For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for มโนรถปูรณี.

มโนรถปูรณี

มโนรถปูรณี ชื่อคัมภีร์อรรถกถาอธิบายความในอังคุตตรนิกายแห่งพระสุตตันตปิฎก โดยอธิบายเนื้อหาและแจกแจงคำศัพท์ ในพระสูตรที่จัดหมวดหมู่เป็นนิบาต ทั้ง 11 นิบาต ของอังคุตตรนิกาย กล่าวคือ คือเอกนิบาต, ทุกนิบาต, ติกนิบาต, จตุกกนิบาต, ปัญจกนิบาต, ฉักกนิบาต, สัตตกนิบาต, อัฎฐกนิบาต, นวกนิบาต, ทสกนิบาต, และเอกาทสกนิบาต รวมทั้งสิ้นอังคุตตรนิกาย มีทั้งหมด 9,557 สูตร [1]

พระพุทธโฆสะเป็นผู้เรียบเรียงคัมภีร์มโนรถปูรณีขึ้น โดยอาศัยอรรถกถาเก่าภาษาสิงหลที่สืบมาแต่เดิมเป็นหลัก เมื่อราว พ.ศ. 1000 [2] ทั้งนี้ พระพุทธโฆสะได้รจนาคัมภีร์นี้ขึ้นตามคำอาราธนาของโชติปาลเถระซึ่งเคยอยู่ร่วมสำนักกันที่กัญจิปุระทางตอนใต้ของอินเดีย และตามคำอาราธนาของพระอาชีวกะ ซึ่งองค์หลังนี้เคยอยู่ร่วมสำนักวัดมหาวิหารในศรีลังกา [3] อย่างไรก็ตาม ข้อมูลอีกแหล่งระบุว่า พระอรรถกถาจารจย์รจนาขึ้นหลังจากรับอาราธนาโดยพระภัททันตะเถระ [4]

เนื้อหา

[แก้]

มโนรถปูรณี มีลักษณะเดียวกับคัมภีร์อรรถกาเล่มอื่น ๆ คือมีการอธิบายที่มาของพระสูตร เช่น การระบุว่า เหตุตั้งแห่งพระสูตร มี 4 อย่าง คือ เกิดเพราะอัธยาศัยของตน, เกิดเพราะ อัธยาศัยของผู้อื่น, เกิดด้วยอำนาจ คำถาม, เกิดเพราะเหตุเกิดเรื่อง เป็นต้น [5] มีการอธิบายคำศัพท์สำคัญในเชิงไวยากรณ์ รวมถึงนัยยะของศัพท์นั้น ๆ เช่นการอธิบายในจักกวัตติสูตรถึงคำว่า ราชา เพราะหมายความว่า ทำให้ประชาชนรัก ด้วยสังคหวัตถุ 4 [6]

ความโดดเด่นอีกประการหนึ่งของคัมภีร์มโนรถปูรณี ก็คือพระอรรถกถาจารย์ได้นำเรืองราวตำนาน นิทาน ประวัติ เกล็ดความรู้ต่างๆ และขนบธรรมเนียมของอินเดียยุคโบราณ มาประกอบการอธิบายพระสูตร นอกจากจะยังให้เกิดความเข้าใจแจ่มแจ้งถึงบริบท ยังให้ผู้ศึกษาค้นคว้าเกิดความเพลิดเพลินและได้ความรู้รอบตัวเกี่ยวกับวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์โบราณไปในตัว เช่นการกล่าวถึงเรื่องปูทองและนกยูงทองหลงเสียงหญิงจนประมาท และเกิดโทษแก่ตน ในคำอธิบายสูตรที่ 2 [7] และข้อมูลทางภูมิศาสตร์ร่วมสมัย เช่นการระบุว่าจากชมพูทวีปไป 700 โยชน์ มีประเทศชื่อว่า สุวรรณภูมิ เรือแล่นไปโดยลม จะเดินทางถึงใน 7 วัน 7 คืน เป็นต้น [8]

