีการบรรเลงและขับร้องเพลงชาติก่อนเข้าเรียน เพื่อเป็นเครื่องฝึกหัดให้เด็กเกิดความคิดรักชาติ หลายประเทศก็มีความนิยมในการบรรเลงเพลงชาติก่อนการเล่นหรือแสดงมหรสพต่าง ๆ อันรวมถึงการฉายภาพยนตร์[ต้องการอ้างอิง] สถานีวิทยุและสถานีโทรทัศน์หลายแห่งก็ใช้เพลงชาติเป็นเครื่องบอกสัญญาณการเปิดและปิดสถานีในแต่ละวัน[ต้องการอ้างอิง] กรณีดังกล่าวนี้สำหรับประเทศไทย จะนิยมบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมีก่อนการเริ่มมหรสพหรือการฉายภาพยนตร์ และเป็นสัญญาณบอกการเปิดหรือปิดสถานีวิทยุและโทรทัศน์ ส่วนเพลงชาตินอกจากจะบรรเลงเพื่อการเคารพธงชาติในเวลา 8.00 น. และ 18.00 น. แล้ว ยังใช้เป็นสัญญาณบอกการเปิดสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยด้วย[c]

เนื้อร้อง

[แก้]

โดยทั่วไปแล้ว เพลงชาติของเกือบทุกประเทศย่อมมีเนื้อร้องประกอบทำนองอยู่เสมอ ยกเว้นในบางประเทศที่ไม่มีการใช้เนื้อร้องฉบับราชการ เช่น บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา สเปน ซานมาริโน เป็นต้น[4] ในจำนวนของเพลงชาติที่มีเนื้อร้องประกอบนั้น มีอยู่จำนวนหนึ่งซึ่งน้อยมากที่เป็นผลงานของนักเขียนรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม ดังนี้

เพลงประจำชาติ

[แก้]

สุกรี เจริญสุข ได้กล่าวถึงเพลงประจำชาติไว้ในหนังสือ "เพลงชาติ" ของตนว่า[1]

...ยังมีเพลงชาติอีกประเภทหนึ่งที่ทำหน้าที่แสดงถึงความเป็นชาติทางด้านศิลปวัฒนธรรม เป็นเพลงประจำชาติ นิยมร้องในหมู่ประชาชนทั่วไปทุกโอกาส เป็นเพลงที่แสดงถึงเอกลักษณ์ประจำชาติโดยอาศัยบันไดเสียง สำเนียงเพลง ทำนอง กระสวนจังหวะที่ใช้ และความหมายของเพลง ทั้งนี้เพลงประจำชาติดังกล่าวไม่ได้เป็นเพลงชาติของทางราชการแต่อย่างใด เช่น เพลงบุหรงกาก๊ะของมาเลเซีย เพลงอารีรังของเกาหลี เพลงซากุระของญี่ปุ่น เพลงโอซูซานาของสหรัฐ เป็นต้น

ดูเพิ่ม

[แก้]

หมายเหตุ

[แก้]
  1. ประพันธ์ขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1836
  2. เพลงชาติของไต้หวันมีชื่อเรียกในภาษาจีนว่า "จงหัวหมินกั๋วกั๋วเกอ" (จีนตัวย่อ: 中华民国国歌; จีนตัวเต็ม: 中華民國國歌; พินอิน: Zhōnghuá Míngúo gúogē) แปลว่า เพลงชาติสาธารณรัฐจีน เพลงนี้บางครั้งเรียกชื่อว่า "ซานหมินจูอี้" แปลว่า หลักลัทธิไตรราษฎร์ อันเป็นหลักการของซุนยัตเซ็น ผู้ก่อตั้งสาธารณรัฐจีน และผู้ก่อตั้งพรรคก๊กมินตั๋ง
  3. สามารถรับฟังตัวอย่างเสียงสัญญาณเปิดสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยที่มีการบันทึกไว้ได้ที่ INTERVAL SIGNALS ONLINE

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 สุกรี เจริญสุข. เพลงชาติ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: เรือนแก้วการพิมพ์, 2532.
  2. Musical traditions in sports.
  3. Yomiuri Shimbun Foul cried over Taiwan anthem at hoop tourney เก็บถาวร 2013-05-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Published August 6, 2007
  4. Associated Press Spain's national anthem to get words. Written by Harold Heckle. Published June 26, 2007.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
เพลงชาติ
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?