For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for เส้นแบ่งเขตแดนไทย.

เส้นแบ่งเขตแดนไทย

แม่น้ำโขงเป็นเส้นแบ่งเขตแดนตามธรรมชาติระหว่างไทย - ลาว

เส้นแบ่งเขตแดนระหว่างประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้านเป็นเส้นสมมติที่กำหนดขึ้นโดยทำข้อตกลงระหว่างประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้านในรูปแบบของหนังสือ สนธิสัญญา ซึ่งประเทศเพื่อนบ้านนั้น ได้แก่ พม่า ลาว กัมพูชา และมาเลเซีย[1]

สำหรับจุดเริ่มต้นของการแบ่งเส้นเขตแดนนั้น เริ่มขึ้นหลังจากชาติตะวันตกเข้ามาปกครองประเทศเพื่อนบ้านรอบประเทศไทยในรูปแบบของอาณานิคม ทำให้ต้องมีการกำหนดเส้นแนวเขตเพื่อแบ่งเขตแดนระหว่างประเทศอาณานิคมเหล่านั้นกับประเทศไทย[2] โดยประเทศไทยได้ทำหนังสือและสนธิสัญญากับประเทศอังกฤษ และประเทศฝรั่งเศส ตั้งแต่ พ.ศ. 2408 ถึงช่วง พ.ศ. 2489[1] โดยเมื่อประเทศอาณานิคมเหล่านั้นได้รับการปลดปล่อยเป็นอิสระ ได้ถือเอาเส้นเขตแดนเหล่านั้นที่ประเทศเจ้าอาณานิคมได้เคยตกลงไว้กับประเทศไทยเป็นแนวพรมแดนสืบต่อมา[1]

สำหรับวิธีการกำหนดเขตแดนนั้นสามารถทำได้ 2 วิธีด้วยกันคือ ใช้วิธีการทางเรขาคณิต และใช้สภาพภูมิประเทศ[3]

การปักปันเขตแดน

[แก้]
หลักเขตแดนไทย - มาเลเซีย หมายเลข 51

เนื่องจากการทำหนังสือและสนธิสัญญาในอดีตเป็นการกระทำในรูปแบบของอนาล็อก และการวาดกำหนดลงบนกระดาษ ทำให้เมื่อระยะเวลาผ่านไปแนวเขตและการแบ่งเส้นเหล่านั้นไม่มีความชัดเจน ปัจจุบันจึงได้มีการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาดำเนินการสำรวจและปักหลักเขตแดน (Demarcation) โดยการนำแผนที่และสนธิสัญญาที่เคยทำร่วมกันในอดีตมาตีความและพิจารณาถึงสิ่งที่ได้ให้การตกลงไว้ในอดีต หรือเรียกว่าตีความสนธิสัญญา (Interpretation of Treaties) ผ่านการประชุมคณะกรรมมาธิการเขตแดนร่วม[2] และลงพื้นที่สำรวจแนวเขตร่วมกับประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งประเทศไทยเป็นหน้าที่ของ กองเขตแดน กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ และกรมแผนที่ทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย[2]

ปัจจุบันประเทศไทยยังคงดำเนินการปักปันเขตแดนกับประเทศเพื่อนบ้านอยู่ตลอด[4] โดยประเทศไทยเคยมีปัญหาข้อพิพาทระหว่างเขตแดนครั้งล่าสุดคือในระหว่างปี พ.ศ. 2551 - 2554 ในกรณีพิพาทพรมแดนไทย–กัมพูชา เกี่ยวกับการตีความผลการตัดสินคดีปราสาทพระวิหาร ทำให้เกิดการใช้กำลังทหารปะทะกันตามแนวชายแดนจนเกิดความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินทั้งสองฝ่าย[5][6]

ประเภทของจุดผ่านแดน

[แก้]

