For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for อักษรมันดาอิก.

อักษรมันดาอิก

อักษรมันดาอิก
ชนิด
Alphabet
ช่วงยุค
คริสต์ศตวรรษที่ 2 — ปัจจุบัน
ทิศทางRight-to-left Edit this on Wikidata
ภาษาพูดมันดาอิกคลาสสิก
มันดาอิกใหม่
อักษรที่เกี่ยวข้อง
ระบบแม่
ฟินิเชีย
ISO 15924
ISO 15924Mand (140), ​Mandaic, Mandaean
ยูนิโคด
ยูนิโคดแฝง
Mandaic
ช่วงยูนิโคด
U+0840–U+085F
 บทความนี้ประกอบด้วยสัญกรณ์การออกเสียงในสัทอักษรสากล (IPA) สำหรับคำแนะนำเบื้องต้นเกี่ยวกับสัญลักษณ์ IPA โปรดดู วิธีใช้:สัทอักษรสากล สำหรับความแตกต่างระหว่าง [ ], / / และ ⟨ ⟩ ดูที่ สัทอักษรสากล § วงเล็บเหลี่ยมและทับ

ชุดตัวอักษรมันดาอิก เป็นระบบการเขียนโดยหลักใช้เขียนภาษามันดาอิก คากว่าพัฒนาขึ้นในช่วงระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 2 ถึง 7 จากรูปเขียนของแอราเมอิก (เช่นเดียวกันกับซีรีแอก) หรือจากอักษรพาร์เทียนจารึก[1][2] เป็นเรื่องยากที่จะระบุที่มาของอักษรอย่างชัดเจน[3] อักษรนี้พัฒนาโดยผู้นับถือความเชื่อมันดาอีในเมโสโปเตเมียตอนล่าง เพื่อเขียนภาษามันดาอิกด้วยจุดประสงค์ทางศาสนา[1] ภาษามันดาอิกคลาสสิกกับภาษามันดาอิกใหม่ยังคงมีผู้ใช้งานเพียงจำกัด[1] อักษรนี้มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างน้อยมากตลอดหลายศตวรรษ[3][1]

ชื่ออักษรในภาษามันดาอิกคือ Abagada หรือ Abaga ตามอักษรแรกของชุดตัวอักษร โดยรู้จักกันในฐานะ a, ba, ga, ฯลฯ แทนที่จะเป็นชื่ออักษรเซมิติกแบบดั้งเดิม (aleph, beth, gimel) [4]

อักษรนี้เป็นตัวเขียนที่เขียนจากขวาไปซ้ายตามแนวนอน แต่ใช่ว่าอักษรทั้งหมดในคำศัพท์จะเชื่อมกัน มีการใช้ช่องว่างในการแบ่งคำ

ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา Majid Fandi al-Mubaraki ชาวมันดาอีที่อาศัยอยู่ในออสเตรเลีย นำเข้าข้อความภาษามันดาอิกไปแปลงเป็นดิจิทัลด้วยการใช้การเรียงพิมพ์อักษรมันดาอิก[5]

อักษร

[แก้]
ตารางชุดตัวอักษรมันดาอิก

ชุดตัวอักษรมันดาอิกมีอักษรทั้งหมด 22 ตัว (เรียงตามลำดับเดียวกันกับชุดตัวอักษรแอราเมอิก) กับทวิอักษร adu อักษรทุกตัวมักปิดด้วยการสะกดอักษรแรก a ซ้ำ ทำให้มีการนับเชิงสัญลักษณ์เป็น 24 ตัว:[6][7]

