For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for การท่องเที่ยวในประเทศไทย.

การท่องเที่ยวในประเทศไทย

รูปหล่อ กินรี ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม กรุงเทพมหานคร
หาดป่าตอง จังหวัดภูเก็ต

การท่องเที่ยว เป็นปัจจัยทางเศรษฐกิจที่สำคัญในประเทศไทย มีส่วนทำให้ค่าจีดีพีของไทยอยู่ที่ประมาณ 17.7% ใน พ.ศ. 2559[1] ใน พ.ศ. 2550 มีนักท่องเที่ยวต่างชาติมากกว่า 14 ล้านคน โดยระยะเวลาพำนักเฉลี่ย 9.19 วัน ทำให้มีรายได้เข้าประเทศมากถึง 547,782 ล้านบาท[2] เป็นประเทศที่มีนักท่องเที่ยวมากที่สุดเป็นอันดับที่ 18 ของโลก[3]

สาเหตุที่การท่องเที่ยวไทยได้รับการสนับสนุนมากขึ้นใน พ.ศ. 2503 นั้น เพราะมีความมั่นคงทางการเมือง และมีการพัฒนากรุงเทพมหานครในเรื่องของการคมนาคมทางอากาศ ทำให้ธุรกิจโรงแรมและการค้าปลีกขยายตัวอย่างรวดเร็ว เพราะมีความต้องการจากนักท่องเที่ยว และยังได้รับการส่งเสริมจากทหารอเมริกันที่เข้ามาพักผ่อนในช่วงสงครามเวียดนามอีกด้วย[4]

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ระบุว่า[5] 55% ของนักท่องเที่ยวใน พ.ศ. 2550 มาจากภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ได้แก่ ญี่ปุ่น และมาเลเซีย เป็นส่วนใหญ่ ส่วนนักท่องเที่ยวชาวตะวันตกส่วนใหญ่มาจากสหราชอาณาจักร, ออสเตรเลีย, เยอรมนี, สหรัฐอเมริกา และสแกนดิเนเวีย ส่วนจำนวนนักท่องเที่ยวจากตะวันออกกลางและรัสเซียก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน[6] ประมาณ 55% ของนักท่องเที่ยวชาวไทยเป็นผู้ที่กลับมาเพื่อเยี่ยมบ้านเกิด ซึ่งมีจำนวนมากที่สุดในช่วงเทศกาลคริสต์มาสต์ถึงปีใหม่ เมื่อนักท่องเที่ยวชาวตะวันตกหนีสภาพหนาวเย็น โดยในปี พ.ศ. 2558 นักท่องเที่ยวจากประเทศจีน มีจำนวนมากที่สุด[7][8] คิดเป็น 27 % ของนักท่องเที่ยวทั้งหมด[9]

การแข่งขันด้านการท่องเที่ยวของประเทศไทยกับประเทศต่าง ๆ มีมากขึ้นตั้งแต่ลาว กัมพูชา และเวียดนาม เปิดให้มีการท่องเที่ยวระหว่างประเทศขึ้นในช่วง พ.ศ. 2523 และ พ.ศ. 2533 สถานที่ท่องเที่ยวอย่างนครวัด เมืองหลวงพระบาง และอ่าวหะล็อง สามารถแข่งขันกับประเทศไทยซึ่งเคยผูกขาดด้านการท่องเที่ยวในแถบอินโดจีน ทำให้ประเทศไทยต้องมีการกำหนดเป้าหมายต่าง ๆ มากขึ้น เช่น การตีกอล์ฟในวันหยุด นอกจากนี้ประเทศไทยยังมีแผนที่จะเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวทางพระพุทธศาสนาในภูมิภาคอีกด้วย[10] จากข้อมูลของโลนลี่แพลเน็ต ประเทศไทยเป็นอันดับ 2 ใน "จุดหมายคุ้มค่าสุดสำหรับ พ.ศ. 2553" รองจากไอซ์แลนด์ ซึ่งได้รับกระทบอย่างหนักจากวิกฤตซับไพรม์[11] นอกจากนี้ กรุงเทพยังได้รับการจัดอันดับ เป็นที่ 2 ของโลก เมืองที่มีนักท่องเที่ยวมากที่สุด จากการจัดอันดับของ Master card สองปีซ้อนคือ ปี พ.ศ. 2557-2558 [12][13]

สถิตินักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามาไทย

[แก้]

ข้อมูลโดยกรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย[14][15]