สำหรับประเทศไทย กำหนดประเภทของจุดผ่านและด่านพรมแดนในแต่ละพื้นที่ จะต้องไม่ส่งผลกระทบต่อหลักเขตแดนหรือสันปันน้ำ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาด้านเขตแดนตามมาในภายหลัง โดยทั้ง 4 ประเภทนั้น[7] ประกอบไปด้วย

จุดผ่านแดนถาวร

[แก้]

จุดผ่านแดนถาวรนั้น เป็นจุดผ่านแดนที่ผ่านการตกลงในระดับนโยบายของรัฐบาลของทั้งสองประเทศอย่างเป็นทางการ โดยเป็นไปตามหลักสากลในการเดินทางข้ามไปมาระหว่างกัน เพื่อประโยชน์ทั้งการสัญจรของบุคคล ยานพาหนะ และการค้าของทั้งสองประเทศ ซึ่งมีปริมาณอย่างสม่ำเสมอ มีศักยภาพเพียงพอด้านการคมนาคมในทั้งสองประเทศในพื้นที่นั้น ๆ โดยเฉพาะเป็นไปเพื่อเชื่อมโยงการคมนาคมระหว่างเมืองหลักของทั้งสองประเทศ ซึ่งรวมไปถึงการเดินทางเข้าออกของบุคคลจากประเทศที่สาม

จุดผ่านแดนชั่วคราว

[แก้]

จุดผ่านแดนชั่วคราว เป็นจุดที่มีการเปิดเฉพาะกิจเพื่อเหตุจำเป็นต่าง ๆ โดยไม่ได้คำนึงถึงการค้าและเศรษฐกิจเป็นหลัก และพื้นที่ดังกล่าวไม่มีจุดผ่านแดนประเภทอื่น ๆ อยู่ใกล้เคียงกัน

โดยกรณีสำหรับการเปิดจุดผ่านแดนชั่วคราวมีหลายกรณี[8] อาทิ

  • เป็นจุดผ่านแดนชั่วราวเพื่อการท่องเที่ยว คือด่านพระเจดีย์สามองค์[9] และช่องทางขึ้นเขาพระวิหาร (ไม่สามารถเดินทางได้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551)[10]
  • เป็นจุดผ่านแดนชั่วคราวเพื่อการก่อสร้างสะพานระหว่างประเทศ ซึ่งต้องทำงานร่วมกันระหว่างประเทศในการก่อสร้าง[11]

จุดผ่อนปรนการค้า

[แก้]

จุดผ่อนปรนการค้า เป็นจุดที่เปิดเพื่อจุดประสงค์ในด้านการค้าและเศรษฐกิจโดยเฉพาะ โดยจะต้องมีความจำเป็นต่อประชาชนในพื้นที่ชายแดนในบริเวณดังกล่าวทั้งสองประเทศ เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ของประชาชนทั้งสองประเทศ[12]

จุดผ่อนปรนพิเศษ

[แก้]

จุดผ่อนปรนพิเศษ เป็นจุดที่ต้องผ่านการตกลงในระดับนโยบายของรัฐบาลของทั้งสองประเทศเช่นเดียวกัน แต่บริเวณนั้นยังไม่มีศัยกภาพมากพอที่จะเปิดจุดผ่านแดนถาวรได้ โดยกำหนดเงื่อนไขเป็นรายกรณีพิเศษภายใต้ระเบียบและข้อกฎหมายของทั้งสองประเทศรองรับซึ่งไม่จำเป็นต้องครบถ้วนแบบเดียวกับจุดผ่านแดนถาวร เพื่อไม่ให้เสียประโยชน์และโอกาสของประเทศที่จะได้รับระหว่างดำเนินการพัฒนาพื้นที่เพื่อเตรียมความพร้อมในการเปิดจุดผ่านแดนถาวรในอนาคต ปัจจุบันมีเพียงแค่แห่งเดียวคือด่านสิงขร

เส้นแบ่งเขตแดนไทย - พม่า

[แก้]

