For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for พระนันทะ.

พระนันทะ

นันทะ
ประติมากรรมศิลปะคันธาระตอนพระพุทธเจ้าโปรดนันทกุมาร ที่พิพิธภัณฑ์บริติช
ประติมากรรมศิลปะคันธาระตอนพระพุทธเจ้าโปรดนันทกุมาร ที่พิพิธภัณฑ์บริติช
ข้อมูลทั่วไป
สถานที่ประสูติพระราชวัง กรุงกบิลพัสดุ์
สถานที่บวชนิโครธาราม กรุงกบิลพัสดุ์
วิธีบวชเอหิภิกขุอุปสัมปทา
เอตทัคคะผู้เลิศในอินทรีย์สังวร (สำรวม)[1]
ฐานะเดิม
ชาวเมืองเมืองกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ
บิดาสุทโธทนะ
มารดามหาปชาบดี
วรรณะเดิมกษัตริย์
ราชวงศ์ศากยราชวงศ์
สถานที่รำลึก
สถานที่โบราณสถานพระราชวังเมืองกบิลพัสดุ์, นิโครธาราม
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

พระนันทเถรศากยะ หรือ พระนันทเถระ เป็นพระภิกษุสาวกเอตทัคคะในศาสนาของพระโคตมพุทธเจ้า นับเนื่องในพระอสีติมหาสาวก 80 องค์สำคัญในพระพุทธศาสนาในสมัยพุทธกาล พระนันทเถรศากยะเป็นพระประยูรญาติของเจ้าชายสิทธัตถะ โดยท่านเป็นพระภาดา ผู้เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะและพระมาตุจฉาของเจ้าชายสิทธัตถะ ผู้ซึ่งต่อมาได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า[2]

พระนันทเถรศากยะ ออกผนวชด้วยความจำใจ เพราะมีความเกรงใจต่อพระพุทธเจ้าที่ชวนท่านออกผนวชในวันที่ท่านจะอภิเษกสมรสกับนางชนบทกัลยาณี ทำให้ในช่วงแรกที่ท่านออกผนวชท่านไม่ได้มีความตั้งใจในการปฏิบัติธรรมเลยเพราะความกระสันใคร่จะลาผนวช แต่หลังจากท่านได้สติแล้วจึงได้ตั้งใจบำเพ็ญเพียรจนบรรลุพระอรหันต์ได้ในที่สุด โดยหลังบรรลุธรรมแล้วท่านกลับกลายเป็นผู้ที่มีความสำรวมระวังอินทรีย์เป็นอย่างยิ่ง พระพุทธเจ้าจึงทรงยกย่องท่านให้เป็นพระเอตทัคคะผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายในด้าน ผู้ทรงอินทรีย์สังวร

ชาติภูมิ

พระนันทเถรศากยะ เป็นพระประยูรญาติของพระพุทธเจ้า โดยท่านเป็นพระภาดาต่างพระราชมารดาของพระพุทธเจ้า พระราชบิดาของท่านคือพระเจ้าสุทโธทนศากยราชาพระมหากษัตริย์แห่งกรุงกบิลพัสดุ์ โดยเป็นพระราชบิดาร่วมพระองค์กับเจ้าชายสิทธัตถะ พระราชมารดาของพระนันทศากยะมีพระนามว่า พระนางมหาปชาบดีโคตมี ผู้เป็นพระมาตุจฉาและทรงเคยเป็นพระอภิบาลของเจ้าชายสิทธัตถะเมื่อยังทรงพระเยาว์

ออกผนวช

เจ้าชายนันทศายะ ออกผนวชในวันที่ทรงจะเข้าอภิเษกสมรสกับนางชนบทกัลยาณี โดยในวันที่มีพิธีอภิเษกนั้นพระประยูรญาติได้นิมนต์พระพุทธเจ้าและพระสงฆ์ไปรับภัตตาหารภายในพระราชฐาน เมื่อพระพุทธเจ้าเสวยภัตตาหารเสร็จได้ทรงอนุโมทนาและเสด็จกลับ โดยมีเจ้าชายนันทะถือบาตรตามส่งเสด็จ แต่พระพุทธเจ้าทรงทราบว่าเจ้าชายนันทะมีบารมีควรแก่อริยผล จึงทรงใช้อุบายไม่รับบาตรคืนจากเจ้าชายนันทะ เจ้าชายนันทะจึงจำต้องถือบาตรตามเสด็จกลับ ทำให้นางชนบทกัลยาณีกังวลและร้องขอวิงวอนให้เจ้าชายนันทะรีบเสด็จกลับเพื่อทำพิธีอภิเษก ทำให้เจ้าชายนันทะถือบาตรตามเสด็จด้วยความกระวลกระวายใจ เมื่อทั้งสองพระองค์เสด็จมาถึงพระคันธกุฎี ภายในนิโครธาราม พระพุทธเจ้าจึงทรงถามเจ้าชายนันทะว่า "นันทะ เธอจะบวชหรือ?" ด้วยเหตุนั้น เจ้าชายนันทะแม้ไม่เต็มใจที่จะผนวชแต่ด้วยความเกรงพระทัยและมีความเคารพในพระพุทธเจ้ามากจึงจำต้องทรงออกผนวชในวันนั้นเอง

