For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for จักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์.

จักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์

จักรพรรดิ
แห่งชาวโรมัน
Romanorum Imperator
ราชาธิปไตยในอดีต
จักรวรรดิ
ตรานกอินทรีสองหัว ไรชส์อาดเลอร์ (Reichsadler) ของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์
ผู้ปกครองพระองค์สุดท้าย
จักรพรรดิฟรันทซ์ที่ 2

5 กรกฎาคม ค.ศ. 1792 – 6 สิงหาคม ค.ศ. 1806

ปฐมกษัตริย์ ชาร์เลอมาญ/ออทโทมหาราช
องค์สุดท้าย ฟรันทซ์ที่ 2
อิสริยยศ ฮิสอิมพีเรียลเมเจสตี
ผู้แต่งตั้ง ดูที่ พิธีราชาภิเษกของจักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์
เริ่มระบอบ 25 ธันวาคม ค.ศ. 800/2 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 962
สิ้นสุดระบอบ 6 สิงหาคม ค.ศ. 1806

จักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์[1] (เยอรมัน: Kaiser des Heiligen Römischen Reiches; อังกฤษ: Emperor of the Holy Roman Empire) หรือจักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (Holy Roman Emperor) หรือจักรพรรดิโรมัน-เยอรมัน (เยอรมัน: Römisch-Deutscher Kaiser) เป็นคำที่นักประวัติศาสตร์ใช้หมายถึงประมุขรัฐในสมัยกลางที่พระสันตะปาปาทรงแต่งตั้งให้เป็น "จักรพรรดิแห่งชาวโรมัน" ต่อมาตำแหน่งนี้มาจากการเลือกตั้งแต่ยังคงต้องรับราชาภิเษกจากพระสันตะปาปาอยู่ จนตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 16 เป็นต้นมาจึงหมายถึงผู้ปกครองจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ซึ่งเป็นมีอาณาเขตครอบคลุมดินแดนยุโรปกลาง

พระอิสริยยศ

[แก้]

ในทวีปยุโรปสมัยโบราณถือว่า "จักรพรรดิ" เป็นพระอิสริยยศมีบทบาทสำคัญในการปกป้องคริสตจักรโรมันคาทอลิก ในสมัยกลางพระสันตะปาปามีอำนาจมากขึ้นจนเกิดขัดแย้งกับจักรพรรดิในเรื่องการบริหารคริสตจักร ปัญหาที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดคือข้อขัดแย้งเรื่องการสถาปนาสมณศักดิ์ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 ระหว่างจักรพรรดิไฮน์ริชที่ 4 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์กับสมเด็จพระสันตะปาปาเกรกอรีที่ 7

หลังจากที่พระสันตะปาปาราชาภิเษกพระเจ้าชาร์เลอมาญเป็นจักรพรรดิโรมัน ผู้ที่สืบราชบัลลังก์ต่อมาก็สืบทอดพระอิสริยยศนี้ต่อมาด้วย จนกระทั่งเมื่อพระเจ้าเบเรนการีโอที่ 1 แห่งอิตาลีสวรรคตในปี ค.ศ. 924 พระสันตะปาปาก็ไม่ได้ราชาภิเษกใครขึ้นเป็นจักรพรรดิโรมันอีก จนเมื่อจักรพรรดิออทโทที่ 1 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ได้รับราชาภิเษกจึงถือว่าเป็นปฐมจักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ แต่บางตำราก็ถือว่าจักรพรรดิชาร์เลอมาญเป็นปฐมจักรพรรดิที่แท้จริง จักรพรรดิออทโทและผู้สืบราชบัลลังก์ของพระองค์ได้ถือว่าราชอาณาจักรแห่งชาวแฟรงก์ตะวันออกในสมัยราชวงศ์การอแล็งเฌียงเป็นจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ด้วย เจ้าชายเยอรมันจะทำการคัดเลือกเจ้าชายพระองค์หนึ่งในคณะขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์แห่งชาวเยอรมัน จากนั้นจึงจะได้รับราชาภิเษกจากพระสันตะปาปาต่อไป หลังจากการราชาภิเษกจักรพรรดิคาร์ลที่ 5 จักรพรรดิพระองค์ต่อ ๆ มาก็มิได้รับการราชาภิเกจากพระสันตะปาปาอีก ถือเป็นจักรพรรดิจากการเลือกตั้งตามกฎหมายโดยสมบูรณ์