เส้นแบ่งเขตแดนไทย - พม่ามีความยาวรวมกันทั้งสิ้น 2,401 กิโลเมตร[1] ซึ่งประกอบไปด้วย

ลำดับ ประเภท เส้นเขตแดน ความยาว (กม.) จังหวัด ด่านพรมแดน
1 ร่องน้ำลึก แม่น้ำรวก 59 เชียงราย
แม่น้ำสาย จุดผ่านแดนถาวรแม่สาย
จุดผ่านแดนถาวรแม่สาย 2
สะพานข้ามแม่น้ำสาย 1
สะพานข้ามแม่น้ำสาย 2
2 สันปันน้ำ ทิวเขาแดนลาว 632 เชียงราย
เชียงใหม่
แม่ฮ่องสอน
ทิวเขาถนนธงชัยเหนือ
ทิวเขาถนนธงชัยตะวันตก
3 แนว 2 ฝั่ง แม่น้ำสาละวิน 127 แม่ฮ่องสอน
4 แนว 2 ฝั่ง แม่น้ำเมย 345 ตาก จุดผ่านแดนถาวรบ้านริมเมย
สะพานมิตรภาพไทย–พม่า 1
สะพานมิตรภาพไทย–พม่า 2
ห้วยวาเลย์ 44
5 สันปันน้ำ ทิวเขาถนนธงชัยกลาง 127 ตาก
กาญจนบุรี
แนวเส้นตรง 63
6 สันปันน้ำ ทิวเขาตะนาวศรี 865 กาญจนบุรี จุดผ่านแดนถาวรพุน้ำร้อน
จุดผ่อนปรนทางการค้าด่านพระเจดีย์สามองค์
ราชบุรี
เพชรบุรี
ประจวบคีรีขันธ์ จุดผ่อนปรนพิเศษด่านสิงขร
ชุมพร
ระนอง
7 ร่องน้ำลึก คลองกระ 139 ระนอง
แม่น้ำกระบุรี จุดผ่านแดนถาวรระนอง
รวม 2,401

เส้นแบ่งเขตแดนไทย - ลาว

[แก้]

เส้นแบ่งเขตแดนไทย - ลาวมีความยาวรวมกันทั้งสิ้น 1,810 กิโลเมตร[1] ซึ่งประกอบไปด้วย

ลำดับ ประเภท เส้นเขตแดน ความยาว (กม.) จังหวัด ด่านพรมแดน
1 ร่องน้ำลึก แม่น้ำโขง 97 เชียงราย จุดผ่านแดนถาวรสามเหลี่ยมทองคำ (เชียงแสน-ต้นผึ้ง)
จุดผ่านแดนถาวรสะพานมิตรภาพ 4 (เชียงของ–ห้วยทราย)
สะพานมิตรภาพไทย–ลาว 4 (เชียงของ–ห้วยทราย)
2 สันปันน้ำ ทิวเขาหลวงพระบาง 505 เชียงราย
พะเยา
น่าน จุดผ่านแดนถาวรบ้านห้วยโก๋น (ห้วยโก๋น - น้ำเงิน)
อุตรดิตถ์ จุดผ่านแดนถาวรภูดู่[13]
พิษณุโลก
3 ร่องน้ำลึก แม่น้ำเหืองงา 19 พิษณุโลก
4 ร่องน้ำลึก แม่น้ำเหือง 134 เลย จุดผ่านแดนถาวรสะพานมิตรภาพแม่น้ำเหือง
สะพานมิตรภาพน้ำเหือง (ท่าลี่–แก่นท้าว)
จุดผ่านแดนถาวรบ้านปากห้วย (ท่าลี่-แก่นท้าว)
5 ร่องน้ำลึก แม่น้ำโขง 858 เลย จุดผ่านแดนถาวรบ้านเชียงคาน (เชียงคาน-สานะคาม)
จุดผ่านแดนถาวรบ้านคกไผ่ (ปากชม-สานะคาม)
สะพานมิตรภาพไทย–ลาว 7 (เลย–แขวงเวียงจันทน์) (โครงการ)
หนองคาย สะพานมิตรภาพไทย–ลาว 1 (หนองคาย–เวียงจันทน์)
จุดผ่านแดนถาวรท่าเสด็จ (ยกเลิกแล้ว)[14]
บึงกาฬ จุดผ่านแดนถาวรบ้านบึงกาฬ (บึงกาฬ-ปากซัน)
สะพานมิตรภาพไทย–ลาว 5 (บึงกาฬ–บอลิคำไซ) (โครงการ)
นครพนม จุดผ่านแดนถาวรท่าเทียบเรือเทศบาลเมืองนครพนม
สะพานมิตรภาพไทย–ลาว 3 (นครพนม–คำม่วน)
มุกดาหาร จุดผ่านแดนถาวรอำเภอเมืองมุกดาหาร
สะพานมิตรภาพไทย–ลาว 2 (มุกดาหาร–สะหวันนะเขต)
อำนาจเจริญ
อุบลราชธานี จุดผ่านแดนถาวรบ้านปากแซง (นาตาล-ละคอนเพ็ง)
สะพานมิตรภาพไทย–ลาว 6 (นาตาล–ละคอนเพ็ง) (โครงการ)
สะพานมิตรภาพไทย–ลาว 8 (อุบลราชธานี–จำปาศักดิ์) (โครงการ)
6 สันปันน้ำ ทิวเขาพนมดงรัก 197 อุบลราชธานี จุดผ่านแดนถาวรช่องเม็ก
รวม 1,810

