For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for อนัตตา.

อนัตตา

อนัตตา (บาลี: อนตฺตา) หรือ อนาตมัน (สันสกฤต: अनात्मन् อนาตฺมนฺ) แปลว่า ไม่มีอัตตา ไม่มีตัวตน ไม่ใช่อัตตา (หรืออาตมัน) ไม่ใช่ตัวตน หรือ สภาพที่บังคับบัญชาไม่ได้ อันเป็นธรรมชาติของสังขารและวิสังขาร[1]

เหตุที่ได้ชื่อว่าอนัตตา อนัตตา ที่ขันธ์ 5 ได้ชื่อนี้ เพราะมีอนัตตลักษณะดังนี้

  1. เป็นสภาพว่างเปล่า คือ หาสภาวะที่แท้จริงไม่ได้ เพราะประกอบด้วยธาตุ 4 เมื่อแยกธาตุออก สภาวะที่แท้จริงก็ไม่มี
  2. หาเจ้าของมิได้ คือ ไม่มีใครเป็นเจ้าของแท้จริง สงวนรักษามิให้เปลี่ยนแปลงไม่ได้
  3. ไม่อยู่ในอำนาจ คือ ไม่อยู่ในบัญชาของใคร ใครบังคับไม่ได้ เช่นบังคับมิให้แก่ไม่ได้
  4. แย้งต่ออัตตา คือ ตรงข้ามกับอัตตา

ความแตกต่างระหว่าง อนัตตา กับ อนัตตลักษณะ

[แก้]

อนัตตา กับ อนัตตลักษณะ เป็นคนละอย่างกัน เพราะเป็นลักขณวันตะและลักขณะของกันและกัน[2][3][4][5][6]

อนัตตลักษณะทำให้เราทราบได้ว่าขันธ์ 5 ไม่มีตัวตน ไร้อำนาจ ไม่มีเนื้อแท้แต่อย่างใด ได้แก่ อาการที่ไร้อำนาจบังคับตัวเองให้ไม่เปลี่ยนแปลงไปของขันธ์ 5 เช่น อาการที่ขันธ์ 5 บังคับตนไม่ให้เกิดขึ้นไม่ได้ ไม่ให้เสื่อมสิ้นไปเป็นขันธ์ 5 อันใหม่ไม่ได้, อาการที่ขันธ์ 5 บังคับตนไม่ให้มีขึ้นไม่ได้ ไม่ให้กลับไปไม่มีอีกครั้งไม่ได้ (บังคับให้ไม่หมดไปไม่ได้) เป็นต้น.

ในวิสุทธิมรรค ท่านได้ยกอนัตตลักษณะจากปฏิสัมภิทามรรคมาแสดงไว้ 5 แบบ เรียกว่า โต 5 และในพระไตรปิฎกยังมีการแสดงอนัตตลักษณะไว้ในแบบอื่นๆอีกมากมาย. แต่คัมภีร์ที่รวบรวมไว้เป็นเบื้องต้นเหมาะสำหรับเป็นคู่มือสำหรับปฏิบัติธรรมได้แก่ คัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค เพราะสามารถจะจำคำที่คนโบราณใช้กำหนดกันจากคัมภีร์นี้แล้วนำไปใช้ได้ทันที ดังที่ท่านแสดงไว้เป็นต้นว่า "จกฺขุ อหุตฺวา สมฺภูตํ หุตฺวา น ภวิสฺสตีติ ววตฺเถติ - นักปฏิบัติธรรมย่อมกำหนดว่า "จักขุปสาทที่ยังไม่เกิดก็เกิดมีขึ้น พอมีขึ้นแล้วต่อไปก็จะกลายเป็นไม่มีไปอีก"เป็นต้น (ให้เพ่งเล็งถึงลักษณะที่ไร้อำนาจบังคับตัวเองให้ไม่เปลี่ยนไปไม่ได้ ก็จะกลายเป็นการกำหนดอนัตตลักษณะ).