แต่คำว่า "ศักดิ์สิทธิ์" ที่ประกอบในพระอิสริยยศจักรพรรดินั้นถูกใช้ครั้งแรกกับจักรพรรดิฟรีดริชที่ 1 แต่ตามประวัติศาสตร์นิพนธ์ถือว่าจักรพรรดิออทโทที่ 1 เป็นจักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์พระองค์แรก แม้ว่าที่จริงชาร์เลอมาญจะเป็นจักรพรรดิแห่งชาวโรมันพระองค์แรกที่ได้รับราชาภิเษกจากพระสันตะปาปาก็ตาม จักรพรรดิคาร์ลที่ 5 ถือเป็นจักรพรรดิพระองค์สุดท้ายที่ได้รับราชาภิเษกจากพระสันตะปาปา ส่วนจักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์พระองค์สุดท้ายที่มาจากการคัดเลือกคือจักรพรรดิฟรันซ์ซึ่งได้สละราชสมบัติช่วงที่มีสงครามนโปเลียนในปี ค.ศ. 1806 และถือเป็นการล่มสลายของจักรวรรดิ

รายพระนามจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์

[แก้]

จักรพรรดิแห่งชาวแฟรงค์

[แก้]

ราชวงศ์การอแล็งเฌียง

[แก้]
พระนาม รัชกาล ความสัมพันธ์กับรัชกาลก่อน (s) พระยศอื่น
คาร์ลที่ 1, มหาราช (ชาร์เลอมาญ)
(742–814)
25 ธันวาคม 800 28 มกราคม 814
ลูทวิชที่ 1, ผู้เคร่งศาสนา
(778–840)
11 กันยายน 813[2] 20 มิถุนายน 840 พระราชโอรสในคาร์ลที่ 1
โลแทร์ที่ 1
(795–855)
5 เมษายน 823 29 กันยายน 855 พระราชโอรสในลูทวิชที่ 1
ลูทวิชที่ 2
(825–875)
29 กันยายน855 12 สิงหาคม 875 พระราชโอรสในโลแทร์ที่ 1
คาร์ลที่ 2, พระเศียรล้าน
(823–877)
29 ธันวาคม 875 6 ตุลาคม 877 พระราชโอรสในลูทวิชที่ 1
คาร์ลที่ 3, ผู้อ้วนท้วน
(839–888)
12 กุมภาพันธ์ 881 13 มกราคม 888 พระราชนัดดาลูทวิชที่ 1

ราชวงศ์วิโดนิด

[แก้]
พระนาม รัชกาล ความสัมพันธ์กับรัชกาลก่อน (s) พระยศอื่น
กีย์ที่ 1
(?–894)
891 12 ธันวาคม 894 พระราชปทินัดดาในคาร์ลที่ 1 มหาราช
แลมเบิร์ตที่ 1
(880–898)
30 เมษายน 892 15 ตุลาคม 898 พระราชโอรสในกีย์ที่ 1

ราชวงศ์การอแล็งเฌียง

[แก้]
พระนาม รัชกาล ความสัมพันธ์กับรัชกาลก่อน (s) พระยศอื่น
อาร์นุลฟ์
(850–899)
22 กุมภาพันธ์ 896 8 ธันวาคม 899 พระภาคิไนยในคาร์ลที่ 3

ราชวงศ์โบโซนิดส์

[แก้]
พระนาม รัชกาล ความสัมพันธ์กับรัชกาลก่อน พระยศอื่น

ลูทวิชที่ 3, ผู้พระเนตรบอด
(880–928)
22 กุมภาพันธ์ 901 21 กรกฎาคม 905 พระราชนัดดาลูทวิชที่ 2

ราชวงศ์อุนโรชชิ่ง

[แก้]
ภาพ พระนาม รัชกาล ความสัมพันธ์กับรัชกาลก่อน พระยศอื่น
เบเรนการ์ที่ 1
(845–924)
ธันวาคม 915 7 เมษายน 924 พระราชนัดดาในลูทวิชที่ 1

จักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์

[แก้]

