For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for พระเจ้าอลองพญา.

พระเจ้าอลองพญา

พระเจ้าอลองพญา
พระมหากษัตริย์พม่า
ครองราชย์29 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1752 – 11 พฤษภาคม ค.ศ. 1760
ราชาภิเษก17 เมษายน ค.ศ. 1752
ก่อนหน้าพระเจ้ามหาธรรมราชาธิบดี
ถัดไปพระเจ้ามังลอก
ประสูติ24 สิงหาคม [ตามปฎิทินเก่า: 13 สิงหาคม] ค.ศ. 1714
มุกโชโบ
อองเซยะ
สวรรคต11 พฤษภาคม ค.ศ. 1760
เมาะตะมะ
ฝังพระศพพฤษภาคม ค.ศ. 1760
ชเวโบ
มเหสีพระนางยุนซาน
พระราชบุตรพระเจ้ามังลอก
พระเจ้ามังระ
พระเจ้าปดุง
ราชวงศ์ราชวงศ์โกนบอง
ศาสนาพุทธเถรวาท
พระราชานุสาวรีย์พระเจ้าอลองพญา

พระเจ้าอลองพญา (พม่า: အလောင်းမင်းတရား อะล่องมี่นตะย่า หรือ အလောင်းဘုရား อะล่องพะย่า; มีความหมายว่า "หน่อพระพุทธเจ้า"; สิงหาคม ค.ศ. 1714 – 11 พฤษภาคม ค.ศ. 1760) เป็นพระมหากษัตริย์พม่าระหว่างวันที่ 21 มีนาคม ค.ศ. 1752 ถึง 11 พฤษภาคม ค.ศ. 1760 รวมได้ 8 ปี 51 วัน เป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์โก้นบองซึ่งเป็นราชวงศ์สุดท้ายของพม่า พระองค์กำเนิดเป็นสามัญชน โดยเป็นผู้นำหมู่บ้านแถบพม่าตอนบน สามารถรวบรวมบ้านเมืองให้เป็นปึกแผ่นปราบปรามมณีปุระ กอบกู้ล้านนาคืนจากอยุธยา และขับชาวอังกฤษและฝรั่งเศสซึ่งให้การสนับสนุนราชอาณาจักรหงสาวดีฟื้นฟูของชาวมอญ พระองค์ก่อตั้งเมืองย่างกุ้งในปี ค.ศ. 1755 สวรรคตจากพระอาการประชวรระหว่างการบุกอาณาจักรอยุธยา

ทางพม่าถือว่าพระองค์เป็นกษัตริย์พม่าที่ยิ่งใหญ่ที่สุด 1 ใน 3 พระองค์ (อีกสองพระองค์ ได้แก่ พระเจ้าอโนรธามังช่อ ปฐมกษัตริย์ราชวงศ์พุกาม และพระเจ้าบุเรงนอง ราชวงศ์ตองอู) เนื่องจากทรงรวบรวมประเทศได้อีกเป็นครั้งที่สาม

พระราชประวัติ

[แก้]

พระเจ้าอลองพญากำเนิดเป็นสามัญชนธรรมดา นามว่า อองเซยะ (အောင်ဇေယျ) ที่หมู่บ้านเล็ก ๆ ชื่อ "มุกโชโบ" หรือ "ชเวโบ" หมู่บ้านไม่กี่ร้อยหลังคาเรือนในเขตแม่น้ำมู่ ซึ่งอยู่ห่างออกไปราว 60 ไมล์ทางตะวันตกเฉียงเหนือของอังวะ ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1714 โดยถือกำเนิดในครอบครัวผู้ดีซึ่งเคยปกครองหุบเขามู่มาหลายชั่วอายุคน บิดาเป็นผู้นำหมู่บ้านมุกโชโบสืบต่อจากบรรพบุรุษ และลุงซีตามี่นจี้ (စည်သာမင်းကြီး) เป็นขุนนางในเขตหุบเขามู่ ด้วยพระองค์อ้างว่าสืบเชื้อสายมาจากผู้บังคับบัญชาทหารม้าสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 15 พระอนุชาของพระเจ้าโม่ญี่นตะโด้ ซึ่งหมายถึงว่าพระองค์สืบเชื้อสายมาจากราชวงศ์พุกามด้วยพระองค์มาจากครอบครัวใหญ่ และมีความเกี่ยวข้องทางสายเลือดและการแต่งงานกับครอบครัวผู้ดีอื่น ๆ อีกมากในพื้นที่หุบเขานั้น ในปี ค.ศ. 1730 อองเซยะแต่งงานกับยู่นซาน (ယွန်းစံ) ลูกสาวหัวหน้าหมู่บ้านที่อยู่ใกล้เคียง ทั้งสองมีลูกชาย 6 คน และลูกสาว 3 คน โดยลูกสาวคนที่ 4 เสียชีวิตไปตั้งแต่ยังเล็ก

