For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for อาณาจักรหงสาวดีใหม่.

อาณาจักรหงสาวดีใหม่

อาณาจักรหงสาวดีใหม่

ဟံသာဝတီ နေပြည်တော်
พ.ศ. 2283–พ.ศ. 2300
สถานะอาณาจักร
เมืองหลวงหงสาวดี
ภาษาทั่วไปภาษามอญ
ศาสนา
ศาสนาพุทธนิกายเถรวาท
การปกครองสมบูรณาญาสิทธิราชย์
พระมหากษัตริย์ 
• พ.ศ. 2283–2290
สมิงทอพุทธเกติ
• พ.ศ. 2290–2300
พญาทะละ
ประวัติศาสตร์ 
• ก่อตั้งอาณาจักร
29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2283
• สงครามกับราชวงศ์ตองอู
พ.ศ. 2283–2295
• การขึ้นสู่อำนาจของพญาทะละ
พ.ศ. 2290
• การรุกรานของพม่าตอนบน
พ.ศ. 2294–2295
พ.ศ. 2295–2300
• การล่มสลาย
6 พฤษภาคม พ.ศ. 2300
ก่อนหน้า
ถัดไป
ราชวงศ์ตองอู
ราชวงศ์โก้นบอง

อาณาจักรหงสาวดีใหม่ (พม่า: ဟံသာဝတီ နေပြည်တော်) เป็นอาณาจักรที่ปกครองพม่าตอนล่าง และบางส่วนของพม่าตอนบน ระหว่าง พ.ศ. 2283–2300 อาณาจักรเกิดจากการก่อกบฏของชาวมอญ ต่อต้านราชวงศ์ตองอูของพม่าที่ปกครองอังวะ กลุ่มกบฎประสบความสำเร็จในการฟื้นฟูอาณาจักรหงสาวดีของชาวมอญ ที่เคยปกครองพม่าตอนล่างระหว่าง พ.ศ. 1830–2082 โดยได้รับการสนับสนุนจากฝรั่งเศส อาณาจักรที่เกิดใหม่พยายามขยายอำนาจไปทางเหนือ ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2294 เข้ายึดครองอังวะและล้มการปกครองของราชวงศ์ตองอูที่ยาวนาน 266 ปีลง[1]

ราชวงศ์ใหม่ที่เรียก ราชวงศ์โก้นบอง นำโดย พระเจ้าอลองพญา เรืองอำนาจในพม่าตอนบน และท้าทายต่อกองทัพทางใต้ หลังจากการรุกรานภาคเหนือของหงสาวดีพ่ายแพ้ใน พ.ศ. 2297 หงสาวดีได้ประหารเชื้อพระวงศ์อังวะทั้งหมด และแสดงความเป็นชนทางใต้ต่อต้านอลองพญา[2] ใน พ.ศ. 2298 อลองพญารุกรานพม่าตอนล่าง เข้ายึดที่ราบลุ่มแม่น้ำอิระวดี ท่าเรือของฝรั่งเศสที่สิเรียม และยึดพะโคได้ในที่สุดเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2300

การล่มสลายของอาณาจักรหงสาวดีใหม่เป็นการสิ้นสุดเอกราชและอำนาจของชาวมอญที่เคยมีมาหลายร้อยปีในพม่าตอนล่าง กองทัพของราชวงศ์โก้นบองกดดันให้ชาวมอญต้องอพยพไปยังสยาม[3] ในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 24 การแต่งงานข้ามกลุ่มชาติพันธุ์ และการอพยพของชาวพม่าจากทางเหนือ ทำให้ชาวมอญกลายเป็นชนกลุ่มน้อย[2]

การขึ้นสู่อำนาจของอาณาจักร

[แก้]

การกบฏทางใต้เป็นปัญหาใหญ่ในช่วงปลายราชวงศ์ตองอู กษัตริย์ที่อ่อนแอไม่สามารถปราบปรามการก่อกบฏที่แม่น้ำชี่น-ดวี่นในมณีปุระ ที่เริ่มใน พ.ศ. 2267 ตามมาด้วยการก่อกบฏในล้านนาตั้งแต่ พ.ศ. 2270 ข้าหลวงอังวะที่พะโคถูกสังหารเมื่อ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2283 โดยกลุ่มผู้นำในท้องถิ่น[4] กลุ่มผู้นำดังกล่าวได้เลือกชาวมอญที่พูดภาษาพม่าได้คือสมิงทอพุทธเกติ ขึ้นเป็นกษัตริย์แห่งหงสาวดีเมื่อ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2283[5]

