For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for อักษรไทใหญ่.

อักษรไทใหญ่

อักษรไทใหญ่
လိၵ်ႈတႆး
ชนิด
ทิศทางLeft-to-right Edit this on Wikidata
ภาษาพูดภาษาไทใหญ่
อักษรที่เกี่ยวข้อง
ระบบแม่
อักษรซีไนติกดั่งเดิม[a]
ระบบลูก
ลิก-ไท
ยูนิโคด
ช่วงยูนิโคด
[a] The Semitic origin of the Brahmic scripts is not universally agreed upon.

อักษรไทใหญ่ (ไทใหญ่ː တူဝ်လိၵ်ႈတႆး ตัวลิกไต [โต๋ลิกไต๊], สัทอักษร: /tǒ.lḭk.táj/) พัฒนามาจากอักษรไทใต้คงเก่า ซึ่งเป็นอักษรที่ใช่ในหมู่ชาวไทใหญ่ทั้งหมด โดยยังคงมีลักษณะกลม เนื่องจากไม่ได้เปลี่ยนไปเขียนด้วยพู่กันเหมือนอักษรไทใต้คง (อักษรถั่วงอก) เมื่อรัฐฉานตกเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษเมื่อ พ.ศ. 2428 ทางอังกฤษได้ส่งเสริมให้ชาวไทใหญ่พัฒนาอักษรของตนขึ้นใหม่ และจัดให้มีการพิมพ์ ทำให้รูปอักษรที่เกิดจากการหล่อตัวพิมพ์มีลักษณะป้อม กลมคล้ายอักษรพม่ามากขึ้น

พยัญชนะในภาษาไทใหญ่มีทั้งหมด 18 ตัว แต่มีการเพิ่มอีก 5 เสียงจัตวา ไม่มีรูปวรรณยุกต์

ประวัติ

[แก้]

ชาวไทใหญ่มีอักษรใช้ 2 ชนิดคือ ลิ่กถั่วงอกใช้เขียนเอกสารทั่วไปกับลิ่กยวนใช้เขียนเอกสารทางศาสนา อักษรไทใหญ่ที่ใช้กันอยู่ทุกวันนี้ นักประวัติศาสตร์พม่าเชื่อว่ารับมาจากพม่า ในขณะที่ชาวไทใหญ่เชื่อว่าพัฒนามาจากอักษรเทวนาครี และอักษรมอญ โดยอักษร "อ" ของอักษรไทใหญ่ มีลักษณะเฉพาะไม่เหมือนอักษรชนิดใดเลย แต่คล้ายกับตัว"อ" ของอักษรมอญในจารึกภาษามอญที่เจดีย์ปีชเวชานดอ อายุราวพุทธศตวรรษที่ 16 โดยทั่วไป ทฤษฎีที่อธิบายที่มาของอักษรไทใหญ่เป็นดังนี้

อักษรของชาวไทเหนือในเขตใต้คงเป็นตัวเหลี่ยมหรือลิ่กถั่วงอก มีหลักฐานว่าในสมัยราชวงศ์หมิง มีการตั้งสำนักงานหยีสี่เป้าเพื่อแปลเอกสารที่เขียนด้วยภาษาไทเหนือ แสดงว่าชาวไทใหญ่มีอักษรเป็นของตนเองมานาน

อักษรไทใหญ่มีพยัญชนะไม่ครบสำหรับเขียนภาษาบาลี ทำให้เป็นไปได้ว่าชาวไทใหญ่มีอักษรใช้ก่อนพุทธศาสนาจะเข้ามาถึง เมื่อได้รับอิทธิพลจากพุทธศาสนา ชาวไทใหญ่จึงรับอักษรพม่าเข้ามาใช้เขียนแทนเสียงที่อักษรไทใหญ่ไม่มี

เอกสารภาษาไทใหญ่ที่เก่าแก่และเขียนด้วยลิ่กถั่วงอกคือ พื้นศาสนาแสน ลิ่กถั่วงอกนี้ผอม รูปเหลี่ยม เอนซ้าย จากนั้นจึงพัฒนาการเขียนมาสู่ระบบกำเยน อักษรกลมมากขึ้น และเริ่มนำอักษรพม่ามาใช้ และเพิ่มสัญลักษณ์เครื่องหมายต่าง ๆ ต่อมาจึงพัฒนาเป็นระบบตัวมน ซึ่งพบในชาวไทใหญ่ในรัฐฉาน ส่วนชาวไทมาวยังใช้อักษรแบบเดิม

