For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for อักษรไทเวียด.

อักษรไทเวียด

อักษรไทเวียด
ชนิด
ช่วงยุค
คริสต์ศตวรรษที่ 16 - ปัจจุบัน[1]
ทิศทางLeft-to-right Edit this on Wikidata
ภาษาพูดไทดำ, ไทแดง, ไทขาว, ไทโซ่ง และไทเติ๊ก
อักษรที่เกี่ยวข้อง
ระบบแม่
ISO 15924
ISO 15924Tavt (359), ​Tai Viet
ยูนิโคด
ยูนิโคดแฝง
Tai Viet
ช่วงยูนิโคด
U+AA80–U+AADF
 บทความนี้ประกอบด้วยสัญกรณ์การออกเสียงในสัทอักษรสากล (IPA) สำหรับคำแนะนำเบื้องต้นเกี่ยวกับสัญลักษณ์ IPA โปรดดู วิธีใช้:สัทอักษรสากล สำหรับความแตกต่างระหว่าง [ ], / / และ ⟨ ⟩ ดูที่ สัทอักษรสากล § วงเล็บเหลี่ยมและทับ

อักษรไทเวียด (ไทดำ: ꪎꪳꪼꪕ; เวียดนาม: Chữ Thái Việt) เป็นอักษรพราหมีที่ใช้โดยชาวไทดำและชาวไทอื่น ๆ ในประเทศเวียดนาม[2]

ประวัติ

[แก้]

นักเขียนชาวไทยรายงานว่า ระบบการเขียนนี้น่าจะสืบมาจากตัวเขียนภาษาไทยแบบเก่าในอาณาจักรสุโขทัย[3] มีผู้แนะนำว่าอักษรไทยฝักขามเป็นต้นกำเนิดของระบบการเขียนของไทดอน, ไทดำ และไทแดงใน ซึ่งมีผู้พูดในมณฑลยูนนานตะวันออก, ภาคเหนือของลาว และประเทศเวียดนาม[4]

รายละเอียด

[แก้]
ข้อความในอักษรไทเวียด

อักษรนี้มี 31 พยัญชนะและ 14 สระ[3] ซึ่งไม่มีสระลดรูป (inherent vowel) เหมือนอักษรสระประกอบหรืออักษรพราหมีอื่น ๆ และสระทุกตัวต้องมีสัญลักษณ์ระบุสระ โดยเครื่องหมายเสริมสัทอักษรของสระจะตั้งอยู่ข้างบน ข้างล่าง หรือด้านซ้ายและ/หรือขวาของพยัญชนะ[1] บางสระมีพยัญชนะสุดท้ายแบบลดรูป เช่น /-aj/, /-am/, /-an/ และ /-əw/[5]

อักษรนี้ใช้เครื่องหมายวรรคตอนของอักษรละติน และเพิ่มอักษรพิเศษ 5 ตัว ตัวหนึ่งระบุบุคคล ตัวหนึ่งระบุเลข "หนึ่ง" ตัวหนึ่งระบุเป็นตัวบอกซ้ำคำก่อนหน้า ตัวหนึ่งตั้งเป็นจุดเริ่มต้นข้อความ และตัวหนึ่งตั้งอยู่ที่ท้ายข้อความ[5]

ในอดีตจะไม่มีการเว้นช่องระหว่างคำ จนกระทั่งในคริสต์ทศวรรษ 1980 ที่เริ่มมีการเว้นช่องระหว่างคำ[5]

พยัญชนะ

[แก้]
อักษร ชื่อ เสียง[6]
ต่ำ สูง
ko /k/
kho /kʰ/
khho /x/
go /g/
ngo /ŋ/
co /tɕ/
cho /tɕʰ/
so /s/
nyo /ɲ/
do /d/
to /t/
tho /tʰ/
อักษร ชื่อ เสียง[6]
ต่ำ สูง
no /n/
bo /b/
po /p/
pho /pʰ/
fo /f/
mo /m/
yo /j/
ro /r/
lo /l/
vo /v/
ho /h/
o /ʔ/
พยัญชนะไทเวียด

สระ

[แก้]
สระไทเวียด

ตำแหน่งพยัญชนะระบุด้วยรูปวงกลม: ◌.

สระ ชื่อ เสียง[7][6]
◌ꪰ mai kang /a/
◌ꪱ aa /aː/
◌ꪲ i /i/
◌ꪳ ue /ɨ/
◌ꪴ u /u/
ꪵ◌ ee /ɛ/
ꪶ◌ o /o/
◌ꪷ mai khit /ɔ/*
สระ ชื่อ เสียง[7][6]
◌ꪸ ia /iə̯/
ꪹ◌ uea /ɨə̯/
◌ꪺ ua /uə̯/
ꪻ◌ aue /əw/
ꪼ◌ ay /aj/
◌ꪽ an /an/
◌ꪾ am /am/
  • เมื่อเสียง /ɔ/ เป็นเสียงท้าย จะใช้รูป ◌ꪮ นี้แทน

บางสระเขียนด้วยการผสมรูปสระสองอัน ตารางด้านล่างมีรูปสระผสม 4 แบบ:

สระ เสียง[7][6]
ꪹ◌ꪸ /e/
ꪹ◌ꪷ /ə/
ꪹ◌ꪱ /aw/
◌ꪚꪾ /ap/

บางเสียงในภาษาไทดำสะกดต่างจากภาษาไทขาว:[8]

อักษร เทียบกับไทดำ เสียง[8]: 17–20 
◌ꪸ ꪹ◌ꪸ /e/
◌ꪷ ꪹ◌ꪷ /ə/
◌ꪺ ꪶ◌ /o/
◌ꪮ ◌ꪷ /ɔ/
(ในพยางค์เปิด)
ꪶ◌ꪉ ◌ꪴꪉ /uŋ/
ꪶ◌ꪣ ◌ꪴꪣ /um/
◌ꪝꪾ ◌ꪾ /am/

วรรณยุกต์

[แก้]

เดิมทีอักษรนี้ไม่มีสัญลักษณ์วรรณยุกต์และจะแสดงเฉพาะพยัญชนะเสียงสูง/ต่ำ ทำให้ผู้อ่านต้องคาดเดาเสียงวรรณยุกต์และความหมายของคำในรายละเอียด ในคริสต์ทศวรรษ 1970 มีการเพิ่มรูปวรรณยุกต์สองแบบคือ mai nueng และ mai song[1] วรรณยุกต์ 1 เขียนเฉพาะที่พยัญชนะเสียงต่ำ วรรณยุกต์ 4 เขียนเฉพาะที่พยัญชนะเสียงสูง วรรณยุกต์ 2 เขียนด้วยรูปวรรณยุกต์ 1 ตั้งที่พยัญชนะเสียงต่ำ วรรณยุกต์ 5 เขียนด้วยรูปวรรณยุกต์ 1 ตั้งที่พยัญชนะเสียงสูง วรรณยุกต์ 3 เขียนด้วยรูปวรรณยุกต์ 2 ตั้งที่พยัญชนะเสียงต่ำ และวรรณยุกต์ 6 เขียนด้วยวรรณยุกต์ 2 ตั้งที่พยัญชนะเสียงสูง[9][5]

วรรณยุกต์ ชื่อ เสียงต่ำ ระดับเสียงวรรณยุกต์ต่ำ เสียงสูง ระดับเสียงวรรณยุกต์สูง
1 ˨ 4 ˥
◌꪿ mai ek 2 5
◌꫁ mai tho 3 6 ˧˩
◌ꫀ mai nueng 2 5
◌ꫂ mai song 3 6

ยูนิโคด

[แก้]

มีการเสนอเข้ารหัสอักษรไทเวียดในยูนิโคดใน ค.ศ. 2006[10] จากนั้นจึงถูกเพิ่มในยูนิโคดมาตรฐานในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2009 ในรุ่น 5.2.

บล็อกยูนิโคดของไทเวียดคือ U+AA80–U+AADF:

Tai Viet[1][2]
Official Unicode Consortium code chart (PDF)
  0 1 2 3 4 5 6 7 8 9 A B C D E F
U+AA8x
U+AA9x
U+AAAx
U+AABx ꪿
U+AACx
U+AADx
Notes
1.^ As of Unicode version 13.0
2.^ Grey areas indicate non-assigned code points

อ่านเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 "Tai Viet". สืบค้นเมื่อ 15 July 2020.
  2. Bảng chữ cái tiếng Thái (Việt Nam), các quy tắc cơ bản เก็บถาวร 2021-02-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Lịch sử văn hóa Thái, 26/06/2018. In vietnamese.
  3. 3.0 3.1 Bankston, Carl L. "The Tai Dam: Refugees from Vietnam and Laos". Passage: A Journal of Refugee Education. 3 (Winter 1987): 30–31.
  4. Hartmann, John F. (1986). "THE SPREAD OF SOUTH INDIC SCRIPTS IN SOUTHEAST ASIA". ((cite journal)): Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 Brase, Jim (2007-02-20). "N3220: Proposal to encode the Tai Viet script in the UCS" (PDF). Working Group Document, ISO/IEC JTC1/SC2/WG2. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-07-12. สืบค้นเมื่อ 2015-05-31.
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 6.4 Brase, Jim (5 May 2008). "Writing Tai Don". สืบค้นเมื่อ 28 April 2015.
  7. 7.0 7.1 7.2 Brase, Jim (27 January 2006). "Towards a Unicode Proposal for the Unified Tai Script". สืบค้นเมื่อ 28 April 2015.
  8. 8.0 8.1 Brase, J. (2008). Writing Tai Don: Additional characters needed for the Tai Viet script. https://www.unicode.org/L2/L2008/08217-tai-don.pdf
  9. "Tai Dam alphabet". สืบค้นเมื่อ 15 July 2020.
  10. Ngô, Việt Trung; Brase, Jim (2006-01-30). "L2/06-041: Unified Tai Script for Unicode" (PDF). Working Group Document, ISO/IEC JTC1/SC2/WG2. สืบค้นเมื่อ 2015-05-31.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
อักษรไทเวียด
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?