For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for โซลิดาริตี.

โซลิดาริตี

ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด
สัญลักษณ์ของโซลิดาริตี

โซลิดาริตี (โปแลนด์: Solidarność; [sɔlʲiˈdarnɔɕtɕ], อังกฤษ: Solidarity; ชื่อเต็ม: Independent Self-governing Trade Union "Solidarity"—Niezależny Samorządny Związek Zawodowy „Solidarność [ɲezaˈlɛʐnɨ samɔˈʐɔndnɨ ˈzvjɔ̃zɛk zavɔˈdɔvɨ sɔliˈdarnɔɕt͡ɕ]) เป็นสหภาพแรงงานโปแลนด์ที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2523 ที่อู่ต่อเรือเลนิน (ปัจจุบันคืออู่ต่อเรือกดัญสก์) ภายใต้การนำของแลค วาแวนซา เป็นสหภาพแรงงานแรกของประเทศในสนธิสัญญาวอร์ซอที่ไม่ได้ควบคุมโดยพรรคคอมมิวนิสต์ มีจำนวนสมาชิกมากที่สุดถึง 9.5 ล้านคน (อาจถึง 10 ล้านคน) ในช่วงก่อนเดือนกันยายน พ.ศ. 2524[1][2] ซึ่งสมาชิกเป็นหนึ่งในสามของประชาชนวัยทำงานทั้งหมดของโปแลนด์[3]

ในช่วงปี พ.ศ. 2523 ขบวนการได้เคลื่อนไหวทางสังคมในวงกว้างในการต่อต้านรัฐ โดยใช้วิธีดื้อแพ่งเพื่อแสดงสิทธิของชนชั้นแรงงานและความต้องการเปลี่ยนแปลงทางสังคม[4] รัฐบาลพยายามที่จะทำลายสหภาพโดยการออกกฎอัยการศึกในโปแลนด์ซึ่งกินเวลาตั้งแต่ธันวาคม พ.ศ. 2524 ถึงเดือนกรกฎาคมปี พ.ศ. 2526 และตามมาด้วยหลายปีของการปราบปรามทางการเมืองตั้งแต่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2525 แต่สหภาพยังคงอยู่รอดและในที่สุดรัฐบาลก็ถูกบังคับให้ต้องเจรจาต่อรองกับโซลิดาริตี ในช่วงเวลานั้นสมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2และสหรัฐอเมริกาได้ให้การสนับสนุนทางการเงินอย่างลับ ๆ แก่สหภาพ คาดว่าอาจมากถึง 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[5]

การเจรจาโต๊ะกลมระหว่างรัฐบาลและสหภาพนำไปสู่การเลือกตั้งกึ่งเสรีในปี พ.ศ. 2532 ในเดือนธันวาคมปี พ.ศ. 2533 วาแวนซาได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐโปแลนด์ตั้งแต่นั้นมาโซลิดาริตีได้กลายเป็นสหภาพแรงงานเสรีนิยมแบบดั้งเดิมมากขึ้น สมาชิกได้ลดลงถึง 680,000 ในปี พ.ศ. 2553[2]และ 400,000 ในปี พ.ศ. 2554[1]

ประวัติ

[แก้]
เลค วาเลซา ระหว่างการนัดหยุดงานที่อู่ต่อเรือเลนินสิงหาคม พ.ศ. 2523

ในช่วงปี พ.ศ. 2513 รัฐบาลของโปแลนด์ขึ้นราคาสินค้าในขณะที่ค่าจ้างคงที่ (และความขัดแย้งต่าง ๆ ) นำไปสู่การประท้วงและการปราบปรามของรัฐบาลในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2519 ต่อมาในความขัดแย้ง กลุ่ม KOR และ ROPCIO เริ่มได้มีกลุ่มเครือข่ายใต้ดินเพื่อตรวจสอบและต่อต้านพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของรัฐบาล ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของการเกิดขึ้นของสหภาพแรงงาน[6]

ในปี พ.ศ. 2522 เศรษฐกิจโปแลนด์หดตัวลงเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สองร้อยละ 2 เป็นหนี้ต่างประเทศถึงประมาณ 18 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี พ.ศ. 2523[7]

