For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for ใบเมี่ยง.

ใบเมี่ยง

ใบเมี่ยง
ใบเมี่ยงหรือละแพะที่ขายในมัณฑะเลย์
ชื่ออื่นละแพะ
แหล่งกำเนิด พม่า
ส่วนผสมหลักใบชาหมัก

น้ำมัน

เกลือ

ใบเมี่ยง หรือ ละแพะ (พม่า: လက်ဖက်, เอ็มแอลซีทีเอส: lak hpak) เป็นอาหารพม่าและอาหารไทยภาคเหนือชนิดหนึ่งทำจากใบชา โดยนำใบชาไปนึ่ง นำมาม้วนและบรรจุลงตะกร้าไม้ไผ่ ปล่อยให้เกิดการหมัก จะได้ใบชาหมักหรือละแพะ ที่ทางภาคเหนือของไทยเรียก ใบเมี่ยง

ต้นเมี่ยง

ต้นเมี่ยงหรือต้นชาเป็นพืชพื้นเมืองในพม่า พบในบังกลาเทศ อินเดียตะวันออกเฉียงเหนือ ลาว และจีน พบทั้ง Camellia sinensis และ Camellia assamicaและปลูกมาทางเขตหุบเขาในรัฐชานและนำซันในเขตของชาวปะหล่อง และยังปลูกในมัณฑะเลย์ เชียงตุง และรัฐชานตอนใต้ด้วย โดยเก็บใบในช่วงเมษายนและพฤษภาคมจนถึงตุลาคม[1][2]

ละแพะในพม่า

การรับประทานละแพะของพม่ามีหลายแบบ เช่นจัดเป็นชุดใส่ถาดเรียก "ละแพะโอะ" ถาดนี้จะมีช่องสำหรับใส่ใบชาหมักและเครื่องเคียงต่าง ๆ เช่น ถั่วแปยี ถั่วหัวช้าง ถั่วปากอ้า ถั่วลิสง กุ้งแห้งทอด กระเทียม ขิงดอง มะพร้าวคั่ว พริกขี้หนู มะเขือเทศ รับประทานคู่กับการดื่มน้ำชา พบมากในรัฐชานและมัณฑะเลย์ การรับประทานอีกอย่างหนึ่งคือนำเครื่องทุกอย่างในละแพะโอะมาเคล้าเข้าด้วยกับในจานเดียว เรียก "ละแพะโตะ" หรือยำใบเมี่ยง[3]

ละแพะยอดนิยมในมัณฑะเลย์
ตลาดขายละแพะในมัณฑะเลย์ เป็นละแพะจากหนั่นซาน

เมี่ยงในภาคเหนือของไทย

ต้นเมี่ยงคือต้นชาพันธุ์อัสสัม การทำเมี่ยงจะเลือกเก็บใบที่มีความสม่ำเสมอ ไม่เก็บยอดอ่อนเหมือนการทำชา เก็บใบที่ไม่อ่อนมาก เมื่อเก็บได้เต็มกำมือจะใช้ตอกมัดรวมไว้เรียกว่า 1 กำ นำเมี่ยงที่เก็บได้มานึ่งในไหเมี่ยงทำจากไม้มะเดื่อหรือไม้เนื้อแข็ง นึ่งให้สุก ใบจะเป็นสีเหลือง นำมาวางเรียงบนเสื่อผิวไม้ไผ่ พอเย็นนำไปเรียงในเข่ง กันไม่ให้อากาศเข้าประมาณ 2–3 วัน แล้วนำไปหมักต่ออีก 1–3 เดือน เมี่ยงจะมีรสเปรี้ยว จากนั้นนำใบเมี่ยงหมักมาจัดเรียงและคัดก้านแข็งออก จัดเรียงลงก๋วยเมี่ยง[4] ในบางท้องที่นำใบเมี่ยงที่นึ่งสุกแล้วนำไปหมักไว้ 2–3 คืน จากนั้นใส่โอ่งดองไว้ 15–30 วัน การดองในโอ่งจะวางใบเมี่ยงเป็นชั้น ๆ ใส่เกลือ ราดน้ำ กดใบเมี่ยงลง แล้วเรียงชั้นต่อไปเรื่อย ๆ ให้เต็ม พอทิ้งไว้ 3–4 วันจะยุบลง จึงใส่ใบเมียดลงไป เพื่อป้องกันไม่ให้อากาศเข้า มิฉะนั้นเมี่ยงจะมีกลิ่นเหม็น