ชุดตัวอักษรมันดาอิก[8]
# ชื่อ[3] อักษร รูปเชื่อม ปริวรรต สัทอักษรสากล[3] จุดรหัส
ยูนิโคด
ขวา กลาง ซ้าย ซีรีแอก ละติน[3] ฮีบรู[6]
1, 24 a ـࡀ ܐ a א /a/ U+0840 HALQA
2 ba ـࡁ ـࡁـ ࡁـ ܒ b ב /b/ U+0841 AB
3 ga ـࡂ ـࡂـ ࡂـ ܓ g ג /ɡ/ U+0842 AG
4 da ـࡃ ـࡃـ ࡃـ ܕ d ד /d/ U+0843 AD
5 ha ـࡄ ـࡄـ ࡄـ ܗ h ה /h/ U+0844 AH
6 wa ـࡅ ـࡅـ ࡅـ ܘ u ו /u, w/ U+0845 USHENNA
7 za ـࡆ ܙ z ז /z/ U+0846 AZ
8 eh ـࡇ ܚ -ẖ ח /χ/ U+0847 IT
9 ṭa ـࡈ ـࡈـ ࡈـ ܛ ט /tˠ/ U+0848 ATT
10 ya ـࡉ ܝ i י /i, j/ U+0849 AKSA
11 ka ـࡊ ـࡊـ ࡊـ ܟ k כ /k/ U+084A AK
12 la ـࡋ ـࡋـ ࡋـ ܠ l ל /l/ U+084B AL
13 ma ـࡌ ـࡌـ ࡌـ ܡ m מ /m/ U+084C AM
14 na ـࡍ ـࡍـ ࡍـ ܢ n נ /n/ U+084D AN
15 sa ـࡎ ـࡎـ ࡎـ ܣ s ס /s/ U+084E AS
16 e ـࡏ ـࡏـ ࡏـ ܥ ʿ ע /e/ U+084F IN
17 pa ـࡐ ـࡐـ ࡐـ ܦ p פ /p/ U+0850 AP
18 ṣa ـࡑ ـࡑـ ࡑـ ܨ צ /sˠ/ U+0851 ASZ
19 qa ـࡒ ـࡒـ ࡒـ ܩ q ק /q/ U+0852 AQ
20 ra ـࡓ ـࡓـ ࡓـ ܪ r ר /r/ U+0853 AR
21 ša ـࡔ ܫ š ש /ʃ/ U+0854 ASH
22 ta ـࡕ ـࡕـ ࡕـ ܬ t ת /t/ U+0855 AT
23 ـࡖ ܯ ḏ- דﬞ‎ /ð/ U+0856 DUSHENNA

สระ

[แก้]

สระส่วนใหญ่เขียนในรูปเต็ม ซึ่งต่างจากชุดตัวอักษรเซมิติกอื่น ๆ ส่วนใหญ่ อักษรแรก a (เทียบเท่า alaph) ใช้แทนขอบเขตของสระลิ้นลดต่ำ อักษรตัวที่ 6 wa ใช้เป็นสระปิด หลัง (u กับ o) และอักษรตัวที่ 10 ya ใช้เป็นสระปิด หน้า (i กับ e) อักษรสองตัวท้ายที่กล่าวไปสามารถเป็นพยัญชนะ w/v กับ y ได้

สัญลักษณ์ที่คล้ายกับรูปขีดเส้นใต้ (U+085A ◌࡚ mandaic vocalization mark) ใช้แยกคุณภาพเสียงสระ (vowel quality) ของสระมันดาอิกสามอัน โดยใช้ในสื่อการสอนแต่อาจละไว้ในข้อความทั่วไป[9] สัญลักษณ์นี้ใช้เฉพาะกับสระ a, wa และ ya ดังตัวอย่างกับอักษร ba:

  • ࡁࡀ‎ /bā/ กลายเป็น ࡁࡀ࡚‎ /ba/
  • ࡁࡅ‎ /bu/ กลายเป็น ࡁࡅ࡚‎ /bo/
  • ࡁࡉ‎ /bi/ กลายเป็น ࡁࡉ࡚‎ /be/

สัญลักษณ์ซ้ำ

[แก้]

จุดใต้พยัญชนะ (U+085B ◌࡛ mandaic gemination mark) สามารถใช้ระบุรูปซ้ำที่ผู้เขียนภาษาแม่เรียกว่ารูปสะกด "หนัก"[9] ตัวอย่างคำศัพท์ ได้แก่ ࡀࡊ࡛ࡀ‎ (ekka) 'นี่คือ', ࡔࡉࡍ࡛ࡀ‎ (šenna) 'ฟัน', ࡋࡉࡁ࡛ࡀ‎ (lebba) 'หัวใจ' และ ࡓࡁ࡛ࡀ‎ (rabba) 'เยี่ยม'[9]

รูปอักขระแฝด

[แก้]

อักษรตัวที่ 23 เป็นรูปอักขระแฝด adu (da + ya)[1][6] (เทียบกับ ตาอ์มัรบูเฏาะฮ์ในภาษาอาหรับ, อักษรคอปติก "ti" และแอมเพอร์แซนด์ในภาษาอังกฤษ)