ราชวงศ์ออทโท

[แก้]
ภาพ พระนาม รัชกาล ความสัมพันธ์กับรัชกาลก่อน พระยศอื่น
ออทโทที่ 1, มหาราช
(912–973)
2 กุมภาพันธ์ 962 7 พฤษภาคม 973 สืบเชื้อสายจากลูทวิชที่ 1
ออทโทที่ 2, สีแดง
(955–983)
25 ธันวาคม 967 7 ธันวาคม 983 พระราชโอรสในออทโทที่ 1
ออทโทที่ 3
(980–1002)
21 พฤษภาคม 996 23 มกราคม 1002 พระราชโอรสในออทโทที่ 2
ไฮน์ริชที่ 2
(973–1024)
14 กุมภาพันธ์ 1014 13 กรกฎาคม 1024 พระญาติชั้น 2 ในออทโทที่ 3

ราชวงศ์ซาเลียน

[แก้]
ภาพ พระนาม รัชกาล ความสัมพันธ์กับรัชกาลก่อน (s) พระยศอื่น
คอนราดที่ 2, ผู้อาวุโส
(990–1039)
26 มีนาคม 1027 4 มิถุนายน 1039 พระราชปทินัดดาในออทโทที่ 1
ไฮน์ริชที่ 3, องค์ดำ
(1017–1056)
25 ธันวาคม 1046 5 ตุลาคม 1056 พระราชโอรสในคอนราดที่ 2
ไฮน์ริชที่ 4
(1050–1106)
5 ตุลาคม 1056 7 สิงหาคม 1106 พระราชโอรสในไฮน์ริชที่ 3
ไฮน์ริชที่ 5[3]
(1086–1125)
13 เมษายน 1111 23 พฤษภาคม 1125 พระราชโอรสในไฮน์ริชที่ 4

ราชวงศ์ซุพพลิงเบิร์ก

[แก้]
ภาพ พระนาม รัชกาล ความสัมพันธ์กับรัชกาลก่อน (s) พระยศอื่น
โลแทร์ที่ 2
(1075–1137)
4 มิถุนายน 1133 4 ธันวาคม 1137 มีศักดิ์เป็นพระราชนัดดาในไฮน์ริชที่ 3

ราชวงศ์โฮเอินชเตาเฟิน

[แก้]
ภาพ พระนาม รัชกาล ความสัมพันธ์กับรัชกาลก่อน (s) พระยศอื่น
ฟรีดริชที่ 1 บาบารอสซา
(1122–1190)
8 มิถุนายน 1155 10 มิถุนายน 1190 พระราชปนัดดาในไฮน์ริชที่ 4
ไฮน์ริชที่ 6
(1165–1197)
14 เมษายน 1191 28 กันยายน 1197 พระราชโอรสในFrederick I

ราชวงศ์เวลฟ์

[แก้]
ภาพ ตรา พระนาม รัชกาล ความสัมพันธ์กับรัชกาลก่อน (s) พระยศอื่น
ออทโทที่ 4
(1175–1218)
9 มิถุนายน 1198 1215 พระราชปนัดดาในโลแทร์ที่ 2

ราชวงศ์โฮเอินชเตาเฟิน

[แก้]
ภาพ พระนาม รัชกาล ความสัมพันธ์กับรัชกาลก่อน (s) พระยศอื่น
ฟรีดริชที่ 2,
Stupor Mundi (1194–1250)
22 พฤศจิกายน 1220 13 ธันวาคม 1250 พระราชโอรสในไฮน์ริชที่ 6

ราชวงศ์ลักเซมเบิร์ก

[แก้]
ภาพ พระนาม รัชกาล ความสัมพันธ์กับรัชกาลก่อน พระยศอื่น
ไฮน์ริชที่ 7
(1274–1313)
29 มิถุนายน 1312 24 สิงหาคม 1313 สืบเชื้อสายจาก คาร์ลที่ 2

ราชวงศ์วิทเทิลส์บัค

[แก้]
ภาพ พระนาม รัชกาล ความสัมพันธ์กับรัชกาลก่อน พระยศอื่น
ลูทวิชที่ 4, บาวาเรีย
(1282–1347)
ตุลาคม 1314 11 ตุลาคม 1347 สืบสายจาก ไฮน์ริชที่ 4 สายโลแทร์ที่ 2

