For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for พระพุทธเจ้า.

พระพุทธเจ้า

พระสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือ พระพุทธเจ้า เป็นพระสมัญญานามที่ใช้เรียกพระบรมศาสดาของศาสนาพุทธ พระพุทธศาสนาทั้งฝ่ายเถรวาทและมหายานต่างนับถือพระพุทธเจ้าว่าเป็นศาสดาของตนเหมือนกันแต่รายละเอียดปลีกย่อยต่างกัน ฝ่ายเถรวาทให้ความสำคัญกับพระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบันคือ "พระโคตมพุทธเจ้า" ซึ่งเชื่อว่าเป็นพระองค์ที่ 4 ในภัทรกัปนี้ และมีกล่าวถึงพระพุทธเจ้าในอดีตกับในอนาคตบ้างแต่ไม่ให้ความสำคัญเท่า ฝ่ายมหายานนับถือพระพุทธเจ้าของฝ่ายเถรวาททั้งหมดและเชื่อว่านอกจากพระพุทธเจ้า 28 พระองค์[1] ที่ระบุในพุทธวงศ์ของพระไตรปิฎกภาษาบาลีแล้ว ยังมีพระพุทธเจ้าอีกมากมายเพิ่มเติมขึ้นมาหลังจากตำนานของเถรวาท

ผู้ปรารถนาจะเป็นพระพุทธเจ้าต้องบำเพ็ญบารมีเป็นพระโพธิสัตว์ก่อน เมื่อบารมีเต็มแล้วจึงจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในชาติสุดท้าย พระพุทธเจ้าทุกพระองค์มีลักษณะพิเศษตรงกันคือ[2] เป็นมนุษย์เพศชายเกิดในวรรณะกษัตริย์หรือพราหมณ์ พระวรกายสมบูรณ์ด้วยมหาปุริสลักขณะ ก่อนออกผนวชจะอภิเษกสมรสมีพระโอรสพระองค์หนึ่ง หลังจากนั้นทรงพบเทวทูตทำให้ตัดสินใจออกผนวช วันออกผนวชจะตรงกับวันเพ็ญเดือนวิสาขะ

คัมภีร์พุทธศาสนาทั้งนิกายเถรวาทและนิกายมหายานบันทึกตรงกันว่า พระโคตมพุทธเจ้าประสูติ 623 ปี ก่อนคริสต์ศักราช พระองค์ทรงดำรงพระชนมชีพอยู่ระหว่าง 80 ปีก่อนพุทธศักราช จนถึงเริ่มพุทธศักราชซึ่งเป็นวันปรินิพพาน ตรงกับ 543 ปี ก่อนคริสตกาลตามตำราไทยซึ่งอ้างอิงปฏิทินสุริยคติไทยและปฏิทินจันทรคติไทย และตรงกับ 483 ปีก่อนคริสตกาลตามปฏิทินสากล

ความหมายและคุณลักษณะ

[แก้]

ในพระพุทธศาสนา พุทธะ (บาลี: พุทฺธ แปลว่า "ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน") หมายถึงบุคคลผู้ตรัสรู้อริยสัจ 4 แล้วอย่างถ่องแท้

ธชัคคสูตร กล่าวว่าพระพุทธเจ้ามีคุณลักษณะ 9 ประการ[3] เรียกว่า พุทธคุณ 9 ได้แก่

  • อรหํ หมายถึง ผู้ปราศจากกิเลส
  • สมฺมาสมฺพุทฺโธ หมายถึง ผู้ตรัสรู้ด้วยพระองค์
  • วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน หมายถึง ผู้มีความรู้และความประพฤติถึงพร้อม
  • สุคโต หมายถึง ผู้เสด็จไปด้วยดี
  • โลกวิทู หมายถึง ผู้รู้แจ้งโลก
  • อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ หมายถึง ผู้ฝึกคนได้ดี ไม่มีผู้ใดเทียมเท่า
  • สตฺถา เทวมนุสฺสานํ หมายถึง ศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
  • พุทฺโธ หมายถึง ผู้ตื่น
  • ภควา หมายถึง ผู้มีภคธรรม

พระสมัญญา

[แก้]