ในตอนนั้นการมีส่วนร่วมในสหภาพแรงงานเป็นสิ่งผิดกฎหมาย อันนา วาแลนตือนอวิตช์ถูกไล่ออกจากการทำงานที่อู่ต่อเรือกดัญสก์ในวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2523 ในวันที่ 14 สิงหาคม คนงานของอู่ต่อเรือเรียกร้องให้เธอกลับมา อันนา วาแลนตือนอวิตช์ และ อาลีนา ปีแยนกอฟสกา ร่วมกับคนงานได้ร่วมใจประท้วงนัดหยุดงานกันและได้ก่อตั้งกลุ่มโซลิดาริตี

โซลิดาริตี ได้กำเนิดขึ้น ในวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2523 ในกดัญสก์ ที่อู่ต่อเลนินเมื่อรัฐบาลคอมมิวนิสต์โปแลนด์ลงนามในสัญญายอมรับการดำรงอยู่ของโซลิดาริตี ในวันที่17 กันยายนปี พ.ศ. 2523 กว่า 20 โรงงานได้ร่วมกันก่อตั้งคณะกรรมการของสหภาพแรงงานเสรีรวมเป็นหนึ่งในองค์กรระดับชาติ เอ็นเอสซีซีโซลิดาริตี (NSZZ Solidarity)[3] และจดทะเบียนอย่างเป็นทางการในวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2523[8]

วาแวนซา และคนอื่น ๆ ได้เคลื่อนไหวทางสังคมในการต่อต้านโซเวียต มีผู้ให้ความร่วมมือตั้งแต่คริสตจักรคาทอลิกถึงกลุ่มต่อต้านโซเวียต[9]โซลิดาริตีสนับสนุนการไม่ใช่ความรุนแรงในกิจกรรมต่าง ๆ ของสมาชิก[10][11]ในกันยายน พ.ศ. 2524 วาแวนซาได้รับการเลือกเป็นประธานของกลุ่มโซลิดาริตีและเริ่มนำการปกครองแบบสาธารณรัฐที่เรียกว่า "สาธารณรัฐปกครองตนเอง"[12]รัฐบาลพยายามที่จะทำลายสหภาพด้วยการออกกฎอัยการศึกปี พ.ศ. 2524 และเป็นเวลาหลายปีของการปราบปราม แต่ในที่สุดก็มีการเริ่มต้นการเจรจาต่อรองกับสหภาพ

ในโปแลนด์ การเจรจาโต๊ะกลมระหว่างรัฐบาลและฝ่ายค้านที่นำโดยโซลิดาริตี นำไปสู่การเลือกตั้งกึ่งเสรีในปี พ.ศ. 2532 โดยปลายเดือนสิงหาคม รัฐบาลผสมซึ่งนำโดยโซลิดาริตีได้ถูกจัดตั้งขึ้นและในเดือนธันวาคม ตาแดอุช มาซอวีแยตสกี (Tadeusz Mazowiecki) ได้รับเลือกตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2532 โซลิดาริตีได้กลายเป็นสหภาพแรงงานแบบดั้งเดิมของโปแลนด์และมีบทบาททางการเมืองลดลงในช่วงทศวรรษหลัง พ.ศ. 2533 Akcja Wyborcza Solidarność (AWS) ฝ่ายทางการเมืองของโซลิดาริตีได้ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2539 และเข้าร่วมและชนะการเลือกตั้งรัฐสภาในปี พ.ศ. 2540 แต่พ่ายแพ้ในการเลือกตั้งครั้งต่อมาในปี พ.ศ. 2544 ปัจจุบันพรรคการเมืองของโซลิดาริตีมีอิทธิพลน้อยในการเมืองโปแลนด์ปัจจุบัน

การสนับสนุนอย่างลับ ๆ ของซีไอเอ

[แก้]