ราชวงศ์ลักเซมเบิร์ก

[แก้]
ภาพ พระนาม รัชกาล ความสัมพันธ์กับรัชกาลก่อน พระยศอื่น
คาร์ลที่ 4
(1316–1378)
11 กรกฎาคม 1346 29 พฤศจิกายน 1378 พระราชนัดดาในไฮน์ริชที่ 7
ซิกิสมุนด์
(1368–1437)
31 พฤษภาคม 1433 9 ธันวาคม 1437 พระราชโอรสในคาร์ลที่ 4

ราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค

[แก้]
ภาพ พระนาม รัชกาล ความสัมพันธ์กับรัชกาลก่อน พระยศอื่น
ฟรีดริชที่ 3, ผู้สร้างสันติภาพ
(1415–1493)
2 กุมภาพันธ์ 1440 19 สิงหาคม 1493 พระญาติชั้น 2 ในอัลเบรชที่ 2 แห่งเยอรมนี, จักรพรรดิโดยการแต่งตั้ง
มัคซีมีลีอานที่ 1
(1459–1519)
19 สิงหาคม 1493 12 มกราคม 1519 พระราชโอรสในฟรีดริชที่ 3
คาร์ลที่ 5
(1500–1558)
28 มิถุนายน 1519 (สวมมงกุฎ 1530) 27 สิงหาคม 1556 พระราชนัดดาในมัคซีมีลีอานที่ 1
แฟร์ดีนันด์ที่ 1
(1503–1564)
27 สิงหาคม 1556 (สวมมงกุฎ 1558) 25 กรกฎาคม 1564 พระอนุชาในคาร์ลที่ 5
มัคซีมีลีอานที่ 2
(1527–1576)
25 กรกฎาคม 1564 12 ตุลาคม 1576 พระราชโอรสในแฟร์ดีนันด์ที่ 1
รูดอล์ฟที่ 2
(1552–1612)
12 ตุลาคม 1576 20 มกราคม 1612 พระราชโอรสในมัคซีมีลีอานที่ 2
แมทเธียส
(1557–1619)
13 มิถุนายน 1612 20 มีนาคม 1619 พระอนุชาในรูดอล์ฟที่ 2
แฟร์ดีนันด์ที่ 2
(1578–1637)
28 สิงหาคม 1619 15 กุมภาพันธ์ 1637 พระญาติในแมทเธียส
แฟร์ดีนันด์ที่ 3
(1608–1657)
15 กุมภาพันธ์ 1637 2 เมษายน 1657 พระราชโอรสในแฟร์ดีนันด์ที่ 2
เลโอพ็อลท์ที่ 1
(1640–1705)
18 กรกฎาคม 1658 5 พฤษภาคม 1705 พระราชโอรสในแฟร์ดีนันด์ที่ 3
โจเซฟที่ 1
(1678–1711)
5 พฤษภาคม 1705 17 เมษายน 1711 พระราชโอรสในเลโอพ็อลท์ที่ 1
คาร์ลที่ 6
(1685–1740)
12 ตุลาคม 1711 20 ตุลาคม 1740 พระอนุชาในโจเซฟที่ 1
รายชื่อเต็ม

ราชวงศ์วิทเทิลส์บัค

[แก้]
ภาพ พระนาม รัชกาล ความสัมพันธ์กับรัชกาลก่อน พระยศอื่น
คาร์ลที่ 7
(1697–1745)
12 กุมภาพันธ์ 1742 20 มกราคม 1745 พระราชปทินัดดาในแฟร์ดีนันด์ที่ 2 พระชามาดาในโจเซฟที่ 1

ราชสกุลฮาพส์บวร์ค-ลอแรน: จักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์และอาร์ชดยุกแห่งออสเตรีย

[แก้]

