For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for ฟัน.

ฟัน

บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด กรุณาช่วยปรับปรุงบทความนี้ โดยเพิ่มการอ้างอิงแหล่งที่มาที่น่าเชื่อถือ เนื้อความที่ไม่มีแหล่งที่มาอาจถูกคัดค้านหรือลบออก (เรียนรู้ว่าจะนำสารแม่แบบนี้ออกได้อย่างไรและเมื่อไร)
ภาพแสดงโครงสร้างของเหงือกและฟัน

ฟัน เป็นอวัยวะที่อยู่ภายในช่องปากของคนและสัตว์ มีส่วนรากติดอยู่กับขากรรไกรและมีตัวฟันโผล่พ้นเหงือกออกมา

ฟันเป็นอวัยวะที่เจริญเติบโตมาจากเนื้อเยื้อชั้นนอก (Ectoderm) เช่นเดียวกับผิวหนังหรือเกล็ดปลา ฟันเป็นอวัยวะส่วนหนึ่งในระบบย่อยอาหาร หน้าที่หลักของฟันคือ ฉีก บด อาหารให้คลุกเคล้ากับน้ำลาย และนอกจากนี้ยังมีส่วนสำคัญในการพูดออกเสียงด้วย

ลักษณะของฟันมีส่วนเกี่ยวข้องกับลักษณะอาหารของสัตว์แต่ละประเภทเช่นเดียวกับวิวัฒนาการ ตัวอย่างเช่น พืชนั้นยากที่จะย่อยดังนั้น สัตว์กินพืช (Herbivore) จึงต้องมีฟันกรามหลายซี่เพื่อใช้ในการเคี้ยว ส่วนสัตว์กินเนื้อ (Carnivore) ต้องมีฟันเขี้ยวเพื่อฆ่าและฉีกเหยื่อและเนื้อนั้นให้ย่อยง่าย พวกมันจึงกลืนได้โดยที่ไม่ต้องใช้ฟันกรามเคี้ยวมากนัก

ประเภทของฟัน

  • ฟันแท้ (permanent teeth)
  • ฟันน้ำนม (baby teeth)
  • ฟันตัดหน้าซี่กลาง (central incisor) : ขากรรไกรบน 2 ซี่ ขากรรไกรล่าง 2 ซี่ มีหนึ่งราก
  • ฟันตัดหน้าซี่ข้าง (lateral incisor) : ขากรรไกรบน 2 ซี่ ขากรรไกรล่าง 2 ซี่: ฟันตัดหน้าทั้งสองประเภททำหน้าที่ตัดอาหาร ในสัตว์ที่กินอาหารโดยการแทะฟันนี้จะเจริญที่สุด
  • ฟันเขี้ยว (cuspids or canines) : ขากรรไกรบน 2 ซี่ ขากรรไกรล่าง 2 ซี่: ทำหน้าที่ตัด ฉีก หรือแยกอาหารออกจากกัน
  • ฟันกรามน้อย (bicuspids or premolars) : ขากรรไกรบน 4 ซี่ ขากรรไกรล่าง 4 ซี่: ทำหน้าที่ตัดและฉีกอาหาร (สัตว์กินเนื้อเช่น เสือ สุนัข แมว จะมีเขี้ยวและกรามน้อยเจริญดีและแข็งแรงเป็นพิเศษ)
  • ฟันกราม (molars) : ขากรรไกรบน 6 ซี่ ขากรรไกรล่าง 6 ซี่: ทำหน้าที่เคี้ยวและบดอาหาร

