For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for การแพทย์แผนไทย.

การแพทย์แผนไทย

บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด กรุณาช่วยปรับปรุงบทความนี้ โดยเพิ่มการอ้างอิงแหล่งที่มาที่น่าเชื่อถือ เนื้อความที่ไม่มีแหล่งที่มาอาจถูกคัดค้านหรือลบออก (เรียนรู้ว่าจะนำสารแม่แบบนี้ออกได้อย่างไรและเมื่อไร)
บทความนี้อาจต้องเขียนใหม่ทั้งหมดเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพของวิกิพีเดีย หรือกำลังดำเนินการอยู่ คุณช่วยเราได้ หน้าอภิปรายอาจมีข้อเสนอแนะ

การแพทย์แผนไทย หรือ การแพทย์แผนโบราณ เป็นการดูแลสุขภาพทั้งสภาวะปกติ และสภาวะที่ผิดปกติ (เป็นโรค) โดยใช้ทฤษฎีความสมดุลของธาตุต่าง ๆ ในร่างกายและกายวิภาคศาสตร์ (anatomy) หลักวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์เข้ามาอธิบาย ตามหลักวิชาการหลักเวชปฏิบัติ จากหลักฐานสมัยอยุธยาพบว่า การแพทย์แผนไทยได้รับจากอายุรเวทอินเดียเป็นสำคัญ โดยกล่าวว่าหมอชีวกโกมารภัจจ์ (แพทย์ประจำกายของพระพุทธเจ้า) เป็นผู้แต่งคัมภีร์แพทย์ ครั้นพระพุทธศาสนาเริ่มเผยแผ่เข้ามาสู่ไทย พระสงฆ์ผู้เข้ามาเผยแผ่พระพุทธศาสนาได้นำความรู้ในการรักษาโรคเข้ามาใช้กับชาวบ้านด้วย จึงเกิดการผสมผสานกับวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของคนไทย

องค์ความรู้ด้านการแพทย์แผนไทยล้วนเป็นผลสืบเนื่องจากการสะสมประสบการณ์ในการต่อสู้กับโรคภัยไข้เจ็บตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โดยมองว่าจิตใจและอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายมนุษย์มีการทำงานที่สัมพันธ์และเป็นหนึ่งเดียว นอกจากนี้ยังสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม รวมไปถึงจักรวาล การแก้ปัญหาจึงใช้วิธีแบบองค์รวม (holistic) ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องของการแพทย์อย่างเดียวล้วน ๆ แต่เป็นเรื่องของปรัชญาความคิดที่ครอบคลุมไปถึงการดำเนินชีวิตตามแบบวิถีชีวิตคนไทย

ทฤษฎีธาตุเจ้าเรือน

[แก้]

ตามทฤษฎีการแพทย์ไทย กล่าวว่า คนเราเกิดมาในร่างกายประกอบด้วยธาตุทั้งสี่ ดิน น้ำ ลม ไฟ ซึ่งในแต่ละคนจะมีธาตุหลักเป็นธาตุประจำตัว เรียกว่า "ธาตุเจ้าเรือน" ซึ่งธาตุเจ้าเรือนนี้มี 2 ลักษณะ คือ ธาตุเจ้าเรือนเกิด ซึ่งจะเป็นไปตาม วันเดือนปีเกิด และธาตุเจ้าเรือนปัจจุบัน ที่พิจารณาจากบุคลิกลักษณะ อุปนิสัยและภาวะด้านสุขภาพ

เมื่อธาตุทั้งสี่ในร่างกายสมดุล บุคคลจะไม่ค่อยเจ็บป่วย หากขาดความสมดุลมักจะเกิดความเจ็บป่วยด้วยโรคที่เกิดจาก จุดอ่อนด้านสุขภาพของแต่ละคนตามเรือนธาตุ ที่ขาดความสมดุล ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันปัญหาความเจ็บป่วยที่อาจเกิดขึ้นการปรับพฤติกรรมการบริโภคอาหารของแต่ละคนในชีวิตประจำวัน โดยใช้รสของอาหารที่เป็นยามาปรับสมดุลของร่างกายเพื่อป้องกันความเจ็บป่วย

