For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for ชื่อบุคคลไทย.

ชื่อบุคคลไทย

ชื่อบุคคลไทย ประกอบด้วย ชื่อตัว ตามด้วยชื่อสกุล (หรือนามสกุล) และจะมีชื่อรองอยู่ถัดจากชื่อตัวก็ได้ ตามที่พระราชบัญญัติชื่อบุคคล พ.ศ. 2505 บังคับว่า ผู้มีสัญชาติไทยต้องมีชื่อตัว คือ ชื่อประจำตัวของแต่ละคน และต้องมีชื่อสกุล คือ ชื่อประจำวงศ์ตระกูล และจะมีชื่อรอง คือ ชื่อที่ใช้ประกอบ อยู่ถัดจากชื่อตัว ด้วยก็ได้[1] เช่น ชื่อ "พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร" ประกอบด้วย ชื่อตัว คือ "พันธุ์ทิพย์", ชื่อรอง คือ "กาญจนะจิตรา", และชื่อสกุล คือ "สายสุนทร"

พระราชบัญญัติชื่อบุคคล พ.ศ. 2505 กำหนดว่า ชื่อตัว ชื่อรอง และชื่อสกุล ต้องไม่พ้องหรือมุ่งหมายให้คล้ายกับพระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์ พระนามของพระราชินี หรือราชทินนาม และต้องไม่มีคำหรือความหมายหยาบคาย[2] แต่อนุญาตให้บุคคลเอาราชทินนามของตนเอง ของบุพการี หรือของผู้สืบสันดาน มาใช้เป็นชื่อสกุลได้[3] นอกจากนี้ ชื่อสกุลต้องมีพยัญชนะไม่เกิน 10 ตัว เว้นแต่เอาราชทินนามที่มีพยัญชนะเกิน 10 ตัวมาใช้เป็นชื่อสกุล ทั้งยังต้องไม่ซ้ำกับชื่อสกุลที่จดทะเบียนไว้แล้ว หรือชื่อสกุลที่พระมหากษัตริย์พระราชทาน[4] อนึ่ง ชื่อรองก็ต้องไม่พ้องกับชื่อสกุลคนอื่น เว้นแต่เอาชื่อสกุลของคู่สมรสมาใช้เป็นชื่อรองโดยได้รับความยินยอมจากคู่สมรสนั้น หรือเป็นกรณีที่บุตรเอาชื่อสกุลเดิมของบิดาหรือมารดามาใช้เป็นชื่อรอง[5] พระราชบัญญัตินี้ยังอนุญาตให้บุคคลเอาราชทินนามตามบรรดาศักดิ์ของตนเองมาใช้เป็นชื่อตัวหรือชื่อรองของตนได้ เว้นแต่บุคคลนั้นถูกถอดบรรดาศักดิ์[6]

เดิมที ชาวไทยมีแต่ชื่อตัว ไม่มีชื่อสกุล มาเริ่มใช้ชื่อสกุลเมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตราพระราชบัญญัติขนามนามสกุล พระพุทธศักราช 2456 เมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2455 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2456[7] พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวยังพระราชทานชื่อสกุลให้แก่หลายครอบครัว เรียกว่า "นามสกุลพระราชทาน" โดย "สุขุม" เป็นชื่อสกุลแรกที่พระราชทาน[8] และชื่อสกุลที่พระราชทานมีทั้งหมด 6,432 ชื่อ[9]

พระราชบัญญัติขนามนามสกุล พระพุทธศักราช 2456 กำหนดว่า หญิงที่ทำงานและมีสามีแล้ว ให้ใช้ชื่อสกุลของสามี แต่จะใช้ชื่อสกุลเดิมของตนต่อไปก็ได้[10] ต่อมาเมื่อตราพระราชบัญญัติชื่อบุคคล พ.ศ. 2505 ขึ้นใช้แทน พระราชบัญญัตินี้กำหนดว่า หญิงมีสามี ให้ใช้ชื่อสกุลของสามี ถ้าหย่า ให้กลับไปใช้ชื่อสกุลเดิมของตน ถ้าสามีตาย ให้ใช้ชื่อสกุลของสามีต่อไป[11] ต่อมาใน พ.ศ. 2530 มีการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติชื่อบุคคล พ.ศ. 2505 ว่า หญิงที่สามีตาย จะใช้ชื่อสกุลของสามีต่อไป หรือจะกลับไปใช้ชื่อสกุลเดิมก็ได้[12] ครั้น พ.ศ. 2548 มีการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัตินี้อีกครั้ง โดยเปลี่ยนไปกำหนดว่า คู่สมรสจะใช้ชื่อสกุลของอีกฝ่ายเป็นชื่อสกุลของตนเองตามที่ตกลงกันก็ได้ หรือจะใช้ชื่อสกุลเดิมของตนเองต่อไปก็ได้ และถ้าการสมรสสิ้นสุดลงเพราะหย่าหรือเพราะศาลเพิกถอน ฝ่ายใดเอาชื่อสกุลของอีกฝ่ายมาใช้เป็นชื่อสกุล ก็ให้กลับไปใช้ชื่อสกุลเดิม ทั้งยังให้ยกเลิกข้อกำหนดทั้งหมดเกี่ยวกับนามสกุลของหญิงที่สามีตาย[13] การแก้ไขเพิ่มเติมใน พ.ศ. 2548 ดังกล่าว เป็นผลมาจากคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ 21/2546 เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2546 ที่ระบุว่า ข้อกำหนดให้หญิงมีสามีต้องใช้ชื่อสกุลสามีเป็นชื่อสกุลตนเองอย่างเดียวนั้นขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 30 ที่รับรองว่า บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมาย ชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน การเลือกปฏิบัติเพราะเหตุแห่งเพศหรือสถานะของบุคคลจะกระทำมิได้[14]