นอกจากเชื่อมอักษรในแบบทั่วไปแล้ว อักษรมันดาอิกบางตัวสามารถผสมให้เป็นรูปอักขระแฝดหลายแบบ:[3][9]

  • ࡊࡃ‎ /kd/, ‎ /kḏ/, ࡊࡉ‎ /ki/, ࡊࡋ‎ /kl/, ࡊࡓ‎ /kr/, ࡊࡕ‎ /kt/, และ ࡊࡅ‎ /ku/
  • ࡍࡃ‎ /nd/, ࡍࡉ‎ /ni/, ࡍࡌ‎ /nm/, ࡍࡒ‎ /nq/, ࡍࡕ‎ /nt/, และ ࡍࡅ‎ /nu/
  • ࡐࡋ‎ /pl/, ࡐࡓ‎ /pr/, และ ࡐࡅ‎ /pu/
  • ࡑࡋ‎ /sˤl/, ࡑࡓ‎ /sˤr/, และ ࡑࡅ‎ /sˤu/
  • ࡅࡕ‎ /ut/

ทั้ง adu (U+0856 mandaic letter dushenna) กับรูปอักขระแฝดเก่า kḏ (U+0857 mandaic letter kad) ถือเป็นอักษรเดียวกันในยูนิโคด

อักษรที่คล้ายกัน

[แก้]

เนื่องจากอักษรมันดาอิกบางตัวมีรูปร่างคล้ายกัน ทำให้บางครั้งสร้างความสับสนทั้งอาลักษณ์มันดาอิกในอดีตกับนักวิชาการสมัยใหม่ โดยเฉพาะในเอกสารตัวเขียนที่เป็นรูปเขียนมือ โดยตัวอย่างมีดังนี้[10]

  • ‎ /d/, ‎ /r/, ‎ /e/, ‎ /q/
  • ‎ /u/, ‎ /i/
  • ‎ /m/, ‎ /t/
  • ‎ /k/, ‎ /n/, ‎ /p/
  • ࡐࡀ‎ /pa/, ࡀࡍࡀ‎ /ana/, ‎ /ʃ/
  • ‎ /sˤ/, ࡄࡍ‎ /hn/

ส่วนขยาย

[แก้]

ยูนิโค้ด

[แก้]
อักษรมันดาอิก
Unicode.org chart (PDF)
  0 1 2 3 4 5 6 7 8 9 A B C D E F
U+084x
U+085x

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 "Chapter 9: Middle East-I, Modern and Liturgical Scripts". The Unicode Standard, Version 10.0 (PDF). Mountain View, CA: Unicode, Inc. June 2017. ISBN 978-1-936213-16-0.
  2. Häberl, Charles G. (February 2006). "Iranian Scripts for Aramaic Languages: The Origin of the Mandaic Script". Bulletin of the American Schools of Oriental Research (341): 53–62. doi:10.7282/T37D2SGZ.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 Daniels, Peter T.; Bright, William, บ.ก. (1996). The World's Writing Systems. Oxford University Press, Inc. pp. 511–513. ISBN 978-0195079937.
  4. Macúch, Rudolf (1965). Handbook of Classical and Modern Mandaic. Berlin: De Gruyter. pp. 7–26.
  5. Mandaean Network.
  6. 6.0 6.1 6.2 Drower, Ethel Stefana; Macúch, Rudolf (1963). A Mandaic Dictionary. London: Clarendon Press. pp. 1, 491.
  7. Drower, Ethel Stefana (1937). The Mandaeans of Iraq and Iran: Their Cults, Customs, Magic, Legends, and Folklore. Oxford: Clarendon Press. pp. 240–243.
  8. ตารางนี้จะแสดงได้ถูกต้องด้วยการใช้ Firefox และฟอนต์ Noto Sans Mandaic
  9. 9.0 9.1 9.2 9.3 Everson, Michael; Richmond, Bob (2008-08-04). "L2/08-270R: Proposal for encoding the Mandaic script in the BMP of the UCS" (PDF).
  10. Häberl, Charles (2022). The Book of Kings and the Explanations of This World: A Universal History from the Late Sasanian Empire. Liverpool: Liverpool University Press. pp. 33–34. ISBN 978-1-80085-627-1.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
อักษรมันดาอิก
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?