For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for พระเรวตพุทธเจ้า.

พระเรวตพุทธเจ้า

พระเรวตพุทธเจ้า
ข้อมูล
องค์ก่อนหน้า
พระสุมนพุทธเจ้า
icon สถานีย่อยพระพุทธศาสนา

พระเรวตพุทธเจ้า เป็นพระพุทธเจ้าอีกพระองค์หนึ่ง หลังจากศาสนาของพระสุมนะพุทธเจ้าล่วงไป จึงได้ถึงสมัยของพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า พระเรวตะพุทธเจ้า บังเกิดขึ้นในอันตรกัปถัดมาซึ่งเป็นสารมัณฑกัปเดียวกัน

พระประวัติ

[แก้]

พระเรวตะพุทธเจ้า ประสูติเป็นพระเรวตะราชกุมาร ในราชวงศ์กษัตริย์แห่งสุธัญญวดีนคร พระราชบิดาทรงพระนามว่าพระเจ้าวิปุลราช และพระราชมารดาทรงพระนามว่าพระนางวิปุลาเทวี เรวตะราชกุมารทรงเกษมสำราญอยู่ ๖,๐๐๐ ปี ในปราสาท ๓ หลัง ชื่อ สุทัสสนะ รตนัคฆิ และอาเวฬะ มีพระมเหสีพระนามว่า สุทัสสนาเทวี และทรงมีสนมนารีแวดล้อมอีก ๓๓,๐๐๐ นาง วันหนึ่ง พระมหาบุรุษทอดพระเนตรเห็นเทวทูตทั้งสี่ พระองค์จึงมีพระทัยน้อมไปทางบรรพชา เมื่อพระนางสุทัสสนาเทวีประสูติพระโอรส พระนามว่า วรุณกุมาร จึงได้เสด็จออกบวชด้วยราชรถเทียมม้า โดยมีบุรุษ ๑ โกฏิออกบวชตาม

เรวตะราชกุมารทรงบำเพ็ญความเพียรอยู่ ณ อโนมนิคม เป็นเวลา ๗ เดือน จนถึงวันเพ็ญเดือนวิสาขะ ทรงรับข้าวมธุปายาสจากนางสาธุเทวี และรับหญ้า ๘ กำจากอาชีวกผู้หนึ่ง ปูลาดใต้ต้นนาคะ (ต้นกากะทิง) เป็นโพธิบัลลังก์ และได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในคืนนั้น พระเรวตะพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา แก่พระภิกษุผู้บรรพชาตามจำนวน ๑ โกฏิ ที่วิหารวรุณาราม ทำให้พระภิกษุ ๑ โกฏินั้น สำเร็จเป็นพระอริยบุคล

ธรรมาภิสมัย

[แก้]

ธรรมาภิสมัยในพุทธกาลของพระเรวตะพุทธเจ้าบังเกิดขึ้น ๓ วาระ คือ

  • วาระที่ ๑ แสดงปฐมเทศนา ธรรมาภิสมัยบังเกิดแก่มนุษย์และเทวดาจำนวนเกินที่นับได้
  • วาระที่ ๒ แสดงธรรมแก่พระเจ้าอรินทมะ ธรรมาภิสมัยบังเกิดแก่มนุษย์และเทวดา ๑,๐๐๐ โกฏิ
  • วาระที่ ๓ แสดงอานิสงส์แห่งนิโรธสมาบัติ ธรรมาภิสมัยบังเกิดแก่มนุษย์และเทวดา ๑๐๐ โกฏิ

ประชุมสาวกสันนิบาต

[แก้]

พระเรวตะพุทธเจ้า ทรงประชุมสาวกสันนิบาต ๓ ครั้ง

  • ครั้งที่ ๑ ทรงแสดงปาฏิโมกข์แก่พระสงฆ์สาวกจำนวนเกินที่จะนับได้
  • ครั้งที่ ๒ ทรงแสดงปาฏิโมกข์แก่พระสงฆ์สาวก ๑๐๐,๐๐๐ โกฏิ
  • ครั้งที่ ๓ ทรงแสดงปาฏิโมกข์แก่พระสงฆ์สาวก ๑๐๐,๐๐๐ โกฏิ ที่เข้าไปทูลถามอาพาธของพระวรุณเถระอัครสาวก

พระสาวก

[แก้]

พระเรวตะพุทธเจ้ามีพระสาวกองค์สำคัญ คือ

  • พระอัครสาวก คือ พระวรุณเถระ และพระพรหมเทวะเถระ
  • พระอัครสาวิกา คือ พระภัททาเถรี และพระสุภัททาเถรี
  • พระอุปัฏฐาก คือ พระสัมภวะเถระ

พระวรกาย

[แก้]

พระเรวตะพุทธเจ้ามีพระวรกายสูง ๘๐ ศอก มีพระรัศมีแผ่ไปหนึ่งโยชน์โดยรอบ เมื่อพระชนมายุได้ ๖๐,๐๐๐ ปี จึงปรินิพพานที่พระราชอุทยานมหานาควัน พระศาสนาดำรงอยู่ได้ ๖๐,๐๐๐ ปีแล้วอันตรธานไป

ความเกี่ยวข้องกับพระพุทธโคดม

[แก้]

ในสมัยของพระองค์นั้น พระโพธิสัตว์ได้เสวยพระชาติเป็นพราหมณ์ มีนามว่า อติเทวมาณพ ศึกษาไตรเวทศาสตร์จนจบ วันหนึ่ง ได้มีโอกาสได้ฟังพระธรรมเทศนา แสดงคุณแห่งปหานการละกิเลส จากพระโอษฐ์ของสมเด็จพระเรวตะสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วมีจิตเลื่อมใสศรัทธาเป็นหนักหนา ยกมือไหว้เหนือหน้าผากถึงไตรสรณคมน์ พลางเปลื้องผ้าห่มสีสวยสดที่มีค่ามาก ออกทำสักการบูชาพระสัทธรรมเทศนา

ในกาลนั้นพระเรวตะพุทธเจ้าทรงได้พุทธพยากรณ์ว่า

"อติเทวมาณพผู้นี้ นานไปในอนาคตจักได้ตรัสเป็นสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์หนึ่ง นามว่า พระศรีศากยมุนีโคดม ในภัทรกัป อันจะมี ณ ที่สุดแห่ง 2 อสงไขยกับอีกแสนมหากัป"

เมื่อได้รับพุทธพยากรณ์ดังนั้น ก็มีจิตใจปีติยินดีเป็นอย่างยิ่ง เพียรสร้างบารมี ครั้นสิ้นอายุ ก็ไปจุติในสุคติภูมิ แล้วเวียนเกิดตายเรื่อยมา

อ้างอิง

[แก้]

ดูเพิ่ม

[แก้]
ก่อนหน้า พระเรวตพุทธเจ้า ถัดไป
พระสุมนพุทธเจ้า
90,000 ปี
พระพุทธเจ้าในอดีต องค์ที่ ๕
(60,000 ปี)
พระโสภิตพุทธเจ้า
(90,000 ปี)
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
พระเรวตพุทธเจ้า
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?