For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for ร่างกายมนุษย์.

ร่างกายมนุษย์

ร่างกายมนุษย์
รายละเอียด
ตัวระบุ
ภาษาละตินcorpus humanum
MeSHD018594
TA98A01.0.00.000
TA296
FMA20394
อภิธานศัพท์กายวิภาคศาสตร์

ร่างกายมนุษย์ เป็นโครงสร้างทั้งหมดของมนุษย์ ประกอบด้วยเซลล์หลายชนิดที่รวมกันเป็นเนื้อเยื่อซึ่งรวมกันเป็นระบบอวัยวะ สิ่งเหล่านี้คงภาวะธำรงดุลและความอยู่รอดของร่างกายมนุษย์ ร่างกายมนุษย์ประกอบด้วยศีรษะ, คอ, ลำตัว (ซึ่งรวมถึงอกและท้อง), แขนและมือ, ขาและเท้า

การศึกษาร่างกายมนุษย์เชื่อมโยงกับกายวิภาคศาสตร์ สรีรวิทยา มิญชวิทยา และคัพภวิทยา ร่างกายมีความแตกต่างทางกายวิภาคแบบต่าง ๆ สรีรวิทยามุ่งไปที่ระบบและอวัยวะของมนุษย์และการทำงานของอวัยวะ หลายระบบและกลไกมีปฏิกิริยาต่อกันเพื่อคงภาวะธำรงดุล โดยมีระดับที่ปลอดภัยของสารต่าง ๆ เช่น น้ำตาลและออกซิเจนในเลือด

องค์ประกอบ

ธาติต่าง ๆ ของร่างกายมนุษย์โดยมวล จุลธาตุทั้งหมดมีจำนวนน้อยกว่าร้อยละ 1 โดยแต่ละอย่างมีจำนวนน้อยกว่าร้อยละ 0.1

ร่างกายมนุษย์ประกอบด้วยธาตุต่าง ๆ เช่น ไฮโดรเจน ออกซิเจน คาร์บอน แคลเซียม และฟอสฟอรัส[1] ธาตุเหล่านี้อยู่ในเซลล์นับล้านล้านและส่วนประกอบที่ไม่ใช่เซลล์ในร่างกายมนุษย์

ประมาณร้อยละ 60 ของร่างกายชายโตเต็มวัยเป็นน้ำ คิดเป็นปริมาณประมาณ 42 ลิตร ในจำนวนนี้ 19 ลิตรเป็นน้ำภายนอกเซลล์รวมถึงน้ำเลือดปริมาณ 3.2 ลิตร และสารน้ำแทรกปริมาณ 8.4 ลิตร และส่วนที่เหลือเป็นน้ำภายในเซลล์จำนวน 23 ลิตร[2] ส่วนประกอบและความเป็นกรดของน้ำทั้งในและนอกเซลล์ถูกรักษาไว้อย่างดี อิเล็กโทรไลต์หลักของน้ำภายนอกเซลล์ในร่างกายได้แก่ โซเดียม และคลอไรด์ ส่วนสำหรับน้ำภายในเซลล์ได้แก่โพแทสเซียมและฟอสเฟตอื่น[3]

เซลล์

ร่างกายประกอบด้วยเซลล์นับล้านล้านซึ่งเป็นหน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต[4] ขณะโตเต็มวัย มนุษย์มีเซลล์ประมาณ 30[5]–37[6] ล้านล้านเซลล์ในร่างกาย ปริมาณจากจำนวนเซลล์ทั้งหมดในอวัยวะต่าง ๆ และเซลล์ประเภทต่าง ๆ นอกจากนี้ร่างกายยังเป็นที่อาศัยของเซลล์ที่ไม่ใช่มนุษย์จำนวนเท่า ๆ กัน[5] รวมถึงสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ซึ่งอาศัยในทางเดินอาหารและบนผิวหนัง[7] ร่างกายไม่ได้ประกอบไปด้วยเซลล์เพียงอย่างเดียว เซลล์ตั้งอยู่ในสารเคลือบเซลล์ที่ประกอบด้วยโปรตีน เช่น คอลลาเจน ล้อมรอบด้วยน้ำภายนอกเซลล์ มนุษย์ที่น้ำหนัก 70 กิโลกรัมมีเซลล์ที่ไม่ใช่เซลล์มนุษย์และวัสดุที่ไม่ใช่เซลล์ เช่น กระดูกและเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน น้ำหนักเกือบ 25 กิโลกรัม[5]

