For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for สุขาวดี (นิกาย).

สุขาวดี (นิกาย)

พระอมิตาภพุทธะและพระโพธิสัตว์ 2 องค์คือพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ (ขวา) และพระมหาสถามปราปต์โพธิสัตว์ (ซ้าย) ในวัดใกล้กับเมือง เหม่ยนอง, มณฑลเกาสง, ไต้หวัน

นิกายสุขาวดี (จีนตัวย่อ: 净土宗; จีนตัวเต็ม: 淨土宗; พินอิน: Jìngtǔzōng; ญี่ปุ่น: 浄土教, Jōdokyō; เกาหลี: 정토종, jeongtojong; เวียดนาม: Tịnh Độ Tông) เป็นนิกายในศาสนาพุทธที่ตั้งขึ้นครั้งแรกในประเทศจีน แม้จะมีกำเนิดมาจากพระสูตรที่มาจากประเทศอินเดีย แต่ในอินเดียไม่ได้เป็นนิกายเอกเทศ นิกายนี้พระฮุ่นเจียงตั้งขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 9 สมัยราชวงศ์ตั้งจิ้น คำสอนของท่านเน้นการเจริญพุทธสติถึงพระอมิตาภพุทธะและปรารถนาไปเกิดในแดนสุขาวดี ในจีนเรียกนิกายนี้ว่า นิกายวิสุทธิภูมิ (จิ้งถู่จง)

คัมภีร์

คัมภีร์ที่สำคัญมี 4 เล่มคือ มหาสุขาวดีวยูหสูตร แปลเป็นภาษาจีนเมื่อต้นพุทธศตวรรษที่ 7 อมิตายุรัธยานสูตร จุลสุขาวดีวยูหสูตร และอมิตายุอุปเทศสูตร นอกจากนั้นยังมีคัมภีร์ของนิกายนี้ที่แต่งเพิ่มเติมในประเทศญี่ปุ่น

หลักธรรม

นิกายนี้ถือว่าการพ้นทุกข์ของสรรพสัตว์ต้องอาศัยปัจจัยภายนอกเข้ามาช่วย นิกายนี้จึงเน้นการไปเกิด ณ แดนสุขาวดีของพระอมิตาภะ ซึ่งเชื่อว่าเมื่อไปเกิดแล้วจะไม่ตกต่ำมาสู่อบายภูมิอีก โดยผู้จะไปเกิดต้องมีคุณธรรมสามประการคือ กตัญญูกตเวที ยึดพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง จิตมั่นคงต่อโพธิญาณ นอกเหนือจากนี้ต้องสวดมนต์ระลึกถึงพระอมิตาภะตั้งปณิธานไปเกิดในสุขาวดีจึงจะได้ไปเกิดสมปรารถนา

ชั้นของสุขาวดี

ดินแดนสุขาวดีหรือพุทธเกษตรของพระอมิตาภะตามที่กล่าวไว้ในอมิตายุรัธยานสูตรมี 9 ชั้นคือ

  1. สำหรับผู้มีเมตตากรุณา มีศีลสมบูรณ์ มีจิตเลื่อมใสไม่คลอนแคลน
  2. สำหรับผู้มีความรู้แตกฉานในธรรม เลื่อมใสนิกายมหายาน เชื่อในกฎแห่งกรรม เมื่อตายจะไปอยู่ในดอกบัวไม่ทันข้ามวัน ดอกบัวจะบาน ได้ฟังธรรมภายใน 7 วัน
  3. สำหรับผู้เชื่อมั่นในกฎแห่งกรรม เลื่อมใสนิกายมหายาน เมื่อตายจะไปอยู่ในดอกบัว 7 วันจึงจะบาน ได้ฟังธรรมภายใน 37 วัน
  4. สำหรับผู้รักษาศีลอุโบสถสมบูรณ์ ดอกบัวที่ผู้นั้นไปเกิดจะค่อย ๆ บาน เมื่อได้ฟังธรรมก็จะได้เป็นพระอรหันต์
  5. สำหรับผู้ถือศีลอุโบสถเพียงวันหนึ่ง คืนหนึ่ง หรือสมาทานศีลภิกษุหรือศีลสามเณรไม่บกพร่อง เมื่อตายจะไปเกิดในดอกบัวอยู่ 7 วัน ดอกบัวจึงจะบาน เมื่อฟังธรรมจะได้เป็นพระโสดาบัน อีกครึ่งกัลป์จะได้เป็นพระอรหันต์
  6. สำหรับผู้เลี้ยงดูบิดามารดา มีมนุษยธรรม เมื่อใกล้ตายได้ฟังเรื่องของสุขาวดีและมีจิตเลื่อมใส เมื่อตายจะไปเกิดในสุขาวดี และฟังธรรมเรื่องไปหนึ่งกัลป์จึงจะได้เป็นพระอรหันต์
  7. สำหรับผู้ทำอกุศลกรรม แต่ได้ฟังเสียงสวดพระธรรม หรือมีผู้สอนให้ระลึกถึงพระอมิตาภะ เมื่อตายจะไปเกิดในดอกบัวนาน 77 วัน จึงจะบาน หลังจากนั้นต้องฟังธรรมนานถึง 10 กัลป์ จึงจะได้เป็นพระอรหันต์
  8. สำหรับผู้ทุศีล มีทุคติเป็นที่หมาย แต่เมื่อใกล้ตายมีผู้สอนให้ระลึกถึงพระอมิตาภะ เมื่อตายจะไปเกิดในดอกบัวนาน 6 กัลป์ จึงจะบาน เมื่อฟังธรรมจึงเริ่มตั้งจิตปรารถนาพุทธภูมิ
  9. สำหรับผู้ทำอกุศลกรรมไว้มาก มีอบายภูมิเป็นที่หมาย แต่มีผู้สอนให้ระลึกถึงพระอมิตาภะ แล้วทำตามอยู่ชั่ว 10 ขณะจิต เมื่อตายจะไปเกิดในดอกบัวนานถึง 12 กัลป์จึงจะบาน เมื่อได้ฟังธรรมจึงตั้งจิตถึงพุทธภูมิ

