For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for เต้าฮวย.

เต้าฮวย

เต้าฮวย
เต้าฮวยในน้ำเชื่อม
ชื่ออื่นโต้วฮฺวา, โต้วฝู่ฮฺวา, โต้วฝูเหน่า, เหล่าโต้วฝู่ฮฺวา
ประเภทอาหารว่าง
แหล่งกำเนิดประเทศจีน
ส่วนผสมหลักเต้าหู้
เต้าฮวย
ภาษาจีน豆腐花
ความหมายตามตัวอักษรดอกเต้าหู้
ชื่อภาษาจีนอื่น ๆ
อักษรจีนตัวเต็ม豆花
อักษรจีนตัวย่อ豆花
ชื่อภาษาจีนอื่น ๆ (2)
อักษรจีนตัวเต็ม豆腐腦
อักษรจีนตัวย่อ豆腐脑
เต้าฮวยในน้ำเชื่อมน้ำตาลทรายแดง ที่ฮ่องกง
เต้าฮวยแบบหวานที่ขายแบบดั้งเดิมในถังไม้

เต้าฮวยในสำเนียงแต้จิ๋ว หรือ โต้วฮฺวาในภาษาจีนกลาง (จีน: 豆花; พินอิน: dòuhuā; เป่อ่วยยี: tāu-hoe) ในบางพื้นที่ทางตอนเหนือเรียกว่า โต้วฝูเหน่า (จีน: 豆腐脑; พินอิน: dòufǔnǎo)[1][2] หรือเรียก โต้วฝู่ฮฺวา (จีน: 豆腐花; พินอิน: dòufǔhuā) ในทางตอนใต้ เป็นอาหารว่างแบบจีนที่เป็นได้ทั้งของหวานและของคาว เกิดจากการจับตัวเป็นก้อนของน้ำถั่วเหลือง เกิดรสสัมผัสคล้ายกับเยลลี่หรือพุดดิง เนื้อสัมผัสของเต้าฮวยนุ่มกว่าเต้าหู้

ประวัติ

[แก้]

ต้นกำเนิดของดอกเต้าฮวยมีหลากหลาย แต่ที่พบมากที่สุดสันนิษฐานว่าเต้าหู้มีต้นกำเนิดมาจากประเทศจีนในสมัยราชวงศ์ฮั่นเมื่อราว 2,100 ปีก่อน[3] หลิวอัน (刘安)[1] เจ้าชายแห่งอานฮุย พระราชนัดดาในจักรพรรดิเกาจู่ (หลิวปัง) ผู้เป็นนักอักษรศาสตร์ ทั้งยังสนใจในวิชาเลี่ยนตัน (炼丹; "การเล่นแร่แปรธาตุ" หรือ "การปรุงยาอายุวัฒนะของลัทธิเต๋า") บดถั่วเหลืองเป็นผงแล้วนำไปต้มเป็นน้ำซุปถั่วเหลืองและพบว่าเมื่อเติมเกลือ (เกลือจืดหรือยิปซัม; 石膏) ลงไปปรุงยาอายุวัฒนะ น้ำถั่วเหลืองนั้นค่อย ๆ จับตัวข้นเป็นก้อนสีขาวนุ่ม[4][5] ด้วยรสชาติที่อ่อนนุ่มจึงกลายเป็นอาหารว่างในสมัยราชวงศ์ฮั่น แล้วค่อย ๆ แพร่กระจายไปทั่วประเทศจีน[6]

ในปี 1959 พบรูปแกะสลักหินแสดงภาพโรงทำเต้าหู้ในสุสานฮั่นในต๋าหู่ทิง (打虎亭) มณฑลเหอหนาน ซึ่งพิสูจน์แล้วว่าการผลิตเต้าหู้มีต้นกำเนิดในราชวงศ์ฮั่น[7]

ชื่อเฉพาะในท้องถิ่น

[แก้]
ชื่อ ภูมิภาค รสชาติและเครื่องปรุงรส
โต้วฮฺวา (豆花) เสฉวน, ยูนนาน, กุ้ยโจว, หูหนาน, เจียงซี, ฝูเจี้ยน, ไต้หวัน ในฝูเจี้ยน เต้าฮวยแบบหวานเติมรสด้วยน้ำเชื่อมจากน้ำตาลกรวดหรือน้ำตาลทรายแดง และเต้าฮวยแบบเค็มโรยหน้าด้วยไชโป๊ กระเทียมทอด ผักชีหรือขึ้นฉ่าย กุ้งแห้งและอาหารหมักดองต่าง ๆ เป็นต้น เติมด้วยน้ำซุปและบางครั้งอาจเติมวุ้นเส้นเล็กน้อย ในไต้หวันมีเฉพาะเต้าฮวยแบบหวานซึ่งมักเติมถั่วเช่นถั่วเขียวต้ม ถั่วแดงต้ม หรือถั่วลิสงต้ม ลงในน้ำเชื่อมและเพิ่มนมถั่วเหลือง และแบบเป็นขนมโดยการเติมผลไม้หรือเผือกต้มแบบก้อนหรือเป็นแบบไข่มุก
โต้วฝู่ฮฺวา (豆腐花) จีนตอนใต้, ฮ่องกง, มาเก๊า, มาเลเซีย, สิงคโปร์

