For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for อักษรม้ง.

อักษรม้ง

บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด กรุณาช่วยปรับปรุงบทความนี้ โดยเพิ่มการอ้างอิงแหล่งที่มาที่น่าเชื่อถือ เนื้อความที่ไม่มีแหล่งที่มาอาจถูกคัดค้านหรือลบออก (เรียนรู้ว่าจะนำสารแม่แบบนี้ออกได้อย่างไรและเมื่อไร)
อักษรม้ง
แม่แบบ:Script/Pahawh Hmong
"Phaj Hauj Hmoob" ในพ่าเฮ่า
ชนิด
อักษรกึ่งพยางค์
(มีเสียงสระเป็นศูนย์กลางคล้ายอักษรสระ)
ผู้ประดิษฐ์ชอง ลือ ยัง
ช่วงยุค
ค.ศ. 1959–ปัจจุบัน
ทิศทางLeft-to-right Edit this on Wikidata
ภาษาพูดภาษาม้งเด๊อว,ภาษาม้งจั๊ว
อักษรที่เกี่ยวข้อง
ระบบแม่
artificial
  • อักษรม้ง
    แม่แบบ:Script/Pahawh Hmong
ISO 15924
ISO 15924Hmng (450), ​Pahawh Hmong
ยูนิโคด
ยูนิโคดแฝง
Pahawh Hmong
ช่วงยูนิโคด
U+16B00-U+16B8F
Final Accepted Script Proposal

อักษรม้ง หรือ พ่าเฮ่าม้อง (RPA: Phaj hauj Hmoob [pʰâ hâu m̥ɔ̃́], พ่าเฮ่า: แม่แบบ:Script/Pahawh Hmong [pʰâ hâu m̥ɔ̃́]) ประดิษฐ์เมื่อ พ.ศ. 2502 โดย ชอง ลือ ยัง นักวรรณคดีม้งที่อยู่ทางภาคเหนือของลาวใกล้กับเวียดนาม ชางเชื่อว่าอักษรถูกส่งผ่านมายังเขาจากพระเจ้า เขาพยายามฟื้นฟูวัฒนธรรมม้ง แต่ถูกฝ่ายรัฐบาลลอบฆ่าเพราะหวั่นเกรงอิทธิพลของเขาที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เขาออกแบบอักษรสำหรับภาษาขมุด้วยแต่สาบสูญไป อักษรนี้เขียนสระก่อนพยัญชนะแต่ออกเสียงพยัญชนะก่อน มีเสียงวรรณยุกต์ 8 เสียง ชาวม้งที่ใช้อักษรนี้มีน้อย โดยมากเป็นกลุ่มชาตินิยมเพราะอักษรนี้ประดิษฐ์โดยชาวม้งเอง

อักษรอื่นที่ใช้เขียนภาษาม้งได้แก่อักษรพอลลาร์ด แม้วในจีน ในประเทศไทยใช้อักษรไทย ในช่วง พ.ศ. 2523 – 2533 มีการประดิษฐ์อักษรอื่นๆอีก เช่น เตาว์ ปาย ตวบ ที่มีลักษณะผสมระหว่างอักษรไทยกับอักษรจีน และอักษรไอโอโล ปัจจุบันชาวม้งส่วนใหญ่เขียนภาษาของตนด้วยอักษรละตินดัดแปลงที่ประดิษฐ์โดย มิชชันนารี วิลเลียม สมอลเลย์ เมื่อ พ.ศ. 2493 ซึ่งการเขียนแบบนี้กำหนดเสียงวรรณยุกต์ด้วยพยัญชนะท้าย

อักขรวิธี

[แก้]

วิธีเขียนภาษาม้งด้วยอักษรม้ง เขียนจากซ้ายไปขวา แต่อักขรวิธีต่างจากภาษาอื่น ๆ คือ เขียนสระขึ้นก่อน เขียนวรรณยุกต์ แล้วจึงเขียนพยัญชนะต้นตามหลัง ถ้าไม่ใส่พยัญชนะต้น จะถือว่าสะกดด้วย k (ก) และตามปกติจะเว้นวรรคทุกคำหรือพยางค์ นอกจากนี้ อักษรม้งมีตัวเลขและเครื่องหมายวรรคตอนเป็นของตัวเอง

สระหนึ่งเสียงมีได้สองรูป ซึ่งมีพื้นเสียงวรรณยุกต์ต่างกัน การเติมเครื่องหมายเสริมบนสระจะทำให้วรรณยุกต์เปลี่ยนไป ในขณะที่พยัญชนะหลายเสียงใช้รูปเดียวกัน การเติมเครื่องหมายเสริมบนพยัญชนะจะทำให้ออกเสียงต่างกัน แต่หากพิจารณาพยัญชนะและสระทั้งหมดที่เติมเครื่องหมายเสริม จะพบว่าไม่ได้เรียงลำดับตามฐานกรณ์แต่อย่างใด ผู้ที่ศึกษาหรือใช้ต้องอาศัยความจำเป็นหลัก

ยูนิโคด

[แก้]

อักษรม้งถูกเพิ่มเข้าไปในยูนิโคดเมื่อเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2014 ในรุ่นที่ 7.0.

บล็อกยูนิโคดของพ่าเฮ่าม้องอยู่ที่ U+16B00-U+16B8F:

แม่แบบ:Unicode chart Pahawh Hmong

ฟอนต์

[แก้]

ปัจจุบัน ยูนิโคดพ่าเฮ่าม้งสนับสนุนเฉพาะใน:

อ้างอิง

[แก้]
  • Ratliff, Martha. 1996. "The Pahawh Hmong Script," in The World's Writing Systems, edited by Peter T. Daniels and Bright, William. University of Oxford Press: New York, NY, pp. 619–624.
  • Rogers, Henry. 2005. Writing Systems: A Linguistic Approach. Blackwell Publishing. pp. 260–262.
  • Smalley, William Allen, Chia Koua Vang (Txiaj Kuam Vaj 𖬔𖬲𖬯𖬵 𖬐𖬰 𖬖𖬲𖬜 ), and Gnia Yee Yang (Nyiaj Yig Yaj 𖬔𖬲𖬮𖬵 𖬃𖬶𖬤 𖬖𖬲𖬤). 1990. Mother of Writing: The Origin and Development of a Hmong Messianic Script. University of Chicago Press: Chicago.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
อักษรม้ง
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?