For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for กระดูกฝ่ามือ.

กระดูกฝ่ามือ

กระดูกมือข้างซ้าย มุมมองจากด้านหลังมือ

ในกายวิภาคศาสตร์ของมนุษย์ กระดูกฝ่ามือ (อังกฤษ: Metacarpal bones/Metacarpus) เป็นกลุ่มของกระดูกมือที่เชื่อมต่อระหว่างกระดูกข้อมือ (Carpus) และกระดูกนิ้วมือ (Phalanges) โดยจะมีจำนวน 5 ชิ้น เพื่อรองรับกระดูกนิ้วมือทั้ง 5

ลักษณะทั่วไปของกระดูกฝ่ามือ

กระดูกฝ่ามือแต่ละชิ้นจะมีลักษณะค่อนข้างใกล้เคียงกัน โดยจะมีลักษณะเป็นกระดูกแบบยาว ซึ่งจะแบ่งออกเป็นสามส่วน คือส่วนหัวกระดูก (head/distal extremity) ซึ่งอยู่ทางปลายด้านนิ้วมือ ส่วนกลางกระดูก (body) และส่วนฐานกระดูก (base/carpal extremity) ที่อยู่ติดกับกระดูกข้อมือ

ส่วนฐานกระดูก

ส่วนฐานของกระดูกนิ้วมือจะมีลักษณะหนาตัวขึ้นจนมีรูปร่างคล้ายลูกบาศก์ และจะแบนออกทางด้านหลังมือ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้การงอมือไปทางด้านหลังมือมีองศาที่น้อยกว่าการงอมือไปทางด้านฝ่ามือ ปลายด้านนี้จะติดต่อกับกระดูกข้อมือในแถวหลัง และยังมีบางส่วนที่ติดต่อกับกระดูกฝ่ามือที่อยู่ติดกัน

ส่วนกลางกระดูก

ส่วนกลางของกระดูกฝ่ามือจะมีลักษณะคล้ายปริซึม และมีความโค้งนูนออกไปทางด้านหลังมือเล็กน้อย พื้นผิวทางด้านแนวข้างของส่วนกลางของกระดูกจะเป็นจุดเกาะของกลุ่มกล้ามเนื้ออินเตอร์ออสเซียสด้านฝ่ามือ (Palmar interosseus muscles) ซึ่งเป็นกล้ามเนื้อที่ยึดกระดูกฝ่ามือแต่ละชิ้นเข้าด้วยกัน ส่วนพื้นผิวทางด้านหลังมือจะมีเอ็นจากกล้ามเนื้อที่ใช้ในการยืดมือวางพาดอยู่ และยังมีแนวจุดเกาะของกล้ามเนื้ออินเตอร์ออสเซียสด้านหลังมือ (Dorsal interosseus muscles) อีกด้วย

ส่วนหัวกระดูก

ส่วนหัวของกระดูกฝ่ามือจะมีลักษณะเว้าเข้ามาเล็กน้อยและแบนออกด้านข้างเพื่อรองรับกับกระดูกนิ้วมือส่วนต้น (Proximal phalanges) ทางด้านข้างของด้านหัวกระดูกนี้จะนูนออกมาเล็กน้อยเพื่อเป็นจุดเกาะของเอ็นรอบข้อต่อระหว่างฝ่ามือกับนิ้วมือ (Metacarpophalangeal joints)

กายวิภาคของกระดูกฝ่ามือแต่ละชิ้น

ในการระบุชื่อของกระดูกฝ่ามือแต่ละชิ้น จะเริ่มนับจากกระดูกฝ่ามือที่อยู่ด้านนิ้วหัวแม่มือเป็นชิ้นที่ 1 จนถึงด้านนิ้วก้อยเป็นชิ้นที่ 5

กระดูกฝ่ามือชิ้นที่ 1 (Metacarpus I)