中国南方、香港澳門馬來西亞新加坡

ในฮ่องกงและมาเก๊าเป็นแบบหวาน มีทั้งน้ำเชื่อมจากน้ำตาลกรวด น้ำเชื่อมน้ำตาลทรายแดง น้ำเชื่อมดอกกุ้ยฮฺวา น้ำขิง ในจีนตะวันตกเฉียงใต้อาจเติมน้ำมันพริกหรือพริกป่น
โต้วฝูเหน่า (豆腐脑) จีนตอนเหนือ, หูเป่ย์, อานฮุย, เจียงซู, เซี่ยงไฮ้, เจ้อเจียง ในภาคเหนือมักปรุงรสด้วย "น้ำซอสถั่วเหลือง" ในเหอหนานบางครั้งเติมด้วยซุปรสเผ็ดผสมกับของว่างท้องถิ่น ในเจียงซู เจ้อเจียง และเซี่ยงไฮ้โดยทั่วไปเป็นเต้าฮวยแบบเค็มเหมือนกับทางเหนือ ในหูเป่ย์แม้ยังเรียกโต้วฝู่เหน่า แต่มักเติมด้วยน้ำตาลทรายขาวและเป็นเต้าฮวยแบบหวาน ในบางพื้นที่ของเอินฉือและฉงชิ่งเป็นเต้าฮวยแบบเผ็ด และอานฮุยมีทั้งแบบหวานและเค็ม
เหล่าโต้วฝู่ (老豆腐) พื้นที่ที่พูดภาษาจินและภาษาถิ่นเทียนจิน [8]
โต้วฝู่เชิง (豆腐生) ไทโจว, เจ้อเจียง แบบหวานราดด้วยน้ำเชื่อมสีน้ำตาลเหนียวข้นและโรยด้วยดอกกุ้ยฮฺวา และแบบเค็มโรยด้วยผงปรุงอาหาร ผักฉีก สาหร่าย หอมสับ และอื่น ๆ
โต้วต้ง (豆冻)[9] ฝูเจี้ยน
เนิ่นโต้วฝู่ (嫩豆腐) หูเป่ย์ ในหูเป่ย์เต้าฮวยเป็นแบบรสเผ็ด เรียกว่า "เนิ่นโต้วฝู่"
ไช่โต้วฝู่ (菜豆腐)[10] ฮั่นจง, ฉ่านซี ไช่โต้วฝู่ เป็นอาหารท้องถิ่นของเมืองฮั่นจง เติมด้วยน้ำผักดองเปรี้ยว

ชนิด

[แก้]

สามารถแบ่งชนิดของเต้าฮวยออกเป็น 3 กลุ่มกว้าง ๆ ตามรสชาติ คือ หวาน (), เค็ม () และเผ็ด ()

หวาน

[แก้]
เต้าฮวยแบบหวานใส่เครื่อง

ในภาคใต้ของจีน เต้าฮวยมักเป็นแบบรสหวาน เสิร์ฟพร้อมน้ำขิงรสหวาน น้ำเชื่อมจากน้ำตาลกรวด (น้ำเชื่อมใส) หรือน้ำเชื่อมจากน้ำตาลทรายแดง โดยในฤดูร้อนผู้คนกินเต้าฮวยแบบแช่เย็นเพื่อบรรเทาความร้อน ในฤดูหนาวมักเติมน้ำเชื่อมร้อนและถั่วลิสงหวาน ในฮ่องกงอาจใส่ซอสงาบดลงในเต้าฮวย ในหูเป่ย์ หูหนานและเจียงซีมักโรยหน้าด้วยน้ำตาลทรายขาวโดยตรง และไม่เพิ่มเครื่องปรุงรสอื่น ๆ วิธีการกินแบบนี้ช่วยรักษารสชาติดั้งเดิมของเต้าฮวย ในฝูเจี้ยนและไต้หวันโดยทั่วไปแล้วเต้าฮวยถูกมองว่าเป็นของหวานโดยเติมถั่วเขียวถั่วแดงและผลไม้ต่าง ๆ หรือเป็นอาหารเช้าที่พบได้ทั่วไป

ในไต้หวันและกวางตุ้ง เต้าฮวยเป็นสัญลักษณ์ของอาหารจีนตอนใต้และมักเป็นส่วนหนึ่งของหยัมฉ่า[11] (อาหารเช้ากึ่งกลางวันโดยการดื่มชาพร้อมกับของว่าง)

ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เต้าฮวยเป็นแบบหวาน แม้ว่าเครื่องปรุงรสมีความแตกต่างกันอย่างมาก