เซลล์ในร่างกายทำงานได้ด้วยดีเอ็นเอซึ่งอยู่ในนิวเคลียสของเซลล์ ข้างในนิวเคลียส ส่วนของดีเอ็นเอถูกคัดลอกและส่งไปยังตัวของเซลล์ในรูปแบบของอาร์เอ็นเอ[8] จากนั้นอาร์เอ็นเอถูกใช้เพื่อสร้างโปรตีนซึ่งเป็นส่วนประกอบพื้นฐานสำหรับเซลล์ กิจกรรมของเซลล์ และผลิตภัณฑ์ของเซลล์ โปรตีนเป็นตัวกำหนดหน้าของเซลล์และการแสดงออกของยีน เซลล์สามารถควบคุมตัวเองได้จากปริมาณโปรตีนที่ผลิต[9] อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ทุกเซลล์ที่จะมีดีเอ็นเอ เซลล์บางชนิด เช่น เซลล์เม็ดเลือดแดงสูญเสียนิวเคลียสเมื่อโตเต็มที่

เนื้อเยื่อ

วิดีโอหลายคลิปจากแหล่งข้อมูลภายนอก
video icon Human Body 101, National Geographic, 5:10

ร่างกายประกอบไปด้วยเนื้อเยื่อหลายแบบ โดยเนื้อเยื่อถูกให้ความหมายว่าคือกลุ่มเซลล์ที่มีหน้าที่เฉพาะ[10] การศึกษาเกี่ยวกับเนื้อเยื่อเรียกว่ามิญชวิทยาและมักศึกษาผ่านกล้องจุลทรรศน์ ร่างกายประกอบไปด้วยเนื้อเยื่อสี่ชนิดหลัก คือ เนื้อเยื่อบุผิว เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน เนื้อเยื่อประสาท และเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ

เซลล์ที่ตั้งอยู่บนพื้นผิวที่พบกับโลกภายนอกหรือในทางเดินอาหาร (เนื้อเยื่อบุผิว) หรือเนื้อเยื่อบุโพรง (endothelium) มีหลายรูปแบบและรูปร่าง ตั้งแต่เซลล์แบนชั้นเดียว ไปจนถึงเซลล์ในปอดที่มีซีเลียคล้ายเส้นผม ไปจนถึงเซลล์แท่งทรงกระบอกที่บุกระเพาะอาหาร เซลล์เนื้อเยื่อบุโพรงเป็นเซลล์ที่บุช่องภายในรวมทั้งเส้นเลือดและต่อมต่าง ๆ เซลล์บุควบคุมว่าสิ่งไหนสามารถผ่านหรือไม่สามารถผ่านเข้าไปได้ ปกป้องโครงสร้างภายใน และทำหน้าที่เป็นพื้นผิวรับความรู้สึก[11]

อวัยวะ

อวัยวะเป็นกลุ่มเซลล์ที่มีโครงสร้างและหน้าที่เฉพาะ[12] ซึ่งตั้งอยู่ภายในร่างกาย ตัวอย่างเช่น หัวใจ ปอด และตับ อวัยวะหลายอย่างอยู่ในช่องว่างภายในร่างกายรวมถึงช่องว่างในลำตัวและโพรงเยื่อหุ้มปอด

ระบบ

ระบบไหลเวียน

ระบบไหลเวียนประกอบด้วยหัวใจ หลอดเลือด (หลอดเลือดแดง หลอดเลือดดำ และหลอดเลือดฝอย) หัวใจทำหน้าที่ขับเคลื่อนการไหลเวียนของเลือด โดยเลือดเป็นดั่ง "ระบบขนส่ง" ในการขนย้ายออกซิเจน เชื้อเพลิง สารอาหาร ของเสีย เซลล์ในระบบภูมิคุ้มกัน และตัวนำส่งสารเคมี (เช่น ฮอร์โมน) จากส่วนหนึ่งของร่างกายไปยังอีกส่วน เลือดประกอบด้วยน้ำที่ขนส่งเซลล์ในระบบไหลเวียน รวมถึงบางเซลล์ที่เดินทางจากเนื้อเยื่อไปกลับหลอดเลือด รวมทั้งไปยังและจากม้ามและไขกระดูก[13][14][15]

ระบบย่อยอาหาร

ระบบย่อยอาหารประกอบด้วยปากรวมถึงลิ้นและฟัน, หลอดอาหาร, กระเพาะอาหาร, ทางเดินอาหาร, ลำไส้เล็กและใหญ่ รวมถึงไส้ตรง รวมถึงตับ, ตับอ่อน, ถุงน้ำดี และต่อมน้ำลาย ทำหน้าที่เปลี่ยนอาหารเป็นโมเลกุลที่เล็ก มีคุณค่าทางอาหาร และไม่เป็นพิษ เพื่อให้สามารถกระจายและดูดซึมได้ในร่างกาย[16]