ชื่อตัวในอดีตมักมีพยางค์เดียว เพราะภาษาไทยเป็นภาษาคำโดด ตัวอย่างชื่อตัวในสมัยก่อน เช่น จิต, ใส ฯลฯ จำนวนพยางค์มาเพิ่มในสมัยกรุงศรีอยุธยาและกรุงธนบุรี เช่น ทองม้วน, ทองดี ฯลฯ ปัจจุบันนิยมนำคำต่างประเทศมาประสมเป็นชื่อหลายพยางค์ แม้กระทั่งเป็นชื่อที่สะกดหรืออ่านยาก เช่น พิชญ์พิสิฐฏ์เสฏ, กุญจ์สิริลัญฉกร ฯลฯ[15]

นอกจากชื่อตัว ชื่อรอง และชื่อสกุล ซึ่งเป็นชื่ออย่างเป็นทางการแล้ว ชาวไทยยังมักมีชื่อเล่นเป็นชื่อเรียกขานอย่างไม่เป็นทางการ ชื่อเล่นมักมีพยางค์น้อยกว่าชื่อตัว บางทีก็ตั้งจากบางพยางค์ของชื่อตัว บางทีก็แปลจากชื่อตัว บางทีก็ตั้งตามค่านิยมของครอบครัว[15]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "พระราชบัญญัติชื่อบุคคล พ.ศ. ๒๕๐๕". ห้องสมุดกฎหมาย. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. 2556-11-26. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-05. สืบค้นเมื่อ 2562-07-15. มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้ "ชื่อตัว" หมายความว่า ชื่อประจำบุคคล "ชื่อรอง" หมายความว่า ชื่อประกอบถัดจากชื่อตัว "ชื่อสกุล" หมายความว่า ชื่อประจำวงศ์สกุล... มาตรา ๕ ผู้มีสัญชาติไทยต้องมีชื่อตัวและชื่อสกุล และจะมีชื่อรองก็ได้ ((cite web)): ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. "พระราชบัญญัติชื่อบุคคล พ.ศ. ๒๕๐๕". ห้องสมุดกฎหมาย. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. 2556-11-26. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-05. สืบค้นเมื่อ 2562-07-15. มาตรา ๖ ชื่อตัวต้องไม่พ้องหรือมุ่งหมายให้คล้ายกับพระปรมาภิไธย พระนามของพระราชินี หรือราชทินนาม และต้องไม่มีคำหรือความหมายหยาบคาย. ชื่อรองต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามตามวรรคหนึ่ง... มาตรา ๘ ชื่อสกุลต้อง (๑) ไม่พ้องหรือมุ่งหมายให้คล้ายกับพระปรมาภิไธย หรือพระนามของพระราชินี (๒) ไม่พ้องหรือมุ่งหมายให้คล้ายกับราชทินนาม... (๔) ไม่มีคำหรือความหมายหยาบคาย ((cite web)): ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. "พระราชบัญญัติชื่อบุคคล พ.ศ. ๒๕๐๕". ห้องสมุดกฎหมาย. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. 2556-11-26. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-05. สืบค้นเมื่อ 2562-07-15. มาตรา ๘ ชื่อสกุลต้อง... (๒) ไม่พ้องหรือมุ่งหมายให้คล้ายกับราชทินนาม เว้นแต่ราชทินนามของตน ของผู้บุพการี หรือของผู้สืบสันดาน ((cite web)): ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. "พระราชบัญญัติชื่อบุคคล พ.ศ. ๒๕๐๕". ห้องสมุดกฎหมาย. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. 2556-11-26. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-05. สืบค้นเมื่อ 2562-07-15. มาตรา ๘ ชื่อสกุลต้อง... (๓) ไม่ซ้ำกับชื่อสกุลที่ได้รับพระราชทานจากพระมหากษัตริย์ หรือชื่อสกุลที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว... (๕) มีพยัญชนะไม่เกินกว่าสิบพยัญชนะ เว้นแต่กรณีใช้ราชทินนามเป็นชื่อสกุล ((cite web)): ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. "พระราชบัญญัติชื่อบุคคล พ.ศ. ๒๕๐๕". ห้องสมุดกฎหมาย. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. 2556-11-26. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-05. สืบค้นเมื่อ 2562-07-15. มาตรา ๖... ชื่อรองต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามตามวรรคหนึ่ง และต้องไม่พ้องกับชื่อสกุลของบุคคลอื่น เว้นแต่เป็นกรณีที่คู่สมรสใช้ชื่อสกุลของอีกฝ่ายหนึ่ง หรือกรณีบุตรใช้ชื่อสกุลเดิมของมารดาหรือบิดาเป็นชื่อรองของตน. คู่สมรสอาจใช้ชื่อสกุลของอีกฝ่ายหนึ่งเป็นชื่อรองได้เมื่อได้รับความยินยอมของฝ่ายนั้นแล้ว ((cite web)): ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. "พระราชบัญญัติชื่อบุคคล พ.ศ. ๒๕๐๕". ห้องสมุดกฎหมาย. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. 2556-11-26. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-05. สืบค้นเมื่อ 2562-07-15. มาตรา ๗ ผู้ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ หรือผู้เคยได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์แต่ได้ออกจากบรรดาศักดิ์นั้นโดยมิได้ถูกถอด จะใช้ราชทินนามตามบรรดาศักดิ์นั้นเป็นชื่อตัวหรือชื่อรองก็ได้ ((cite web)): ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. "พระราชบัญญัติขนามนามสกุล พระพุทธศักราช ๒๔๕๖" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. Bangkok: สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. 26: 283–288. 2455-03-30. สืบค้นเมื่อ 2562-07-15. ((cite journal)): ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  8. "ประกาศพระราชทานนามสกุล ลงวันที่ ๒๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๕๖" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. Bangkok: สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. 30: 648–659. 2456-06-26. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-18. สืบค้นเมื่อ 2562-07-15. ((cite journal)): ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  9. สุนทรศารทูล, เทพ (ม.ป.ป.). นามสกุลพระราชทาน 6,432 สกุล. กรุงเทพฯ: ดวงแก้ว. ((cite book)): ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |year= (help)[ลิงก์เสีย]
  10. "พระราชบัญญัติขนามนามสกุล พระพุทธศักราช ๒๔๕๖" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. Bangkok: สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. 26: 284. 2455-03-30. สืบค้นเมื่อ 2562-07-15. มาตรา ๖ หญิงได้ทำงานสมรสมีสามีแล้วให้ใช้ชื่อสกุลของสามี แลคงใช้ชื่อตัวแลชื่อสกุลเดิมของตนได้ ((cite journal)): ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  11. "พระราชบัญญัติชื่อบุคคล พ.ศ. ๒๕๐๕ (ฉบับแรก)". ห้องสมุดกฎหมาย. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. 2556-11-26. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-05. สืบค้นเมื่อ 2562-07-15. มาตรา ๑๒ หญิงมีสามี ให้ใช้ชื่อสกุลของสามี มาตรา ๑๓ หญิงม่ายโดยการหย่า ให้กลับใช้ชื่อสกุลเดิมของตน มาตรา ๑๔ หญิงม่ายโดยความตายของสามี ให้ใช้ชื่อสกุลของสามี ((cite web)): ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  12. "พระราชบัญญัติชื่อบุคคล (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๐". ห้องสมุดกฎหมาย. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. 2556-11-26. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-05. สืบค้นเมื่อ 2562-07-15. ((cite web)): ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  13. "พระราชบัญญัติชื่อบุคคล (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๘". ห้องสมุดกฎหมาย. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. 2556-11-26. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-05. สืบค้นเมื่อ 2562-07-15. ((cite web)): ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  14. ไสวสุวรรณวงศ์, พรทิภา (ม.ป.ป.). "สรุปคำวินิจฉัยที่ 21/2546 วันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2546" (PDF). กรุงเทพฯ: สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-07-14. สืบค้นเมื่อ 2562-07-15. ((cite web)): ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  15. 15.0 15.1 ทีปรักษพันธ์, ธนัชชา; เศรษฐทอง, พฤศจีก์; พานิชวรพันธ์, ศิรินาถ; สุทธินนท์, จอมขวัญ (2561). "ค่านิยมที่สะท้อนผ่านความหมายของชื่อเล่นของชาวไทยเชื้อสายจีนที่มีอายุระหว่าง 50–70 ปีในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา" (PDF). วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. 12 (2 (กรกฎาคม–ธันวาคม)): 77–95. สืบค้นเมื่อ 2562-07-15. ((cite journal)): ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
ชื่อบุคคลไทย
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?