มีหลายคำดังจะกล่าวต่อไปนี้

  • พระโพธิสัตว์ หมายถึง ท่านผู้ที่กำลังบำเพ็ญ บารมี 10 (โดยยิ่งยวด 30 ทัศ) คือ ทาน ศีล เนกขัมมะ ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิษฐาน เมตตา อุเบกขา และ จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า
  • อังคีรส หมายถึง ท่านผู้มีรัศมีแผ่ออกมาจากพระกาย
  • มหาบุรุษ เป็นคำที่ใช้เรียก พระพุทธเจ้าก่อนตรัสรู้ อีกความหมายหนึ่งคือ บุรุษผู้ยิ่งใหญ่
  • ตถาคต ผู้ไปแล้วอย่างนั้น เป็นคำที่พระพุทธเจ้าตรัสถึงพระองค์เองมี
  • ธรรมราชา หมายถึง ท่านผู้เป็นราชาแห่งธรรม
  • ธรรมสวามิศร, ธรรมสามิสร หมายถึง ท่านผู้เป็นใหญ่โดยเป็นเจ้าของธรรม
  • ธรรมสามี หมายถึง ท่านผู้เป็นเจ้าของธรรม
  • ธรรมิศราธิบดี หมายถึง ท่านผู้เป็นอธิปดีในธรรม เป็นคำกวีหมายถึงพระพุทธเจ้า
  • ภควา แปลว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
  • พระศาสดา พระบรมศาสดา พระบรมครู หมายถึง ท่านผู้ทรงสอนชนทั้งปวง
  • พระสัมพุทธเจ้า, พระสัมมาสัมพุทธเจ้า, พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า, สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หมายถึง พระผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ
  • มหาสมณะ
  • พระโลกนาถ หมายถึง พระผู้เป็นที่พึ่งแห่งโลก
  • สยมภู หมายถึง ท่านผู้ตรัสรู้ได้โดยตนเอง ไม่มีใครมาสั่งสอน
  • สัพพัญญู หมายถึง ท่านผู้รู้ทุกสิ่งทุกอย่าง
  • พระสุคต หมายถึง ท่านผู้เสด็จไปดีแล้ว

ในคติเถรวาท

[แก้]
พระพุทธรูปปางประทับยืน พบที่ประเทศปากีสถาน ศิลปะคันธาระสมัยพุทธศตวรรษที่ 5-6

ในพระไตรปิฎกภาษาบาลีกล่าวว่า ในภัทรกัปนี้มีพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นแล้ว 4 พระองค์ พระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบันเป็นองค์ที่ 4 และพระพุทธเจ้าพระองค์ถัดไปคือพระศรีอริยเมตไตรย ในทัศนะเถรวาทถือว่าพระพุทธเจ้าเป็นมนุษย์ธรรมดา แต่ที่เหนือกว่าคนทั่วไปคือพระองค์พบทางดับทุกข์ได้ด้วยพระองค์เอง และเผยแผ่หนทางนั้นต่อสรรพสัตว์ ทรงเป็นบุคคลในประวัติศาสตร์ เมื่อทรงดับขันธปรินิพพาน คือดับไปโดยไม่เหลือเชื้อใด ๆ ผู้จะเป็นพระพุทธเจ้าต้องทำความดี (บารมี) มาในชาติก่อน ๆ นับชาติไม่ถ้วน (ก่อนที่จะเป็นพระพุทธเจ้าเรียกว่าพระโพธิสัตว์)

การประสูติของพระพุทธเจ้า

[แก้]

พระโพธิสัตว์ผู้ที่จะจุติจากสวรรค์ชั้นดุสิตลงมาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้านั้น ก่อนจะจุติจะทรงพิจารณา 5 อย่าง เรียกว่า มหาวิโลกนะ 5[4] คือ

1. กาล (อายุขัยของมนุษย์)

อายุขัยของมนุษย์ขึ้นอยู่กับกระแสสังขารและการทำความดี หากทำดีมากขึ้นอายุก็จะเพิ่มขึ้น หากทำดีน้อยอายุขัยก็จะลดลง อายุขัยของมนุษย์อยู่ระหว่าง 10 ปีถึง 1 อสงไขยปี (1 × 10140 ปี) แต่พระโพธิสัตว์ทรงเลือกอายุขัยมนุษย์ระหว่าง 100-100,000 ปี ถ้าหากน้อยกว่า 100 ปีมนุษย์จะมีจิตใจหยาบช้าเกินกว่าจะฟังธรรมให้แตกจนบรรลุพระนิพพานได้ ถ้าเกิน 100,000 ปีมนุษย์จะเริ่มประมาทความแก่ ความเจ็บ ความตายเพราะอายุยืนความตายมาถึงช้า จะไม่เห็นอริยสัจ 4 หรือธรรมใดๆ

2. ทวีป (ทวีปที่จะลงมาประสูติ)