ระบบต่อมไร้ท่อ

ระบบต่อมไร้ท่อประกอบด้วยต่อมไร้ท่อหลัก รวมถึง ต่อมใต้สมอง ต่อมไทรอยด์ ต่อมหมวกไต ตับอ่อน ต่อมพาราไทรอยด์ และต่อมบ่งเพศ ทว่าอวัยวะและเนื้อเยื่อเกือบทั้งหมดผลิตฮอร์โมนต่อมไร้ท่อเฉพาะเช่นกัน ฮอร์โมนต่อมไร้ท่อทำหน้าที่เป็นตัวส่งสัญญาณจากระบบร่างกายหนึ่งไปยังอีกระบบหนึ่งเพื่อบอกถึงสถานะต่าง ๆ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการทำงาน[17]

ระบบภูมิคุ้มกัน

ระบบภูมิคุ้มกันประกอบด้วยเซลล์เม็ดเลือดขาวและแดงทำงานปกติ ต่อมไทมัส ต่อมน้ำเหลือง และทางเดินน้ำเหลือง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของระบบน้ำเหลือง ระบบภูมิคุ้มกันทำให้ร่างกายสามารถแยกแยะเซลล์และเนื้อเยื่อตนเองออกจากเซลล์และสิ่งภายนอก เพื่อต่อต้านหรือทำลายเซลล์หรือสิ่งแปลกปลอมจากภายนอกโดยใช้โปรตีนเฉพาะและ เช่น แอนติบอดี ไซโตไคน์, toll-like receptors และอื่น ๆ

ระบบผิวหนัง

ระบบผิวหนังประกอบด้วยผิวหนังที่ปกคลุมร่างกาย รวมถึง เส้นผม และเล็บรวมถึงโครงสร้างอื่น ๆ ที่มีหน้าที่สำคัญ เช่น ต่อมเหงื่อและต่อมไขมัน ผิวหนังทำหน้าที่ห่อหุ่ม เป็นโครงสร้าง และป้องกันอวัยวะอื่น และยังเป็นตัวรับรู้ถึงโลกภายนอก[18][19]

ระบบน้ำเหลือง

ระบบน้ำเหลืองสกัด ขนส่ง และเปลี่ยนแปลงน้ำเหลือง หรือน้ำที่อยู่ระหว่างเซลล์ ระบบน้ำเหลืองคล้ายกับระบบไหลเวียนทั้งในเชิงโครงสร้างและหน้าที่พื้นฐานซึ่งคือการขนส่งน้ำในร่างกาย[20]

ระบบกล้ามเนื้อและกระดูก

ระบบกล้ามเนื้อและกระดูกประกอบด้วยโครงกระดูกมนุษย์ (รวมถึงกระดูก เอ็นยึด เอ็นกล้ามเนื้อ และกระดูกอ่อน) และกล้ามเนื้อที่ยึดติด ระบบนี้เป็นโครงสร้างพื้นฐานของร่างกายและเป็นตัวให้ความสามารถในการขยับ นอกจากจะทำหน้าที่เป็นโครงสร้างแล้ว กระดูกชิ้นใหญ่ในร่างกายยังบรรจุไขกระดูก ซึ่งเป็นที่ผลิตเซลล์เม็ดเลือด นอกจากนี้ กระดูกทุกชิ้นยังเป็นที่เก็บสะสมหลักของแคลเซียมและฟอสเฟต ระบบนี้สามารถแบ่งออกเป็นระบบกล้ามเนื้อและระบบกระดูก[21]

ระบบประสาท

ระบบประสาทประกอบด้วยระบบประสาทกลาง (สมองและไขสันหลัง) และระบบประสาทนอกส่วนกลางประกอบด้วยเส้นประสาทและปมประสาทนอกสมองและไขสันหลัง สมองเป็นอวัยวะแห่งความคิด อารมณ์ ความทรงจำ และการประมวนทางประสาทสัมผัส และทำหน้าที่ในหลายมุมมองของการสื่อสารและควบคุมระบบและหน้าที่ต่าง ๆ ความรู้สึกพิเศษประกอบด้วย การมองเห็น การได้ยิน การรับรู้รส และการดมกลิ่น ซึ่ง ตา,หู, ลิ้น, และจมูกรวบรวมข้อมูลจากสิ่งรอบตัว[22]

ระบบสืบพันธุ์

ระบบสืบพันธุ์ประกอบด้วยต่อมบ่งเพศและอวัยวะเพศทั้งภายในและภายนอก ระบบสืบพันธุ์ผลิตเซลล์สืบพันธุ์ในแต่ละเพศ, ให้กลไกสำหรับการรวมกันของเซลล์สืบพันธุ์, และสำหรับเพศหญิงยังให้สิ่งแวดล้อมในการพัฒนาทารกในเก้าเดือนแรก[23]

ระบบหายใจ

ระบบหายใจประกอบด้วยจมูก คอหอย หลอดลม และปอด อวัยวะเหล่านี้นำออกซิเจนจากอากาศและขับคาร์บอนไดออกไซด์และน้ำกลับไปยังอากาศ[24]

