For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for พระเจ้าสีป่อ.

พระเจ้าสีป่อ

ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด
พระเจ้าสีป่อ
พระมหากษัตริย์พม่า
ครองราชย์1 ตุลาคม พ.ศ. 2421 – 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2428 (7 ปี 58 วัน) [1]
ก่อนหน้าพระเจ้ามินดง
ถัดไปสิ้นสุดระบอบกษัตริย์
พระราชสมภพ1 มกราคม พ.ศ. 2402
เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
หม่องปุ
สวรรคต19 ธันวาคม พ.ศ. 2459 (57 พรรษา)
เมืองรัตนคีรี บริติชราช
พระภรรยาพระนางศุภยาลัต
เจ้าหญิงสะลิน[2](มิได้ราชาภิเษกสมรส)
พระนางศุภยาจี[2]
พระนางศุภยาเล[3]
พระราชบุตรเจ้าชายไม่ปรากฏนาม
เจ้าชายไม่ปรากฏนาม
เจ้าหญิงไม่ปรากฏนาม
เจ้าหญิงเมียะพะยาจี
เจ้าหญิงเมียะพะยาละ
เจ้าหญิงเมียะพะยา
เจ้าหญิงเมียะพยากะเล
พระรัชกาลนาม
สิริปวรวิชยานันตยสติโลกาธิปติปัณฑิตมหาธัมมราชาธิราชา (သိရီပဝရ ဝိဇယာနန္တ ယသတိလောကာ ဓိပတိ ပဏ္ဍိတ မဟာဓမ္မရာဇာဓိရာဇာ)
ราชวงศ์ราชวงศ์โก้นบอง
พระราชบิดาพระเจ้ามินดง
พระราชมารดาเจ้าหญิงเมืองสี่ป้อ[4]
ลายพระอภิไธย

พระเจ้าสีป่อ[5] (พม่า: သီပေါ‌မင်း ตีบอมี่น) เป็นพระมหากษัตริย์พม่าพระองค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์โก้นบอง ถูกบังคับให้สละราชสมบัติและเนรเทศไปอยู่ที่เมืองรัตนคีรีในบริติชราช หลังสิ้นสงครามอังกฤษ–พม่าครั้งที่สาม และสวรรคตเมื่อ พ.ศ. 2459[6]

พระเจ้าสีป่อเป็นพระราชโอรสของพระเจ้ามินดงกับเจ้าหญิงจากเมืองสี่ป้อในดินแดนไทใหญ่ มีพระนามเดิมว่าเจ้าชายหม่องปุ (မောင်ပု) เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2402 ที่กรุงมัณฑะเลย์ เมืองหลวงของราชอาณาจักรพม่าในเวลานั้น เมื่อเจริญพระชันษาขึ้นได้ผนวชเป็นพระภิกษุเพื่อศึกษาวิชาการต่าง ๆ เมื่อทรงลาผนวชแล้ว พระราชบิดาจึงทรงแต่งตั้งให้เป็นเจ้าผู้ครองนครสี่ป้อ ซึ่งเป็นที่มาของพระนามเมื่อเสวยราชสมบัติในเวลาต่อมา

พระองค์ได้ขึ้นครองราชสมบัติเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2421 ด้วยความช่วยเหลือจากพระนางอเลนันดอ พระมเหสีองค์หนึ่งของพระราชบิดาและเหล่าขุนนางชั้นสูงกลุ่มหนึ่ง มีพระนามจารึกในพระสุพรรณบัฎว่า สิริปวรวิชยานันตยสติโลกาธิปติปัณฑิตมหาธัมมราชาธิราชา พระองค์ได้เสกสมรสกับพระนางศุภยาลัต ซึ่งเป็นพระขนิษฐาต่างพระมารดา ต่อมาพระนางมีอิทธิพลต่อการตัดสินพระทัยในเหตุสำคัญต่าง ๆ ของพระเจ้าสีป่อเป็นอย่างมาก

ประสูติ

[แก้]