นโยบายของประธานาธิบดีเรแกน ซึ่งแตกต่างจากการบริหารงานของคาร์เตอร์ ได้สนับสนุนการเคลื่อนไหวของโซลิดาริตีในโปแลนด์และอยู่บนพื้นฐานการสนับสนุนของซีไอเอเพื่อยับยั้งสิ่งที่คาร์เตอร์ รู้สึกว่าเป็น "การยกทัพขนานใหญ่ของโซเวียตสู่โปแลนด์"[13]ไมเคิล ไรส์แมน จากวิทยาลัยกฎหมายเยล กล่าวถึงปฏิบัติการในประเทศโปแลนด์ว่า เป็นหนึ่งในการกระทำที่เป็นความลับของซีไอเอในช่วงสงครามเย็น[14] พันเอกรือชาร์ด กูกลิญสกี เจ้าหน้าที่อาวุโสในกองทัพโปแลนด์ได้แอบส่งรายงานให้กับซีไอเอ[15] ซีไอเอได้โอนเงินประมาณ 2 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี ให้แก่โซลิดาริตีในเวลา 5 ปี มียอดรวมถึง 10 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[16] โดยเงินทั้งหมดถูกส่งผ่านบุคคลที่สาม[17]แต่ไม่นานหลังจากการอนุมัติได้มีการเพิ่มวงเงินขึ้นและ พ.ศ. 2528 ซีไอเอก็ประสบความสำเร็จในการแทรกซึมโปแลนด์[18]

ศาสนจักรคาทอลิก

[แก้]
"30 ปีโซลิดาริตี"ภาพจิตรกรรมฝาผนังในออสตรอเวียตซ์ชเฟียนตอกชิสกี (บาทหลวงแยชือ ปอปีแยวอุชกอ อยู่เบื้องหน้า)

เอกสารสำคัญของการเรียนการสอนสังคมคาทอลิกของสมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2 ระบุแนวคิดของความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันกับคนยากจนและด้อยโอกาส เป็นองค์ประกอบของพระวรสารและการมีส่วนร่วมของมนุษย์ในการร่วมกันที่ดี คริสตจักรโรมันคาทอลิกภายใต้การนำของสมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2 เป็นผู้สนับสนุนฃองสหภาพและเป็นสว่นสำคัญอย่างมากต่อความสำเร็จของวาแวนซา ที่แสดงตัวต่อสาธารณชนว่านับถือคาทอลิก ยืนยันถึงอิทธิพลของสมเด็จพระสันตะปาปา ซึ่งได้กล่าวว่า: "พระบิดา ผ่านการประชุมของพระองค์แสดงให้เห็นถึงวิธีการต่าง ๆ นานาให้เราอยู่ พระองค์ทรงบอกกับเราว่าไม่ต้องกลัว"[19]

นอกจากนี้บาทหลวงแยชือ ปอปีแยวอุชกอ แสดงพระธรรมเทศนาที่โดดเด่นให้กับคนงานอย่างสม่ำเสมอ[20] ซึ่งเขาได้เสียชีวิตในระหว่างการปราบปรามของรัฐบาลคอมมิวนิสต์จากการมีความเกี่ยวข้องกับโซลิดาริตี แรงงานโปแลนด์มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับคริสตจักร ซึ่งสามารถเห็นได้ในภาพที่ถ่ายในระหว่างการนัดหยุดงานในช่วงปี พ.ศ. 2523 บนผนังของโรงงานมีการแสดงหลายภาพของพระแม่มารีหรือพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2

อิทธิพลต่อต่างประเทศ

[แก้]
โลโก้ของโซลิดาริตีถูกทาบนรถถังโซเวียต ที-55ที่ล้มคว่ำในกรุงปรากในปี พ.ศ. 2533
นักเรียนในสกอตแลนด์เก็บรวบรวมลายเซ็นสำหรับการยื่นคำร้องในการสนับสนุนขอโซลิดาริตี ในปี พ.ศ. 2524
กลุ่มโซลิดาริตีในบูดาเปสต์ พ.ศ. 2554

