For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for สมิงทอพุทธกิตติ.

สมิงทอพุทธกิตติ

สมิงทอพุทธกิตติ
သမိန်ထောဗုဒ္ဓကိတ္တိ
กษัตริย์แห่งหงสาวดีฟื้นฟูใหม่
ครองราชย์8 ธันวาคม ค.ศ. 1740 – มกราคม ค.ศ. 1747
ต่อไปพญาทะละ
นายกรัฐมนตรีพญาทะละ
ประสูติพุกาม?
สวรรคตเชียงใหม่?
ชายาThiri Seitta แห่งเชียงใหม่[1]
พระนามเต็ม
Tha Hla သာလှ[1]
ราชวงศ์ตองอู
พระราชบิดาเจ้าแห่งพุกาม
พระราชมารดาThupappa
ศาสนาพุทธเถรวาท

สมิงทอพุทธกิตติ (พม่า: သမိန်ထောဗုဒ္ဓကိတ္တိ, ออกเสียง: [θə.mèɪ̯ɰ̃ tʰɔ́ boʊ̯ʔ.da̰ keɪ̯ʔ.tḭ] ตะเมนทอโบะดะเกะติ) เป็นพระเจ้าหงสาวดีระหว่าง ค.ศ. 1740 ถึง 1747 พระองค์รวบรวมชาวมอญโค่นล้มราชวงศ์ตองอู ที่ปกครองพม่าตอนล่างได้สำเร็จ และได้รับการเลือกจากชาวมอญให้ขึ้นเป็นกษัตริย์

พระราชประวัติ

[แก้]

สมิงทอพุทธกิตติ เคยผนวชเป็นพระภิกษุศึกษาไตรเพทและพยากรณ์จนแตกฉานแล้วสึกออกมารับราชการ มองซวยเยนะระทาเจ้าเมืองหงสาวดีตั้งให้เป็นสมิงทอ[2] ภายหลังธอระแซงมูขุนนางเชื้อสายไทใหญ่ได้จับเจ้าเมืองหงสาวดีฆ่าเสีย แล้วถวายราชสมบัติแก่สมิงทอซึ่งเฉลิมพระนามเป็นพระเจ้าทอพุทธเกษี (อักษรพม่าสะกดว่าพุทธกิตติ) ส่วนธอระแซงมูได้รับแต่งตั้งเป็นพญาทะละ[3] ใน คำให้การขุนหลวงหาวัด ระบุว่า สมิงทอมีพระมเหสีสองพระองค์ คือนางเทพลิลาบุตรี ธิดาเจ้าเมืองเชียงใหม่เป็นมเหสีฝ่ายซ้าย และนางพังพูเป็นมเหสีฝ่ายขวา[4] ส่วน คำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม ว่า มเหสีฝ่ายซ้ายชื่อนางเทพลิลา ธิดาขององค์จันทร์เจ้าเมืองเชียงใหม่ ส่วนมเหสีฝ่ายขวาชื่อนางคุ้ง ธิดากรมช้าง[5]

สมิงทอปรับตัวให้เข้ากับชีวิตของพระมหากษัตริย์ได้ยาก และเนื่องด้วยพระองค์มีเชื้อสายพม่าจึงมักไม่เต็มใจที่จะรับผิดชอบการปกครองหรือเป็นผู้บัญชาการกองทัพ และมักไม่อยู่ในเมืองหลวง[6] ส่วนใหญ่การปกครองจะให้อยู่ในการดูแลของพญาทะละ ทำให้พญาทะละคิดกบฏ