พระเจ้าสีป่อประสูติวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2402 เป็นพระราชโอรสในพระเจ้ามินดงกับพระนางลองซีหรือพระมเหสีแลซา เจ้าหญิงไทใหญ่[7] มีพระโสทรภคินี 3 พระองค์ ได้แก่

  • เจ้าหญิงเมงเกง (พ.ศ. 2398 – ?) พระเชษฐภคินี
  • เจ้าหญิงผกันคยี (พ.ศ. 2401 – 1 มีนาคม พ.ศ. 2454) พระเชษฐภคินี
  • เจ้าหญิงเมกถีหล่า พ.ศ. 2403 – 1 มิถุนายน พ.ศ. 2439) พระขนิษฐา

พระราชมารดาของพระองค์ทรงถูกพระเจ้ามินดงเนรเทศออกจากราชสำนัก แล้วบวชเป็นตี่ละฉิ่นในช่วงบั้นปลายพระชนม์ พระนางทรงใช้ชีวิตและสิ้นพระชนม์อย่างไร้เกียรติ[8]

ขึ้นครองราชย์

[แก้]

เจ้านครสีป่อเป็นที่โปรดปรานของพระนางอเลนันดอ พระมเหสีของพระเจ้ามินดง รวมทั้งสมาชิกเสนาบดีสภาอย่างกินหวุ่นมินจี มัคเวมินจี และเยนันจองมินจีก็สนับสนุนเจ้านครสีป่อเพื่อให้ขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญตามที่วางแผนไว้[9] อย่างไรก็ตาม เมื่อพระองค์ขึ้นครองราชย์เมื่อ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2421 ทุกอย่างไม่เป็นไปตามแผนที่คาดไว้ พระองค์กับพระนางศุภยาลัต พระมเหสี ได้สั่งปลด มัคเวมินจี และเยนันจองมินจีในเดือนมกราคม พ.ศ. 2421 และยกเลิกแผนการเปลี่ยนแปลงไปสู่ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ ได้ประหารเจ้านายฝ่ายหน้าฝ่ายในที่คุมขังไว้ตั้งแต่พระเจ้ามินดงประชวรระหว่างวันที่ 13–18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2421 จนหมดสิ้น

อังกฤษได้ประท้วงการสังหารหมู่ครั้งนี้ โดย R. B. Shaw ผู้แทนอังกฤษประจำราชสำนักมัณฑะเลย์ ได้ยื่นประท้วงและเสนอจะนำนักโทษการเมืองไปไว้ในพม่าที่อยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษ แต่ไม่เป็นผล อย่างไรก็ตาม อังกฤษได้ช่วยเจ้านครญองย่านให้ลี้ภัยไปอยู่ในพม่าตอนล่างตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2421[9]

สงครามกับอังกฤษและสิ้นสุดอำนาจ

[แก้]
วังสีป่อที่เมืองรัตนคีรี ประเทศอินเดีย ที่ประทับของพระเจ้าสีป่อหลังสิ้นสุดอำนาจ

ในรัชกาลของพระองค์ได้ส่งคณะทูตไปยังฝรั่งเศสเมื่อ 30 เมษายน พ.ศ. 2426 และได้มีการเจรจาเกี่ยวกับการทำสัญญาทางการค้า ยินยอมให้ฝรั่งเศสเข้ามาทำสัมปทานป่าไม้ซึ่งได้สร้างความหวาดระแวงให้อังกฤษ ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2428 พม่าเรียกค่าปรับจากบริษัทบอมเบย์เบอร์มาเทรดดิงเป็นเงินจำนวน 2.3 ล้านรูปี อังกฤษจึงตัดสินใจยื่นคำขาดต่อพม่าในวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2428 โดยให้พม่าลดค่าปรับ ให้ความสะดวกแกอังกฤษในการค้าขายกับจีนและให้อังกฤษควบคุมนโยบายต่างประเทศของพม่า พม่าปฏิเสธมาในวันที่ 9 พฤศจิกายน กองทัพอังกฤษจึงเคลื่อนทัพออกจากย่างกุ้งไปยังพม่าเหนือในวันที่ 14 พฤศจิกายนและยึดมัณฑะเลย์ได้ในวันที่ 28 พฤศจิกายน พระเจ้าสีป่อและพระนางศุภยาลัตยอมแพ้ในวันนี้ ทั้งสองพระองค์เสด็จลงเรือไปยังย่างกุ้งและถูกเนรเทศไปอินเดีย[10]