เมื่อเข้าสู่พุทธศตวรรษที่ 24 วรรณกรรมภาษาไทใหญ่ได้รับอิทธิพลจากภาษาพม่ามากขึ้น มีการใช้ภาษาพม่าปะปนกับภาษาไทใหญ่มากขึ้น เมื่อมีการพิมพ์ไบเบิลภาษาไทใหญ่เมื่อ พ.ศ. 2428 ตัวพิมพ์ของอักษรไทใหญ่มีลักษณะกลมมนคล้ายอักษรพม่ามากขึ้น และมีเครื่องหมายเฉพาะที่ต่างไปจากอักษรไทใหญ่ในคัมภีร์

ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2492 รัฐบาลของสมาพันธรัฐไทใหญ่ได้ตั้งคณะกรรมการปฏิรูปอักษรไทใหญ่ที่เมืองตองจี และได้ปรับปรุงอักษรไทใหญ่ใหม่เรียกว่าใหม่สูงลิ่กไทย ต่อมาใน พ.ศ. 2512 สภาไทใหญ่ได้ปรับปรุงตัวอักษรใหม่อีก และใน พ.ศ. 2517 ก็มีการปรับปรุงอักษรไทใหญ่อีกชุดหนึ่งที่เมืองสีป้อ ทำให้มีประเด็นถกเถียงเกี่ยวกับอักษรไทใหญ่มากและยังหาข้อสรุปไม่ได้

อักษรไทใหญ่กับภาษาบาลี

[แก้]

แต่เดิม ชาวไทใหญ่ใช้ลิ่กยวนเขียนภาษาบาลี ต่อมาพยายามเปลี่ยนมาใช้ลิ่กถั่วงอกและลิ่กตัวมน แต่อักษรไม่พอ ทำให้ไม่มีระบบการเขียนเป็นมาตรฐาน ต่อมาจึงมีการนำอักษรพม่ามาใช้เขียนภาษาบาลี ในปัจจุบัน ได้มีความพยายามที่จะเขียนภาษาบาลีด้วยอักษรไทใหญ่อีกครั้ง มีการจัดประชุมระหว่างพระสงฆ์ไทใหญ่และชาวไทใหญ่หลายครั้งเริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2499 ใน พ.ศ. 2500 ที่ประชุมเสนอให้เขียนพระไตรปิฎกด้วยอักษรพม่าแล้วแปลเป็นภาษาไทใหญ่ที่เขียนด้วยอักษรไทใหญ่ แต่พระสงฆ์ไทใหญ่ก็ยังไม่พอใจ ใน พ.ศ. 2518 มีการจัดประชุมพระสงฆ์ไทใหญ่ที่เชียงใหม่ และได้มีการประดิษฐ์อักษรไทใหญ่สำหรับเขียนภาษาบาลี แต่ยังไม่มีระบบใดได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการ

พยัญชนะ

[แก้]

พยัญชนะหลัก

[แก้]
รูปอักษรไทใหญ่ ชื่ออักษรในภาษาไทใหญ่ เทียบรูปอักษรไทย สัทอักษร หมายเหตุ
ก้ะ ไก่ (ၵ ၵႆႇ) /k/
ข้ะ ไข่ (ၶ ၶႆႇ) ข, ค /kʰ/
ง่ะ งู้ (င ငူး) /ŋ/ งู้ (ငူး) แปลว่า งู ในภาษาไทย
จ้ะ จ้าง (ၸ ၸၢင်ႉ) /t͡s/, /s/ จ้าง (ၸၢင်ႉ) แปลว่า ช้าง (ไม่มีเสียง ช ช้าง)
ส้ะ แสง (သ သႅင်) ซ, ศ, ษ, ส /sʰ/ แสง (သႅင်) แปลว่า อัญมณี
ญ่ะ หญ่อง (ၺ ၺွင်ႇ) /ɲ/ เสียง /ญ/ ในที่นี้เป็นเสียงนาสิก (เสียงขึ้นจมูก) แบบเดียวกับที่ปรากฏในภาษาอีสาน ภาษาคำเมือง ไม่มีในภาษาไทย, หญ่อง (ၺွင်ႇ) แปลว่า ต้นโพธิ์ (มาจากภาษาพม่า ညောင်)
ต้ะ เต่า (တ တဝ်ႇ) ฏ, ต /t/
ถ้ะ ไถ (ထ ထႆ) ฐ, ถ, ท, ฑ /tʰ/ ไถ (ထႆ) แปลว่า คันไถ
น่ะ หนู (ၼ ၼူ) น, ณ /n/
ป้ะ ป๋า (ပ ပႃ) /p/ ป๋า (ပႃ) แปลว่า ปลา ในภาษาไทย (ไม่มีเสียง ล ควบกล้ำ)
ผ้ะ ผึ้ง (ၽ ၽိုင်ႈ) ผ, พ /pʰ/
ฟ่ะ ไฟ้ (ၾ ၾႆး) ฝ, ฟ /f/, /pʰ/ ไฟ้ (ၾႆး) แปลว่า ไฟ
ม่ะ ม่า (မ မႃႉ) /m/ ม่า (မႃႉ) แปลว่า ม้า
ย่ะ ยุ้ง (ယ ယုင်း) /j/ ยุ้ง (ယုင်း) แปลว่า ยุง
ร่ะ ร่ะฮ้าน (ရ ရႁၢၼ်း) /r/, /l/ ร่ะฮ้าน (ရႁၢၼ်း) แปลว่า พระสงฆ์, มาจากภาษาพม่า ရဟန်း, จากภาษาบาลี อรหนฺตฺ
ล่ะ ลิ้ง (လ လိင်း) ล, ฦ, ฬ /l/ ลิ้ง (လိင်း) แปลว่า ลิง
ว่ะ เว้ง (เสียงสั้น) (ဝ ဝဵင်း) /w/ เว้ง (ဝဵင်း) แปลว่า เวียง (ไม่มีเสียงสระเอีย)
ห้ะ หิ่ง (ႁ ႁိင်ႇ) ห, ฮ /h/ หิ่ง (ႁိင်ႇ) แปลว่า ระฆัง
อ้ะ อ่าง (ဢ ဢၢင်ႇ) /ʔ/

