For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for การปฏิวัติเงียบสงบ.

การปฏิวัติเงียบสงบ

กำแพงเบอร์ลินที่ประตูบรันเดินบวร์ค, 10 พฤศจิกายน ค.ศ. 1989

การปฏิวัติเงียบสงบ (เยอรมัน: Friedliche Revolution) เป็นกระบวนการของการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่นำไปสู่การเปิดชายแดนของเยอรมนีตะวันออกและตะวันตก จุดสิ้นสุดของพรรคเอกภาพสังคมนิยมเยอรมนี(SED)ในสาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมนี(เยอรมนีตะวันออก) และการเปลี่ยนแปลงมาเป็นระบอบประชาธิปไตย ซึ่งนำไปสู่การรวมประเทศของเยอรมนีในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1990 สิ่งที่เกิดขึ้นนี้มาจากการริเริ่มและการเดินขบวนที่ไม่ใช้ความรุนแรง การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ได้ถูกเรียกในภาษาเยอรมันว่า Die Wende (เสียงอ่านภาษาเยอรมัน: [diː ˈvɛndə], "จุดเปลี่ยน")

เหตุการณ์เหล่านี้เชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดกับการตัดสินใจของผู้นำโซเวียต มีฮาอิล กอร์บาชอฟ ที่จะละทิ้งอำนาจโซเวียตในยุโรปตะวันออก รวมทั้งขบวนการปฏิรูปที่แผ่ขยายไปทั่วประเทศกลุ่มตะวันออก นอกเหนือจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายต่างประเทศของสหภาพโซเวียต การขาดความาสามารถในการแข่งขันในตลาดโลกของสาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมนี รวมทั้งหนี้สินของชาติที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วทำให้เกิดความไม่มั่นคงในสถานะรัฐพรรคการเมืองเดียวของพรรคเอกภาพสังคมนิยมเยอรมนี

การขับเคลื่อนกระบวนการปฏิรูปในสาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมนี ได้รวมถึงกลุ่มปัญญาชนและคริสจักรชนที่อยู่ในการคัดค้านใต้ดินเป็นเวลาหลายปี ผู้คนที่พยายามหลบหนีออกจากประเทศ และผู้ประท้วงอย่างสันติที่ไม่ยอมทนต่อการคุกคามจากความรุนแรงและการกดขี่ข่มเหง

เพราะการไม่เป็นมิตรกับการตอบสนองต่อการปฏิรูปการดำเนินภายใน"ดินแดนภราดรภาพสังคมนิยม" ความเป็นผู้นำของพรรคเอกภาพสังคมนิยมเยอรมนั้นโดดเดี่ยวมากขึ้นเรื่อย ๆ ภายในกลุ่มประเทศตะวันออก เมื่อได้รับอนุญาตให้เปิดชายแดนที่กำแพงเบอร์ลิน เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน ค.ศ. 1989 ผ่านการเปลี่ยนแปลงความเป็นผู้นำและความเต็มใจที่จะเจรจา พรรคเอกภาพสังคมนิยมเยอรมนีพยายามที่จะเอาชนะความคิดริเริ่มทางการเมือง แต่การควบคุมสถานการณ์ได้ทวีคูณมากขึ้นกับรัฐบาลเยอรมันตะวันตกภายใต้การนำโดยเฮ็ลมูท โคล

ตั้งแต่เดือนธันวาคม ค.ศ. 1989 รัฐบาลสาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมนีของนายกรัฐมนตรี ฮันส์ โมโดร ได้มีอิทธิพลจากการประชุมบนกลางโต๊ะกลม ซึ่งนำไปสู่การดำเนินทำการยุบหน่วยสตาซีและเตรียมการเลือกตั้งแบบเสรี ภายหลังชนะการเลือกตั้งเพื่อพรรคร่วมกันที่สนับสนุนการรวมประเทศเยอรมนี เส้นทางการเมืองภายในสาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมนีได้กระจ่างแจ้งแล้ว

ช่วงเวลา

[แก้]
การเข้าคิวอยู่นอกธนาคารในเมืองเกร่า, เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 1990, วันที่เยอรมนีตะวันออกได้นำสกุลเงินเยอรมนีตะวันตกมาใช้.