หลังสิ้นอำนาจ

[แก้]
พระเจ้าสีป่อ (กลาง) ขณะประทับในรัตนคีรี อินเดีย พร้อมข้าราชสำนัก ภาพถ่ายในพระราชพิธีเจาะพระกรรณของพระราชธิดา ราวก่อนปีพ.ศ. 2443

พระเจ้าสีป่อไปประทับที่รัตนคีรีในบริติชราช ซึ่งอยู่ใกล้ทะเลอาหรับ ในช่วงห้าปีแรก ทรงได้รับเงินจากอังกฤษเดือนละ 100,000 รูปี หลังจากนั้นเงินจำนวนนี้ลดลงครึ่งหนึ่ง และเมื่อพระองค์สิ้นพระชนม์ ได้เพียงเดือนละ 25,000 รูปีเท่านั้น[11] พระองค์สวรรคตเมื่อ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2459 พระศพของพระองค์ฝังไว้ใกล้ ๆ สุสานของชาวคริสต์[11] หลังจากพระองค์สวรรคต ลูกหลานของพระองค์ส่วนหนึ่งเดินทางกลับพม่า บางส่วนยังคงอยู่ในอินเดีย เมียะพยาจี (Myat Phayagyi) พระธิดาองค์โตของพระองค์ยังอยู่ในอินเดีย ส่วนเมียะพยา (Myat Phaya) พระธิดาองค์เล็กที่ประสูติที่รัตนคีรีเมื่อ พ.ศ. 2430 ได้เดินทางกลับมายังพม่าใน พ.ศ. 2462 พระนางสมรสกับอูเนียงใน พ.ศ. 2464 และสิ้นพระชนม์ในมะละแหม่งเมื่อ 3 มีนาคม พ.ศ. 2478 ลูกหลานของพระนางยังอยู่ในพม่า และได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้มีสิทธิ์สืบทอดราชบัลลังก์ของพม่า[12][13]

ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2555 เต้นเซน ประธานาธิบดีพม่าได้เดินทางไปเยี่ยมหลุมฝังศพของพระเจ้าสีป่อ และพบกับลูกหลานของพระองค์ที่อาศัยอยู่ที่นั่น นับเป็นครั้งแรกที่ประมุขรัฐบาลพม่าเดินทางไปเยือนสุสานของพระองค์[14]

พระธิดา

[แก้]

พระเจ้าสีป่อและพระนางศุภยาลัตมีพระธิดาร่วมกัน 4 พระองค์ได้แก่

  พระนาม ประสูติ สิ้นพระชนม์ หมายเหตุ
เจ้าหญิงเมียะพะยาจี 1880พ.ศ. 2423 1947พ.ศ. 2490 เจ้าหญิงอภิเษกสมรสกับนายทหารอินเดียที่พระราชวังสีป่อในรัตนคีรี
เจ้าหญิงเมียะพะยาละ 18834 ตุลาคม
พ.ศ. 2426
19564 เมษายน
พ.ศ. 2499
เจ้าหญิงอภิเษกสมรสกับข้าราชสำนักชาวพม่าที่วังสีป่อในรัตนคีรี เจ้าหญิงมยะพะยาละ ได้รับเลือกให้เป็นรัชทายาทในราชบัลลังก์พม่า เมื่อพระเจ้าสีป่อถูกโค่นล้มราชบัลลังก์ และทรงได้เป็นผู้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์และเป็นประมุขแห่งราชวงศ์พม่าเมื่อพระราชบิดาสวรรคต พระองค์สื้นพระชนม์ที่เมืองกาลิมปง ประเทศอินเดีย
เจ้าหญิงเมียะพะยา 18867 มีนาคม
พ.ศ. 2429
196221 กรกฎาคม
พ.ศ. 2505
เจ้าหญิงเสด็จกลับพม่าพร้อมพระราชมารดา และในปีพ.ศ. 2465 อภิเษกสมรสครั้งแรกกับโกเดา กยี เนียง พระนัดดาในเจ้าชายกะนอง ซึ่งมีศักดิ์เป็นพระปัยกาของเจ้าหญิง และเจ้าชายกะนองเป็นพระเชษฐาในพระเจ้ามินดง และทรงหย่ากันในปีพ.ศ. 2472 เจ้าหญิงอภิเษกสมรสครั้งที่สองกับอู มะยา อู นักกฎหมาย พระโอรสพระองค์ที่สองของเจ้าหญิงที่ประสูติแต่พระสวามีคนแรกคือต่อพะยาซึ่งเป็นผู้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์องค์ปัจจุบัน สืบต่อจากเจ้าหญิงเมียะพยาลัต
เจ้าหญิงเมียะพะยากะเล 1887พ.ศ. 2430 1935พ.ศ. 2478 เจ้าหญิงมีความชำนาญในภาษาอังกฤษอย่างมากและทรงเป็นโฆษกประจำพระราชวงศ์พม่า เจ้าหญิงอภิเษกสมรสกับนักกฎหมาย และทรงถูกรัฐบาลอาณานิคมส่งออกไปประทับที่เมาะลำเลิง จนกระทั่งสิ้นพระชนม์ที่นั่น

