For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for อ็อทโทที่ 1 มหาราช.

อ็อทโทที่ 1 มหาราช

จักรพรรดิอ็อทโทที่ 1 มหาราช
รูปปั้นในมัคเดอบวร์ค
จักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์
ครองราชย์2 กุมภาพันธ์ 962 – 7 เมษายน 973
ราชาภิเษก2 กุมภาพันธ์ 962[1]
ณ กรุงโรม
ก่อนหน้าพระเจ้าเบเรนการ์ที่ 2
ถัดไปจักรพรรดิอ็อทโทที่ 2
กษัตริย์แห่งอิตาลี
ครองราชย์25 ธันวาคม 961 – 7 พฤษภาคม 973
ราชาภิเษก10 ตุลาคม 951[a]
ปาวีอา
ก่อนหน้าพระเจ้าเบเรนการ์ที่ 2
ถัดไปจักรพรรดิอ็อทโทที่ 2
กษัตริย์แห่งแฟรงก์ตะวันออก
ครองราชย์2 กรกฎาคม 936 – 7 พฤษภาคม 973
ราชาภิเษก7 สิงหาคม 936
อาเคิน
ก่อนหน้าพระเจ้าไฮน์ริชที่ 1
ถัดไปจักรพรรดิอ็อทโทที่ 2
ดยุกแห่งซัคเซิน
ครองราชย์2 กรกฎาคม 936 – 7 พฤษภาคม 973
ก่อนหน้าพระเจ้าไฮน์ริชที่ 1 แห่งเยอรมนี
ถัดไปเบอร์นาร์ดที่ 1
ประสูติ23 พฤศจิกายน ค.ศ. 912(912-11-23)
อาณาจักรแฟรงก์ตะวันออก[2]
สวรรคต7 พฤษภาคม ค.ศ. 973(973-05-07) (60 ปี)
เมมเลเบิน, จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์
ชายาอีดจิธแห่งเวสเซ็กซ์ (930–946)
อาเดลาอีดแห่งบูร์กอญ (951–973)
ราชวงศ์อ็อทโท
พระราชบิดาพระเจ้าไฮน์ริชที่ 1
พระราชมารดามาทิลดา
ศาสนาโรมันคาทอลิก

จักรพรรดิอ็อทโทที่ 1 มหาราช (เยอรมัน: Otto I. der Große)[3] ทรงเป็นพระมหากษัตริย์แห่งอาณาจักรแฟรงก์ตะวันออก (ชื่อเรียกบริเวณที่เป็นประเทศเยอรมนีในยุคนั้น) ในปี ค.ศ. 936 และทรงเป็นจักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ตั้งแต่ปี ค.ศ. 962 จนเสด็จสวรรคตในปี ค.ศ. 973 ทรงเป็นพระราชโอรสองค์ใหญ่ในพระเจ้าไฮน์ริชที่ 1กับพระนางมาทิลเดอแห่งริงเงิลไฮม์

พระองค์ได้สเด็จขึ้นคอรงราชบัลลังก์แห่งดัชชีซัคเซินและบัลลังก์เยอรมนีภายหลังที่พระชนกสวรรคตในปี ค.ศ. 936 และทรงพระนามว่า พระเจ้าอ็อทโทที่ 1 แห่งเยอรมนี เมื่อขึ้นครองราชสมบัติแล้วพระองค์ก็เจริญรอยตามพระราชปณิธานของพระชนกที่จะรวบรวมแผ่นดินของชนเยอรมันให้เป็นหนึ่งเดียวอีกครั้ง พระราชอำนาจของพระองค์แผ่ขยายไปอย่างกว้างไกลผ่านชั้นเชิงการเมืองที่เยี่ยมยอด ไม่ว่าจะด้วยวิธีแต่งงานทางการเมืองหรือการแต่งตั้งสมาชิกพระราชวงศ์ของพระองค์ไปปกครองดัชชีและดินแดงต่างๆ นโยบายของพระองค์ได้ลดอำนาจและจำนวนดยุกลงไปมาก ซึ่งแต่ก่อนทำหน้าที่ปกครองดินแดนร่วมกับกษัตริย์ ดยุกจำนวนมากแปรสถานะจากผู้ปกครองอิสระมาเป็นผู้ปกครองใต้พระราชอำนาจของพระองค์ นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงนำศาสนจักรโรมันคาทอลิกเข้ามาสู่อาณาจักรเพื่อเสริมสร้างพระราชอำนาจของพระองค์