บรรลุธรรม

เมื่อออกผนวชแล้ว พระนันทะมีความกังวลคำนึงถึงแต่คำขอร้องของนางชนบทกัลยาณีที่ให้รีบเสด็จกลับ พระนันทะจึงไม่มีความตั้งใจอันใดในการปฏิบัติธรรม พระพุทธเจ้าทราบความนั้นจึงเสด็จมาเยี่ยมและชวนพระนันทะไปที่ต่าง ๆ เพื่อให้เห็นหญิงที่สวยงามกว่านางชนบทกัลยาณี พระนันทะเที่ยวตามเสด็จเรื่อยไปจนมีความชอบใจในหญิงเหล่านั้น พระพุทธเจ้าทราบความจึงออกพระโอษฐ์ค้ำประกันว่า ถ้าพระนันทะสามารถปฏิบัติธรรมจนบรรลุพระอรหันต์ได้ พระองค์จะสามารถพาหญิงเหล่านั้นมาให้แต่งงานกับพระนันทะเอง จากนั้นมาท่านพระนันทะจึงตั้งใจบำเพ็ญเพียรอย่างหนัก พระสงฆ์ที่ทราบความจึงพากันล้อเลียนท่าน ทำให้ท่านเกิดความละอายใจ จึงหลีกตนหนีไปบำเพ็ญเพียรแต่ผู้เดียว จนในที่สุดท่านได้สติว่า

"ความรักไม่มีที่สิ้นสุด... ความรักทำให้เกิดความทุกข์ และความเศร้าโศกเสียใจไม่มีที่สิ้นสุด"

— พระนันทเถรศากยะ[3]

ท่านจึงเกิดความสลดใจและละวางความรักลงได้ ในไม่ช้าท่านก็บำเพ็ญเพียรต่อจนได้บรรลุพระอรหันต์[4]

เมื่อท่านบรรลุธรรมแล้ว ท่านกลับกลายเป็นผู้มีความสำรวมระวังอินทรีย์สังวรเป็นอย่างมาก พระพุทธเจ้าจึงยกย่องท่านว่าเป็น ผู้เลิศในทางอินทรีย์สังวร

บั้นปลายพระชนม์ชีพ

ในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาไม่ระบุว่าท่านดับขันธปรินิพพานเมื่อใดและที่ใด แต่ท่านคงดำรงขันธ์อยู่พอสมควรแก่กาลจึงปรินิพพาน

ราชตระกูล

พระราชตระกูลในพระนันทะ

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
พระเจ้าสีหนุ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
พระเจ้าสุทโธทนะ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
นางกัญจนา
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
พระนันทะ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
พระเจ้าอัญชนะ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
พระนางมหาปชาบดี
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
นางยโสธรา
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

อ้างอิง

  1. พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒ อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต วรรคที่ ๔. พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ. [ออนไลน์]. เข้าถึงแหล่งข้อมูลได้จาก [1]. เข้าถึงเมื่อ 4-9-52
  2. สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส. (2525). ธรรมวิภาคปริเฉทที่ 2. พิมพ์ครั้งที่ 23. กรุงเทพฯ: คณะกรรมการแผนกตำรา มหามกุฏราชวิทยาลัย.
  3. ภิกษุเอตทัคคะ. เว็บไซต์พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐออนไลน์ แปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก [2]. เข้าถึงเมื่อ 4-9-52
  4. พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท นันทสูตร. พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ. [ออนไลน์]. เข้าถึงแหล่งข้อมูลได้จาก [3]. เข้าถึงเมื่อ 4-9-52

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

  1. เว็บไซต์ 84000
  2. เว็บไชต ธรรมะ เกตเวย์ เก็บถาวร 2009-04-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
พระนันทะ
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?