For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for กระเพาะอาหาร.

กระเพาะอาหาร

บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด กรุณาช่วยปรับปรุงบทความนี้ โดยเพิ่มการอ้างอิงแหล่งที่มาที่น่าเชื่อถือ เนื้อความที่ไม่มีแหล่งที่มาอาจถูกคัดค้านหรือลบออก (เรียนรู้ว่าจะนำสารแม่แบบนี้ออกได้อย่างไรและเมื่อไร)
กระเพาะอาหาร
(Stomach)
ชั้นกล้ามเนื้อส่วนนอกของกระเพาะอาหาร
โครงสร้างภายในกระเพาะอาหาร
รายละเอียด
ประสาทปมประสาทซิลิแอค, เส้นประสาทเวกัส
น้ำเหลืองต่อมน้ำเหลืองซิลิแอคพรีเอออร์ติก
ตัวระบุ
ภาษาละตินVentriculus
ภาษากรีกGaster
MeSHD013270
TA98A05.5.01.001
TA22901
FMA7148
อภิธานศัพท์กายวิภาคศาสตร์

กระเพาะอาหาร เป็นอวัยวะของทางเดินอาหารที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการย่อยอาหารที่ผ่านการเคี้ยวภายในช่องปากมาแล้ว กระเพาะอาหารยังเป็นอวัยวะที่มีสภาพแวดล้อมเป็นกรด โดยมักจะมีค่าพีเอชอยู่ที่ประมาณ 1-4 โดยขึ้นกับอาหารที่รับประทานและปัจจัยอื่น ๆ นอกจากนี้ในกระเพาะอาหารยังมีการสร้างเอนไซม์เพื่อช่วยในการย่อยอาหารอีกด้วย ในศัพท์ทางการแพทย์จะเรียกโครงสร้างที่เกี่ยวกับกระเพาะอาหารโดยขึ้นต้นด้วยคำว่า gastro- และ gastric ซึ่งเป็นคำในภาษาละตินที่หมายถึงกระเพาะอาหาร

หน้าที่การทำงาน

หน้าที่หลักของกระเพาะอาหารคือการย่อยสลายสารอาหารโมเลกุลใหญ่ให้เล็กลงโดยอาศัยการทำงานของกรดเกลือ (hydrochloric acid) เพื่อให้ง่ายต่อการดูดซึมที่ลำไส้เล็ก นอกจากนี้กระเพาะอาหารยังมีหน้าที่ผลิตเอนไซม์ที่ใช้ในการย่อยโปรตีน คือเอนไซม์เพปซิน โดยในช่วงแรก เอนไซม์นี้จะถูกผลิตออกมาในรูปของเพปซิโนเจน (pepsinogen) ที่ยังไม่สามารถทำงานได้ในการย่อย แต่จะถูกเปลี่ยนเป็นเพปซินเมื่ออยู่ในสภาวะที่เป็นกรดภายในกระเพาะอาหาร นอกจากนี้แล้ว กระเพาะอาหารยังทำหน้าที่ในการดูดซึมน้ำ ไอออนต่าง ๆ รวมทั้งแอลกอฮอล์ แอสไพริน และกาเฟอีนอีกด้วย อย่างไรก็ตาม หน้าที่ของกระเพาะอาหารที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตคือการผลิตสารที่เรียกว่า อินทรินซิค แฟคเตอร์ (intrinsic factor) ซึ่งเป็นสารที่จำเป็นในการดูดซึมวิตามิน บี12

กายวิภาคศาสตร์

กระเพาะอาหารวางตัวอยู่ทางด้านซ้ายของช่องท้อง โดยอยู่ระหว่างหลอดอาหารและลำไส้เล็กตอนต้น และมีบางส่วนที่สัมผัสกับกะบังลม และมีตับอ่อนวางอยู่ใต้กระเพาะอาหารด้วย ที่ส่วนโค้งใหญ่ (greater curvature) ของกระเพาะอาหารยังมีเยื่อโอเมนตัมใหญ่ (greater omentum) ห้อยลงมาคลุมอวัยวะอื่น ๆ ในช่องท้องอีกด้วย ที่บริเวณติดต่อกับหลอดอาหารและลำไส้เล็กตอนต้น จะมีกล้ามเนื้อหูรูดที่ควบคุมการเข้าออกของสารภายในกระเพาะอาหาร ซึ่งได้แก่กล้ามเนื้อหูรูดหลอดอาหาร (esophageal หรือ cardiac sphincter) ซึ่งแบ่งระหว่างหลอดอาหารกับกระเพาะอาหาร และกล้ามเนื้อหูรูดไพลอริค (pyloric sphincter) ซึ่งแบ่งระหว่างกระเพาะอาหารกับลำไส้เล็กตอนต้น

ส่วนของกระเพาะอาหาร

กระเพาะอาหารจะถูกแบ่งออกเป็นสี่ส่วน ซึ่งจะมีโครงสร้างในระดับเนื้อเยื่อที่แตกต่างกัน ได้แก่

