For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for คัพภวิทยา.

คัพภวิทยา

ตัวอ่อนระยะมอรูลา (Morula) , ระยะ 8 เซลล์
1 - มอรูลา (morula), 2 - บลาสตูลา (blastula)
เอ็มบริโอ 6 สัปดาห์หลังประจำเดือนครั้งสุดท้าย

คัพภวิทยา หรือ วิทยาเอ็มบริโอ (อังกฤษ: embryology) เป็นการศึกษาการเจริญของเอ็มบริโอ เอ็มบริโอคือขั้นหนึ่งของการเจริญของสิ่งมีชีวิตก่อนคลอดหรือออกจากไข่ หรือในพืชคือในระยะก่อนการงอก (germination)

คัพภวิทยาหมายถึงการเจริญของไข่ที่ได้รับการผสมแล้ว (ไซโกต) และมีการเปลี่ยนแปลงไปเป็นเนื้อเยื่อและอวัยวะต่าง ๆ หลังจากระยะแยก (cleavage) เซลล์ที่กำลังแบ่งตัว หรือมอรูลา (morula) จะกลายมาเป็นลูกบอลกลวง หรือบลาสตูลา (blastula) ซึ่งมีการเจริญของรูหรือช่องที่ปลายด้านหนึ่ง

ในสัตว์ บลาสตูลาจะมีการเจริญแบ่งได้ออกเป็น 2 ทาง ทำให้สามารถแบ่งสัตว์ในอาณาจักรสัตว์ออกเป็น 2 ประเภท ประเภทแรกคือหากมีการเจริญของรูในบลาสตูลา (บลาสโตพอร์ (blastopore)) กลายเป็นปากของสัตว์ จะเรียกว่าพวกโพรโตสโตม (protostome) แต่หากรูนั้นเจริญเป็นทวารหนัก จะเรียกว่าพวกดิวเทอโรสโตม (deuterostome) สัตว์พวกโพรโตสโตมได้แก่สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เช่น แมลง หนอน และพวกหอยกับปลาหมึก ในขณะที่พวกดิวเทอโรสโตมได้แก่สัตว์ที่วิวัฒนาการสูงเช่นสัตว์มีกระดูกสันหลัง (vertebrates) บลาสตูลาจะเปลี่ยนแปลงไปเป็นโครงสร้างที่เรียกว่า แกสตรูลา (gastrula)

1 - บลาสตูลา (blastula), 2 - แกสตรูลา (gastrula) และบลาสโตพอร์ (blastopore); สีส้มแทนเอ็กโทเดิร์ม, สีแดงแทนเอนโดเดิร์ม

แกสตรูลาและบลาสโตพอร์จะเจริญไปเป็นชั้นต่าง ๆ 3 ชั้น (germ layers) ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของอวัยวะและเนื้อเยื่อในร่างกายทั้งหมด

สำหรับในมนุษย์ เอ็มบริโอหมายถึงกลุ่มเซลล์ที่กำลังแบ่งตัวรูปทรงกลมจากระยะที่ไซโกตฝังตัวอยู่ในผนังมดลูกจนกระทั่งถึงสิ้นสุดสัปดาห์ที่ 8 หลังจากตั้งครรภ์ หลังจากสัปดาห์ที่ 8 จะเรียกตัวอ่อนของมนุษย์ว่าทารกในครรภ์ (fetus) เอ็มบริโอของสัตว์หลายชนิดจะมีลักษณะคล้ายกับสัตว์ชนิดอื่น ๆ ในระยะการเจริญช่วงแรกๆ เหตุผลที่มีความคล้ายคลึงกันนั้นเนื่องจากสิ่งมีชีวิตมีการปรับตัวในสิ่งแวดล้อมของการตั้งครรภ์ ความคล้ายคลึงกันในสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดเรียกว่า โครงสร้างกำเนิดต่างกัน (analogous structures) ซึ่งเป็นโครงสร้างที่ทำหน้าที่หรือกลไกเหมือนกันแต่วิวัฒนาการมาจากคนละส่วนกัน


อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
คัพภวิทยา
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?