ประเทศไทย

[แก้]
เต้าฮวยน้ำขิงใส่ปาท่องโก๋แบบกรอบ
เต้าฮวยน้ำขิงใส่ปาท่องโก๋แบบกรอบ

ในประเทศไทย เต้าฮวยเป็นคำมาจากภาษาฮกเกี้ยน ในปัจจุบันมักพบเต้าฮวยนมสดหรือเต้าฮวยฟรุตสลัดซึ่งเติมนมและฟรุตสลัดเสิร์ฟแบบเย็นได้ทั่วไปมากกว่าเต้าฮวยน้ำขิงซึ่งเป็นแบบดั้งเดิมที่เสิร์ฟเต้าฮวยกับน้ำขิงเชื่อมร้อน

เค็ม

[แก้]
เต้าฮวยแบบเค็ม

ในภาคเหนือของจีนมักปรุงรสด้วยซอสถั่วเหลืองซึ่งได้รสเค็ม แต่มีส่วนผสมอื่นตามแต่ละภูมิภาค ในจีนตอนในมักเติมเนื้อสับ ผักดองเปรี้ยว ผักดองเผ็ด และเห็ด ภูมิภาคชายฝั่งจีนตะวันออกมักเติมสาหร่ายและกุ้งฝอยแห้ง เต้าฮวยแบบเค็มมักเป็นอาหารเช้าที่กินพร้อมไข่ต้มหรือปาท่องโก๋ และมักขายตามร้านข้างทางเล็ก ๆ[12]

เผ็ด

[แก้]
เต้าฮวยแบบเผ็ด

ในเสฉวนและฉ่านซี มักปรุงรสด้วยซอสพริก (หรือน้ำมันพริก) และเครื่องเทศรสหมาล่า โรยหน้าด้วยหอมซอย ขายตามร้านรถเข็นและหาบเร่

วิธีทำ

[แก้]

แช่ถั่วเหลืองก่อนประมาณ 4 ถึง 8 ชั่วโมง หลังจากที่ถั่วเหลืองดูดซับน้ำ (พอง) แล้ว นำไปต้มแล้วกรองกากออก รอให้เย็นลงถึง 80 องศาเซลเซียส แล้วซัดเกลือจืด (ผงยิปซัมแบบกินได้) ปริมาณเล็กน้อย ทิ้งให้ตกตะกอนเป็นเวลา 5 ถึง 15 นาที แล้วระบายน้ำออก

ในวัฒนธรรม

[แก้]

เต้าฮวยไล้เหลี่ยว เป็นภาพยนตร์ไทยตลกแนวกำลังภายในที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2523 สร้างและจัดจำหน่ายโดยสยามสตาร์ โดยมีกำธร ทัพคัลไลย เป็นผู้อำนวยการสร้างและกำกับการแสดง ซึ่งมีนักแสดงนำคือ สมบัติ เมทะนี รับบทเป็นพ่อค้าหาบเร่ขายเต้าฮวย[13]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 徐艳文 (2017). 烹调知识. 民间传统小吃——豆腐脑. pp. 52–53. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-01-11. สืบค้นเมื่อ 2022-01-11.
  2. "(豆腐脑 dòufu nǎo)". Into the Middle Kingdom. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 October 2015. สืบค้นเมื่อ 28 September 2020.
  3. "History of tofu". Soya.be. 2015-11-29. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-08-21. สืบค้นเมื่อ 2016-10-11.
  4. "豆花的饮食文化:历史由来". www.weibacanyin.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-03-06. สืบค้นเมื่อ 2020-12-06.
  5. รู้จริงเรื่อง “เต้าหู้” เรียกถูกใช้ถูก ไม่อายใคร ทำเมนูไหนก็ลงตัว. Wongnai.com, 1 มิถุนายน 2564. สืบค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2565.
  6. "豆腐脑的来历". 29 September 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 June 2021. สืบค้นเมื่อ 29 June 2021.
  7. 潘春华 (2018). "花样豆腐有历史". 养生月刊 (12): 1083-1085. doi:10.13633/j.cnki.ysyk.2018.12.014.
  8. "In Tianjin, what is the difference between Lao Doufu and Doufu Nao? | DayDayNews". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-11-01. สืบค้นเมื่อ 2021-11-01.
  9. "你家乡叫豆腐脑什么? - 上游新闻·汇聚向上的力量". www.cqcb.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-01-11. สืบค้นเมื่อ 2022-01-11.
  10. 刘宝凤 (2014). "豆腐脑·菜豆腐·豆花". 烹调知识 (04): 66.
  11. "Tofu hwa (soybean pudding) is my favourite way of chilling with tofu | SBS Food". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-11-01. สืบค้นเมื่อ 2021-11-01.
  12. "豆腐脑市场价格多少钱一碗 单卖豆腐脑生意怎么样 - 致富热". www.zhifure.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-12-20. สืบค้นเมื่อ 2020-12-09.
  13. ดูหนัง (2021-02-15). "ดูหนัง เต้าฮวยไล้เหลี่ยว (1980) - NUNG007.COM ดูหนังออนไลน์ เต็มเรื่อง HD 4K ดูหนังฟรี100%". NUNG007.COM (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
เต้าฮวย
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?