การอยู่รอดของโซลิดาริตีเป็นเหตุการณ์ประวัติการณ์ไม่เพียง แต่ในประเทศโปแลนด์ซึ่งเป็นรัฐบริวารของสหภาพโซเวียตและถูกปกครอง (ในทางปฏิบัติ) โดยพรรคคอมมิวนิสต์ ซึ่งมันหมายถึงความแข็งแกร่งของพรรคคอมมิวนิสต์โปแลนด์หรือพรรคแรงงานได้สิ้นสุดลง และอำนาจการแทรกแซงสหภาพโซเวียต (หลักการเบรจเนฟ) ก็หมดลงไปด้วย

อิทธิพลของโซลิดาริตีนำไปสู่การแพร่กระจายของอุดมการณ์ต่อต้านคอมมิวนิสต์ และการเคลื่อนไหวทั่วประเทศยุโรปตะวันออก รัฐบาลคอมมิวนิสต์ของพวกเขาอ่อนแอลง อันเป็นผลมาจากข้อตกลงโต๊ะกลมระหว่างรัฐบาลโปแลนด์และฝ่ายค้านโซลิดาริตี ซึ่งนำไปสู่การเลือกตั้งที่ถูกจัดขึ้นในโปแลนด์ในวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2532 ในการนี้ฝ่ายค้านได้รับอนุญาตให้ผู้สมัครลงสมัครในนามพรรคการเมืองอย่างเสรี นอกเหนือพรรคคอมมิวนิสต์เป็นครั้งแรกในประเทศกลุ่มโซเวียต สมาชิกวุฒิสภาที่ได้รับความสำคัญมากขึ้นถูกเพิ่มจำนวนขึ้นในรัฐสภาโปแลนด์ และทั้งหมด 100 ที่นั่งถูกลงคะแนนในการเลือกตั้งเช่นเดียวกับหนึ่งในสามของที่นั่งในสภาล่าง โซลิดาริตีได้ 99 จาก 100 ที่นั่งวุฒิสภาและทั้งหมด 161 ที่นั่งเป็นของฝ่ายค้าน ชัยชนะยังก่อให้เกิดปฏิกิริยาลูกโซ่ทั่วทั้งสหภาพโซเวียต ที่นำไปสู่การปฏิวัติต่อต้านคอมมิวนิสต์เกือบทั้งหมด[9] หรือที่รู้จักกันในชื่อการปฏิวัติ พ.ศ. 2532 ซึ่งจบลงด้วยการล้มล้างระบอบการปกครองของแต่ละประเทศในยุโรปตะวันออก และในที่สุดไปสู่การล่มสลายของสหภาพโซเวียตในช่วงต้นปี พ.ศ. 2533