คัมภีร์แพทย์แผนไทย

[แก้]
คัมภีร์ที่เกี่ยวกับสาเหตุของการเกิดโรคโดยทั่วไป
  • คัมภีร์เวชศึกษา กล่าวถึงสาเหตุการเกิดโรค และ วิธีการตรวจโรคต่าง ๆ
  • คัมภีร์สมุฎฐานวินิจฉัย ซึ่งกล่าวถึงถึงสาเหตุการเกิดโรค โดยอาศัยทฤษฎีธาตุในการวินิจฉัยและพยากรณ์โรค
  • คัมภีร์โรคนิทาน กล่าวถึงสาเหตุของโรค และ ความผิดปกติของธาตุต่าง ๆ และรสยาต่าง ๆ
  • คัมภีร์ธาตุวิภังค์ เช่นเดียวกับคัมภีร์โรคนิทาน แต่มีรายละเอียดแตกต่างกัน และรสยาต่าง ๆ
  • คัมภีร์ธาตุวิวรณ์ กล่าวถึงสาเหตุการเกิดโรค โดยอาศัยปัจจัยแวดล้อม และปัจจัยภายใน รวมถึงรสยาต่าง ๆ

คัมภีร์ที่เกี่ยวกับไข้

  • คัมภีร์ฉันทศาสตร์ กล่าวถึงไข้ โดยอาศัยทฤษฎีธาตุ
  • คัมภีร์ตักศิลา กล่าวถึง อาการและโรคไข้ต่าง ๆ

คัมภีร์ที่เกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร

  • คัมภีร์มุขโรค กล่าวถึงโรคในช่องปากและคอ
  • คัมภีร์ธาตุบรรจบ กล่าวถึงโรคในระบบทางเดินอาหาร โดยพิจารณาจากอุจจาระ และใช้ทฤษฎีธาตุ
  • คัมภีร์อุทรโรค กล่าวถึงโรคในช่องท้องและท้องเดินอาหาร
  • คัมภีร์อติสาร เช่นเดียวกับคัมภีร์อุทรโรค แต่รายละเอียดแตกต่างกัน

คัมภีร์ที่เกี่ยวกับโรคสตรี และการตั้งครรภ์

  • คัมภีร์ปฐมจินดา กล่าวถึง การปฏิสนธิและการตั้งครรภ์ ลักษณะสตรีต่าง ๆ โรคในเด็กแรกเกิด
  • คัมภีร์มหาโชติรัตน์ กล่าวถึงโรคสตรี

คัมภีร์ที่กล่าวถึงโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และทางเดินปัสสาวะ

  • คัมภีร์มุจฉาปักขันทิกา

คัมภีร์ที่เกี่ยวกับโรคลม

  • คัมภีร์ชวดาร กล่าวเกี่ยวกับโรคทางเดินปัสสาวะ หัวใจ และไต ซึ่งอธิบายโดยทฤษฎีลม
  • คัมภีร์มัญชุสาระวิเชียร อธิบายที่ตั้งและการเรียกชื่อโรคลม

คัมภีร์ที่เกี่ยวกับความเจ็บป่วยเรื้อรัง

  • คัมภีร์กษัย

คัมภีร์ที่เกี่ยวกับโรคที่เกิดขึ้นที่เยื่อบุผิว

  • คัมภีร์ทิพยมาลา เกี่ยวกับฝีภายในร่างกาย
  • คัมภีร์ไพจิตร์มหาวงศ์ กล่าวเกี่ยวกับฝี

คัมภีร์ที่เกี่ยวกับโรคตา

  • คัมภีร์อภัยสันตา

คัมภีร์เกี่ยวกับโรคผิวหนัง

  • คัมภีร์วิถีกุฏฐโรค

คัมภีร์เกี่ยวกับโรคของเด็ก

  • คัมภีร์สิทธิสารสงเคราะห์

คัมภีร์เกี่ยวกับสรรพคุณยา

  • คัมภีร์สรรพคุณยา

บุคคลที่เกี่ยวข้องกับแพทย์แผนไทย

[แก้]

