For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for ชุดตัวอักษรอิสมาน.

ชุดตัวอักษรอิสมาน

ชุดตัวอักษรอิสมาน
𐒍𐒖𐒇𐒂𐒖 𐒋𐒘𐒈𐒑𐒛𐒒𐒕𐒖
ชนิด
ทิศทางLeft-to-right Edit this on Wikidata
ภาษาพูดภาษาโซมาลี
ISO 15924
ISO 15924Osma (260), ​Osmanya
ยูนิโคด
ยูนิโคดแฝง
Osmanya
ช่วงยูนิโคด
U+10480–U+184AF
เครื่องพิมพ์ดีดที่มีอักษรอิสมานจากบริติชโซมาลีแลนด์

ชุดตัวอักษรอิสมาน (โซมาลี: Farta Cismaanya, 𐒍𐒖𐒇𐒂𐒖 𐒋𐒘𐒈𐒑𐒛𐒒𐒕𐒖) มีอีกชื่อว่า ฟาร์ซอมาลี (𐒍𐒖𐒇 𐒘𐒝𐒈𐒑𐒛𐒘, "ระบบการเขียนโซมาลี") และในภาษาอาหรับว่า อัลกิตาบะฮ์ อัลอุษมานียะฮ์ (الكتابة العثمانية; "ระบบการเขียนอุษมาน") เป็นอักษรที่ประดิษฐ์ขึ้นในช่วง ค.ศ. 1920 ถึง 1922 โดยอิสมาน ยูซุฟ เคนาดีด (Cismaan Yuusuf Keenadiid) โอรสในสุลต่านยูซุฟ อาลี เคนาดีด และพระอนุชาในสุลต่านอาลี ยูซุฟ เคนาดีด แห่งรัฐสุลต่านฮอบยอ เพื่อใช้เขียนภาษาโซมาลี

ประวัติ

[แก้]
อิสมาน ยูซุฟ เคนาดีด

ในขณะที่อักษรอิสมานได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางพอสมควรในประเทศโซมาเลีย และมีการผลิตวรรณกรรมจำนวนมากอย่างรวดเร็ว แต่เป็นเรื่องยากที่อักษรนี้จะแพร่หลายในหมู่ประชากร เนืองจากการแข่งขันที่รุนแรงกับอักษรอาหรับที่ดำรงมาอย่างยาวนาน กับชุดตัวอักษรละตินโซมาลีที่เกิดขึ้นใหม่ ได้รับการพัฒนาโดยนักวิชาการภาษาโซมาลีชั้นนำ เช่น Musa Haji Ismail Galal, B. W. Andrzejewski และ Shire Jama Ahmed[1][2]

เมื่อความรู้สึกชาตินิยมเพิ่มมากขึ้น และเนื่องจากภาษาโซมาเลียสูญเสียอักษรโบราณไปนานแล้ว[3] การนำระบบการเขียนที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากลมาปรับใช้สำหรับภาษาโซมาลีกลายเป็นประเด็นสำคัญของการสนทนา หลังเป็นเอกราช การพูดคุยในเรื่องนี้ไม่ค่อยมีความก้าวหน้า เนื่องมีความเห็นต่างกันว่าควรใช้อักษรอาหรับหรืออักษรละตินในการเขียนภาษานี้

เนื่องด้วยความเรียบง่ายของอักษรละติน การรองรับเสียงในภาษานี้ทั้งหมด และการมีอยู่ของเครื่องจักรและเครื่องพิมพ์ดีดที่ออกแบบมาเพื่อการใช้งานอย่างกว้างขวาง[4][5] ทำให้ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1972 ประธานาธิบดีมาฮัมเหม็ด ซิยาด บาร์รี ต้องการให้ใช้อักษรละตินในการเขียนภาษาโซมาลีแทนอักษรอาหรับหรืออิสมาน[6]

ระบบการเขียนอักษรอิสมานสำหรับภาษาโซมาลี

รายละเอียด

[แก้]

อักษรอิสมานเขียนและอ่านจากซ้ายไปขวา ชื่อตัวอักษรอิงมาจากชื่ออักษรในอักษรอาหรับ และสระยาว uu และ ii แทนที่ด้วยอักษร waaw และ yaa ตามลำดับ

อักษร

[แก้]
อิสมาน ชื่อ อักษรละติน สัทอักษรสากล อิสมาน ชื่อ อักษรละติน สัทอักษรสากล อิสมาน ชื่อ อักษรละติน สัทอักษรสากล
𐒀 alef ʼ [ʔ] 𐒁 ba b [b] 𐒂 ta t [t]
𐒃 ja j [d͡ʒ] 𐒄 xa x [ħ] 𐒅 kha kh [χ]
𐒆 deel d [d] 𐒇 ra r [r] 𐒈 sa s [s]
𐒉 shiin sh [ʃ] 𐒊 dha dh [ɖ] 𐒋 cayn c [ʕ]
𐒌 ga g [ɡ] 𐒍 fa f [f] 𐒎 qaaf q [q]
𐒏 kaaf k [k] 𐒐 laan l [l] 𐒑 miin m [m]
𐒒 nuun n [n] 𐒓 waw, uu w, uu [w, ʉː, ] 𐒔 ha h [h]
𐒕 ya, ii y, ii [j, , ɪː] 𐒖 a a [æ, ɑ] 𐒗 e e [e, ɛ]
𐒘 i i [i, ɪ] 𐒙 o o [ɞ, ɔ] 𐒚 u u [ʉ, u]
𐒛 aa aa [æː, ɑː] 𐒜 ee ee [, ɛː] 𐒝 oo oo [ɞː, ɔː]

ตัวเลข

[แก้]
หน่วย 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9
อิสมาน 𐒠 𐒡 𐒢 𐒣 𐒤 𐒥 𐒦 𐒧 𐒨 𐒩

อ้างอิง

[แก้]
  1. Abdullahi, Mohamed Diriye (2001). Culture and Customs of Somalia (ภาษาอังกฤษ). Greenwood Publishing Group. p. 73. ISBN 978-0-313-31333-2.
  2. Lewis, I. M. (1999). A Pastoral Democracy: A Study of Pastoralism and Politics Among the Northern Somali of the Horn of Africa (ภาษาอังกฤษ). James Currey Publishers. ISBN 978-0-85255-280-3.
  3. Ministry of Information and National Guidance, Somalia, The writing of the Somali language, (Ministry of Information and National Guidance: 1974), p.5
  4. Andrew Simpson, Language and National Identity in Africa, (Oxford University Press: 2008), p.288
  5. Economist Intelligence Unit (Great Britain), Middle East annual review, (1975), p.229
  6. Mohamed Diriye Abdullahi, Culture and Customs of Somalia, (Greenwood Press: 2001), p.73

ข้อมูล

[แก้]
  • I.M. Lewis (1958) Bulletin of the School of Oriental and African Studies, University of London, Vol. 21 pp 134–156.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
ชุดตัวอักษรอิสมาน
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?