ต่อมาสมิงทอถูกพญาทะละยึดราชสมบัติ เมื่อเดือนมกราคม ค.ศ. 1747 พระองค์จึงเดินทางไปยังแคว้นเชียงใหม่ และหนีเข้ามาในเขตอาณาจักรอยุธยา สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศจึงให้รับตัวมาอยู่กรุงศรีอยุธยา แต่เมื่อสมิงทอเริ่มมีพวกมากขึ้นก็ทรงไม่ไว้พระทัยจึงให้จำคุกไว้ จนกระทั่งพญาทะละส่งพระราชสาส์นมาขอให้ส่งตัวสมิงทอกับพรรคพวกกลับกรุงหงสาวดี แต่พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศทรงเห็นว่าสมิงทอหนีตายมาพึ่งพระบารมี ไม่ควรส่งกลับไปตาย แต่เพื่อรักษาพระราชไมตรี[7]จึงให้เนรเทศลงสำเภาไปปล่อยที่เมืองกวางตุ้ง[8] ภายหลังพระองค์ได้เดินทางกลับเมืองเชียงใหม่อีกครั้ง[9]: 284–290  พระเจ้าเชียงใหม่องค์จันทร์โปรดให้สมิงทอประทับกับพระราชบุตรพระราชธิดาดังเดิม แต่ไม่อนุญาตให้ยกทัพไปตีเมืองมอญอีก ภายหลังสมิงทอได้ลาพระเจ้าเชียงใหม่ไปเข้ารับราชการเป็นขุนนางมอญในกรุงศรีอยุธยา ส่วนพระราชธิดาได้เสกสมรสกับหม่อมเจ้าในราชวงศ์บ้านพลูหลวง มีบุตรีทรงพระนามว่าหม่อมทองคำหรือที่รู้จักกันในชื่อท้าวทรงกันดาล (ทองมอญ) พระมารดาของเจ้าจอมมารดาทิม[10]

อ้างอิง

[แก้]
เชิงอรรถ
  1. 1.0 1.1 Hmannan Vol. 3 2003: 373
  2. ประชุมพงศาวดารเล่ม 2, หน้า 61-62
  3. ประชุมพงศาวดารเล่ม 2, หน้า 63
  4. คำให้การขุนหลวงหาวัด (ฉบับหลวง), ประชุมคำให้การกรุงศรีอยุธยา รวม 3 เรื่อง, หน้า 485
  5. คำให้การขุนหลวง วัดประดู่ทรงธรรม, ประชุมคำให้การกรุงศรีอยุธยา รวม 3 เรื่อง, หน้า 293-295
  6. Htin Aung 1967: 153
  7. ประชุมพงศาวดารเล่ม 2, หน้า 84-85
  8. พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม), หน้า 365
  9. Rajanubhab, D., 2001, Our Wars With the Burmese, Bangkok: White Lotus Co. Ltd., ISBN 9747534584
  10. ประชุมพงศาวดารเล่ม 2, หน้า 86-87
บรรณานุกรม
  • ประชุมพงศาวดารเล่ม 2 (ประชุมพงศาวดารภาค 1 ตอนปลาย และภาค 2). กรุงเทพฯ : องค์การค้าของคุรุสภา, 2506. 336 หน้า. หน้า 61-87.
  • พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์. พระราชพงศาวดารพม่า. นนทบุรี : ศรีปัญญา, 2550. 1136 หน้า. หน้า 236-240. ISBN 978-974-7088-10-6
  • พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และเอกสารอื่น. นนทบุรี : ศรีปัญญา, 2553. 800 หน้า. หน้า 361-365. ISBN 978-616-7146-08-9
  • ประชุมคำให้การกรุงศรีอยุธยา รวม 3 เรื่อง. กรุงเทพฯ : แสงดาว, 2553. 536 หน้า. ISBN 978-616-508-073-6
  • Harvey, G. E. (1925). History of Burma: From the Earliest Times to 10 March 1824. London: Frank Cass & Co. Ltd.
  • Htin Aung, Maung (1967). A History of Burma. New York and London: Cambridge University Press.
  • Lieberman, Victor B. (1984). Burmese Administrative Cycles: Anarchy and Conquest, c. 1580–1760. Princeton University Press. ISBN 0-691-05407-X.
  • Royal Historians of Burma (c. 1680). U Hla Tin (Hla Thamein) (บ.ก.). Zatadawbon Yazawin (1960 ed.). Historical Research Directorate of the Union of Burma.
  • Royal Historical Commission of Burma (1832). Hmannan Yazawin (ภาษาพม่า). Vol. 1–3 (2003 ed.). Yangon: Ministry of Information, Myanmar.
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
สมิงทอพุทธกิตติ
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?