พระโพธิสัตว์เลือกชมพูทวีปเป็นทวีปที่จะจุติทุกครั้ง เพราะมนุษย์ในชมพูทวีปมีทั้งความสุขและความทุกข์ มีความเห็นทุกข์ เห็นสุข ได้ดีกว่ามนุษย์ในทวีปอื่นๆ

สาเหตุอีกอย่างที่เลือกลงมามนุษยภูมิเพราะมนุษย์เห็นสุขทุกข์ได้ง่ายที่สุด สัตว์ในอบายภูมิ 4 มีแต่ความทุกข์ไม่เห็นสุขกระจ่าง เทวดาพรหมก็เห็นสุขมากกว่าทุกข์จนยากที่จะทำให้เป็นพระอรหันต์ได้ อีกทั้งมนุษย์ทำบุญได้ จึงทรงเลือกมนุษย์

3. ประเทศ (ประเทศที่จะประสูติ)

พระโพธิสัตว์จะทรงเลือกประเทศที่มีความเจริญรุ่งเรือง เศรษฐกิจดี มีประชากรหนาแน่น มีนักปราชญ์ เจ้าสำนัก เป็นที่รวมของการศึกษาและศิลปวิทยามากมาย มีผู้มีคุณธรรมมากมาย จะสามารถเผยแพร่ธรรมให้รุ่งเรือง มีคนรู้มากได้

4. ตระกูล (ตระกูลที่จะประสูติ)

พระโพธิสัตว์ทรงเลือกได้ระหว่าง วรรณะกษัตริย์ กับ วรรณะพราหมณ์ ว่าในช่วงเวลานั้นตระกูลใดเจริญมากกว่ากัน ได้รับการยอมรับมากกว่ากัน ใน 4 อสงไขยแสนมหากัปล่าสุดนี้มีพระพุทธเจ้าจากตระกูลกษัตริย์มากกว่า แต่ในภัทรกัปนี้มีพระพุทธเจ้าจากตระกูลพราหมณ์มากกว่า (พระกกุสันธะ พระโกนาคมณ์ พระกัสสปะ และพระเมตไตรยะ) มีเพียงพระโคตมพุทธเจ้าเพียงพระองค์เดียวที่มาจากตระกูลกษัตริย์

พระโพธิสัตว์ผู้ได้มาจุติเป็นพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบันนี้ ทรงเลือกตระกูลศากยโคตมวงศ์แห่งกรุงกบิลพัสดุ์นคร เพราะได้รับความนับถือมาก และบริสุทธิ์มา 7 รุ่นแล้ว ถ้าไม่บริสุทธิ์แล้วลงมาจุติแล้วเป็นพระพุทธเจ้าก็ยากที่จะได้รับการนับถือ สาเหตุที่เลือกตระกูลกษัตริย์เพราะในช่วงเวลานั้นมีการแบ่งชนชั้นวรรณะกัน และวรรณะกษัตริย์เป็นวรรณะที่มีคนนับถือมากที่สุด จึงทรงเลือกวรรณะกษัตริย์

5. มารดา (มารดาผู้ให้กำเนิดและกำหนดอายุของพระมารดาหลังประสูติ)

พระโพธิสัตว์จะทรงเลือกผู้หญิงจากตระกูลกษัตริย์หรือพราหมณ์ที่รักษาศีล รักษาธรรมได้ดีที่สุด บริสุทธิ์ทางกาย วาจา ใจ ไม่ดื่มสุรา ไม่หลงในอบายมุข ไม่โลเลในบุรุษ และทรงกำหนดอายุของพระมารดาว่ามีประมาณเท่าใด เพราะพระครรภ์ที่ประทับแห่งพระโพธิสัตว์ผู้จะได้เสด็จอุบัติตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น เปรียบประดุจพระคันธกุฎีแห่งพระบรมศาสดา ไม่สมควรแก่ผู้อื่น

พระบรมโพธิสัตว์ทรงเลือกพระมารดาที่บริสุทธิ์ไม่แปดเปื้อนมลทินโทษ มิฉะนั้นจะยากแก่การเผยแผ่ศาสนา เพราะจะถูกโจมตีว่ามารดาของพระศาสดาไม่บริสุทธิ์ พระนางสิริมหามายาได้อธิษฐานเป็นพระพุทธมารดามาแต่อดีตกาล เมื่อประสูติพระบรมโพธิสัตว์เจ้าได้ 7 วันก็เสด็จทิวงคต ไปบังเกิดเป็นเทพบุตรสถิตในดุสิตเทวโลก ตามประเพณี พระพุทธมารดาไม่ได้เป็นหญิงอย่างเก่า ที่เกิดเป็นหญิงเพราะอธิษฐานขอเป็นมารดาพระพุทธเจ้า

