For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for พระจูฬปันถกเถระ.

พระจูฬปันถกเถระ

พระจูฬปันถก หรือ พระจูฬปันถกเถระ, พระจุลลปันถกะ เป็นชาวเมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ เป็น 1 ในพระอสีติมหาสาวก ของพระพุทธเจ้า

พระจูฬปันถก เป็นน้องชายของพระมหาปันถก ท่านบวชตามการสนับสนุนของพี่ชาย เมื่อแรกบวชท่านเป็นคนมีปัญญาทึบมาก ไม่สามารถท่องมนต์หรือเข้าใจอะไรได้เลย จึงทำให้ท่านถูกพระพี่ชายของท่านขับไล่ออกจากสำนัก เมื่อพระพุทธเจ้าทราบความจึงได้ให้ประทานผ้าเช็ดพระบาทสีขาวบริสุทธิ์ให้ท่านไปลูบ จนในที่สุดท่านพิจารณาเห็นว่าผ้าขาวเมื่อถูกลูบมีสีคล้ำลง จึงนำมาเปรียบกับชีวิตของคนเราที่ไม่มีความยั่งยืน ท่านจึงได้เจริญวิปัสสนาและบรรลุเป็นพระอรหันต์เพราะสิ่งที่ท่านพบจากการลูบผ้าขาวนั่นเอง

เมื่อท่านบรรลุพระอรหันต์ ท่านได้ปฏิสัมภิทาญาณชำนาญในการใช้มโนมยิทธิ ท่านจึงได้รับการยกย่องจากพระพุทธเจ้าให้เป็นผู้เป็นเอตทัคคะในด้านชำนาญในมโนมยิทธิ[1]

พระจูฬปันถก เป็นตัวอย่างสำคัญที่แสดงให้เห็นว่า ปัญญาในการตรัสรู้ไม่เกี่ยวกับปัญญาในการจำเรียนรู้ทั่วไป (สัญญา) ปัญญาในการตรัสรู้คือภาวนามยปัญญา กล่าวคือความสามารถที่จะใช้ปัญญาแยบคายที่เกิดจากใช้ปัญญาภายในพิจารณารู้เห็นตามความเป็นจริงของโลกได้ด้วยตนเอง การท่องจำหรือเรียนหนังสือไม่เก่งจึงไม่ใช่อุปสรรคในการตรัสรู้ธรรม

ประวัติ

ออกบวชเพราะพี่ชาย

พระจูฬปันถกะ เป็นน้องชายร่วมมารดาบิดาเดียวกันกับพระมหาปันถกเถระผู้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ไปก่อนหน้า พระจูฬปันถกได้เห็นพี่ชายมีแต่ผู้คนเคารพกราบไหว้ ดูแล้วอยากเป็นบ้าง จึงถามพี่ชายทำอย่างไรถึงมีผู้คนเคารพกราบไหว้ แล้วน้องจะเป็นได้ไหม พี่ชายจึงให้ออกบวช จากนั้นพี่ชายก็ขออนุญาตจากธนเศรษฐีผู้เป็นคุณตา ซึ่งก็ได้รับอนุญาตด้วยความเต็มใจอย่างยิ่ง เพราะคุณตาก็เป็นผู้มีศรัทธาในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างมากอยู่แล้ว

ถูกไล่สึกโดยพี่ชาย

เมื่อท่านออกบวชพระพี่ชายของท่านได้สอนให้ท่องคาถาบทหนึ่งคือ

ปทุมํ ยถา โกกนุทํ สุคนฺธํ

ปาโต สิยา ผุลฺลมวีตคนฺธํ องฺคีรสํ ปสฺส วิโรจมานํ ตปนุตมาทิจฺจมิวนฺตลฺเข ฯ

คำแปล: ดอกปทุมชาติที่ชื่อว่าโกกนุท ขยายกลีบแย้มบานตั้งแต่เวลารุ่งอรุณยามเช้า กลิ่นเกษร หอมระเหยไม่รู้จบเธอจงพินิจดูพระสักยมุนีอังคีรส ผู้มีพระรัศมีแผ่ไพโรจน์อยู่ ดุจดวงทิวากร ส่องสว่างอยู่กลางนภากาศ ฉะนั้น

ปรากฏว่าเวลาผ่านไปถึง 4 เดือน ท่านก็ไม่สามารถท่องคาถาดังกล่าวที่มีเพียง 4 บรรทัดได้ [2] เพราะท่านเป็นคนปัญญาทึบมาก (ท่านกล่าวถึงตนเองเมื่อภายหลังว่า "เมื่อก่อน ญาณคติเกิดแก่เราช้า") จากการผลของกรรมที่ท่านทำไว้ในอดีต ท่านจึงถูกพระพี่ชายของท่านไล่ออกจากสำนัก