การแปลอนตฺตา

[แก้]

การแปลคำว่า อนัตตานั้น ใช้ได้ทั้งคำว่า ไม่มีอัตตา, ไม่มีตัวตน, มิใช่อัตตา, มิใช่ตัวตน เพราะ

  1. สามารถแปลเข้ากันได้กับพระพุทธพจน์ที่ว่า "สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา, สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขา, สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา - สังขาร (ขันธ์ 5) ทั้งหมดทั้งสิ้น มันเป็นสิ่งไม่เที่ยง,สังขาร (ขันธ์ 5) ทั้งหมดทั้งสิ้น มันเป็นตัวทุกข์, สรรพสิ่งทุกสิ่งทุกอย่าง (ขันธ์ 5, นิพพาน, บัญญัติ) มันไม่ใช่ตัวตน"ดังนี้. ซึ่งในพระคัมภีร์ต่างๆ เช่น อภิธัมมัตถสังคหะ ปริจเฉทที่ 8 และ อภิธัมมาวตาร บัญญัตินิทเทส เป็นต้น ท่านได้ระบุไว้ว่า ไม่มีอะไรพ้นไปจาก ขันธ์ 5, นิพพาน, บัญญัติ ดังนั้นขันธ์ 5 จึงไม่ใช่ตัวตน เพราะตัวตนไม่มีอยู่ในที่ใดๆเลย.
  2. สามารถแปลเข้ากันได้กับสักกายทิฏฐิ 4 หรือ 20 ดังที่ตรัสไว้ทั้ง 4 อย่าง คือ
    1. ความเข้าใจผิดว่า ขันธ์ 5 เป็นตัวตนเรา,เขา,
    2. ความเข้าใจผิดว่า ตัวตนเรา,เขามีขันธ์ 5 อยู่,
    3. ความเข้าใจผิดว่า มีขันธ์ 5 อยู่ในตัวตนเรา,เขา,
    4. ความเข้าใจผิดว่า มีตัวตนเรา,เขาในขันธ์ 5[1]
  3. ในทิฏฐิวิสุทธินิทเทส คัมภีร์วิสุทธิมรรค ก็กล่าวปฏิเสธิอัตตาให้ไม่มีอยู่ในที่ใดๆโดยประการทั้งปวง.

ฉะนั้น พึงทราบว่า สามารถแปลได้ทั้งคำว่า อนัตตตา แปลว่า ไม่มีอัตตา , ไม่มีตัวตน , มิใช่อัตตา, และ มิใช่ตัวตน ดังอธิบายมานี้.

อ้างอิง

[แก้]
  1. พระพรหมคุณาภรณ์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต),ธรรมนิยาม 3, พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม
  2. พุทฺธโฆสาจริโย, วิสุทฺธิมคฺค-อฏฺฐกถา , อุปกฺกิเลสวิมุตฺตอุทยพฺพยญาณกถา, ปฏิปทาญาณทสฺสนวิสุทฺธินิทฺเทโส, วิสุทฺธิ. 2 ข้อ 739.
  3. ธมฺมปาลาจริโย, ปรมตฺถมญฺชูสา-ฎีกา, อุปกฺกิเลสวิมุตฺตอุทยพฺพยญาณกถาวณฺณนา ปฏิปทาญาณทสฺสนวิสุทฺธินิทฺเทสวณฺณนา วิสุทธิมคฺคมหาฎีกา, วิสุทฺธิ.มหาฏี. 2 ข้อ 739.
  4. พุทฺธโฆสาจริโย, สมฺโมหวิโนทนี-อฏฺฐกถา, อายตนวิภงฺคนิทฺเทสวณฺณนา สุตฺตนฺตภาชนีวณฺณนา อภิธมฺม-อฏฺฐกถา,อภิ.อฏฺ. 2 ข้อ 154.
  5. ธมฺมปาลาจริโย, มูลฎีกา, อายตนวิภงฺคนิทฺเทสวณฺณนา สุตฺตนฺตภาชนีวณฺณนา อภิธมฺม-มูลฎีกา,อภิ.มูลฏี. 2 ข้อ 154.
  6. ธมฺมปาลาจริโย, ลีนตฺถวณฺณนา-ฎีกา, อายตนวิภงฺคนิทฺเทสวณฺณนา สุตฺตนฺตภาชนีวณฺณนา อภิธมฺม-อนุฎีกา, อภิ.อนุฏี. 2 ข้อ 154.
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
อนัตตา
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?