For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for ระบบการเขียนในอเมริกากลาง.

ระบบการเขียนในอเมริกากลาง

ระบบการเขียนในอเมริกากลาง (Mesoamerican Writing Systems)เป็นระบบการเขียนที่พบในอเมริกากลางซึ่งเป็นดินแดนตั้งแต่เขตทะเลทรายทางเหนือของเม็กซิโกไปจนถึงป่าดิบเขตร้อนทางตะวันตกเฉียงเหนือของคอสตาริกา เป็นดินแดนที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม มีทั้งศาสนา ศิลปะและภาษาเป็นเอกลักษณ์ร่วมกันของชนหลายกลุ่ม ได้แก่ เอซเทค มายา โอลเมค และกลุ่มเล็กๆเช่น ซาโปเทค ทีโอทิฮัวคานอส มิกซ์เทค และทาราสคัน กลุ่มวัฒนธรรมเหล่านี้มีระบบการเขียนเป็นของตนเองก่อนการเข้ามาของชาวยุโรป

ลักษณะของระบบการเขียน

[แก้]

เป็นระบบที่คล้ายคลึงกับอักษรไฮโรกลิฟฟิกของอียิปต์ นิยมเรียกสั้นๆว่ากลิฟ กลิฟมีความคล้ายคลึงกับรูปวัตถุ เช่น สัตว์ คน สิ่งของ รูปของสัตว์และคน มักเป็นภาพโครงร่างแสดงเฉพาะส่วนหัว ในบางกรณี มีกลิฟที่แสดงรูปเต็มตัวด้วย ส่วนของร่างกายมนุษย์ เช่น แขนและขา ใช้แสดงการกระทำหรือคำกริยา กลิฟที่แสดงเวลาเป็นรูปเรขาคณิต เช่นวงกลม สามเหลี่ยม

อักษรในอเมริกากลางมีลักษณะคล้ายภาพวาดมากกว่าอักษรของชาวตะวันตก ภายในเครื่องประดับบนศีรษะของภาพ จะแสดงชื่อของภาพ ตัวอย่างนี้พบในอักษรของชาวมิกซ์เทคและเอซเทค ที่ชื่อของสถานที่และบุคคลจะวาดลงบนรูปโดยตรง

ระบบตัวเลข

[แก้]

โดยทั่วไปใช้ระบบขีดและจุด จุดแสดงเลข 1 ขีดแสดงเลข 5 ในบางกรณี จารึกอักษรมิกซ์เทคและเอซเทคใช้แต่จุดเท่านั้นระบบขีดและจุดนี้ใช้เขียนเลขน้อยกว่า 20 ถ้ามากกว่านี้จะใช้ระบบอื่น ตัวอย่างเช่น เอซเทค ใช้สัญลักษณ์พิเศษ เช่น ธง หมายถึง 20 ใบหน้า หมายถึง 400 ถุงเครื่องหอมหมายถึง 8000 การเขียนเลข 946 ใช้รูปใบหน้า 2 รูป (2*400 = 800) ธง 7 ผืน (7 x 20 = 140) และจุด 6 จุด (6 x 1 = 6), ผลรวมเป็น 946 (800 + 140 + 6)

ระบบของมายาจะซับซ้อนกว่านี้ สัญลักษณ์ของรูป 20 คือพระจันทร์ครึ่งดวง การเขียนเลขจำนวนมากๆจะระบุตำแหน่งของตัวเลขแบบเดียวกับระบบในปัจจุบันที่เป็นเลขยกกำลังของ 10 เลข 5209 แสดงได้เป็น 5209 = 5x103 + 2x102 + 0x101 + 9x100 โดยระบบเดียวกัน ตัวเลขมายามีตั้งแต่ 0 – 19 และแต่ละหน่วยเป็นเลขยกกำลังของ 20 เลขแต่ละตัวอยู่ในระบบขีดและจุด รวมกับสัญลักษณ์ของ 0 ที่เป็นรูปหอยสังข์

ระบบปฏิทินในอเมริกากลาง

[แก้]

ปฏิทินมี 2 ระบบคือ ปฏิทินแสงอาทิตย์ 365 วัน/ปี คำนวณจากการหมุนรอบดวงอาทิตย์ของโลก แบ่งเป็น 18 เดือนๆละ 20 วัน ตอนสิ้นปีมีเวลาพิเศษ 5 วันซึ่งถือเป็นเวลาแห่งอันตราย อีกระบบคือปฏิทินศักดิ์สิทธิ์ 260 วัน/ปี ไม่เกี่ยวข้องกับระบบดาราศาสตร์ใดๆ แต่คำนวณมาจากระยะการตั้งครรภ์ของมนุษย์ ไม่มีระบบเดือน แต่ใช้วงรอบของวัน 2 แบบ ที่เป็นคู่ขนานและเกี่ยวข้องกันคือวงรอบเครื่องหมายของวัน มี 20 ชื่อ และวงรอบสัมประสิทธิ์ของวันมี 13 ชื่อ นอกจากนี้ชาวมายายังติดตามตำแหน่งของดาวศุกร์ ในเวลากลางคืนและคำนวณเป็นวงรอบๆละ 584 วัน

ชาวมายาและอีพิ-โอลเมคยังมีวงรอบของเวลาที่ใหญ่ที่สุด เรียกการนับระยะยาว ปฏิทินนี้มีสัมประสิทธิ์ 5 ตัว ใช้บันทึกรอบละ 5,000 ปี การนับระยะยาวของทั้งชาวมายาและอีพิ-โลเมค เริ่มเมื่อ 2,570 ปีก่อนพุทธศักราช ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นยุคเริ่มต้นของปัจจุบัน และด้วยระบบสัมประสิทธิ์ 5 ตัว การนับระยะยาวจะสิ้นสุดใน พ.ศ. 2551 ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นจุดสิ้นสุดของโลกตามความเชื่อของชาวมายา