จักรพรรดิคาร์ลที่ 6 มีแต่พระราชธิดา ก่อนหน้านี้มีพระราชโอรสแต่สิ้นพระชนม์กะทันหัน พระองค์จึงทรงสถาปนาอาร์ชดัชเชสมาเรีย เทเรซา พระราชธิดาองค์โตของพระองค์ ให้เป็นองค์รัชทายาททางพฤตินัย (Heiress Presumptive) โดยทรงออกพระราชกฤษฎีกาพิเศษ เพื่อรับรองให้พระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายในสามารถขึ้นครองราชย์สมบัติได้ เมื่อจักรพรรดิคาร์ลเสด็จสวรรคต อาร์ชดัชเชสมาเรีย เทเรซาก็ได้ทรงสืบราชสมบัติแห่งราชวงศ์ฮาพส์บวร์คต่อจากพระราชบิดาเป็นสมเด็จพระราชินีนาถแห่งฮังการีและโบฮีเมีย ส่วนตำแหน่งองค์พระประมุขแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์นั้น พระองค์ทรงอภิเษกสมรสกับดยุกฟรันซ์ที่ 3 สตีเฟนแห่งลอแรน (Duke Francis III Stephen of Lorraine) หลังจากอภิเษกสมรส พระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซียก็ทรงสนับสนุนพระสวามีของพระนางให้ครองราชย์เป็นจักรพรรดิฟรันซ์ที่ 1 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ให้พระสวามีเป็นองค์พระประมุขแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ แต่พระราชอำนาจและการบริหารบ้านเมืองจะเป็นขององค์จักรพรรดินีแต่เพียงผู้เดียว หลังจากนั้น ทั้ง 2 พระองค์ได้ทรงร่วมกันก่อตั้งราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค-ลอแรนขึ้น (Habsburg-Lorraine) และมีพระบรมวงศานุวงศ์ได้ทรงดำรงอยู่ในราชสกุลนี้เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

ภาพ จักรพรรดิ รัชกาล
ฟรันซ์ที่ 1 พ.ศ. 2288พ.ศ. 2308
(ค.ศ. 1745ค.ศ. 1765)
โยเซฟที่ 2 พ.ศ. 2308พ.ศ. 2333
(ค.ศ. 1765ค.ศ. 1790)
เลโอพ็อลท์ที่ 2 พ.ศ. 2333พ.ศ. 2335
(ค.ศ. 1790ค.ศ. 1792)
ฟรันซ์ที่ 2 พ.ศ. 2335พ.ศ. 2349
(ค.ศ. 1792ค.ศ. 1806)

ราชสกุลฮาพส์บวร์ค: อาร์ชดยุกแห่งออสเตรีย

[แก้]
รูป จักรพรรดิ รัชกาล
มัคซีมีลีอานที่ 1 พ.ศ. 2051พ.ศ. 2062 (ค.ศ. 1508 – ค.ศ. 1519)
คาร์ลที่ 5 พ.ศ. 2062พ.ศ. 2099 (ค.ศ. 1519 – ค.ศ. 1556)

ราชสกุลฮาพส์บวร์ค-ลอแรน: จักรพรรดิแห่งออสเตรีย

[แก้]

บทความหลัก: จักรพรรดิแห่งออสเตรีย

เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2349 จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ได้ถูกล้มล้างจากการรุกล้ำและรุกรานระบอบการเมืองการปกครองของนโปเลียน โบนาปาร์ต อย่างไรก็ตาม องค์พระประมุของค์สุดท้ายของจักรวรรดิจักรพรรดิฟรันซ์ที่ 2 ทรงสูญเสียตำแหน่ง'จักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์'ไป พระองค์จึงทรงตั้งจักรวรรดิใหม่ คือ จักรวรรดิออสเตรีย และทรงแต่งตั้งพระราชอิสริยยศใหม่ทั้งหมด โดยพระองค์ทรงใช้พระยศในฐานะองค์พระประมุขแห่งจักรวรรดิใหม่ว่า จักรพรรดิแห่งออสเตรีย ในวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2347

รูป จักรพรรดิ รัชกาล
ฟรันซ์ที่ 1 พ.ศ. 2347พ.ศ. 2378
(ค.ศ. 1804ค.ศ. 1835)
แฟร์ดีนันด์ที่ 1 พ.ศ. 2378พ.ศ. 2391
(ค.ศ. 1835ค.ศ. 1848)

เชิงอรรถ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ราชบัณฑิตยสถาน, สารานุกรมประเทศในทวีปยุโรป ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน, 2550, หน้า 41
  2. Egon Boshof: Ludwig der Fromme. Darmstadt 1996, p. 89
  3. Barraclough, Geoffrey (1984). The Origins of Modern Germany. W. W. Norton & Company. ISBN 978-0-393-30153-3.


{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
จักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?