หลังทรงจัดการสงครามกลางเมืองระหว่างดัชชีต่างๆได้ พระองค์ก็สามารถมีชัยเหนือพวกมัจยาร์ (ฮังการี) ในยุทธการที่เลชเฟิลด์ ค.ศ. 955 ได้ ทำให้ยุโรปตะวันตกพ้นภัยจากการรุกรานของฮังการี[4] นอกจากนี้ การมีชัยเหนือพวกฮังการีนอกศาสนายังทำให้พระองค์มีชื่อเสียงขึ้นมาอย่างมากในฐานะ "ผู้กอบกู้แห่งคริสตจักร" ต่อมาในปี ค.ศ. 961 พระองค์สามารถพิชิตราชอาณาจักรอิตาลี และขยายดินแดนของพระองค์ไปทางเหนือ, ตะวันออก และใต้ ในปีค.ศ. 962 พระองค์ทรงราชาภิเษกขึ้นเป็นจักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ โดยให้พระสันตะปาปาสวมมงกุฎให้ในกรุงโรม เหมือนอย่างที่ชาร์เลอมาญเคยทำ

ประวัติศาสตร์ก่อนหน้า

[แก้]

หลังจักรพรรดิชาร์เลอมาญสวรรคตในปี ค.ศ. 814 จักรวรรดิของพระองค์ถูกแบ่งออก จักรพรรดิคนท้ายๆ ของราชวงศ์การอแล็งเฌียงมีอำนาจเพียงแค่ในอิตาลีเหนือและอิตาลีกลาง เบเรงการ์แห่งฟรีอูลี จักรพรรดิคนสุดท้ายของราชวงศ์การอแล็งเฌียงถูกฆาตกรรมในปี ค.ศ. 924 ตำแหน่งจึงตกเป็นของกษัตริย์ของชาวแฟรงก์ตะวันออกที่ต่อมากลายเป็นกษัตริย์แห่งเยอรมนี ในปี ค.ศ. 919 บรรดาดยุกในเยอรมันได้เลือกไฮน์ริชพรานล่านก ดยุกแห่งซัคเซินได้รับเลือกเป็นกษัตริย์และสกัดกั้นชาวมัจยาร์, ชาวสลาฟ และชาวเดนไว้ได้

ก่อนครองบัลลังก์

[แก้]

อ็อทโทเป็นพระโอรสของพระเจ้าไฮน์ริชที่ 1 แห่งลิวดอลฟิงหรือราชวงศ์ซัคเซิน (ขณะนั้นยังไม่เป็นกษัตริย์) กับแมธิล์เดอ พระมเหสีคนที่สอง ข้อมูลชีวิตช่วงวัยเด็กของพระองค์มีไม่มาก แต่เชื่อกันว่าพระองค์น่าจะเคยร่วมทำศึกกับพระเจ้าไฮน์ริชอยู่หลายครั้งในช่วงปลายวัยรุ่น ในปี ค.ศ. 930 อ็อทโทสมรสกับอีดจิธ พระธิดาของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดผู้อาวุโสแห่งอังกฤษ อีดิธให้กำเนิดพระโอรสหนึ่งคนกับพระธิดาหนึ่งคน คือ

  • ลิวดอล์ฟ (ประสูติ ค.ศ. 930) ดยุกแห่งชวาเบิน สิ้นพระชนม์ก่อนพระบิดา
  • ลิวต์การ์ด (ประสูติ ค.ศ. 932[5]) สมรสกับค็อนราท เคานต์แห่งลอแรน


ภาพมุมข้างของบัลลังก์ชาร์เลอมาญในอาสนวิหารอาเคินที่พระเจ้าอ็อทโทเข้ารับการสวมมงกุฎเป็นกษัตริย์ในปี ค.ศ. 936

พระเจ้าไฮน์ริชโปรให้อ็อทโทเป็นรัชทายาทของพระองค์ หนึ่งเดือนต่อมาพระเจ้าไฮน์ริชสิ้นพระชนม์ ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 936 เหล่าดยุกของเยอรมนีได้เลือกอ็อทโทเป็นกษัตริย์ พระองค์ได้รับการสวมมงกุฎจากอัครมุขนายกแห่งไมนทซ์และอัครมุขนายกแห่งโคโลญที่อาเคิน นครซึ่งเคยเป็นที่พำนักโปรดของจักรพรรดิชาร์เลอมาญ พระองค์มีพระชนมายุ 23 พรรษาขณะขึ้นเป็นกษัตริย์