ใน พ.ศ. 2285 กองทัพหงสาวดีเริ่มยกทัพขึ้นไปตามแม่น้ำอิระวดีไปจนถึงอังวะ ใน พ.ศ. 2288 หงสาวดียึดครองพื้นที่พม่าตอนล่างได้ทั้งหมดและยึดตองอูและแปรในพม่าตอนบนไว้ได้[1] (อาณาจักรใหม่ไม่ได้ควบคุมแนวชายฝั่งของเทือกเขาตะนาวศรี เมาะตะมะและทวายที่อยู่ภายใต้การปกครองของสยาม)

พญาทะละขึ้นเป็นกษัตริย์ต่อจากสมิงทอพุทธเกติใน พ.ศ. 2290 และสามารถยึดพม่าตอนบนได้ใน พ.ศ. 2294 บุกเข้ายึดอังวะได้ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2294 เชื้อพระวงศ์อังวะถูกจับไปพะโค ความผิดพลาดอย่างยิ่งของหงสาวดีคือรีบยกทัพกลับพะโคหลังจากได้ชัยชนะ ทิ้งเพียงสามกองทัพไว้ต่อต้านการลุกฮือของพม่า[1]

ล่มสลาย

[แก้]

ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2294 หัวหน้าหมู่บ้านชเวโบชื่อ อองไชยะ ได้ก่อตั้งราชวงศ์โก้นบอง และสถาปนาตนเองเป็นพระเจ้าอลองพญาเพื่อต่อสู้กับมอญ พระเจ้าอลองพญารวบรวมพม่าภาคเหนือทั้งหมดได้ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2295 และตั้งเมืองหลวงทางตอนเหนือของอังวะ ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2296 พญาทะละยกทัพไปปราบพม่าภาคเหนือ แต่เป็นฝ่ายแพ้และสูญเสียอย่างมาก หลังจากพ่ายแพ้กษัตริย์มอญได้ใช้นโยบายป้องกันตนเองและแสดงความเป็นมอญทางใต้ เชื้อพระวงศ์อังวะถูกประหารชีวิตทั้งหมดรวมทั้งกษัตริย์ตองอูองค์สุดท้าย บังคับให้ชาวพม่าทางใต้แต่งกายแบบชาวมอญ[2]

ใน พ.ศ. 2298 พระเจ้าอลองพญาได้เคลื่อนทัพมาสู่ที่ราบลุ่มแม่น้ำอิระวดีในเดือนเมษายนและย่างกุ้งในเดือนพฤษภาคม สิเรียมเมืองท่าที่ปกครองโดยฝรั่งเศสถูกยึดในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2299 เมื่อการช่วยเหลือของฝรั่งเศสถูกตัดขาด พะโคจึงถูกตีแตกเมื่อ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2300[6]

สิ่งสืบทอด

[แก้]

การล่มสลายของอาณาจักรนี้เป็นการสิ้นสุดเอกราชและอำนาจของชาวมอญที่เคยมีมาหลายร้อยปีในพม่าตอนล่าง กองทัพของราชวงศ์โก้นบองกดดันให้ชาวมอญต้องอพยพไปยังสยาม[3] ในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 24 การแต่งงานข้ามกลุ่มชาติพันธุ์ และครอบครัวชาวพม่าจากภาคเหนือเริ่มอพยพลงมาบริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำอิรวดี ทำให้ชาวมอญกลายเป็นชนกลุ่มน้อย[2]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
เชิงอรรถ
  1. 1.0 1.1 1.2 Harvey (1925) : 211–217
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 Lieberman (2003) : 202–206
  3. 3.0 3.1 Myint-U (2006) : 97
  4. Lieberman 1984: 215
  5. Hmannan Vol. 3 (1829) : 372–373
  6. Phayre (1883) : 166–169
บรรณานุกรม
  • Harvey, G. E. (1925). History of Burma: From the Earliest Times to 10 March 1824. London: Frank Cass & Co. Ltd.
  • Lieberman, Victor B. (1984). Burmese Administrative Cycles: Anarchy and Conquest, c. 1580–1760. Princeton University Press. ISBN 0-691-05407-X.
  • Lieberman, Victor B. (2003). Strange Parallels: Southeast Asia in Global Context, c. 800–1830, volume 1, Integration on the Mainland. Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-80496-7.
  • Myint-U, Thant (2006). The River of Lost Footsteps—Histories of Burma. Farrar, Straus and Giroux. ISBN 978-0-374-16342-6.
  • Phayre, Lt. Gen. Sir Arthur P. (1883). History of Burma (1967 ed.). London: Susil Gupta.
  • Royal Historical Commission of Burma (1832). Hmannan Yazawin (ภาษาพม่า). Vol. 1–3 (2003 ed.). Yangon: Ministry of Information, Myanmar.
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
อาณาจักรหงสาวดีใหม่
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?