เส้นแบ่งเขตแดนไทย - กัมพูชา

[แก้]

เส้นแบ่งเขตแดนไทย - กัมพูชามีความยาวรวมกันทั้งสิ้น 798 กิโลเมตร[1] ซึ่งประกอบไปด้วย

ลำดับ ประเภท เส้นเขตแดน ความยาว (กม.) จังหวัด ด่านพรมแดน
1 สันปันน้ำ
แนวหลักเขตประเทศ
ทิวเขาพนมดงรัก 364 อุบลราชธานี
ศรีสะเกษ จุดผ่านแดนถาวรช่องสะงำ
สุรินทร์ จุดผ่านแดนถาวรช่องจอม
บุรีรัมย์ จุดผ่อนปรนช่องสายตะกู
2 ลำน้ำสายต่างๆ คลองบะอาว 216 สระแก้ว
คลองแผง
แนวเส้นตรง
คลองละลมละสือ
คลองลึก จุดผ่านแดนถาวรบ้านคลองลึก
สะพานมิตรภาพไทย–กัมพูชา (อรัญประเทศ–ปอยเปต)
คลองพรมโหด สะพานมิตรภาพไทย–กัมพูชา (บ้านหนองเอี่ยน–สตึงบท)
คลองน้ำใส[15] จุดผ่านแดนถาวรบ้านเขาดิน
คลองด่าน จันทบุรี จุดผ่านแดนถาวรบ้านแหลม
จุดผ่อนปรนบ้านซับตารี
จุดผ่อนปรนบ้านสวนส้ม
แนวเส้นตรง จุดผ่อนปรนบ้านบึงชะนังล่าง
คลองโป่งน้ำร้อน
คลองตะเคียน จุดผ่านแดนถาวรบ้านผักกาด
ทิวเขาพนมคอสวาย
ห้วยสวาย
แม่น้ำไพลิน
3 สันปันน้ำ ทิวเขาบรรทัด 160 ตราด จุดผ่านแดนถาวรบ้านหาดเล็ก
4 แนวเส้นตรง - 1 ตราด
รวม 798

เส้นแบ่งเขตแดนไทย - มาเลเซีย

[แก้]

เส้นแบ่งเขตแดนไทย - มาเลเซียมีความยาวรวมกันทั้งสิ้น 647 กิโลเมตร[1] ซึ่งประกอบไปด้วย

