For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for ทฤษฎีโดมิโน.

ทฤษฎีโดมิโน

บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด กรุณาช่วยปรับปรุงบทความนี้ โดยเพิ่มการอ้างอิงแหล่งที่มาที่น่าเชื่อถือ เนื้อความที่ไม่มีแหล่งที่มาอาจถูกคัดค้านหรือลบออก (เมษายน 2567) (เรียนรู้ว่าจะนำสารแม่แบบนี้ออกได้อย่างไรและเมื่อไร)
ภาพแสดงการล้มตาม ๆ กันอย่างโดมิโนของบรรดาประเทศในเอเชีย เมื่อประเทศจีนหันไปใช้ระบอบคอมมิวนิสต์

ทฤษฎีโดมิโน (อังกฤษ: domino theory) เป็นทฤษฎีทางนโยบายด้านการต่างประเทศ อุปมาขึ้นจากลักษณะของเกมไพ่ต่อแต้ม ซึ่งถ้ามีไพ่ล้มหนึ่งใบ ไพ่ใบอื่น ๆ ก็จะล้มเป็นแถบติดต่อเป็นลูกโซ่ ทฤษฎีโดมิโนหมายความว่าถ้าประเทศหนึ่งหันไปใช้ระบอบการปกครองแบบคอมมิวนิสต์ จะส่งผลให้ประเทศรอบข้างก็จะเอาอย่างตามไปด้วย เรียกว่า ผลกระทบแบบโดมิโน (อังกฤษ: domino effect)[1]

ทฤษฎีโดมิโนเกิดขึ้นจากกรณีการขยายตัวของลัทธิและระบอบคอมมิวนิสต์ใน ทวีปเอเชีย เมื่อจีน เกาหลีเหนือ และเวียดนามเหนือตกเป็นคอมมิวนิสต์ จึงมีความเชื่อว่าประเทศอื่น ๆ เช่น ลาว กัมพูชา ไทย มาเลเซีย ฯลฯ จะถูกครอบงำโดยระบบคอมมิวนิสต์ในที่สุดตามไปด้วย การล้มของโดมิโนจึงหมายถึงการล้มตัวของระบอบประชาธิปไตย

แต่เมื่อนำมาใช้กับประเทศในโลกตะวันตกแล้ว อาจกล่าวได้ว่าเป็นทฤษฎีโดมิโนแบบกลับตาลปัตร คือ แทนที่จะเป็นการล้มของระบอบประชาธิปไตย กลับเป็นการคลายตัวและแปรเปลี่ยนจากระบอบการปกครองแบบพรรคเดียว คือ คอมมิวนิสต์ และระบบเศรษฐกิจสังคมนิยม ไปสู่การปกครองแบบหลายพรรค เช่น ในกรณีที่โปแลนด์ หรือในการสลายตัวของพรรคคอมมิวนิสต์ที่ฮังการี การต่อสู้เพื่อเสรีภาพที่โรมาเนีย รวมทั้งการมีท่าทีที่จะใช้ระบบหลายพรรคในสหภาพโซเวียต

อย่างไรก็ดี ราชบัณฑิตยสถานแห่งประเทศไทยวิเคราะห์ว่า "...ในสหภาพโซเวียตและในกลุ่มประเทศยุโรปตะวันตกออกจะแปรเปลี่ยนเป็นทุนนิยมและประชาธิปไตยสมบูรณ์แบบ คงต้องเปิดช่องสำหรับข้อเท็จจริงที่ว่า การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวไม่น่าจะเป็นไปอย่างสมบูรณ์ ที่หวังได้คือ การมีระบบผสมผสาน แต่ระบบเดิมคงเหลืออยู่เป็นฐาน ทฤษฎีโดมิโนเมื่อใช้ในกรณีกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออกน่าจะถูกเพียงครึ่งเดียว ซึ่งก็เป็นกรณีเดียวกับที่ใช้กับกลุ่มประเทศแถบเอเชีย"

ทฤษฎีโดมิโนนี้ถูกต่อต้านโดยนายจอห์น ฟอสเตอร์ ดัลเลส (John Foster Dulles) อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา โดยได้มีทฤษฎีต่อต้านคือทฤษฎีการสกัดกั้น (อังกฤษ: containment policy)

อ้างอิง

[แก้]
  1. Leeson, Peter T.; Dean, Andrea (2009). "The Democratic Domino Theory". American Journal of Political Science. 53 (3): 533–551. doi:10.1111/j.1540-5907.2009.00385.x.
  • ราชบัณฑิตยสถาน. (2532, 12 ธันวาคม). "ทฤษฎีโดมิโน". จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน, (ปีที่ 1).
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
ทฤษฎีโดมิโน
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?