พระพุทธเจ้าโปรดพระจูฬปันถก-บรรลุอรหันต์

หลังจากท่านถูกพี่ชายไล่สึก ท่านมีความน้อยเนื้อต่ำใจมาก เพราะยังมีความอาลัยในผ้าเหลือง จึงไม่ยอมรับแม้กิจนิมนต์ที่หมอชีวกโกมารภัจจ์นิมนต์พระ 500 รูป เพื่อรับฉันภัตตาหารในวันรุ่งขึ้น ท่านได้ไปยืนร้องไห้อยู่ที่ใกล้ซุ้มประตูวัดชีวกัมพวัน พอดีกับพระพุทธเจ้าเสด็จผ่านมาเห็น จึงทรงเข้าไปถาม เมื่อทรงทราบความจึงได้ตรัสว่า "ท่านบวชพระเพื่ออุทิศพระพี่ชายที่ไหน ท่านบวชเพื่ออุทิศให้เราต่างหาก ท่านมาอยู่กับเราดีกว่า" จากนั้นทรงลูบศีรษะและจับแขนพากลับเข้าวัดไปที่หน้าพระคันธกุฏี จากนั้นพระพุทธเจ้าได้ประทานผ้าเช็ดพระบาทสีขาวบริสุทธิ์ให้ท่านพร้อมกับสั่งให้ท่านลูบผ้านั้นไปเรื่อย ๆ พร้อมกับภาวนาว่า รโชหรณํ ๆ (แปลว่า ผ้าสำหรับเช็ดฝุ่น) ท่านลูบผ้าได้ไม่นาน ผ้าขาวนั้นก็หมองคล้ำลง ท่านจึงสติคิดได้ว่า "ผ้านี้แต่ก่อนก็ขาวบริสุทธิ์ แต่พอถูกลูบบ่อย ๆ ก็กลับดำ สรรพสิ่งมันช่างไม่ยั่งยืน" แล้วท่านจึงได้เจริญวิปัสสนากรรมฐานยกผ้าผืนนั้นขึ้นเปรียบเทียบกับอัตตภาพร่างกายเป็นอารมณ์ จนได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ปฏิสัมภิทาในวันนั้นเอง แต่บางตำนานกล่าวว่าพระพุทธเจ้าเล่าเรื่อง จูฬเศรษฐีชาดกให้พระจูฬปันถกเถระฟัง

แสดงฤทธิ์-ได้รับยกย่องเป็นเอตทัคคะ

เช้าวันต่อมาพระภิกษุ 599 รูป พร้อมทั้งพระพุทธองค์เสด็จไปรับภัตตาหารที่บ้านหมอชีวกโกมารภัจจ์ พอหมอชีวกนำภัตเข้ามาถวายพระพุทธองค์ พระพุทธองค์ทรงปิดบาตรและตรัสว่า "ยังเหลืออีกรูปหนึ่งในวัด" หมอชีวกจึงใช้ให้คนไปนิมนต์ ปรากฏว่าคนนิมนต์เข้าไปวัดเห็นแต่พระสงฆ์นับพันที่พระจูฬปันถกเนรมิตด้วยฤทธิ์มโนมยิทธิขึ้นมา จึงกลับมา พระพุทธองค์จึงให้คนนิมนต์กลับไปบอกพระเหล่านั้นอีกว่า พระพุทธองค์เรียกพระจูฬปันถก เมื่อคนนิมนต์ไปที่วัดและเรียกเช่นนั้น ปรากฏว่าพระทุกรูปตอบว่าตนคือจูฬปันถกหมด คนนิมนต์จึงกลับมาอีก คราวนี้พระพุทธเจ้าจึงตรัสให้คอยสังเกตว่ารูปไหนพูดก่อน ให้คว้ามือรูปนั้นไว้ ปรากฏว่าคนนิมนต์กลับไปทำเช่นนั้น พอจับมือพระจูฬปันถกตัวจริง พระที่ถูกเนรมิตรก็หายไปหมด จึงเป็นที่รู้กันว่าพระจูฬปันถกได้กลายเป็นพระอรหันต์ผู้ทรงอภิญญาในครั้งนั้นเอง

ในวันนั้น พระพุทธองค์จึงทรงให้พระจูฬปันถกทำอนุโมทนาแก่หมอชีวก และด้วยเหตุดังกล่าวพระพุทธเจ้าจึงยกย่องให้พระจูฬปันถกเป็นเอตทัคคะในด้าน ผู้ชำนาญในมโนมยิทธิ [3]

ท่านดำรงสังขารอยู่พอสมควรแก่กาลก็ได้ดับขันธปรินิพพาน

บุรพกรรม

พระจูฬปันถก ตั้งจิตปรารถนาไว้ตั้งแต่ครั้งพระพุทธเจ้าปทุมุตตระ ครั้งนั้นท่านเกิดเป็นน้องชายของกุฎุมพี ชาวเมืองหงสวดี (คือพระมหาปันถกในชาติปัจจุบัน) วันหนึ่งได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าพร้อมกับพี่ชายและพวกชาวเมืองเพื่อฟังธรรม เห็นพระพุทธเจ้าทรงตั้งพระสาวกรูปหนึ่งไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะด้านชำนาญในเจโตวิมุติ และด้านชำนาญในมโนมยิทธิ (การใช้ฤทธิ์ทางใจ) แล้วปรารถนาจะได้เป็นเช่นพระสาวกรูปนั้นบ้าง