กษัตริย์แห่งเยอรมนี

[แก้]
ยุโรปกลางในช่วงปี ค.ศ. 919–1125 ราชอาณาจักรเยอรมนีประกอบด้วยดัชชีซัคเซิน (เหลือง), ดัชชีฟรังเคิน (ฟ้า), ดัชชีบาวาเรีย (เขียว), ดัชชีชวาเบิน (ส้ม), ดัชชีลอแรน (ชมพูที่เหลือ)

กษัตริย์หนุ่มต้องการที่จะขึ้นมามีอำนาจเหนือเหล่าดยุกซึ่งพระบิดาของพระองค์ไม่เคยทำได้ นโยบายดังกล่าวก่อให้เกิดความขัดแย้งขึ้นมาในทันที เอเบอร์ฮาร์ดแห่งฟรังเคิน, เอเบอร์ฮาร์ดแห่งบาวาเรีย และกลุ่มชาวซัคเซินผู้ไม่พอใจที่มีแธงค์มาร์ พระเชษฐาต่างมารดาของพระเจ้าอ็อทโทเป็นผู้นำเริ่มกระด้างกระเดื่องในปี ค.ศ. 937 แต่ถูกพระเจ้าอ็อทโทกำราบเรียบอย่างรวดเร็ว แธงค์มาร์ถูกสังหาร เอเบอร์ฮาร์ดแห่งบาวาเรียถูกปลดจากตำแหน่ง ส่วนเอเบอร์ฮาร์ดแห่งฟรังเคินยอมสวามิภักดิ์ต่อองค์กษัตริย์

แต่การสวามิภักดิ์ของเอเบอร์ฮาร์ดเป็นเพียงการแสดงตบตา ในปี ค.ศ. 939 เขาได้ร่วมกับกิเซลแบร์ตแห่งโลทริงเงินและไฮน์ริช พระอนุชาของพระเจ้าอ็อทโทก่อกบฎต่อพระเจ้าอ็อทโทโดยมีพระเจ้าหลุยส์ที่ 4 แห่งฝรั่งเศสให้การสนับสนุน ครั้งนี้เอเบอร์ฮาร์ดถูกสังหารในสมรภูมิ ส่วนกิเซลแบร์ตจมน้ำเสียชีวิตขณะกำลังหนี ไฮน์ริชยอมสวามิภักดิ์ต่อกษัตริย์และพระเจ้าอ็อทโทเองก็ให้อภัย ไฮน์ริชที่ยังคงคิดว่าตนเองคือคนที่พระบิดาอยากให้ขึ้นเป็นกษัตริย์ได้สมคบคิดวางแผนปลงพระชนม์พระเจ้าอ็อทโทในปี ค.ศ. 941 แผนการถูกเปิดโปงและทุกคนที่ร่วมกันสมคบคิดถูกลงโทษยกเว้นไฮน์ริชที่ได้รับการให้อภัยอีกครั้ง ความเมตตาของพระเจ้าอ็อทโททำให้ไฮน์ริชภักดีต่อพระเชษฐานับตั้งแต่นั้นมาและในปี ค.ศ. 947 พระองค์ได้รับพระราชทานตำแหน่งดยุกแห่งบาวาเรีย ส่วนดยุกเยอรมนีตำแหน่งอื่นๆ ตกเป็นของเหล่าพระญาติของพระเจ้าอ็อทโท

ในช่วงที่การแก่งแย่งชิงดีภายในดำเนินอยู่นั้น พระเจ้าอ็อทโทได้เสริมความแข็งแกร่งในการป้องกันและได้ขยายขอบเขตอาณาจักรของพระองค์ ทรงปราบชาวสลาฟทางฝั่งตะวันออกและได้พื้นที่ส่วนหนึ่งของเดนมาร์กมาอยู่ใต้การปกครอง ทรงตั้งตำแหน่งบิชอปในดินแดนดังกล่าวเพื่อผนึกความเป็นเจ้าประเทศราชของเยอรมนีในดินแดนนั้น โบฮีเมียสร้างปัญหาให้แก่พระเจ้าอ็อทโท แต่พระองค์ก็บีบเจ้าชายโบลสวัฟที่ 1 ให้ยอมจำนนได้ในปี ค.ศ. 950 และบังคับให้จ่ายบรรณาการให้แก่พระองค์ เมื่อฐานในบ้านเกิดแข็งแกร่ง พระเจ้าอ็อทโทไม่เพียงกำจัดการอ้างสิทธิ์ในโลทริงเงินของฝรั่งเศสได้ แต่พระองค์ยังเข้าไปเป็นตัวลางไกล่เกลี่ยปัญหาภายในของฝรั่งเศสด้วย