อองเซยะปฏิบัติกิจที่สำคัญ คือ ปราบปรามมอญที่ขึ้นมามีอิทธิพลแทนที่ชนชาวพม่าหลังการล่มสลายของราชวงศ์ตองอู จนได้รับชัยชนะเด็ดขาดในปี ค.ศ. 1757 โดยใช้เวลา 8 ปี และตั้งพระนาม "อลองพญา" เสมือนพระองค์เป็นพระโพธิสัตว์เสด็จมาปราบยุคเข็ญ และยังได้สถาปนาศูนย์กลางของอาณาจักรพม่าขึ้นใหม่ที่เมืองชเวโบ ก่อนที่จะย้ายมาที่อังวะในยุคหลัง โดยมีเมืองอื่น ๆ รายล้อม เช่น อมรปุระ มณีปุระ ซะไกง์ เป็นต้น อีกทั้งพระองค์ยังเป็นผู้พัฒนาเมืองย่างกุ้งและพระราชทานชื่อเมืองนี้ใหม่เป็นภาษาพม่า จากเดิมที่เป็นเพียงหมู่บ้านชาวประมงเล็ก ๆ รัชสมัยของพระองค์มักมีการเปลี่ยนชื่อเมืองและสถานที่สำคัญโดยมีเลตเว นอระธาเป็นมหากวีที่ปรึกษาแก่พระองค์ ตามความเชื่อด้านโหราศาสตร์ เพื่อเป็นสิริมงคลเสริมพระบารมีและสร้างความชอบธรรมในการปกครองด้วย เนื่องจากภูมิหลังของพระองค์ไม่ได้มีเชื้อสายกษัตริย์ แต่สามารถต่อสู้ศัตรูแล้วจึงปราบดาภิเษก[1]

นอกจากนี้แล้วในทางพุทธศาสนา นอกจากพระองค์จะใช้พระนามที่ให้เชื่อว่าพระองค์เป็นเสมือนพระโพธิสัตว์เสด็จมาปราบยุคเข็ญแล้ว พระองค์ยังเป็นองค์ศาสนูปถัมภกที่สำคัญ โดยสนับสนุนศาสนามีพระจริยวัตรที่ธรรมะธัมโม สนับสนุนให้ราษฎรไม่ทำผิดศีล เป็นต้น

พระเจ้าอลองพญาเสด็จสวรรคตระหว่างทางกลับจากการทำสงครามกับอยุธยารัชสมัยสมเด็จพระเจ้าเอกทัศ ก่อนจะมาสงคราม พระองค์ส่งพระราชสาสน์ถึงสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 2 แห่งบริเตนใหญ่เพื่อแจ้งเหตุสงครามครั้งนี้ โดยอ้างสิทธิ์ของพม่าเหนืออยุธยาแต่ครั้งพระเจ้าบุเรงนอง และอ้างว่าพระองค์เป็นพระเจ้าช้างเผือกหรือพระเจ้าจักรพรรดิ ตามพงศาวดารไทยระบุว่า พระองค์สวรรคตเพราะปืนใหญ่แตกที่วัดหน้าพระเมรุ แต่ทางพงศาวดารพม่าระบุว่าสวรรคตเพราะประชวร

พระเจ้าอลองพญาทรงครองราชย์ระหว่าง ค.ศ. 1752–1760[2]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ชัยวัฒน์ ปะสุนะ, "สงครามเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 ในจดหมายเหตุพม่า," เก็บถาวร 2021-11-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 7(2) (กรกฎาคม-ธันวาคม 2562), หน้า 164.
  2. U Tin, Konbaungzet Yazawindawgyi, Vol.1 (Mandalay: Reprint Rangoon, 1922: 'Rajadhiraja Vilasini of The Manifestation of the King of Kings; Maung Tin (tr) JBRS, Vol.IV part 1, April 1914; Taw Sein Ko, 'A Preliminary Study of the Po: U :Daung Inscription of Sinbyuyin, 1774 AD; 'The Indian Antiquary 12 (1983) ; Khin Khin Sein (ed.) Alaung Mintayagyi Ameindawmya (Edits of Alaungpaya), (Rangoon: Burma Historical Commission, 1964), Edit No.33: Letwenawrahta, Alaung Mintayagyi Ayedawpon (Biography of Alaungpaya), (Rangoon: Ministry of Culture, 1957)

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
ก่อนหน้า พระเจ้าอลองพญา ถัดไป
สิ้นสุดราชวงศ์ตองอู พระมหากษัตริย์พม่า
(อาณาจักรพม่ายุคที่ 3)

(ค.ศ. 1752–1760)
พระเจ้ามังลอก
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
พระเจ้าอลองพญา
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?