  • ส่วนบนสุด ปากกระเพาะ หรือส่วนคาดิแอค (cardiac) เป็นส่วนที่ติดต่อกับหลอดอาหาร
  • ส่วนบน กระพุ้งกระเพาะอาหาร หรือส่วนฟันดัส (fundus)
  • ส่วนกลาง (body)
  • ส่วนท้าย หรือส่วนไพลอรัส (pylorus) มี กระเพาะส่วนปลาย (antrum, pylorus) และ หูรูดกระเพาะส่วนปลาย (pyloric sphincter) จะติดต่อกับลำไส้เล็กตอนต้น

ระบบไหลเวียนเลือด และระบบประสาท

หลอดเลือดแดงที่มาเลี้ยงกระเพาะอาหารทั้งหมดจะมาจากหลอดเลือดแดงใหญ่ซิลิแอค (celiac trunk) ซึ่งได้แก่

ส่วนระบบหลอดเลือดดำที่นำเลือดออกจากกระเพาะอาหาร ได้แก่ หลอดเลือดดำม้าม (splenic vein) และหลอดเลือดดำซุพีเรียมีเซนเทอริค (superior mesenteric vein) ซึ่งทั้งสองจะนำเลือดเข้าสู่ตับทางหลอดเลือดดำพอร์ทัล ระบบประสาทที่มาควบคุมการทำงานของกระเพาะอาหาร ได้แก่เส้นประสาทเวกัส (vagus nerve) ซึ่งกระตุ้นการทำงานของกระเพาะอาหาร ขณะที่เส้นประสาทจากร่างแหประสาทซิลิแอค (celiac plexus) จะยับยั้งการทำงานของกระเพาะอาหาร

จุลกายวิภาคศาสตร์

โครงสร้างในระดับเนื้อเยื่อของกระเพาะอาหารโดยทั่วไปจะคล้ายกับส่วนอื่น ๆ ของทางเดินอาหาร แต่จะมีการปรับเปลี่ยนไปสำหรับการหลั่งกรดและเอนไซม์ ชั้นต่าง ๆ ของกระเพาะอาหารจากในสุดออกมานอกสุด ได้แก่

  • ชั้นเยื่อเมือก (mucosa) จะประกอบด้วยชั้นของเซลล์เยื่อบุผิวที่เรียงตัวกันเป็นต่อม และยังมีชั้นของเนื้อเยื่อเกี่ยวพันและชั้นกล้ามเนื้อบาง ๆ อีกด้วย
  • ชั้นใต้เยื่อเมือก (submucosa) อยู่ถัดออกมา ซึ่งจะประกอบด้วยเนื้อเยื่อเกี่ยวพันเป็นหลัก และยังมีกลุ่มของปลายประสาทไมสส์เนอร์ (Meissner's plexus) ซึ่งทำหน้าที่รับรู้แรงกดและแรงตึงภายในกระเพาะอาหาร
  • ชั้นกล้ามเนื้อ (muscularis externa) สำหรับในกระเพาะอาหารจะมีชั้นกล้ามเนื้อเรียบถึงสามชั้น ซึ่งได้แก่ ชั้นใน (inner) ที่วางตัวในแนวเฉียง ชั้นกลาง (middle) ที่วางตัวเป็นวงรอบกระเพาะอาหาร และชั้นนอก (outer) ซึ่งวางตัวในแนวตามความยาวของกระเพาะอาหาร กล้ามเนื้อเหล่านี้จะช่วยในการเคลื่อนไหวและการบีบรัดของกระเพาะอาหารระหว่างการย่อย นอกจากนี้ ระหว่างกล้ามเนื้อชั้นกลางและชั้นนอก จะพบร่างแหประสาทเออร์บาค (Auerbach's หรือ Myenteric plexus) ซึ่งเป็นแขนงประสาทที่ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อภายในกระเพาะอาหาร
  • ชั้นเยื่อหุ้มนอกสุด (serosa) เป็นชั้นของเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่หุ้มกระเพาะอาหาร และติดต่อกับเยื่อแขวนกระเพาะ

โรคที่เกี่ยวกับกระเพาะอาหาร

กระเพาะอาหารสามารถเกิดการติดเชื้อได้ ซึ่งจะทำให้เกิดภาวะกระเพาะอาหารอักเสบ (gastritis) แผลในกระเพาะอาหาร (gastric ulcer) รวมทั้งมะเร็งกระเพาะอาหาร (stomach cancer) ซึ่งการติดเชื้อในกระเพาะอาหารมักเกิดจากแบคทีเรีย เฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร (Helicobacter pylori) นอกจากนี้ การหลั่งกรดที่มากเกินไปในกระเพาะอาหารก็ทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารเช่นกัน แผลในกระเพาะอาหารที่เกิดขึ้นเรื้อรังอาจนำไปสู่ภาวะกระเพาะทะลุได้อีกด้วย

{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
กระเพาะอาหาร
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?