รูปปั้นของพระเจ้าอ็อทโทที่ 1 (ขวา) กับอาเดลาอีดในอาสนวิหารไมเซิน พระเจ้าอ็อทโทกับอาเดลาอีดอภิเสกสมรสกันหลังทรงผนวกอิตาลี

อีดิธสิ้นพระชนม์ในปี ค.ศ. 946 ปี ค.ศ. 951 พระเจ้าอ็อทโทบุกอิตาลีที่เบเรนการ์แห่งอิฟเรอา พวกขุนนางของอิตาลีได้ทำการยึดบัลลังก์และลักพาตัวอาเดลาอีด เจ้าหญิงอิตาลีจากบูร์กอญซึ่งเป็นพระราชินีม่ายของกษัตริย์คนก่อน เบเรนการ์พยายามบังคับให้พระนางสมรสกับบุตรชายของตนแต่พระนางหนีไปได้และได้ไปขอความช่วยเหลือจากกษัตริย์เยอรมนี พระเจ้าอ็อทโทข้ามเทือกเขาแอลป์มายึดตำแหน่งกษัตริย์ของชาวลอมบาร์ดและอภิเษกสมรสกับอาเดลาอีด พระองค์อนุญาตให้เบเรนการ์ปกครองอิตาลีต่อไปในฐานะในฐานะข้าราชบริวารของพระองค์ พระเจ้าอ็อทโทกับอาเดลาอีดมีพระโอรสธิดาด้วยกัน คือ

  • ไฮน์ริช (ประสูติ ค.ศ. 952[6]) สิ้นพระชนม์ในวัยเด็ก
  • บรูโน (ประสูติ ค.ศ. 954[7]) สิ้นพระชนม์ในวัยเด็ก
  • มาทิลดา (ประสูติ ค.ศ. 954) พระอธิการิณีแห่งเควดลินบวร์ค
  • ออทโทที่ 2 (ประสูติ ค.ศ. 955) จักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์

ในเวลาเดียวกันนั้นในเยอรมนี ลิวดอล์ฟ พระโอรสของพระเจ้าอ็อทโทกับอีดิธได้ร่วมกับบุคคลสำคัญหลายคนของเยอรมนก่อปฏิวัติต่อกษัตริย์ ความสำเร็จลอยมาอยู่ตรงหน้าหนุ่มน้อย และพระเจ้าอ็อทโทได้ต้องถอนทัพกลับซัคเซิน แต่ในปี ค.ศ. 954 การรุกรานของชาวมัจยาร์เริ่มสร้างปัญหาให้กลุ่มกบฏที่ถูกกล่าวหาว่าสมคบคิดกับศัตรูของเยอรมนี การต่อสู้ยังคงดำเนินต่อไปจนกระทั่งลิวดอล์ฟยอมจำนนต่อพระบิดาในปี ค.ศ. 955 พระเจ้าอ็อทโทสามารถบดขยี้ชาวมัจยาร์ได้ที่สมรภูมิเลชเฟล์ด จากนั้นชาวมัจยาร์ก็ไม่เคยบุกเยอรมนีอีกเลย พระเจ้าอ็อทโทยังคงประสบความสำเร็จทางทหารอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะกับชาวสลาฟ

จักรพรรดิแห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์

[แก้]
การพบปะกันของจักรพรรดิอ็อทโทที่ 1 กับสมเด็จพระสันตะปาปาจอห์นที่ 12 (วาดราวปี ค.ศ. 1450)