พงศาวลี

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Christopher Buyers. "The Konbaung Dynasty Genealogy: King Thibaw". royalark.net. สืบค้นเมื่อ 2009-10-04.
  2. 2.0 2.1 เสียงกระซิบที่ฝ่ายใน...กับ...เสียงร่ำไห้ที่ท้ายวัง[ลิงก์เสีย]
  3. The Royal Family of Burma
  4. พม่าเสียเมืองก็เพราะกษัตริย์อ่อนแอและมเหสีหฤโหด[ลิงก์เสีย]
  5. ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา. เที่ยวเมืองพะม่า. พระนคร : โรงพิมพ์พระจันทร์, 2489. 468 หน้า. หน้า 253.
  6. http://board.dserver.org/b/bestforlife/00000311.html[ลิงก์เสีย]
  7. Sudha Shah (สุภัตรา ภูมิประภาส แปล), "ราชันผู้ผลัดแผ่นดิน เมื่อพม่าเสียเมือง", กรุงเทพฯ:มติชน pp. 30; published 2014; ISBN 978-974-02-1329-1
  8. H. Fielding (สุภัตรา ภูมิประภาส แปล), "ราชินีศุภยาลัต จากนางกษัตริย์สู่สามัญชน", กรุงเทพฯ:มติชน pp. 48; published 2015; ISBN 978-974-02-1439-7
  9. 9.0 9.1 นินิเมยนต์. พม่ากับการต่อต้านจักรวรรดินิยมอังกฤษ ค.ศ. 1885–1895. แปลโดย ฉลอง สุนทรวาณิชย์. กทม. มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์ฯ. 2543
  10. วิไลเลขา ถาวรธนสาร. "สงครามอังกฤษ–พม่าครั้งที่สาม." ใน สารานุกรมประวัติศาสตร์สากลสมัยใหม่ : เอเชีย เล่ม 1 อักษร A–B ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2539, หน้า 166–170.
  11. 11.0 11.1 Christian, John LeRoy (1944). "Thebaw: Last King of Burma". The Journal of Asian Studies. Association for Asian Studies: 309–312. doi:10.2307/2049030.
  12. Kennedy, Phoebe, Burmese dictator lives like a king, laments the nation's last royal เก็บถาวร 2010-06-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, published in The Independent, 12.03.2010
  13. Royal Ark: The Konbaung Dynasty (19)
  14. Thein Sein visits grave of Burma’s last king เก็บถาวร 2012-12-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Retrieved 2012-12-26.


ก่อนหน้า พระเจ้าสีป่อ ถัดไป
พระเจ้ามินดง พระมหากษัตริย์พม่า
(อาณาจักรพม่ายุคที่ 3)

(1 ตุลาคม พ.ศ. 2421 – 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2428)
สิ้นสุดระบอบกษัตริย์พม่า


{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
พระเจ้าสีป่อ
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?