กระดูกฝ่ามือชิ้นที่ 1

กระดูกฝ่ามือชิ้นที่ 1 เป็นกระดูกที่รองรับนิ้วหัวแม่มือ โดยลักษณะสำคัญคือจะสั้นและกว้างกว่ากระดูกฝ่ามือชิ้นอื่นเล็กน้อย และมีความโค้งเข้าหาตัวฝ่ามือ ขอบทางด้านข้างจะเป็นจุดเกาะปลายของกล้ามเนื้อออพโพเนนส์ พอลิซิส (Opponens pollicis muscle) ขณะที่ขอบทางด้านที่ติดกับนิ้วชี้จะให้เป็นจุดเกาะด้านหนึ่งของกล้ามเนื้ออินเตอร์ออสเซียสด้านหลังมือ (Dorsal interosseus muscles) ที่ยึดระหว่างนิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ ทางด้านฐานกระดูกจะเป็นรอยเว้าที่รองรับกับกระดูกทราพีเซียม ขณะที่ทางด้านหัวกระดูกจะมีลักษณะโค้งนูนน้อยกว่ากระดูกฝ่ามือชิ้นอื่น และมีความกว้างในทางด้านข้างมากกว่า

กระดูกฝ่ามือชิ้นที่ 2 (Metacarpus II)

กระดูกฝ่ามือชิ้นที่ 2

กระดูกฝ่ามือชิ้นที่ 2 เป็นกระดูกที่รองรับนิ้วชี้ ซึ่งมีความยาวที่สุดในบรรดากระดูกฝ่ามือ ที่ด้านฐานกระดูกจะมีรอยเล็กๆซึ่งเป็นจุดเกาะกับกระดูกข้อมือที่อยู่ถัดลงไป ได้แก่ กระดูกทราพีเซียม กระดูกทราพีซอยด์ และกระดูกแคปปิเตต และยังมีรอยที่ติดต่อกับกระดูกฝ่ามือชิ้นที่ 3 ที่พื้นผิวด้านหลังมือของกระดูกชิ้นนี้ จะเป็นจุดเกาะปลายของกล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ คาร์ไพ เรเดียลิส ลองกัส (Extensor carpi radialis longus muscle) ส่วนทางด้านตรงข้ามคือด้านฝ่ามือ จะเป็นจุดเกาะปลายของกล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ คาร์ไพ เรเดียลิส (Flexor carpi radialis muscle) กล้ามเนื้อทั้งสองนี้จะทำงานตรงกันข้ามกันในการเคลื่อนไหวของฝ่ามือ

กระดูกฝ่ามือชิ้นที่ 3 (Metacarpus III)

กระดูกฝ่ามือชิ้นที่ 3

กระดูกฝ่ามือชิ้นที่ 3 จะรองรับนิ้วกลาง และมีขนาดเล็กกว่ากระดูกฝ่ามือชิ้นที่ 2 เล็กน้อย ที่พื้นผิวด้านหลังมือของฐานของกระดูกนี้จะมีส่วนที่ยื่นลงมาประกอบกับกระดูกแคปปิเตต และจะมีจุดเกาะปลายของกล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ คาร์ไพ เรเดียลิส เบรวิส (Extensor carpi radialis brevis muscle) นอกจากนี้ที่บริเวณฐานของกระดูกจะมีรอยต่อกับกระดูกฝ่ามือชิ้นที่ 2 และ 4 ด้วย

กระดูกฝ่ามือชิ้นที่ 4 (Metacarpus IV)

กระดูกฝ่ามือชิ้นที่ 4

กระดูกฝ่ามือชิ้นที่ 4 เป็นกระดูกที่รองรับนิ้วนาง ที่ฐานของกระดูกจะมีรอยต่อกับกระดูกแคปปิเตต และกระดูกฮาเมต และยังมีรอยต่อกับกระดูกฝ่ามือชิ้นที่ 3 และ 5 ด้วย

กระดูกฝ่ามือชิ้นที่ 5 (Metacarpus V)

กระดูกฝ่ามือชิ้นที่ 5

กระดูกฝ่ามือชิ้นที่ 5 เป็นกระดูกที่รองรับนิ้วก้อย โดยที่ฐานของกระดูกจะมีรอยต่อขนาดใหญ่กับกระดูกฮาเมตและกระดูกฝ่ามือชิ้นที่ 4 ทางด้านข้างของกระดูกจะมีปุ่มที่เป็นจุดเกาะปลายของ กล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ คาร์ไพ อัลนาริส (Extensor carpi ulnaris muscle)

รูปประกอบเพิ่มเติม

อ้างอิง

  • Gray's anatomy for students. Drake, RL., Vogl, W. and Mitchell, AWM.
  • Clinically Oriented Anatomy, 4th ed. Keith L. Moore and Arthur F. Dalley.
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
กระดูกฝ่ามือ
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?