ประเภทของพระพุทธเจ้า

[แก้]

ในพระไตรปิฎกภาษาบาลีกล่าวถึงพระพุทธเจ้าไว้ 2 ประเภท[5] คือ

  • พระสัมมาสัมพุทธเจ้า คือพระพุทธเจ้าผู้ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง แล้วประกาศพระศาสนา
  • พระปัจเจกพุทธเจ้า คือพระพุทธเจ้าผู้ตรัสรู้เฉพาะตน ไม่ได้ประกาศพระศาสนา

ต่อมาในคัมภีร์มโนรถปูรณี อรรถกถาของอังคุตตรนิกาย พระพุทธโฆสะได้กล่าวถึงพุทธะทั้งหมด 4 ประเภท อีกประเภท 2 ประเภทที่เพิ่มเข้ามา[6] คือ

  • จตุสัจจพุทธเจ้า คือพระอรหันตสาวก
  • สุตพุทธเจ้า คือผู้เป็นพหูสูต ได้ศึกษาพระพุทธพจน์มามาก

ประเภทของพระพุทธเจ้าโดยการบำเพ็ญบุญบารมี

[แก้]

นอกจากนั้นพระพุทธเจ้ามีอยู่ 3 ประเภทตามกำลังบุญบารมีที่ได้สร้างสั่งสมมาคือ

  • พระปัญญาธิกพุทธเจ้า คือ พระพุทธเจ้าที่ทรงสร้างสม อบรมบารมีด้าน “ปัญญา” อย่างแก่กล้าแต่มีพระศรัทธาน้อย จึงใช้เวลาสั่งสมบารมีน้อยกว่าพระพุทธเจ้าอีกสองประเภท ซึ่งจะต้องใช้เวลาในการสร้างบารมีเป็นเวลา 20 อสงไขยกับอีกหนึ่งแสนมหากัป เช่น พระโคตมพุทธเจ้า
  • พระสัทธาธิกพุทธเจ้า คือ พระพุทธเจ้าที่ทรงสร้างสม อบรมบารมีด้าน “ศรัทธา” อย่างแก่กล้ายิ่งนัก แต่มีพระปัญญาปานกลาง จึงใช้เวลาสั่งสมพระบารมีอย่างปานกลาง ซึ่งจะต้องใช้เวลาในการสร้างบารมีเป็นเวลา 40 อสงไขย กับอีกหนึ่งแสนมหากัป เช่น พระกัสสปพุทธเจ้า
  • พระวิริยาธิกพุทธเจ้า คือ พระพุทธเจ้าที่ทรงสร้างสม อบรมบารมีด้าน “ความเพียร” อย่างแก่กล้า ทรงมีพระวิริยะยิ่งนัก แต่ทรงมีพระปัญญาน้อยกว่า ซึ่งจะต้องใช้เวลาในการสร้างบารมียาวนานมากกว่าพระพุทธเจ้าประเภทอื่นเป็นเวลา 80 อสงไขย กับอีกหนึ่งแสนมหากัป เช่น พระศรีอริยเมตไตรย

พระพุทธเจ้าในอดีต

[แก้]

พระพุทธเจ้าในอนาคต

[แก้]

ในคัมภีร์อนาคตวงศ์นั้น ได้กล่าวถึงพระพุทธเจ้าในอนาคต 10 พระองค์ที่จะบังเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ ดังนี้ [7]

พระพุทธเจ้าตามความเชื่อของฝ่ายมหายาน

[แก้]

นิกายมหายานยอมรับพระพุทธเจ้าตามคัมภีร์ฝ่ายเถรวาททั้งหมดและยังสร้างพระพุทธเจ้าอีกมากมาย ทั้งที่เป็นมนุษย์และมีสถานะเหมือนเทพเจ้าในศาสนาฮินดู นิกายมหายานเชื่อว่าเมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้วไม่ดับสูญแต่ไปประทับ ณ พุทธเกษตรซึ่งเป็นดินแดนที่งดงามกว่าสวรรค์ พระพุทธเจ้าตามคติมหายานแบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ

  1. อาทิพุทธะ ถือว่าเป็นพระพุทธเจ้าที่อุบัติมาพร้อมกับโลกและประทับอยู่กับโลกเป็นนิรันดร์ มีบทบาทคล้ายพระพรหมในศาสนาฮินดูที่เป็นผู้สร้างโลกและจักรวาล
  2. พระมานุสสพุทธะ เป็นพระพุทธเจ้าที่อวตารมาจากอาทิพุทธะมาเกิดในโลกมนุษย์และบำเพ็ญเพียรในฐานะพระโพธิสัตว์จนตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า เมื่อปรินิพพานแล้วจะไปอยู่กับอาทิพุทธะ คล้ายกับคติของศาสนาฮินดูที่เมื่อทำความดีถึงขั้นสูงสุดจะกลับไปเป็นส่วนหนึ่งของมหาพรหม พระพุทธเจ้าองค์ปัจจจุบัน ทางมหายานเรียกว่าพระศากยมุนีพุทธเจ้า เป็นพระมานุสสพุทธะด้วยเช่นกัน
  3. พระธยานิพุทธะ เป็นพุทธะที่อวตารมาจากอาทิพุทธะเช่นกันแต่สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าด้วยอำนาจฌาน (ธยาน) ของอาทิพุทธะไม่ได้ผ่านการบำเพ็ญเพียรในโลกมนุษย์ พุทธะเหล่านี้ประทับบนสวรรค์ ในสภาวะกายทิพย์ มีเฉพาะพระโพธิสัตว์ที่มองเห็นได้
  4. พระพุทธเจ้าอื่นๆ เช่น พระสัทธรรมวิทยาตถาคต พระไภษัชยคุรุทั้ง 7 พระสหัสประภาราชาศานติสถิตยตตถาคต พระประภูตรัตนะ

จำนวนของพระพุทธเจ้า

[แก้]

ในคัมภีร์ของทางมหายานนั้นได้ระบุนามของพระพุทธเจ้าไว้เป็นจำนวนมาก มีทั้งพระพุทธเจ้า 35 พระองค์ พระพุทธเจ้า 53 พระองค์ และที่มากที่สุดคือพระพุทธเจ้า 3,000 พระองค์ โดยแบ่งเป็น [8]

  • พระพุทธเจ้าในกัปอดีตซึ่งระบุนามไว้ในคัมภีร์อดีตสมัยอลังการกัลป์สหัสพุทธนามสูตร 1,000 พระองค์ เริ่มจากพระปุณฑริกประภาพุทธเจ้าเป็นองค์แรกจนถึงพระเวศภูพุทธเจ้าเป็นองค์สุดท้าย
  • พระพุทธเจ้าในกัปปัจจุบันซึ่งระบุนามไว้ในคัมภีร์ปัจจุบันสมัยภัทรกัลป์สหัสพุทธนามสูตร 1,000 พระองค์ เริ่มจากพระวิปัสสีพุทธเจ้าเป็นองค์แรกจนถึงพระรุจิพุทธเจ้าเป็นองค์สุดท้าย ซึ่งพระรุจิพุทธเจ้านี้ปัจจุบันคือพระเวทโพธิสัตว์
  • พระพุทธเจ้าในกัปอนาคตซึ่งระบุนามไว้ในคัมภีร์อนาคตสมัยนักษัตรกัลป์สหัสพุทธนามสูตร 1,000 พระองค์ เริ่มจากพระสูรยประภาพุทธเจ้าเป็นองค์แรกจนถึงพระสุเมรุลักษณ์พุทธเจ้าเป็นองค์สุดท้าย

อ้างอิง

[แก้]
  1. พุทธปกิรณกกัณฑ์, พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๕ ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ -พุทธวังสะ-จริยาปิฎก
  2. ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 111
  3. ธชัคคสูตรที่ 3, พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗ สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
  4. พระพรหมคุณาภรณ์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต), มหาวิโลกนะ, พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
  5. มหาปรินิพพานสูตร, พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒ ทีฆนิกาย มหาวรรค
  6. มโนรถปูรณี, อรรถกถา อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เอกบุคคลบาลี อรรถกถาสูตรที่ ๕
  7. ประชุมพงศาวดารฉบับราษฏร์ ภาค 3 อนาคตวงศ์. กทม. อมรินทร์วิชาการ. 2542 และ ดู : Linkเก็บถาวร 2008-06-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  8. ภิกษุจีนวิศวภัทร. พระพุทธเจ้าและพระธรรมสูตรฝ่ายมหายาน. กทม. หมื่นคุณธรรมสถาน.2549
  • ประสงค์ แสนบุราณ. พระพุทธศาสนามหายาน. กทม. โอเดียนสโตร์. 2548
  • พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). "พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์".

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
พระพุทธเจ้า
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?