เหตุการณ์ที่สำคัญ:

  • ปลายปี ค.ศ. 1980 - ช่วงเวลาที่กลุ่มประเทศโซเวียตได้ประกาศนโยบายการเปิดเสรี(กลัสนอสต์) และการปฏิรูป(เปเรสตรอยคา).[1]
  • 27 มิถุนายน ค.ศ. 1989 - การเปิดรั้วชายแดนติดกับออสเตรียของฮังการี.[2]
  • 19 สิงหาคม ค.ศ. 1989 - การปิกนิกรวมกลุ่มชาวยุโรปที่ชายแดนฮังการี-ออสเตรีย, เมื่อชาวเยอรมนีตะวันออกจำนวนร้อยกว่าคน, ที่ได้รับอนุญาตให้เดินทางไปยังฮังการี แต่ไม่ใช่ตะวันตก ได้หลบหนีไปยังเยอรมนีตะวันตกผ่านทางออสเตรีย.[3]
  • ตั้งแต่วันที่ 4 กันยายน ค.ศ. 1989 - การเดินขบวนวันจันทร์ในเยอรมนีตะวันออกได้เรียกร้องให้เปิดชายแดนติดกับเยอรมนีตะวันตกและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนมากขึ้น.[4]
  • 18 ตุลาคม ค.ศ. 1989 - เอริช ฮ็อนเน็คเคอร์ ประกาศลาออกจากเลขาธิการแห่งพรรคเอกภาพสังคมนิยมเยอรมนี.[5]
  • 9 พฤศจิกายน ค.ศ. 1989 - การล่มสลายกำแพงเบอร์ลิน, ทำให้เยอรมนีตะวันออกสามารถเดินทางไปยังทางตะวันตกได้อย่างเสรี.[1]
  • 3 ธันวาคม ค.ศ. 1989 - การก้าวลงจากอำนาจของพรรคเอกภาพสังคมนิยมเยอรมนี.[6]
  • 4 ธันวาคม ค.ศ. 1989 - การเข้ายึดอาคารของหน่วยสตาซีของประชาชนทั่วทั้งประเทศ, เริ่มต้นในแอร์ฟวร์ท. กองบัญชาการของหน่วยสตาซีในเบอร์ลินได้ถูกยึด เมื่อวันที่ 15 มกราคม ค.ศ. 1990.[6]
  • 13 มกราคม ค.ศ. 1990 - การยุบหน่วยสตาซี.[7]
  • 18 มีนาคมคม ค.ศ. 1990 - การเลือกตั้งทั่วไปในเยอรมนีตะวันออก ค.ศ. 1990, ซึ่งเป็นการลงประชามติในการรวมประเทศ ซึ่งพันธมิตรเพื่อเยอรมนี ได้สนับสนุนในการรวมประเทศ จึงได้รับผลคะแนนสูงสุด.[8]
  • 1 กรกฎาคม ค.ศ. 1990 - The Währungs-, Wirtschafts- und Sozialunion (การเงิน, เศรษฐกิจ และสหภาพสังคม) ข้อตกลงระหว่างเยอรมนีตะวันตก-ตะวันออก, ได้มีผลบังคับใช้.[9] เยอรมนีตะวันออกได้นำสกุลเงินเยอรมนีตะวันตกมาใช้ในวันนี้.[9]
  • 31 สิงหาคม ค.ศ. 1990 - การลงนามใน Einigungsvertrag (สนธิสัญญาการรวมเป็นหนึ่งเดียวกัน) ระหว่างสาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมนีและสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม ค.ศ. 1990 และสนธิสัญญาว่าด้วยการตกลงขั้นสุดท้ายเกี่ยวกับดินแดนเยอรมนี เมื่อวันที่ 12 กันยายน ค.ศ. 1990.[9]
  • 3 ตุลาคม ค.ศ. 1990 - การรวมประเทศเยอรมนีได้บรรลุผลด้วยรัฐเยอรมนีตะวันออกทั้งห้ารัฐที่เพิ่งก่อตั้งขึ้นมาใหม่ ซึ่งรวมเข้ากับสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี.[1]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 Childs, David (2014) The Fall of the GDR. Abingdon: Routledge.
  2. On this day: 27 June - the Iron Curtain was breached. European Parliament, 26 June 2009. Retrieved 8 August 2019
  3. Walker, Shaun (18 August 2019) How a pan-European picnic brought down the iron curtain on Guardian Online. Retrieved 20 August 2019
  4. "Geschichte der Bundesrepublik". www.hdg.de (ภาษาเยอรมัน). Stiftung Deutsches Historisches Museum. สืบค้นเมื่อ 29 June 2018.
  5. Tomforde, Anna (19 Oct 1989) East Germans oust Honecker in The Guardian. Retrieved 4 August 2019
  6. 6.0 6.1 How ordinary people smashed the Stasi in The Local.de, 4 December 2014. Retrieved 25 July 2019
  7. Vilasi, Antonella Colonna (2015). The History of the Stasi. Bloomington, Indiana: AuthorHouse. ISBN 9781504937054. สืบค้นเมื่อ 2 September 2019.
  8. Illmer, Andreas (18 March 2010) [1] on DW.com. Retrieved 8 August 1990
  9. 9.0 9.1 9.2 Bromley, Joyce E. (2017) German Reunification: Unfinished Business. Abingdon-on-Thames:Routledge on Google Books. Retrieved 8 August 2019.


{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
การปฏิวัติเงียบสงบ
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?