ส่วนประกอบของฟัน

  • เคลือบฟัน (enamel) : เป็นส่วนที่แข็งที่สุดของฟันมีส่วนประกอบของแคลเซียมและฟอสเฟต
  • เนื้อฟัน (dentine) : เป็นส่วนที่แข็งน้อยกว่าเคลือบฟัน มีความแข็งพอๆกับกระดูก ชั้นนี้มีการสร้างและสลายอยู่ตลอดเวลา เป็นชั้นที่มีเซลล์เป็นจำนวนมาก
  • โพรงประสาทฟัน (pulp) : เป็นที่อยู่ของเส้นเลือดที่นำอาหารมาหล่อเลี้ยงฟัน และนำของเสียออกจากฟัน และมีเส้นประสาทรับความรู้สึกของฟัน
  • เคลือบรากฟัน (cementum) : เป็นส่วนของเนื้อเยื่อปริทันต์ที่อยู่ภายในรากฟัน ด้านหลังของเหงือก ซึ่งมีเส้นประสาทไหลเวียนมาก
  • ชั้นร่องเหงือก (gingival crevice) : ร่องระหว่างเหงือกตัวฟันกับขอบเหงือก มีความลึกประมาณ 2 มิลลิเมตร
  • เหงือก (gingiva) : เนื้อเยื่อที่หุ้มตัวฟันและกระดูกขากรรไกรไว้
  • กระดูกเบ้ารากฟัน (alveolar bone) : ส่วนกระดูกที่รองรับรากฟัน

ฟันของมนุษย์

โดยปกติคนเรามีฟันสองชุด
ชุดแรกคือ ฟันน้ำนม (deciduous teeth) ฟันชุดนี้จะเริ่มขึ้นเมื่ออายุประมาณ 6 เดือน และขึ้นครบ 20 ซี่เมื่ออายุประมาณ 2 ขวบครึ่ง

ตารางแสดงระยะการขึ้นของฟันซี่ต่างๆ (ฟันน้ำนม)
ซี่ฟันน้ำนม ฟันบน ฟันล่าง
อายุที่ควรขึ้น อายุที่ควรหลุด อายุที่ควรขึ้น อายุที่ควรหลุด
ฟันตัดหน้าซี่กลาง 7 เดือนครึ่ง 7 ปีครึ่ง 6 เดือน 6 ปี
ฟันตัดหน้าซี่ข้าง 9 เดือน 8 ปี 7 เดือน 7 ปี
ฟันเขี้ยว 18 เดือน 10 ปีครึ่ง 16 เดือน 9 ปีครึ่ง
ฟันกรามน้อยซี่ที่ 1 14 เดือน 10 ปีครึ่ง 12 เดือน 10 ปี
ฟันกรามน้อยซี่ที่ 2 24 เดือน 10 ปีครึ่ง 20 เดือน 11 ปี

ฟันชุดที่สองคือ ฟันแท้หรือฟันถาวร (permanent teeth) ฟันชุดนี้มีทั้งหมด 32 ซี่ ฟันชุดนี้จะเริ่มขึ้นเมื่ออายุประมาณ 6 ขวบ แต่จะขึ้นครบ 28 ซี่ เมื่ออายุครบ 12 ปี โดยที่เหลือคือฟันกรามซี่สุดท้าย 4 ซี่จะขึ้นมาในช่วงอายุ 18-25 ปี แต่ถ้าฟันทั้ง 4 ซี่ดังกล่าวไม่ขึ้นมาก็จะกลายเป็นฟันคุด

ตารางแสดงระยะการขึ้นของฟันซี่ต่างๆ (ฟันแท้)
ซี่ฟันแท้ อายุที่ควรขึ้น
ฟันตัดหน้าซี่กลาง 7 ปี
ฟันตัดหน้าซี่ข้าง 8 ปี
ฟันเขี้ยว 11-13 ปี
ฟันกรามน้อยซี่ที่ 1 10-11 ปี
ฟันกรามน้อยซี่ที่ 2 10-12 ปี
ฟันกรามซี่ที่ 1 6-7 ปี
ฟันกรามซี่ที่ 2 12-13 ปี
ฟันกรามซี่ที่ 3 18-25 ปี

ฟันถือเป็นอวัยวะที่สำคัญอย่างหนึ่งของมนุษย์ และมีความสำคัญต่อบุคลิกภาพ ดังนั้นจึงควรให้ความใส่ใจดูแลและรักษาอยู่เสมอ ด้วยการแปรงฟันอย่างน้อยวันละสองครั้ง ตอนเช้าและก่อนนอน หรือทุกครั้งหลังอาหาร เพื่อกำจัดเศษอาหาร และ คราบจุลินทรีย์ และควรพบทันตแพทย์เพื่อตรวจเช็คสภาพฟันทุกๆ 6 เดือน

ดูเพิ่ม

{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
ฟัน
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?