รูปบูชา – จุดเริ่มของการเขียน

[แก้]

การเขียนในอเมริกากลางไม่ได้เริ่มต้นจากการนับเช่นในส่วนอื่นๆของโลก แต่มีวัตถุประสงค์ในด้านการเมือง ศาสนา และประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมเมืองที่ปรากฏครั้งแรกในอเมริกากลาง คาดว่าเป็นอารยธรรมโอลเมค มีศูนย์กลางอยู่ในเขตร้อนชื้นของเม็กซิโก ยุคแรกเริ่มและยุคก่อนคลาสสิกในอเมริกากลาง ชาวโอลเมคแสดงผู้นำของเขาด้วยรูปหัวมนุษย์ การตกแต่งของแต่ละหัวจะต่างกัน และเป็นที่มาของการใส่ชื่อในข้อความ และน่าจะเป็นกลุ่มเดียวในยุคนั้นที่สร้างสัญลักษณ์เพื่อสื่อความหมาย เริ่มจากการเขียนรูปบูชาให้มีขนาดเล็กและนำมาเรียงลำดับเพื่อสื่อความหมาย และกลายเป็นกลิฟในระบบการเขียนรุ่นหลัง

ยุคก่อนคลาสสิกสมัยหลัง ( พ.ศ. 343 -843) เริ่มมีการเขียนของชาวซาโปเทค อีพิ-โอลเมคและมายา ในช่วงยุคคลาสสิก (พ.ศ. 843 -1443) และยุคหลังคลาสสิก (พ.ศ. 1443 -2043) มีระบบการเขียนเพิ่มมากขึ้น คล้ายกับว่าได้รับแรงดลใจจากงานเขียนของชาวซาโปเทค ยุคนี้อักษรได้แพร่ไปทั่วอเมริกากลาง แต่ละกลุ่มต่างมีการเขียนเป็นของตนเอง แบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ

กลุ่มตะวันตกเฉียงใต้

[แก้]

อยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของอเมริกากลาง ได้แก่ อักษรมายา และอีพิ-โอลเมค ซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกัน เช่น เครื่องหมายแทนเสียง การนับระยะยาว และข้อความขนาดยาวที่เป็นหน่วยทางภาษาศาสตร์ และโครงสร้างประโยค

อักษรมายาเป็นอักษรที่มีการใช้งานนานที่สุด เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 243 จนสิ้นสุดราชอาณาจักรมายาเมื่อ พ.ศ. 2240 ลักษณะเด่นคือ กลิฟเป็นรูปสี่เหลี่ยม เขียนในแนวคอลัมน์คู่ซิกแซก อักษรอีกชนิดคืออักษรอีพิ-โอลเมค เป็นลักษณะผสมระหว่างอักษรคำกับสัญลักษณ์แทนการออกเสียง ในการนับระยะยาวและจดบันทึกเหตุการณ์สำคัญ จุดเริ่มต้นของการนับระยะยาวก็ใกล้เคียงกัน

กลุ่มอัวซาคัน

[แก้]

จุดศูนย์กลางอยู่ที่รัฐอัวซาคัน เม็กซิโกตอนใต้ อักษรชนิดแรกของกลุ่มนี้คืออักษรซาโปเทค มีอายุราว พ.ศ. 43 อักษรนี้ยังเข้าใจได้น้อย อักษรที่ใกล้เคียงกันคืออักษรญูอีน อักษรทีโอทิฮัวคันต่างไปจากอักษรมายาและซาโปเทค นักวิขาการเชื่อว่าอักษรนี้ไม่ใช่ระบบการเขียนที่สมบูรณ์ อาจจะมีแค่ตัวเลขพื้นฐานกับปฏิทิน อย่างไรก็ตามหลักฐานที่แสดงว่าอักษรทีโอทิฮัวคันเป็นระบบการเขียนเริ่มพบมากขึ้น

หลัง พ.ศ. 1443 มีวัฒนธรรมที่เป็นที่รู้จักขึ้นมา 2 กลุ่มคือ เอซเทคและมิกซ์เทคซึ่งคล้ายคลึงกันมาก อักษรมิกซ์เทคมาจากอักษรซาโปเทคแล้วไปเป็นอักษรเอซเทคอีกทอดหนึ่ง ยังไม่พบข้อความขนาดยาวของอักษร 2 ชนิดนี้

หลังการเข้ามาของชาวสเปน

[แก้]

เมื่อชาวสเปนเข้ามา การเขียนของชาวพื้นเมืองถูกหาว่าเป็นการเขียนของปีศาจและห้ามใช้ จารึกและหนังสือจำนวนมากถูกทำลาย ชาวพื้นเมืองจึงเขียนภาษาของตนด้วยอักษรละตินแทน งานเขียนเก่าๆถูกคัดลอกโดยอาลักษณ์ที่เป็นลูกจ้งของรัฐบาลอาณานิคมหรือโบสถ์ เมื่อยุคอาณานิคมสิ้นสุดลง การจ้างงานอาลักษณ์เหล่านี้จึงเลิกล้มไปด้วย ประชาชนในรัฐเอกราชใหม่ประกาศตนเป็นเชื้อสายของสเปนในโลกใหม่ ไม่มีใครสนใจวัฒนธรรมดั้งเดิมของตนเอง จนกระทั่งหลัง พ.ศ. 2500 จึงมีการฟื้นฟูวัฒนธรรมโบราณเหล่านี้ขึ้นมาอีก

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
ระบบการเขียนในอเมริกากลาง
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?