For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for อักษรจีน.

อักษรจีน

รูปอักษรจีนของคำว่า "ฮั่นจื้อ"-คันจิ-ฮันจา-ฮั้นถื่อ (漢字 / 汉字 หมายถึง "อักษรจีน") สีแดงเป็นอักษรจีนตัวย่อ

อักษรจีน คืออักษรภาพที่ถูกใช้สำหรับเขียนภาษาจีน (เรียกว่า ฮั่นจื้อ) และภาษาญี่ปุ่น (เรียกว่า คันจิ) ในปัจจุบัน นอกจากนี้ก็ยังใช้เขียนระบบเลขของภาษาอื่นด้วย ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดที่สุดเช่นภาษาเกาหลี (เรียกว่า ฮันจา) และภาษาเวียดนาม (เรียกว่า จื๋อโนม) ซึ่งยังคงหลงเหลืออยู่ในภาษาเหล่านี้ในบางระดับ อักษรจีนเป็นระบบการเขียนที่ใช้กันมาอย่างต่อเนื่องอันเก่าแก่ที่สุดในโลก[1][2][3] นักภาษาศาสตร์ส่วนใหญ่เชื่อว่า การเขียนในจีนที่เก่าสุดเริ่มเมื่อ 957 ปีก่อนพุทธศักราช ไม่มีหลักฐานแสดงความเกี่ยวข้องกับการเขียนในบริเวณอื่น ตัวอย่างการเขียนภาษาจีนที่เก่าสุดมีอายุราว 957 – 407 ปี ก่อนพุทธศักราช (ราชวงศ์ซาง) ซึ่งเป็นจารึกบนกระดูกวัวและกระดองเต่า

พ.ศ. 2442 หวัง อี้หรง (王㦤榮) นักวิชาการจากปักกิ่ง พบสัญลักษณ์คล้ายอักษรบนกระดูกมังกร (กระดูกสัตว์ที่ชาวบ้านคิดว่าเป็นกระดูกมังกร) ที่เขาได้รับจากเภสัชกร ในเวลานั้น กระดูกมังกรซึ่งมักเป็นซากฟอสซิลของสัตว์ ยังใช้ในการแพทย์แผนจีน กระดูกสัตว์เหล่านั้นพบมาก ในซากปรักหักพังของเมืองหลวงในสมัยราชวงศ์ซัง ทางเหนือของมณฑลเหอหนาน

ระบบการเขียนภาษาจีน

[แก้]

อักษรจีนอยู่ในรูปแบบที่เรียกว่า ฮั่นจื้อ (漢字) สัญลักษณ์แต่ละตัวแสดงคำในภาษาจีนและความหมาย มีจุดกำเนิดจากรูปคน สัตว์ หรือสิ่งอื่นๆ แต่เมื่อเวลาผ่านไป รูปร่างของอักษรมีการเปลี่ยนแปลงไปบ้างและไม่เหมือนกับสิ่งที่เลียนแบบอีกต่อไป สัญลักษณ์หลายตัวเกิดจากสัญลักษณ์ตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไปมารวมกัน

ระบบอักษรจีนไม่มีข้อกำหนดเรื่องจำนวนอักษร พจนานุกรมที่ใหญ่ที่สุดชื่อ Zhonghua Zihai (中華字海) มีอักษร 85,568 ตัว [4] แต่ส่วนใหญ่มีที่ใช้น้อย การรู้อักษรจีนเพียง 3,000 ตัวจะสามารถอ่านหนังสือพิมพ์ภาษาจีนได้ราว 99 % ในการอ่านวรรณคดี งานเขียนทางเทคนิคหรือหนังสือโบราณ ต้องรู้ประมาณ 6,000 ตัว

ขีด

[แก้]

อักษรจีนประกอบด้วยขีดตั้งแต่ 1-64 ขีด ในพจนานุกรมจะเรียงอักษรตามหมวดนำและจำนวนขีด เมื่อเขียนอักษรจีน อักษรแต่ละตัวจะมีระยะห่างเท่าๆ กัน ไม่ขึ้นกับจำนวนขีดที่มีอยู่ อักษรที่รวมเป็นคำประสมจะไม่รวมกลุ่มเป็นอักษรเดียวกัน เพราะฉะนั้นในการอ่านภาษาจีน นอกจากต้องรู้ถึงความหมายและการออกเสียงของแต่ละคำแล้ว ยังต้องรู้ด้วยว่าอักษรใดรวมเป็นคำเดียวกัน