เมี่ยงที่ได้จากการดองนี้เรียกว่าเมี่ยงส้ม นิยมนำไปกินกับเกลือเม็ด ขิง มะขามเปียก กระเทียมดอง หรือกินกับไส้หวานที่ทำจากมะพร้าวคั่ว น้ำตาลทราย เกลือ ถั่วลิสงคั่ว นอกจากนี้ ยังมีเมี่ยงรสฝาด เรียกเมี่ยงฝาด และเมี่ยงที่มีรสเปรี้ยวและฝาด เรียกเมี่ยงส้มฝาด [5]ทางภาคเหนือของไทย เช่น ที่จังหวัดลำปาง จะทำยำใบเมี่ยงทั้งจากใบเมี่ยงสดและใบเมี่ยงหมัก และนำไปผสมในไส้อั่วด้วย[6][7][8]

ในราชสำนักไทยก็มีการรับใบเมี่ยงเข้ามาเป็นเครื่องว่างของเจ้านาย เรียกว่า เมี่ยงลาว เพราะมาจากเมืองเชียงใหม่[9]

ปัญหาสุขภาพ

ละแพะ 1 จานมี 200 แคลอรี ไขมันทั้งหมด 12 กรัม โซเดียม 50 มิลลิกรัม เส้นใยที่รับประทานได้ 4 กรัม โปรตีน 10 กรัม โดยจะต่างไปตามเครื่องปรุงที่ประกอบเช่น กุ้งแห้ง น้ำปลา ถั่วลิสงทอด ปริมาณวิตามินขึ้นกับผักที่รับประทานด้วย เช่น มะเขือเทศ กระเทียม พริกขี้หนู งา หรือผักอื่น ๆ[10][11][12]

ในวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2552 กระทรวงสาธารณสุขของพม่าประกาศว่าละแพะ 43 ยี่ห้อในพม่ารวมทั้งยี่ห้อยอดนิยมมีสีย้อมผ้าชนิด Auramine O ซึ่งทำลายตับ ไตและเป็นสารก่อมะเร็งได้ซึ่งเป็นเพราะสีเหล่านี้ราคาถูกกว่าสีผสมอาหาร[13] สิงคโปร์ได้ห้ามนำเข้าละแพะจากพม่า 20 ยี่ห้อเพราะไม่ปลอดภัย[14]มาเลเซียได้ร่วมคว่ำบาตรด้วยแต่ประเทศไทยไม่ได้เข้าร่วมแม้จะมีประชากรชาวพม่าอาศัยในประเทศจำนวนหนึ่ง[15][16]

ระเบียงภาพ

อ้างอิง

  1. Zin Min. "Pickled tea leaves still a Myanmar favourite". Myanmar Times vol.12 no.221. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-27. สืบค้นเมื่อ 2007-04-09.
  2. "Pickled tea leaves or laphet". Myanmar Travel Information 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-12-12. สืบค้นเมื่อ 2007-04-09.
  3. นันทนา ปรมานุศิษฏ์. โอชาอาเซียน. กทม. มติชน. 2556 หน้า 99–100.
  4. ศรีศักร วัลลิโภดม และ วลัยลักษณ์ ทรงศิริ. นครแพร่ จากอดีตมาปัจจุบัน ภูมินิเวศวัฒนธรรม ระบบความเชื่อ และประวัติศาสตร์ท้องถิ่น. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนงานวิจัย. 2551, หน้า 157–159.
  5. สิริรักษ์ บางสุด และ พลวัฒน์ อารมณ์. โอชะล้านนา. กรุงเทพฯ: แสงแดด. 2558 หน้า 217–218.
  6. "ใบเมี่ยงกินอร่อย หลากหลายสรรพคุณ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-03-16. สืบค้นเมื่อ 2013-12-13.
  7. Sao Tern Moeng (1995). Shan-English Dictionary. ISBN 0-931745-92-6.
  8. Scott, George (1906). Burma. Alexander Moring. p. 265.
  9. เนื่อง นิลรัตน์ ม.ล.. ตำรากับข้าวในวัง ของหม่อมหลวงเนื่อง นิลรัตน์. กรุงเทพฯ : บัวสรวง, 2549, หน้า 16
  10. [1] เก็บถาวร 2015-03-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน myfitnesspal-food, Calories in Burmese Tea Leaf Salad
  11. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2015-10-19.
  12. [2] เก็บถาวร 2011-08-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน kitchencaravan, recipes, Green Tea Leaf Salad (Lephet Thoke)
  13. Min Lwin (April 1, 2009). "Tea Leaves Found to Contain Banned Chemical". The Irrawaddy. สืบค้นเมื่อ 2009-03-19.
  14. Min Lwin (March 19, 2009). "Singapore Bans Imports of Laphet". The Irrawaddy. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-05. สืบค้นเมื่อ 2009-04-01.
  15. Min Lwin (April 2, 2009). "Singapore, Malaysia Ban Burmese Pickled Tea". The Irrawaddy. สืบค้นเมื่อ 2009-04-02.
  16. [3] Amazing Green Tea, Eating green tea - Is It Healthy?

แหล่งข้อมูลอื่น

{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
ใบเมี่ยง
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?