ระบบทางเดินปัสสาวะ

ระบบทางเดินปัสสาวะประกอบด้วยไต ท่อไต กระเพาะปัสสาวะ และท่อปัสสาวะ โดยทำหน้าที่ขับสิ่งเป็นพิษออกจากเลือดเพื่อผลิตปัสสาวะซึ่งขนส่งโมเลกุลของเสียและไอออนส่วนเกินและน้ำออกจากร่างกาย[25]

อ้างอิง

  1. "Chemical Composition of the Human Body". About education. สืบค้นเมื่อ 2 September 2016.
  2. "Fluid Physiology". Anaesthesiamcq. สืบค้นเมื่อ 2 September 2016.
  3. Ganong's 2016, p. 5.
  4. "The Cells in Your Body". Science Netlinks. สืบค้นเมื่อ 2 September 2016.
  5. 5.0 5.1 5.2 Ron Sender; Shai Fuchs; Ron Milo (2016). "Revised estimates for the number of human and bacteria cells in the body". PLOS Biology. 14 (8): e1002533. bioRxiv 036103. doi:10.1371/journal.pbio.1002533. PMC 4991899. PMID 27541692. ((cite journal)): ตรวจสอบค่า |biorxiv= (help)
  6. Bianconi, E; Piovesan, A; Facchin, F; Beraudi, A; Casadei, R; Frabetti, F; Vitale, L; Pelleri, MC; Tassani, S; Piva, F; Perez-Amodio, S; Strippoli, P; Canaider, S (5 July 2013). "An estimation of the number of cells in the human body". Annals of Human Biology. 40 (6): 463–71. doi:10.3109/03014460.2013.807878. PMID 23829164.
  7. David N., Fredricks (2001). "Microbial Ecology of Human Skin in Health and Disease". Journal of Investigative Dermatology Symposium Proceedings. 6: 167–169. doi:10.1046/j.0022-202x.2001.00039.x. สืบค้นเมื่อ 7 February 2017.
  8. Ganong's 2016, p. 16.
  9. "Gene Expression | Learn Science at Scitable". www.nature.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2017-07-29.
  10. "tissue – definition of tissue in English". Oxford Dictionaries | English. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-10-05. สืบค้นเมื่อ 2016-09-17.
  11. Gray's Anatomy 2008, p. 27.
  12. "organ | Definition, meaning & more | Collins Dictionary". www.collinsdictionary.com. สืบค้นเมื่อ 2016-09-17.
  13. "Cardiovascular System". U.S. National Cancer Institute. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 February 2007. สืบค้นเมื่อ 2008-09-16.
  14. Human Biology and Health. Upper Saddle River, NJ: Pearson Prentice Hall. 1993. ISBN 0-13-981176-1.
  15. "The Cardiovascular System". SUNY Downstate Medical Center. 8 March 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-06-11. สืบค้นเมื่อ 2018-04-16.
  16. "Your Digestive System and How It Works". NIH. สืบค้นเมื่อ 4 September 2016.
  17. "Hormonal (endocrine) system". Victoria State Government. สืบค้นเมื่อ 4 September 2016.
  18. Integumentary System ในหอสมุดแพทยศาสตร์แห่งชาติอเมริกัน สำหรับหัวข้อเนื้อหาทางการแพทย์ (MeSH)
  19. Marieb, Elaine; Hoehn, Katja (2007). Human Anatomy & Physiology (7th ed.). Pearson Benjamin Cummings. p. 142.
  20. Zimmerman, Kim Anne. "Lymphatic System: Facts, Functions & Diseases". LiveScience. สืบค้นเมื่อ 4 September 2016.
  21. Moore, Keith L.; Dalley, Arthur F.; Agur Anne M. R. (2010). Moore's Clinically Oriented Anatomy. Phildadelphia: Lippincott Williams & Wilkins. pp. 2–3. ISBN 978-1-60547-652-0.
  22. "Nervous System". Columbia Encyclopedia (6th ed.). Columbia University Press. 2001. ISBN 978-0-787-65015-5.
  23. "Introduction to the Reproductive System". Epidemiology and End Results (SEER) Program. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 January 2007.
  24. Maton, Anthea; Hopkins, Jean Susan; Johnson, Charles William; McLaughlin, Maryanna Quon; Warner, David; LaHart Wright, Jill (2010). Human Biology and Health. Prentice Hall. pp. 108–118. ISBN 0-134-23435-9.
  25. Zimmerman, Kim Ann. "Urinary System: Facts, Functions & Diseases". LiveScience. สืบค้นเมื่อ 4 September 2016.

หนังสือ

แหล่งข้อมูลอื่น

{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
ร่างกายมนุษย์
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?