ลำดับ ประเภท เส้นเขตแดน ความยาว (กม.) จังหวัด ด่านพรมแดน
1 สันปันน้ำ ทิวเขาสันกาลาคีรี 552 สตูล ด่านวังประจัน
สงขลา ด่านปาดังเบซาร์
ด่านสะเดา
ยะลา ด่านเบตง
นราธิวาส ด่านสุไหง-โกลก
2 ร่องน้ำลึก แม่น้ำโก-ลก 95 นราธิวาส สะพานมิตรภาพไทย–มาเลเซีย 1
สะพานมิตรภาพไทย–มาเลเซีย 2
รวม 647

ข้อพิพาทเขตแดน

[แก้]

ประเทศไทยกับประเทศกัมพูชาเคยพิพาทกันเรื่องเขตแดนเนื่องจากยึดถือเอกสารคนละฉบับ นำไปสู่คดีปราสาทพระวิหาร และกรณีพิพาทพรมแดนไทย–กัมพูชา ช่วงปี 2551–2554

ประเทศไทยกับประเทศลาวเคยพิพาทกันเรื่องเขตแดนนำไปสู่สมรภูมิบ้านร่มเกล้า

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 "เส้นแบ่งเขตแดนระหว่างประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน - สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ". www.saranukromthai.or.th.
  2. 2.0 2.1 2.2 "เจาะลึกภารกิจงานด้านเขตแดนไทย เพื่อสร้างความเข้าใจเรื่อง 'แม่น้ำโขง' พรมแดนไทย-ลาว". The Cloud. 2021-07-15.
  3. appsthailand. "ข้อมูลเขตแดน". treaties.mfa.go.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-05-19. สืบค้นเมื่อ 2022-05-20.
  4. "การประชุมหารืออย่างไม่เป็นทางการระหว่างกรมสนธิสัญญาและกฎหมายและหัวหน้าห้องการคณะกรรมการชายแดนแห่งชาติ สปป. ลาว". กระทรวงการต่างประเทศ.
  5. "ย้อนรอยศึก 'เขาพระวิหาร' สงครามสุดท้ายไทย-เขมร!?!". www.thairath.co.th. 2015-02-06.
  6. "แฉไทยซัดเขมร ตาย 64 รถถังพังนับสิบ". www.thairath.co.th. 2011-02-06.
  7. "หลักเกณฑ์และแนวทางการปฏิบัติในการพิจารณาการเปิด - ระงับหรือปิดจุดผ่านแดนประเภทต่าง". ryt9.com.
  8. "ข้อมูลช่องทางผ่านแดนและความตกลงเรื่องการสัญจรข้ามแดน". www.fad.moi.go.th.
  9. "ด่านเจดีย์สามองค์วุ่นอีก! ม็อบเมียนมา ประท้วงคดีเกาะเต่าประชิดหน้าด่าน". www.thairath.co.th. 2015-12-28.
  10. อาณาเขตชายแดนจังหวัดศรีสะเกษที่ติดกับกัมพูชา เก็บถาวร 2016-05-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (sisaket.go.th)
  11. "ครม. รับทราบเปิดจุดผ่านแดนชั่วคราวก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 5". www.thairath.co.th. 2022-04-05.
  12. "ค้าชายแดนและค้าผ่านแดนไตรมาสแรกสดใส โตกว่า 19.31%". bangkokbiznews. 2021-05-03.
  13. "จุดผ่านแดนถาวรภูดู่". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-11-16. สืบค้นเมื่อ 2016-01-12.
  14. ตลาดท่าเสด็จ อ.เมือง จ.หนองคาย
  15. "แม่ทัพภาค 1 ดูความพร้อมจุดผ่อนปรนบ้านเขาดิน ก่อนผลักดันเป็นด่านถาวรแห่งที่ 2 ของสระแก้ว". mgronline.com. 2017-05-30.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
เส้นแบ่งเขตแดนไทย
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?