สุขาวดีในญี่ปุ่น: นิกายโจโด

ก่อตั้งโดยพระโฮเน็ง เน้นให้ระลึกถึงอมิดาหรือพระอมิตาภะ เพื่อไปเกิดในเน็มบุสึ (พุทธเกษตร) ภายหลังพระชินรัง ลูกศิษย์ของพระโฮเน็งได้ตั้งนิกายโจโดชินชู (สุขาวดีที่แท้) ซึ่งถือว่าในพุทธเกษตรนั้นไม่มีการแบ่งแยกระหว่างคนดีและคนชั่ว สมาชิกของนิกายนี้ไม่จำเป็นต้องถือวินัยเป็นพิเศษ พระชินรังแต่งงานและทำให้เกิดระบบการสืบสกุลของพระในญี่ปุ่น ซึ่งต่อมาได้แพร่หลายไปยังนิกายอื่นด้วย

สิ่งศักดิ์สิทธิ์ของนิกายสุขาวดี

สิ่งศักดิ์สิทธิ์ของนิกายสุขาวดีโดยทั่วไปจะประกอบด้วยพระอมิตาภพุทธะ พระมหาสถามปราปต์โพธิสัตว์ และพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ (กวนอิม) โดยให้พระอมิตาภพุทธะประทับอยู่ตรงกลาง พระมหาสถามปราปต์โพธิสัตว์ อยู่ทางขวาของพระองค์ และพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ อยู่ทางซ้ายของพระองค์ ด้วยเหตุฉะนี้ พุทธศาสนิกชนมหายานจึงนิยมเรียกพระพุทธะและโพธิสัตว์สาวกกลุ่มนี้ว่า พระอริยเจ้าทั้งสามแห่งปัจฉิมทิศ (จีนตัวย่อ: 西方三圣; จีนตัวเต็ม: 西方三聖; พินอิน: Xīfāngsānshèng)

พระอมิตาภพุทธะ

พระอมิตาภพุทธะ แปลว่า พระพุทธเจ้าผู้มีแสงประภาสส่องสว่างไม่มีประมาณ หรือพระอมิตายุพุทธะ แปลว่า พระผู้มีอายุขัยยาวนานไม่มีประมาณ เป็นพระธยานิพุทธะ 1 ใน 5 องค์ ประทับอยู่ทางตะวันตกของพุทธมณฑล พระกายสีแดงก่ำ เป็นต้นตระกูลของพระโพธิสัตว์ตระกูลปัทมะ หมายถึงปัญญาที่ทำให้มนุษย์รู้จักผิดชอบชั่วดี และเลือกปฏิบัติในทางที่ถูก สัญลักษณ์คือดอกบัว พระพุทธเจ้าในตระกูลนี้ทั่วไปใช้บัวแดง พระโพธิสัตว์ปางดุใช้บัวขาว ภาพวาดของพระองค์มักวาดให้พระหัตถ์ยาวหมายถึงความสามารถที่จะเอื้อมพาสรรพสัตว์เข้าสู่แดนสุขาวดี มีพระชิวหายาวตระหวัดได้รอบโลกหมายถึงความสามารถในการแสดงธรรมได้ทั่วโลก ทรงนกยูงเป็นพาหนะนับถือส่วนใหญ่ในพุทธศาสนานิกายมหายาน ควบคู่กับพระอวโลกิเตศวรหรือเจ้าแม่กวนอิมในภาษาไทย

