For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for เต้าหู้ยี้.

เต้าหู้ยี้

เต้าหู้ยี้
เต้าหู้ยี้บรรจุขวด

เต้าหู้ยี้ (จีน: 豆腐乳; พินอิน: dòufu rǔ) เป็นผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง ได้จากการหมักเต้าหู้กับเกลือและเครื่องปรุงแต่งรสต่าง ๆ และผ่านกรรมวิธีทุติยภูมิด้วยเชื้อรา ผลิตในจีนแผ่นดินใหญ่ ฮ่องกง ไต้หวัน รีวกีว และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ใช้เป็นเครื่องปรุงรสทั่วไปในอาหารเอเชียตะวันออก

มีคุณค่าโปรตีนจากถั่วเหลือง ลักษณะเป็นก้อนเต้าหู้เนื้ออ่อนแน่น มีรสหลักเค็ม สีและรสชาติรองแตกต่างกันไปตามวัฒนธรรมท้องถิ่น เช่น เต้าหู้ยี้ในซูโจวมีสีขาวอมเหลืองและมีรสชาติค่อนข้างนุ่มนวล ในกรุงปักกิ่งเป็นสีแดงและออกหวาน ในมณฑลกวางตุ้งมีสีแดงเช่นกัน แต่รสเค็มและเผ็ดเล็กน้อย ในเสฉวนเต้าหู้ยี้จะเผ็ดกว่ามาก สามารถนำมาใช้เป็นเครื่องปรุงรสในอาหารโดยตรงหรือนำไปประกอบเป็นอาหาร

เต้าหู้ยี้มีชื่อเรียกในภาษาจีนกลางหลายชื่อ เช่น โต้วฟู่หรู่ (豆腐乳), โต้วหรู่ (豆乳)[1] หรือ ฟู่หรู่ (腐乳) ชื่อเรียกในภาษาอังกฤษว่า Chinese Cheese [2] คำว่า 腐 (ฟู่) หมายถึงการหมัก และ 乳 (หรู่) หมายถึงนม โดยทั่วไปเต้าหู้ยี้มักหมักด้วยเชื้อราสกุลมิวคอร์ (Mucor) ได้แก่ Mucor sufu, Mucor Rouxianus, Mucor racemosus[3] และ สกุลไรโซพุส (Rhizopus) เช่น Rhizopus chinensis เป็นต้น การหมักด้วยเชื้ออื่น เช่น เต้าหู้ยี้อู่ฮั่นหมักด้วยแบคทีเรีย Bacillus subtilis

ชื่อเรียก

[แก้]
  • ภาษาไทย เรียก เต้าหู้ยี้
  • ภาษาจีนกลาง เรียก โต้วฟู่หรู่ (豆腐乳) หรือ โต้วหรู่ (豆乳) โดยทั่วไปเรียก ฟู่หรู่ (腐乳)
  • ภาษาญี่ปุ่น เรียก ฟูรุ (ふにゅう、fǔrǔ)[4]
  • ภาษาเวียตนาม เรียก เจา (choa) หรือ เต่าฟูหญู่ (đậu phụ nhự)
  • ภาษาฟิลิปปินส์ เรียก ตาฮูริ (ta-huri)
  • ภาษาอินโดนีเซีย เรียก taokaoan

ชนิด

[แก้]

ตามลักษณะและรสชาติ

[แก้]

การจำแนกชนิด ตามลักษณะและรสชาติจากการทำเต้าหู้ยี้โดยเติมเครื่องเทศและสารปรุงแต่งธรรมชาติต่าง ๆ เช่น

