For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for การยุบเชโกสโลวาเกีย.

การยุบเชโกสโลวาเกีย

การยุบเชโกสโลวาเกีย
ส่วนหนึ่งของผลพวงจากการปฏิวัติ ค.ศ. 1989
เชโกสโลวาเกียระหว่างปี ค.ศ. 1968 (รัฐธรรมนูญแห่งสหพันธรัฐ) จนถึงปี ค.ศ. 1989 (การปฏิวัติกำมะหยี่)
วันที่วันที่ 17 กรกฎาคม ค.ศ. 1992 – วันที่ 31 ธันวาคม ค.ศ. 1992
(5 เดือน 2 สัปดาห์)
ที่ตั้งเชโกสโลวาเกีย สหพันธ์สาธารณรัฐเช็กและสโลวัก:
ผล

การยุบเชโกสโลวาเกีย (เช็ก: Rozdělení Československa, สโลวัก: Rozdelenie Česko-Slovenska) ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม ค.ศ. 1992 เป็นเหตุการณ์การแยกตัวของสหพันธ์สาธารณรัฐเชโกสโลวาเกียออกเป็นรัฐอิสระสองประเทศ ได้แก่ สาธารณรัฐเช็กและสโลวาเกีย โดยแนวคิดนี้เริ่มมีมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1969 โดยพรรคสังคมนิยมเช็กและพรรคสังคมนิยมสโลวักภายใต้ขอบข่ายการดำเนินงานในรูปแบบสหพันธ์สาธารณรัฐ

เหตุการณ์นี้เป็นที่รู้จักกันในชื่อ การแตกแยกกำมะหยี่ (Velvet Divorce) ซึ่งอ้างถึงการปฏิวัติกำมะหยี่ในปี ค.ศ. 1989 ซึ่งไม่มีเหตุการณ์นองเลือดใด ๆ เกิดขึ้นซึ่งส่งผลให้อำนาจการปกครองของพรรคคอมมิวนิสต์เชโกสโลวาเกียสิ้นสุดลงและเปลี่ยนประเทศไปเป็นรัฐแบบทุนนิยม

เบื้องหลัง

[แก้]

ประเทศเชโกสโลวาเกียได้ถูกก่อตั้งขึ้นหลังจากการล่มสลายของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีในช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง โดยได้มีการจัดการประชุมขึ้นในปี พ.ศ. 2461 ที่พิตต์สเบิร์ก รัฐเพนซิลเวเนีย สหรัฐอเมริกา ซึ่งในการประชุมครั้งนั้น โทมาช การิก มาซาริก ซึ่งต่อมาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีเชโกสโลวาเกียได้ลงนามความตกลงพิตต์สเบิร์กกับกลุ่มผู้แทนชาวเช็กและสโลวัก ซึ่งมีข้อตกลงว่าจะเป็นรัฐร่วมซึ่งประกอบด้วยชาติทั้งสองที่เท่าเทียมกันคือ สโลวัก และเช็ก

อย่างไรก็ตาม ชาวสโลวักบางคนไม่เห็นด้วยกับการเปลี่ยนแปลงนี้ และในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2482 ก็ได้มีการก่อตั้งสาธารณรัฐสโลวักที่ 1 ซึ่งเป็นรัฐบริวารของนาซีเยอรมนีที่มีอำนาจอธิปไตยจำกัดภายใต้แรงกดดันของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ต่อมาถูกสหภาพโซเวียตยึดครองในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สองทำให้เกิดการรวมประเทศอีกครั้งเป็นสาธารณรัฐเชโกสโลวักที่ 3

ในปี พ.ศ. 2511 ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ส่งผลให้สิทธิของรัฐบาลกลางถูกลิดรอนอย่างเป็นทางการ แต่ต่อมา กุสตาว ฮูซาก ได้กลับมาควบคุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของปราก ซึ่งสนับสนุนให้มีการแบ่งแยกดินแดนขึ้นใหม่หลังจากการล่มสลายของลัทธิคอมมิวนิสต์

