For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for ข้าวแกง.

ข้าวแกง

ข้าวแกง

ข้าวแกง หรือ ข้าวราดแกง อาหารคาวชนิดหนึ่ง ที่เกิดจากการนำกับข้าวประเภทต่างๆ มาราดลงบนข้าวสวย หรืออาจเป็นชุดตั้งโต๊ะ กับข้าวประกอบด้วยแกงเผ็ดและของเคียงแก้เผ็ดเป็นสำคัญ นอกจากแกงเผ็ด ยังมีผัดเผ็ด และอาจมีน้ำพริก ส่วนของเคียงแก้เผ็ด มักเป็นของทอด เช่น ปลาทอด เนื้อทอด กุนเชียงทอด และไข่ทั้งหลาย และผัดต่าง ๆ

ประวัติ

[แก้]

กรุงศรีอยุธยา

[แก้]

ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ที่ตลาดในพระนคร เช่นตลาดท่าขันหน้าวังตรา นอกจากมีสินค้าที่เป็นอาหารสดแล้ว ยังมีสินค้าที่ปรุงสำเร็จรูปแล้วมาจำหน่าย ได้แก่ ข้าวแกง เมี่ยวห่อ มะพร้าวเผา อาหารจีน กล้วยต้ม ปลาทะเลย่าง ปูเค็ม ปลากระเบนย่าง ฯลฯ[1] โดยระบุว่าขายข้าวแกงขายคนราชการ[2]

รัตนโกสินทร์

[แก้]

ในสมัยรัตนโกสินทร์ ช่วงรัชกาลที่ 1–3 แม้การค้าอาหารจะพบได้ทั่วไปทั่วกรุงเทพฯ ทั้งตลาดน้ำและตลาดบก แต่ผู้คนส่วนใหญ่ก็ซื้ออาหารสดเพื่อปรุงอาหารที่บ้าน สันนิษฐานว่าพฤติกรรมการกินข้าวนอกบ้านน่าจะเริ่มต้นในสมัยรัชกาลที่ 4 หลังสนธิสัญญาเบาว์ริง มีการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ มีการขุดคลองผดุงกรุงเกษมรวมถึงตัดถนนสายแรก ผู้คนเริ่มอยู่ตั้งถิ่นฐานอยู่ริมถนน ทำให้ผู้คนเริ่มกินข้าวนอกบ้านมากขึ้น เริ่มจะมีร้านข้าวแกงในแถบพระนครใน[3]

คำว่าข้าวแกง ปรากฏในพระราชหัตถเลขาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 มีความว่า "เดิมกินข้าวไม่ได้ โกรธว่ากับข้าวไม่อร่อยบ่อย ๆ จนครั้งหนึ่งวานให้กรมหมื่นปราบซื้อข้าวแกงมากิน" กล่าวกันว่า ทรงโปรดเสวยข้าวแกงยิ่งนัก จนเมื่อเสด็จประพาสต้นตามท้องที่ต่าง ๆ ก็มักจะมีผู้จัดหาข้าวแกงมาถวายให้เสวยอยู่เสมอ

จากหนังสือ สารบาญชีส่วนที่ 2 คือราษฎรในจังหวัด ถนนแลตรอก จ.ศ. 1245 สำหรับเจ้าพนักงานกรมไปรษณีย์กรุงเทพมหานคร เล่ม 2 ในสมัยรัชกาลที่ 5 พบว่ามีร้านขายอาหารประเภทข้าวแกงจำนวน 57 ร้าน ร้านขายก๋วยเตี๋ยว 10 ร้าน ร้านขายผัดหมี่ 14 ร้าน ร้านขายข้าวตัม 2 ร้าน ร้านขายขนมจีน 3 ร้าน และร้านขายเครื่องเกาเหลา 6 ร้าน ในช่วงปลายสมัยรัชกาลที่ 5 ถึงต้นรัชกาลที่ 7 พบการหาบเร่ขายข้าวแกง[4]

ลาวัณย์ โชตามระ นักเขียนได้กล่าวไว้ว่า เมื่อกว่าร้อยปีก่อน มีร้านขายข้าวแกงตาเพ็ง ยายพุก ตั้งอยู่สี่แยกบ้านหม้อมีศาลาใหญ่หลังหนึ่ง เรียกกันว่า ศาลาตาเพ็ง สองผัวเมียที่ขายข้าวแกงจนร่ำรวยเป็นเศรษฐี[5]

นอกจากนั้นยังมีร้านอาหารริมทางโดยเฉพาะบริเวณโรงบ่อน ส่วนใหญ่เป็นร้านชาวจีนแต้จิ๋ว มีร้านข้าวแกงขาย โดยพระยาอนุมานราชธน บันทึกว่า "ร้านขายข้าวแกงเหล่านี้ขายคนจีนชั้นกรรมกร แต่คนไทยก็เคยไปนั่งยอง ๆ แยงแย่อยู่บนม้ายาวกินเหมือนกัน เพราะเป็นอาหารราคาถูก"[6]

ปัจจุบัน

[แก้]

ร้านขายข้าวราดแกงในสมัยปัจจุบันมีขายทั่วไป ทั้งในรูปแบบร้านอาหาร เพิงขายอาหาร ในปั๊มน้ำมัน ฯลฯ โดยจะมีพนักงานตักข้าวสวย ราดบนแกง ร่วมกับกับข้าวอื่น ตามลูกค้าสั่ง ร้านทั่วไปส่วนใหญ่ที่มีที่นั่งมักขายตอนเช้า ตามแหล่งชุมชน ส่วนร้านข้าวแกงสำหรับคนกินมื้อเย็นส่วนใหญ่อยู่ในตลาด มักเรียกว่าข้าวแกงหน้าตลาดหรืออาหารถุง ปัจจุบันในกรุงเทพ ร้านข้าวแกงที่เป็นที่นิยมยังมีข้าวแกงปักษ์ใต้[7]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. เพชรรุ่ง เทียนปิ๋วโรจน์. "Diversity of Food Culture in Ayutthaya Period" (23): 80. ((cite journal)): Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  2. "ประวัติศาสตร์วัฒนธรรมการกินอาหารไทยตั้งแต่อดีตจนถึงก่อนรัฐบาล จอมพล ป. พิบูลสงคราม". p. 20.
  3. "ประวัติศาสตร์ข้าวแกง จากชนชั้นกลาง สู่อาหารสามัญประจำเมือง | จากรากสู่เรา". ไทยพีบีเอส.
  4. โดม ไกรปกรณ์. "การค้าอาหารในสังคมไทย สมัยอยุธยาตอนปลายสมัยการปฏิรูปประเทศ". p. 89.
  5. "ข้าวแกงและก๋วยเตี๋ยว..." คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-27. สืบค้นเมื่อ 2014-07-06.
  6. "ประวัติศาสตร์ปากว่าง: Street Food ไทยสมัยก่อนกินอะไร". วอยซ์ออนไลน์.
  7. สุธน สุขพิศิษฐ์ (23 สิงหาคม 2562). "วิวัฒนาการของข้าวแกง จากกับข้าวในบ้าน กับข้าวผูกปิ่นโต สู่กับข้าวร้อยอย่างในร้านริมถนน". เดอะคลาวด์. สืบค้นเมื่อ 8 ตุลาคม 2562. ((cite news)): ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
ข้าวแกง
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?