อักษรจีนต่อไปนี้เป็นอักษรจีนที่มีขีดมากที่สุดและเขียนยุ่งยากมากที่สุด

อักษรจีนตัวย่อ

[แก้]

อักษรจีนราว 2,000 ตัวที่ใช้ในประเทศจีนและประเทศสิงคโปร์ได้เปลี่ยนให้อยู่ในรูปแบบที่เขียนง่ายขึ้น แต่ในไต้หวัน ฮ่องกงและมาเก๊ายังใช้อักษรตัวเต็มอยู่ แต่ถึงอย่างไรก็ตาม อักษรทั้ง 2 แบบก็ยังได้รับความนิยมจนปัจจุบัน

ก่อนที่จะมีการปรับเปลี่ยนอักษรจีนเป็นตัวย่อ รัฐบาลจีนออกแถลงการณ์ให้เหตุผลว่า ต้องการให้ประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับการใช้อักษรจีนมากขึ้น จึงต้องลดจำนวนขีดของตัวอักษรลงมาเพื่อลดระดับความยาก โดยย่อหมวดนำหรือตัดบางส่วนออก และย่อรูปรวม

ใช้เขียน

[แก้]
  • ภาษาจีนทุกสำเนียง (ยกเว้นสำเนียงดันกันที่พูดโดยชาวจีนมุสลิมในเอเชียกลางจะใช้อักษรซีริลลิกอาหรับหรือลาติน)
  • อักษรจีนที่มีการดัดแปลงไปเล็กน้อยใช้เขียนภาษาเกาหลีและภาษาญี่ปุ่น
  • ในประเทศเวียดนามเคยนำมาใช้เขียนเป็นภาษาหนังสือหรือภาษาทางการหรือภาษาจีนโบราณที่เรียกว่าหานวัน(漢文) หรืออีกกรณีคือใช้อักษรจีนเป็นตัวอักษรเสริมเพื่อเขียนคำจีนปนในการเขียนประโยคภาษาพูดเวียดนามที่ใช้อักษรจื๋อโนม(อักษรที่คนเวียดนามประดิษฐ์ขึ้นเองเพื่อใช้เขียนคำเวียดนามแท้โดยเฉพาะ ซึ่งเป็นคนละชนิดกับอักษรจีนหรือหานตึ(漢字) เนื่องจากภาษาพูดเวียดนามที่เป็นคำเวียดนามแท้ไม่สามารถนำอักษรจีนมาใช้เขียนได้ อนึ่ง อักษรจีน และอักษรจื๋อโนมถือเป็นอักษรคนละชนิดกัน
  • ภาษาจ้วง เคยมีการใช้สือดิบผู้จ่อง ซึ่งเป็นอักษรที่เกิดจากการนำตัวอักษรจีนมาประดิษฐ์เป็นอักษรของตัวเองเพื่อใช้เขียนคำภาษาจ้วงโดยเฉพาะและอาจมีการใช้อักษรจีนมาทับคำจีนปนในประโยคในกรณีที่คำๆนั้นเป็นคำจีน อนึ่ง อักษรจีน และสือดิบผู้จ่องถือเป็นอักษรคนละชนิดกัน

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Chinese Writing Symbols". Kwintessential. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-03-27. สืบค้นเมื่อ 2010-03-20.
  2. "History of Chinese Writing Shown in the Museums". CCTV online. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-11-29. สืบค้นเมื่อ 2010-03-20.
  3. Jane P. Gardner; J. Elizabeth Mills. "Journey to East Asia". Everything.com, F+W Media. สืบค้นเมื่อ 2019-10-20.
  4. Updated from Norman, Jerry. Chinese. New York: Cambridge University Press. 1988, p. 72. ISBN 0-521-29653-6
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
อักษรจีน
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?