พยัญชนะเสริม

[แก้]
รูปอักษรไทใหญ่ ชื่ออักษรในภาษาไทใหญ่ เทียบรูปอักษรไทย สัทอักษร หมายเหตุ
(ၷ) ก้ะ /ɡ/ ก ก้อง คำยืมจากพม่า ไม่มีในภาษาไทย
(ၿ) บ้ะ /b/ คำยืมจากไทยและพม่า
(ၻ) ด้ะ /d/ คำยืมจากไทยและพม่า
(ႀ) ธ้ะ /θ/ ส แลบลิ้น คำยืมจากพม่า ไม่มีในภาษาไทย
ซะ /z/ ซ ก้อง ไม่มีในภาษาไทย

สระ

[แก้]

สระเสียงหลัก มี 12 รูป

รูปสระ ตัวอย่างการผสมสระ ชื่อสระในภาษาไทใหญ่ เทียบรูปสระไทย สัทอักษร หมายเหตุ
- อ๋ะ
ၵႃ อ๋า
ၵိ อิ๋
ၵီ อี๋
ၵု อุ๋
ၵူ อู๋
ၵေ เอ๋
ၵႄ แอ๋
ူဝ် ၵူဝ် โอ๋
ေႃ ၵေႃ อ๋อ ออ
ိုဝ် ၵိုဝ် อื๋อ
ိူဝ် ၵိူဝ် เอ๋อ เ-อ

วรรณยุกต์

[แก้]

วรรณยุกต์ในภาษาไทใหญ่มี 5 รูป 6 เสียง

รูปวรรณยุกต์ ชื่อวรรณยุกต์ในภาษาไทใหญ่ เสียงวรรณยุกต์
- เป่า เสียงจัตวา
ยัก เสียงเอก
ยักจ้ำ เสียงสามัญท้ายโท
จ้ำหน้า เสียงสามัญท้ายตรี
จ้ำใต้ (จ้ำต้ะ-อึ) เสียงโทสั้น
ยักขึ้น เสียงสามัญ

ยูนิโคด

[แก้]

อักษรไทใหญ่ในยูนิโคด ใช้รหัสช่วงเดียวกันกับอักษรพม่า เพียงแต่มีส่วนขยายของอักษรไทใหญ่เพิ่มขึ้นมาจากอักษรพม่าตามปกติ

พม่า
Unicode.org chart (PDF)
  0 1 2 3 4 5 6 7 8 9 A B C D E F
U+100x က
U+101x
U+102x
U+103x
U+104x
U+105x
U+106x
U+107x
U+108x
U+109x


อ้างอิง

[แก้]
  1. Diringer, David (1948). Alphabet a key to the history of mankind. p. 411.
  • ยรรยง จิระนคร (เจีย แยนจอง). คนไทไม่ใช่คนไทย แต่เป็นเครือญาติชาติภาษา. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มติน, 2548. ISBN 974-323-484-5
  • ซาย คำเมือง. อักษรไทใหญ่และพัฒนาการของอักษรไทใหญ่ในพม่า. ใน การศึกษาประวัติศาสตร์และวรรณกรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ไท, สรัสวดี อ๋องสกุล และ โยซิซูกิ มาซูฮารา, บรรณาธิการ. หนังสือรวมผลงานวิชาการประชุมนานาชาติไทศึกษา 22-23 มีนาคม 2544 ที่ จ. เชียงใหม่ หน้า 427 - 451
  • บล็อกของนายช่างปลูกเรือน
  • BlogGang.com : : นายช่างปลูกเรือน - พยัญชนะไทใหญ่
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
อักษรไทใหญ่
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?