ท่านเป็นพระพุทธเจ้าในสุขาวดีพุทธภูมิห่างจากโลกมนุษย์ ทางทิศตะวันตกสิบล้านล้านกิโลเมตร ใช้เวลาสร้าง 5 กัป จึงสำเร็จเป็นอาณาจักรหนึ่ง ชื่อ แดนสุขาวดี (เก็กลกซือไก) จุดประสงค์ในการสร้าง เพื่อเป็นที่อยู่ของสัตว์โลกที่สำเร็จธรรม ขอเพียงมีปณิธานแน่วแน่จริงใจและสวดคำว่า อามีทอฝอ (แต้จิ๋ว: อานีทอฮุก) อยู่เสมอ ยามใกล้จะสิ้นใจจะปรารถนาที่จะลาโลกไป พระอมิตาภพุทธะ พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ และพระมหาสถามปราปต์โพธิสัตว์ จะเสด็จมารับไปยังแดนสุขาวดี ดังเช่นหลวงจีนในนิกายมหายานนิยมท่องกัน เพราะเป็นความเชื่อส่วนนิกาย ไม่ได้บันทึกไว้ในพระไตรปิฏก และไม่พบในนิกายเถรวาท

พระมหาสถามปราปต์โพธิสัตว์

พระมหาสถามปราปต์โพธิสัตว์เป็นพระโพธิสัตว์อัครสาวกของพระอมิตาภะเช่นเดียวกับพระอวโลกิเตศวร แต่มีคนรู้จักน้อยกว่า ถือว่าท่านเป็นพระโพธิสัตว์ด้านกำลัง สะท้อนพลังจิตที่เข้มแข็งของพระพุทธเจ้า ใกล้เคียงกับความหมายของพระสมันตภัทรโพธิสัตว์

นิกายสุขาวดีกำหนดให้ท่านเป็นผู้คุ้มครองดวงจิตของผู้ที่จะไปอุบัติในแดนสุขาวดี ในอีกแนวหนึ่งเชื่อว่าพระมหาสถามปราปต์พัฒนามาจากพระอินทร์ของศาสนาพราหมณ์ เนื่องจากลักษณะในยุคแรกของท่านถือวัชระเช่นเดียวกับพระอินทร์ ต่อมามีการสร้างพระโพธิสัตว์องค์ใหม่ เรียกว่าพระวัชรปาณีโพธิสัตว์ แยกออกมาจากพระมหาสถามปราปต์ ความนิยมนับถือพระมหาสถามปราปต์จึงลดลง ความหมายต่าง ๆ ของท่านได้หลอมรวมกลายเป็นส่วนหนึ่งของพระโพธิสัตว์องค์อื่น ๆ ไป

พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ (เจ้าแม่กวนอิม)

กวนอิม ตามสำเนียงฮกเกี้ยน หรือ กวนอิน ตามสำเนียงกลาง (จีนตัวย่อ: 观音; จีนตัวเต็ม: 觀音; พินอิน: Guān Yīn; อังกฤษ: Guan Yin) พระโพธิสัตว์ ของพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน เป็นองค์เดียวกันกับพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ในภาษาสันสกฤต ซึ่งมีต้นกำเนิดจากพระสูตรมหายานในอินเดีย และได้ผสมผสานกับตำนานเรื่องพระธิดาเมี่ยวซ่าน ซึ่งเป็นความเชื่อพื้นถิ่นดั้งเดิมของจีนจนก่อให้เกิดเป็นพระโพธิสัตว์กวนอิมในภาคสตรีขึ้น เพื่อแสดงออกถึงความอ่อนโยน และแสดงถึงความเมตตากรุณาให้เด่นชัดยิ่งขึ้นดังเช่นความรักของมารดาที่มีต่อบุตร ซึ่งเป็นการผสมผสานกลมกลืนทางความเชื่อที่ปราศจากข้อขัดแย้ง เนื่องจากในสัทธรรมปุณฑรีกสูตรได้อธิบายว่า พระอวโลกิเตศวรนั้นสามารถแบ่งภาคเพื่อโปรดสรรพสัตว์ได้มากมายทั้งปางบุรุษและสตรี และเป็นธรรมดาของพระโพธิสัตว์มหายานที่เมื่อเข้าไปสู่ดินแดนอื่นทั้งทิเบต จีน หรือญี่ปุ่น ย่อมผสมผสานกลมกลืนได้กับเทพท้องถิ่นนั้น ๆ

อย่างในกรณีพระอวโลกิเตศวรนี้ Sir Charles Eliot ได้ตั้งข้อสังเกตว่า "คงเนื่องมาจากความสับสนทางความคิดของชาวจีนในยุคนั้น ซึ่งบูชาเทพเจ้าต่าง ๆ ของตนอยู่แล้ว และเมี่ยวซ่านก็เป็นเทพวีรชนดั้งเดิมอยู่ก่อน พออารยธรรมพระโพธิสัตว์จากอินเดียแผ่เข้าไปถึง ได้เกิดการผสานทางวัฒนธรรมเปลี่ยนชื่อเสียงคงไว้เพียงแต่คุณลักษณะต่าง ๆ พอให้แยกออกว่าเป็นพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์"

อ้างอิง

  • ประสงค์ แสนบุราณ. พระพุทธศาสนามหายาน. กทม.โอเดียนสโตร์. 2548
  • ทวีวัฒน์ ปุณฑริกวิวัฒน์. ศาสนาและปรัชญาในจีน ทิเบต และญี่ปุ่น. กทม. สุขภาพใจ. 2545

แหล่งข้อมูลอื่น

{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
สุขาวดี (นิกาย)
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?