แพทย์แผนไทยประยุกต์ คือ บุคลากรทางการแพทย์สาขาหนึ่ง เกิดขึ้นจากแนวคิดของนายแพทย์ อวย เกตุสิงห์ ซึ่งต้องการพัฒนาและยกฐานะของการแพทย์แผนโบราณให้มีความเป็นวิทยาศาสตร์และมีหลักวิชาการรองรับในการอธิบาย อาจกล่าวได้ว่า แพทย์แผนไทยประยุกต์เป็นบุคลากรการแพทย์สายพันธุ์ใหม่ของสังคมไทยที่ครึ่งหนึ่งขององค์ความรู้จะต้องร่ำเรียนตามหลักวิชาการทางการแพทย์แผนปัจจุบัน ผสมผสานกับคัมภีร์แพทย์แผนโบราณของไทย รวมทั้งการประยุกต์ใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ (ตามระเบียบและข้อบังคับของสภาการแพทย์แผนไทย) สามารถวินิจฉัยตามหลักการแพทย์แผนปัจจุบัน เพียงแต่เมื่อถึงขั้นตอนในการรักษานั้น ต้องรักษาด้วยวิธีการการแพทย์แผนไทย อาทิการใช้ยาสมุนไพร นวด อบ ประคบ นอกจากนั้น ยังสามารถทำคลอดและให้การบำรุงแม่และทารก ตามแนวทางการแพทย์แผนไทยเพื่อส่งเสริมสุขภาพ

แพทย์แผนไทยประยุกต์จะต้องสอบใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะหรือใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ สาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ โดยเฉพาะเสียก่อน จึงสามารถปฏิบัติงานในโรงพยาบาล หรือให้การรักษาแก่ผู้ป่วยได้ การสอบใบประกอบโรคศิลปะนั้น จะต้องสอบใบประกอบโรคศิลปะสาขาแพทย์แผนไทยประยุกต์เท่านั้น จึงจะเป็นแพทย์แผนไทยประยุกต์ที่สมบูรณ์และถูกต้อง


ข้อแตกต่างตามพระราชบัญญัติ วิชาชีพการแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2556

หัวข้อ แพทย์แผนไทย แพทย์แผนไทยประยุกต์
การประกอบวิชาชีพ การประกอบวิชาชีพที่กระทําหรือ มุ่งหมายจะกระทําต่อมนุษย์ เกี่ยวกับการแนะนํา การตรวจโรค การวินิจฉัยโรค การบําบัดโรค การรักษาโรค การป้องกันโรค การส่งเสริมและการฟื้นฟูสุขภาพ โดยอาศัยองค์ความรู้ด้านเวชกรรมไทย เภสัชกรรมไทย การผดุงครรภ์ไทย การนวดไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย และองค์ความรู้ด้านอื่นตามที่รัฐมนตรีประกาศกําหนด

โดยคําแนะนําของคณะกรรมการ ทั้งนี้ ด้วยกรรมวิธีการแพทย์แผนไทยซึ่งถ่ายทอดหรือพัฒนาสืบต่อกันมา ตามตําราการแพทย์แผนไทยหรือจากสถานศึกษาที่สภาการแพทย์แผนไทยรับรอง

การประกอบวิชาชีพที่กระทําหรือ มุ่งหมายจะกระทําต่อมนุษย์ เกี่ยวกับการแนะนํา การตรวจโรค การวินิจฉัยโรค การบําบัดโรค การรักษาโรค การป้องกันโรค การส่งเสริมและการฟื้นฟูสุขภาพ โดยอาศัยองค์ความรู้ด้านเวชกรรมไทย เภสัชกรรมไทย การผดุงครรภ์ไทย การนวดไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย และองค์ความรู้ด้านอื่นตามที่รัฐมนตรีประกาศกําหนด

ทั้งนี้ ด้วยกรรมวิธีการแพทย์แผนไทยโดยอาศัยองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์การแพทย์ซึ่งศึกษาจากสถานศึกษา ที่สภาการแพทย์แผนไทยรับรอง รวมทั้งการประยุกต์ใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ ทั้งนี้ ตามระเบียบและข้อบังคับของสภาการแพทย์แผนไทย