การยุบประเทศ

[แก้]

เมื่อปี พ.ศ. 2534 ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศต่อหัวของเช็กสูงกว่าของสโลวาเกียร้อยละ ​20 โดยได้มีการยกเลิกกฎที่เช็กต้องโอนงบประมาณให้กับสโลวาเกียซึ่งใช้มาเป็นเวลานานในปีเดียวกัน

ชาวเช็กและชาวสโลวักส่วนใหญ่ต้องการให้ประเทศเชโกสโลวาเกียคงอยู่ต่อไปในรูปแบบสหพันธรัฐ แต่พรรคหลักบางพรรคของสโลวาเกียต้องการแยกตัวออกเป็นรัฐอิสระและมีอำนาจอธิปไตยเป็นของตนเอง ต่อมาพรรคต่าง ๆ ของทั้งสองประเทศได้รวมตัวกันอีกครั้ง แต่พรรคของแต่ละประเทศไม่มีบทบาทใด ๆ ซึ่งกันและกัน แต่เพื่อให้การบริหารประเทศเป็นไปอย่างราบรื่น รัฐบาลจึงต้องการให้อยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐบาลกลาง แต่ฝ่ายสโลวักต้องการแยกตัว[1]

ต่อมาเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2535 รัฐสภาสโลวักได้ประกาศแยกตัวจากเชโกสโลวาเกียเพื่อก่อตั้งเป็นประเทศใหม่ขึ้น (ซึ่งต่อมาก็คือประเทศสโลวาเกียในปัจจุบัน) หลังจากนั้นหกเดือนต่อมา ได้มีการจัดประชุมขึ้นที่บราติสลาวา ซึ่งในที่ประชุมได้มีมติให้แยกตัวออกเป็นประเทศใหม่ ต่อมา วาตสลัฟ ฮาแว็ล ประธานาธิบดีเชโกสโลวาเกียในขณะนั้นได้ลาออกจากตำแหน่งเนื่องจากเขาคัดค้านแนวคิดดังกล่าว[2] และในการสำรวจความคิดเห็นจากประชาชนเมื่อเดือนกันยายนในปีเดียวกัน ผลปรากฏว่ามีประชาชนชาวสโลวักเพียงร้อยละ 37 และชาวเช็กเพียงร้อยละ 36 เท่านั้นที่สนับสนุนแนวคิดดังกล่าว[3]

ต่อมาเป้าหมายในการยุบประเทศได้เปลี่ยนไปให้เป็นไปอย่างสันติสุข โดยเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน ปีเดียวกัน สมัชชาแห่งชาติได้ผ่านรัฐบัญญัติซึ่งกำหนดการแบ่งเส้นเขตแดนระหว่างดินแดนเช็กและสโลวาเกียเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน[4] ซึ่งมีผลตั้งแต่วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2535[4]

การยุบประเทศสำเร็จโดยปราศจากความรุนแรง ซึ่งไม่เหมือนกับรัฐคอมมิวนิสต์อื่น ๆ ที่มีการใช้ความรุนแรง เช่น ในการล่มสลายของสหภาพโซเวียตและการล่มสลายของยูโกสลาเวีย โดยประเทศเชโกสโลวาเกียถือเป็นรัฐสังคมนิยมเพียงรัฐเดียวที่มีการแยกประเทศอย่างสันติสุข

อ้างอิง

[แก้]
  1. Skalnik Leff, Carol (1997). The Czech and Slovak Republics. Nation versus state. Westview Press. pp. 129–139. ISBN 0-8133-2922-1.
  2. Vaclav Havel: Still Puckish, Still a Politician, No Longer President, The New York Times, 21 July 1992
  3. Kamm, Henry. "At Fork in Road, Czechoslovaks Fret", The New York Times, dateline 9 October 1992. Retrieved 1 January 2009.
  4. 4.0 4.1 Mrak, Mojmir (1999). Succession of States. Martinus Nijhoff Publishers. ISBN 978-90-411-1145-6.
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
การยุบเชโกสโลวาเกีย
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?