  • เต้าหู้ยี้ขาว หรือ เต้าหู้ยี้ขาวอมเหลือง ได้จากการหมักเชื้อราหรือจุลินทรีย์บริสุทธิ์หรือเชื้อผสมตามธรรมชาติ ต่างจากเต้าหู้ยี้สีแดง คือ ไม่มีการเติมอั่งกั๊ก (ข้าวยีสต์แดง)
  • เต้าหู้ยี้แดง (紅腐乳; hóngfǔrǔ, หรือ 南乳; nánrǔ; red fermented bean curd) เกิดจากการเติมข้าวยีสต์แดง (ข้าวหมากแดง จากการหมักด้วย Monascus purpureus)[5]
  • เต้าหู้ยี้เหลือง ทำจากการเติมเต้าเจี้ยว[6] หรืออาจเติมผงพะโล้[7] มักพบในอาหารแต้จิ้ว
  • เต้าหู้ยี้ข้าวหมาก เกิดจากการเติมข้าวหมาก[6] บางครั้งผสมกับเต้าเจี้ยวด้วย มีรสออกหวานเล็กน้อย
  • เต้าหู้ยี้เผ็ด ด้วยการเติมพริกแดง ข้าวแดง และยี่หร่า[6]
  • เต้าหู้ยี้เหม็น (臭豆腐乳; chòu dòufu rǔ; stinky fermented bean curd) มีพื้นผิวสีน้ำเงินเทาและมีกลิ่นเหม็นด้วยรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์[8]

ที่พบมากในประเทศไทยคือ เต้าหู้ยี้แดง และเต้าหู้ยี้เหลือง[7]

ตามกระบวนการผลิต

[แก้]

การจำแนกชนิด ตามกระบวนการผลิต[9] ได้แก่

  • เต้าหู้ยี้ที่หมักด้วยเชื้อรา (mold-fermented furu)
  • เต้าหู้ยี้ที่หมักแบบธรรมชาติ (naturally fermented furu) ―ใช้เชื้อจุลินทรีย์ และเชื้อราที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ทำให้มีเชื้อหลายชนิดร่วมกระบวนการหมัก
  • เต้าหู้ยี้ที่หมักด้วยเชื้อแบคทีเรีย (bacteria-fermented furu) ―ใช้แบคทีเรียเพียงชนิดเดียวหมักแทนเชื้อรา หรือเชื้อผสม เป็นวิธีที่นิยมในญี่ปุ่นที่เรียกว่า นัตตโตะ เชื้อแบคทีเรียที่ใช้ ได้แก่ เช่น สกุล Bacillus หรือ สกุล Micrococcus
  • เต้าหู้ยี้ที่หมักด้วยเอนไซม์ (enzymatically ripened sufu) ―ใช้เอนไซม์หมักแทน ต้องใช้เวลานาน ประมาณ 6–10 เดือน

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "豆乳 tāu-jú/tāu-lú". 臺灣閩南語常用詞辭典. สืบค้นเมื่อ 2021-12-23.
  2. เต้าหู้ยี้[ลิงก์เสีย] โดย ดร. สุภาพ อัจฉริยศรีพงศ์ จากเว็บไซต์ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย
  3. 李约瑟《中国科学技术史》第六卷第五分册,272页
  4. "腐乳", Wikipedia (ภาษาญี่ปุ่น), 2021-09-12, สืบค้นเมื่อ 2022-02-25
  5. ผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากข้าว กลุ่มผลิตภัณฑ์หมักดอง[ลิงก์เสีย] องค์ความรู้เรื่องข้าว เวอร์ชั่น 3.0. กองวิจัยและพัฒนาข้าว. 2559
  6. 6.0 6.1 6.2 "มัดรวมทุกเรื่อง "เต้าหู้" ไว้ในที่เดียว เรียกถูกใช้ถูก ไม่มีพลาด! on wongnai.com". www.wongnai.com.
  7. 7.0 7.1 "Fermented bean curd / เต้าหู้ยี้ - Food Wiki | Food Network Solution". www.foodnetworksolution.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-02-25. สืบค้นเมื่อ 2022-02-25.
  8. "Stinky Tofu". สืบค้นเมื่อ 2009-11-21.
  9. puechkaset (2017-07-07). "เต้าหู้ยี้ (Sufu) ประโยชน์ และวิธีทำเต้าหู้ยี้ | พืชเกษตร.คอม".
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
เต้าหู้ยี้
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?