ท่านแสดงศรัทธาให้ปรากฏ ด้วยการถวายมหาทานแด่พระพุทธเจ้าและพระสาวกติดต่อกัน 7 วัน วันสุดท้ายได้กราบทูลพระพุทธเจ้าให้ทรงทราบถึงความปรารถนาของท่าน และได้รับพุทธพยากรณ์ว่าจักได้ออกบวชเป็นสาวกของพระพุทธเจ้าโคดมในอีก 100,000 กัปข้างหน้า จักได้บรรลุอรหัตผล พระพุทธเจ้าโคดมจักตั้งท่านไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะด้านชำนาญในเจโตวิมุติ และชำนาญในมโนมยิทธิ

เมื่อท่านได้ฟังพระพุทธเจ้าตรัสพยากรณ์แล้วเกิดปีติโสมนัสเป็นอย่างยิ่ง ได้ทำบุญอื่นๆ สนับสนุนอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต จากชาตินั้นบุญส่งผลให้เวียนว่ายตายเกิดในภพภูมิต่างๆ จนมาถึงพุทธุปบาทกาลของพระพุทธเจ้ากัสสปะ ในชาติที่พบพระพุทธเจ้ากัสสปะนั้น ท่านออกบวชเป็นสาวกของพระองค์ มีสติปัญญาดีมาก ทรงจำพระพุทธพจน์ไว้ได้มากและแม่นยำ คราวหนึ่งได้ฟังพระปัญญาทึบรูปหนึ่งสาธยายพระพุทธพจน์ผิดๆ ถูกๆ แล้วหัวเราะเยาะ จนพระรูปนั้นอายเลิกท่องจำพระพุทธพจน์อีกต่อไป จากชาตินั้นท่านเวียน ว่ายตายเกิดในภพภูมิต่างๆ[4]

จนมาถึงสมัยของพระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบัน ท่านเกิดมาเป็นน้องชายของพระมหาปันถก ตอนบวชใหม่ๆ บาป กรรมที่เคยหัวเราะเยาะพระปัญญาทึบตามมาให้ผล โดยทำให้ท่านไม่ได้กัลยาณมิตรแนะนำการปฏิบัติธรรม จึงไม่สามารถท่องจำคาถาแม้เพียงบทเดียวได้ จนถูกพระมหาปันถกขับไล่ให้สึก แต่ต่อมาพระพุทธเจ้าทรงแนะนำให้เจริญกรรมฐาน จึงได้บรรลุอรหัตผล อาศัยเหตุที่ตั้งจิตปรารถนา มาแต่อดีตชาติ ประกอบกับเหตุการณ์ในปัจจุบันชาติ ที่เมื่อบรรลุอรหัตผลแล้วมีความชำนาญในการเข้าสมาธิ และชำนาญในการใช้ฤทธิ์ทางใจเนรมิตร่างกายท่านได้ตั้ง 1,000 ร่างในขณะจิตเดียว พระพุทธเจ้าจึงทรงตั้งท่านไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะด้านชำนาญในการเข้าสมาธิ (เจโตวิมุติ) และชำนาญในการใช้มโนมยิทธิ[5]

อ้างอิง

  1. พระไตรปิฎก เล่มที่ ๗ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๗ จุลวรรค ภาค ๒ อนาถบิณฑิกคหบดีสร้างพระเชตวัน. พระไตรปิฏกฉบับสยามรัฐ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก [1]. เข้าถึงเมื่อ 5-6-52
  2. พระจูฬปันถกเถระ-เอตทัคคะในทางผู้ชำนาญในมโนมยิทธิ. เว็บไซต์พระธรรมขันธ์ พระไตรปิฏกออนไลน์. เข้าถึงเมื่อ 5-6-52
  3. พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒ เอกบุคคลบาลี. พระไตรปิฏกฉบับสยามรัฐ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก [2]. เข้าถึงเมื่อ 5-6-52
  4. หนังสือพิมพ์ธรรมลีลา ฉบับที่ 72 พ.ย. 49 โดย ผศ.ร.ท.ดร.บรรจบ บรรณรุจิ เก็บถาวร 2007-03-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. ผู้จัดการออนไลน์. เข้าถึงเมื่อ 5-6-52
  5. พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒ เอกบุคคลบาลี. พระไตรปิฏกฉบับสยามรัฐ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก [3]. เข้าถึงเมื่อ 5-6-52

แหล่งข้อมูลอื่น

{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
พระจูฬปันถกเถระ
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?