ผู้ประกอบวิชาชีพ ผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทย ผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์
ประเภท ก. ประเภท ข. ประเภท ข.
ได้รับการฝึกอบรมจากสถาบันหรือสถานพยาบาลที่สภารับรอง โดยมีผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยซึ่งได้รับอนุญาตเป็นผู้ถ่ายทอด  และต้องใบอนุญาตสอบผ่าน ได้รับปริญญาตรี การแพทย์แผนไทยบัณฑิต จากสถาบันที่สภารับรอง และต้องสอบใบอนุญาตผ่าน

 

ได้รับปริญญาตรี การแพทย์แผนไทยประยุกต์บัณฑิต

จากสถาบันที่สภารับรอง และต้องสอบใบอนุญาตผ่าน   


ใบอนุญาต สอบขึ้นทะเบียน “แยก” แต่ละด้าน

1. ด้านเวชกรรมไทย (พท.ว)

2. ด้านเภสัชกรรมไทย (พท.ภ.)

3. ด้านผดุงครรภ์ไทย (พท.ผ.)

4. ด้านนวดไทย (พท.น.)

สอบขึ้นทะเบียน 4 ใบ

1. ด้านเวชกรรมไทย (พท.ว)

2. ด้านเภสัชกรรมไทย (พท.ภ.)

3. ด้านผดุงครรภ์ไทย (พท.ผ.)

4. ด้านนวดไทย (พท.น.)

สอบขึ้นทะเบียน

ใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์ (พท.ป.) 1 ใบ

สอบวิชาชีพพื้นฐาน

วิชากฎหมายและจรรยาบรรณวิชาชีพ

วิชาด้านที่อบรม

1. สอบวิชาพื้นฐานวิชาชีพและวิชากฎหมายและจรรยาบรรณวิชาชีพ

2. สอบภาคทฤษฎีของด้านที่สมัครสอบ

3. สอบภาคปฏิบัติของด้านที่สมัครสอบ

1.สอบความรู้ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์พื้นฐานชั้นเตรียมคลินิก ชั้นคลินิก และกฎหมาย

2.สอบความรู้ทางวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์

3.สอบความรู้ทักษะและหัตถการในเวชปฏิบัติการแพทย์แผนไทยประยุกต์)


คำนำหน้าชื่อ แพทย์แผนไทย ย่อ พท. แพทย์แผนไทยประยุกต์ ย่อ พท.ป.

การจัดการเรียนการสอนสาขาการแพทย์แผนไทยและสาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์

[แก้]

ในปัจจุบัน มีมหาวิทยาลัยต่าง ๆ หันมาให้ความสำคัญกับการผลิตบัณฑิตในสาขาการแพทย์แผนไทยมากขึ้น ซึ่งการแพทย์แผนไทยกับการแพทย์แผนไทยประยุกต์ นั้นมีทั้งความเหมือนและความแตกต่างกันพอสมควร อย่างไรก็ตามทั้งแพทย์แผนไทยและแพทย์แผนไทยประยุกต์ ต้องสอบใบประกอบโรคศิลปะเช่นกัน แต่ขึ้นทะเบียนกันคนละประเภทกัน

โดยสถาบันการศึกษาที่ได้รับการรับรองจากสภาการแพทย์แผนไทย มีดังนี้

สาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์

สาขาการแพทย์แผนไทย

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. http://ra.mahidol.ac.th
  2. https://www.mfu.ac.th/education/school/sch-integrative-medicine.html
  3. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-04-10. สืบค้นเมื่อ 2010-09-20.
  4. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-10-05. สืบค้นเมื่อ 2010-09-20.
  5. https://smd.wu.ac.th/
  6. http://www.medicine.up.ac.th/
  7. http://www.health.nu.ac.th
  8. http://thaimed.buu.ac.th
  9. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-04-24. สืบค้นเมื่อ 2013-06-01.
  10. http://www.atm.ahs.ssru.ac.th/index.php/th
  11. http://www.ttmed.psu.ac.th
  12. http://www.rsa.ru.ac.th[ลิงก์เสีย]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
การแพทย์แผนไทย
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?