โซลิดาริตีได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลประเทศตะวันตกหลายแห่ง แต่ความสัมพันธ์กับสหภาพแรงงานในประเทศทุนนิยมอาจจะมีความซับซ้อน ตัวอย่างเช่น ในระหว่างการนัดหยุดงานของคนงานเหมืองในสหราชอาณาจักรในช่วงปี พ.ศ. 2527-2528 วาแวนซากล่าวว่า "พวกคนงานควรจะต่อสู้ แต่ด้วยสามัญสำนึก ไม่ใช่ด้วยการทำลาย" และกล่าวว่าถึงมาร์กาเรต แทตเชอร์ "ด้วยผู้หญิงที่ฉลาดและกล้าหาญ, สหราชอาณาจักรจะได้พบกับ วิธีการแก้ปัญหาการนัดหยุดงาน" อย่างไรก็ตามประธานของโซลิดาริตีของแคว้นซิลีเซียตอนบน ดาวิด ยัสตแชมสกี (David Jastrzębski) กล่าวสนับสนุนคนงานเหมืองผู้ประท้วงว่า "ไม่ว่าทั้งการใช้กำลังตำรวจม้าของรัฐบาลอังกฤษหรือกระบองสั้น หรือมากกว่านั้น รถถังของรัฐบาลทหารโปแลนด์หรือการยิงปืนไรเฟิล ก็ไม่สามารถทำลายความประสงค์ร่วมกันของเราในการต่อสู้เพื่อ อนาคตที่ดีกว่าสำหรับชนชั้นแรงงาน"[21] แม้จะมีความจริงที่ว่า อาร์เธอร์ สคาร์กิลล์ ประธานของสหภาพเหมืองแห่งชาติของอังกฤษที่ได้วิพากษ์วิจารณ์โซลิดาริตีอย่างรุนแรง โดยประณามว่าเป็น "องค์กรต่อต้านสังคมนิยมซึ่งปรารถนาล้มล้างรัฐสังคมนิยม"[22]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 30 lat po Sierpniu'80: "Solidarność zakładnikiem własnej historii" เก็บถาวร 29 ตุลาคม 2013 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (in Polish), Retrieved on 7 June 2011
  2. 2.0 2.1 Duda za Śniadka? by Maciej Sandecki and Marek Wąs, Gazeta Wyborcza of 24 August 2010. (in Polish)
  3. 3.0 3.1 „Solidarność" a systemowe przekształcenia Europy Środkowo-Wschodniej เก็บถาวร 2013-08-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Retrieved on 7 June 2011. (in Polish)
  4. Aleksander Smolar, '"Self-limiting Revolution": Poland 1970-89', in Adam Roberts and Timothy Garton Ash (eds.), Civil Resistance and Power Politics: The Experience of Non-violent Action from Gandhi to the Present, Oxford University Press, 2009, ISBN 978-0-19-955201-6, pp. 127-43.
  5. Tony Judt (2005). Postwar: A History of Europe Since 1945. The Penguin Press. p. 589.
  6. KOR: a history of the Workers’ Defense Committee in Poland, 1976-1981. Berkeley: University of California Press. 1985. ISBN 0-520-05243-9.
  7. From Solidarity to Martial Law: The Polish Crisis of 1980-1981 : A Documentary History by Andrzej Paczkowski, Malcolm Byrne. Central European University Press, Budapest 2007. p. xxix
  8. Solidarność, wielopłaszczyznowy ruch na rzecz demokratyzacji i głębokich reform ustrojowych PRL Retrieved on 7 June 2011. (in Polish)
  9. 9.0 9.1 Steger, Manfred B (January 2004). Judging Nonviolence: The Dispute Between Realists and Idealists (ebook). Routledge (UK). p. 114. ISBN 0-415-93397-8. สืบค้นเมื่อ 9 July 2006.
  10. Paul Wehr; Guy Burgess; Heidi Burgess, บ.ก. (February 1993). Justice Without Violence (ebook). Lynne Rienner Publishers. p. 28. ISBN 1-55587-491-6. สืบค้นเมื่อ 6 July 2006.
  11. Cavanaugh-O'Keefe, John (January 2001). Emmanuel, Solidarity: God's Act, Our Response. Xlibris Corporation. p. 68. ISBN 0-7388-3864-0.
  12. Piotr Gliński, The Self-governing Republic in the Third Republic, "Polish Sociological Review", 2006, no.1
  13. Douglas J. MacEachin. "US Intelligence and the Polish Crisis 1980-1981". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-06-13. สืบค้นเมื่อ 2017-01-17.
  14. Looking to the Future: Essays on International Law in Honor of W. Michael Reisman
  15. Richard T. Davies, "The CIA and the Polish Crisis of 1980–1981." Journal of Cold War Studies (2004) 6#3 pp: 120-123. online
  16. Gideon's Spies: The Secret History of the Mossad17 Mar 2015 by Gordon Thomas page 418
  17. Gregory F. Domber (2008). Supporting the Revolution: America, Democracy, and the End of the Cold War in Poland, 1981--1989. ProQuest. p. 199.[ลิงก์เสีย], revised as Domber 2014, p. 110 [1].
  18. Executive Secrets: Covert Action and the Presidency William J. Daugherty. page 201-203
  19. BBC World, Analysis: Solidarity's legacy
  20. https://www.youtube.com/watch?v=GJ6HeB5qb0I
  21. http://www.workersliberty.org/story/2009/10/08/workers-unite-east-and-west
  22. McKinlay, John (8 September 1983). "Scargill angers unions with Solidarity attack". The Glasgow Herald. สืบค้นเมื่อ 1 September 2014.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
โซลิดาริตี
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?