ปี ค.ศ. 961 สมเด็จพระสันตะปาปาจอห์นที่ 12 (ซึ่งรู้จักกันดีจากการพฤติกรรมตนผิดศีลธรรมทางโลกีย์) ต้องการคนมาช่วยต่อกรกับเบเรนการ์ที่เข้ายึดพื้นที่ส่วนหนึ่งของรัฐสันตะปาปา พระองค์หันมาขอความช่วยเหลือจากพระเจ้าอ็อทโทที่รีบเดินทางไปช่วยเหลือทันทีเพื่อแลกกับการได้รับการสวมมงกุฎเป็นจักรพรรดิจากสมเด็จพระสันตะปาปา พระองค์ปราบและจองจำเบเรนการ์ ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 962 สมเด็จพระสันตะปาปาจอห์นที่ 12 สวมมงกุฎให้พระเจ้าอ็อทโทเป็นจักรพรรดิ แต่ต่อมาไม่นานสมเด็จพระสันตะปาปาก็ไม่พอใจต่อการตกอยู่ภายใต้อำนาจของจักรพรรดิอ็อทโทจึงลอบวางแผนต่อต้านพระองค์ จักรพรรดิอ็อทโทกลับมาที่โรมในปี ค.ศ. 963 สภาบิชอปที่ก้มหัวให้พระองค์และจัดการประชุมตามความประสงค์ของพระองค์ได้ปลดสมเด็จพระสันตะปาปาจอห์นออกจากตำแหน่ง ต่อมาพระองค์ได้เลือกชาวโรมันมาครองตำแหน่งแทนเป็นสมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 8

จักรพรรดิอ็อทโทแทรกแซงกิจการภายในของโรมอีกครั้งในปีต่อมาเมื่อเกิดการก่อกบฏต่อสมเด็จพระสันตะปาปาลีโอและมีการเลือกสมเด็จพระสันตะปาปาอีกคนมาแทนที่ การแทรกแซงยุติลงหลังสมเด็จพระสันตะปาปาลีโอสิ้นพระชนม์ในปี ค.ศ. 965 จักรพรรดิกลับไปโรมอีกครั้งเพื่อส่งผู้ท้าชิงอีกคนที่พระองค์เลือกไว้ขึ้นครองบัลลังก์พระสันตะปาปาเป็นสมเด็จพระสันตะปาปาจอห์นที่ 14 เมื่อเกิดการก่อปฏิวัติต่อสมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น จักรพรรดิอ็อทโทสามารถกำราบได้ พระองค์ได้ยึดอำนาจควบคุมสมเด็จพระสันตะปาปาโดยไม่สนใจสมเด็จพระสันตะปาปาจอห์นอีกต่อไป

จักรพรรดิอ็อทโทเข้ายึดอาณาเขตของจักรวรรดิโรมันตะวันออกทางตอนใต้ของอิตาลีจนส่งผลให้ในปี ค.ศ. 972 ชาวไบเซนไทน์ได้ทำสนธิสัญญากับพระองค์ ยอมรับในตำแหน่งจักรพรรดิของพระองค์อย่างเป็นทางการ ทั้งยังยกเธโอฟาโน เจ้าหญิงบาเซนไทน์ให้เป็นเจ้าสาวของอ็อทโท พระโอรสและทายาทของพระองค์

หลังจักรพรรดิอ็อทโทกลับถึงเยอรมันได้ไม่นาน ทรงเรียกประชุมสภาครั้งใหญ่ที่ราชสำนักในเควดลินบวร์ค ทรงสิ้นพระชนม์ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 973 ร่างของพระองค์ถูกฝังเคียงข้างอีดิธในมัคเดอบวร์ค

อ้างอิง

[แก้]
  1. Heather 2014, p. 281.
  2. Freund, Stephan (2013). Wallhausen – Geburtsort Ottos des Großen, Aufenthaltsort deutscher Könige und Kaiser (ภาษาเยอรมัน). Schnell und Steiner. ISBN 978-3-7954-2680-4.
  3. Otto I, Holy Roman Emperor[1]
  4. Reuter 1991, p. 254.
  5. Schutz, Herbert (2010). The Medieval Empire in Central Europe: Dynastic Continuity in the Post-Carolingian Frankish Realm, 900–1300. Cambridge Scholars Publishing. pp. 41–70, p. 41.
  6. Keller, Hagen; Althoff, Gerd (2008). Die Zeit der späten Karolinger und der Ottonen: 888–1024. Gebhardt Handbuch der deutschen Geschichte Band 3(in German). Klett-Cotta, p. 193.
  7. Baldwin, Stewart. "Otto the Great". Medieval Genealogy. Retrieved 26 September 2014.
  1. Berengar II ruled from 952 until 961 as "King of Italy", but as Otto's vassal.

ดูเพิ่ม

[แก้]
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
อ็อทโทที่ 1 มหาราช
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?