นอกจากนี้ ยังมีการอธิบายหลักธรรมสำคัญ เช่น ทุกข์ โพชฌงค์ 7 ปฏิสัมภิทา 4 [9] โพธิปักขิยธรรม (ธรรมที่เกื้อหนุนแก่อริยมรรค) 37 ประการ คือ สติปัฏฐาน 4 สัมมัปปธาน 4 อิทธิบาท 4 อินทรีย์ 5 พละ 5 โพชฌงค์ 7 อริยมรรคมีองค์แปด[10] และการบรรยายโดยพิสดารถึงการปฏิบัติธรรม เช่น การระบุในอปรอัจฉราสังฆาตวรรค ว่า เมตตาอันได้แก่ แผ่ประโยชน์เกื้อกูลไปในสรรพสัตว์ทั้งหลาย พรหมวิหาร 4 เป็น บาทแห่งวัฏฏะ เป็นบาทแห่งวิปัสสนาเป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน เป็นบาทแห่งนิโรธ แต่ไม่เป็นโลกุตระ เพราะยังมีสัตว์เป็นอารมณ์ [11] เป็นต้น

ที่สำคัญยิ่งก็คือ มโนรถปูรณี ยังกล่าวถึงพุทธประวัติพระพุทธเจ้าในอดีต การกล่าวถึงประวัติพระสาวกสาวิกาองค์สำคัญ ๆ เกือบทั้งหมด ตลอดจนสถานที่ที่พระพุทธเจ้าเสด็จจำพรรษา ตั้งแต่พรรษาที่ 1 ซึ่งทรงจำพรรษาที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน จนถึงพรรษาที่ 45 ซึ่งทรงจำพรรษาที่วัดเชตวันมหาวิหาร หรือวัดบุพพาราม ใกล้เมืองสาวัตถี เป็นต้น [12] นอกจากนี้ ยังมีการพยากรณ์ถึงการอันตรธานแห่งเพศของภิกษุ และภิกษุองค์สุดท้าย [13]

ดูเพิ่ม

[แก้]

สูตรที่ 6 แห่งปริสวรรค ในปฐมปัณณาสก์ ทุกนิบาต อังคุตตรนิกาย (ทุก.อํ.๒๐/๙๒/๒๙๒)

อ้างอิง

[แก้]
  1. มโนรถปูรณี อรรถกถาอังคุตตรนิกาย. หน้า 7
  2. พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2550), หน้า 298
  3. คณาจารย์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2550) หน้า 74
  4. Bimala Charan Law. (1923). หน้า 80
  5. มโนรถปูรณี อรรถกถาอังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม 1 ภาค 1 หน้า 30
  6. มโนรถปูรณี อรรถกถาอังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม 1 ภาค 3 หน้า 36 -37
  7. มโนรถปูรณี อรรถกถาอังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม 1 ภาค 1 หน้า 36
  8. มโนรถปูรณี อรรถกถาอังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม 1 ภาค 2 หน้า 209
  9. คณาจารย์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2550) หน้า 74
  10. มโนรถปูรณี อรรถกถาอังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม 1 ภาค 1 หน้า 164 - 165
  11. มโนรถปูรณี อรรถกถาอังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม 1 ภาค 2 หน้า 227
  12. คณาจารย์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2550) หน้า 74
  13. มโนรถปูรณี อรรถกถาอังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม 1 ภาค 1 หน้า 171

บรรณานุกรม

[แก้]
  • พระพรหมคุณาภรณ์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2550). พจนานุกรมพุทธศาสน์ฉบับประมวลศัพท์. กรุงเทพมหานคร.
  • Bimala Charan Law. (1923). The Life and Work of Buddhaghosa. Calcutta : Thacker, Spink & Co.
  • คณาจารย์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2550). วรรณคดีบาลี. กรุงเทพฯ. กองวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
  • พระไตรปิฎกมหามกุฏราชวิทยาลัย. มโนรถปูรณี อรรถกถาอังคุตตรนิกาย. พระสุตตันตปิฎก. อังคุตรนิกาย. เอกนิบาต เล่ม 1 ภาค 1
  • พระไตรปิฎกมหามกุฏราชวิทยาลัย. มโนรถปูรณี อรรถกถาอังคุตตรนิกาย. พระสุตตันตปิฎก. อังคุตรนิกาย. เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม 1 ภาค 2
  • พระไตรปิฎกมหามกุฏราชวิทยาลัย. มโนรถปูรณี อรรถกถาอังคุตตรนิกาย. พระสุตตันตปิฎก. อังคุตรนิกาย. ติกนิบาต เล่ม 1 ภาค 3
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
มโนรถปูรณี
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?