สถิติโดยภาพรวมประจำปี

[แก้]
ปี
(พ.ศ./ค.ศ.)
จำนวน
(คน)
เปลี่ยนแปลง
(ร้อยละ)
รายได้
(ล้านบาท)
เปลี่ยนแปลง
(ร้อยละ)
ม.ค.-ก.พ. 2567/2024 6,387,598 +50.0 ไม่มีข้อมูล ไม่มีข้อมูล
2566/2023 28,150,016 +154.4 ไม่มีข้อมูล ไม่มีข้อมูล
2565/2022 11,153,026 +2,506.65 ไม่มีข้อมูล ไม่มีข้อมูล
2564/2021 427,869 -93.62 ไม่มีข้อมูล ไม่มีข้อมูล
2563/2020 6,702,396 -83.21 ไม่มีข้อมูล ไม่มีข้อมูล
2562/2019 39,916,251 +4.55 1,911,807.95 +1.90
2561/2018 38,178,495 +7.54 1,783,365 +9.63
2560/2017 35,381,210 +8.57 1,824,042.35 +11.66
2559/2016 32,588,303 +8.91 1,640,000.00 +11.76
2558/2015 29,881,091 +20.44 1,447,158.05 +23.39
2557/2014 24,809,683 -6.54 1,147,653.49 -4.93
2556/2013 26,546,725 +18.76 1,207,145.82 +22.69
2555/2012 22,353,903 +16.24 983,928.36 +26.76
2554/2011 19,230,470 +20.67 776,217.20 +30.94
2553/2010 15,936,400 +12.63 592,794.09 +16.18
2552/2009 14,149,841 -2.98 510,255.05 -11.19
2551/2008 14,584,220 +0.83 574,520.52 +4.88
2550/2007 14,464,228 +4.65 547,781.81 +13.57
2549/2006 13,821,802 +20.01 ไม่มีข้อมูล ไม่มีข้อมูล
2548/2005 11,516,936 -1.15 ไม่มีข้อมูล ไม่มีข้อมูล
2547/2004 11,650,703 ไม่มีข้อมูล ไม่มีข้อมูล ไม่มีข้อมูล

อันดับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศไทย

[แก้]


คำขวัญรณรงค์เที่ยวไทย

[แก้]

คำขวัญรณรงค์ท่องเที่ยวประเทศไทย ประโยคแรกคือ เยี่ยมเยือนประเทศไทย (อังกฤษ: Visit Thailand) ราวปี พ.ศ. 2530 จากนั้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2541 จนถึงปัจจุบัน มีคำขวัญใหม่ว่า มหัศจรรย์ประเทศไทย (อังกฤษ: Amazing Thailand) พร้อมทั้งสัญลักษณ์ลายไทย ลักษณะโดยรวมเป็นรูปดวงตาและคิ้ว ต่อมาช่วงที่การท่องเที่ยวไทยเกิดวิกฤต เมื่อปี พ.ศ. 2552 ททท.จึงจัดโครงการสืบเนื่องในชื่อ มหัศจรรย์ประเทศไทย มหัศจรรย์คุณค่า (อังกฤษ: Amazing Thailand, Amazing Value) [18] นอกจากนี้ยังมีคำขวัญรองเช่น เที่ยวไทยให้ครบ พบไทยให้ทั่ว, เที่ยวเมืองไทย ไม่ไปไม่รู้, กอดเมืองไทย ให้หายเหนื่อย, เที่ยวหัวใจใหม่ เมืองไทยยั่งยืน เป็นต้น

สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

[แก้]

หลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเป็น กรรมการในคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ อีกตำแหน่งหนึ่ง โดยคนแรกที่ดำรงตำแหน่งในคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติได้แก่ อิทธิฤทธิ์ กิ่งเล็ก ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยในสมัยนั้น ปัจจุบันผู้ที่ได้รับตำแหน่ง ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยและเป็นกรรมการในคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติได้แก่ ชำนาญ ศรีสวัสดิ์ (ตังแต่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2563 ถึง ปัจจุบัน) [19]

ท่องเที่ยวไทย

[แก้]

ท่องเที่ยวไทย (อังกฤษ: Unseen In Thailand) เป็นหน่วยงานที่ดูแลด้านการท่องเที่ยวโดยเฉพาะ โดยได้รับเลือกจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เพื่อยกระดับการท่องเที่ยวในประเทศไทยโดยคนไทย

เสน่ห์

[แก้]
ปราสาทหินพนมรุ้ง ตั้งอยู่บนยอดภูเขาไฟที่ดับสนิทแล้วในจังหวัดบุรีรัมย์

ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีสถานที่ท่องเที่ยวที่หลากหลายที่สุดประเทศหนึ่ง โดยมีทั้งจุดดำน้ำ, หาดทราย, เกาะนับร้อย, สถานบันเทิงที่หลากหลาย, โบราณสถาน, พิพิธภัณฑ์, หมู่บ้านชาวเขา, สวนดอกไม้และจุดชมนกที่ยอดเยี่ยม, พระราชวัง, วัดขนาดใหญ่ และมรดกโลกจำนวนมาก มีนักท่องเที่ยวจำนวนมากที่ตามหลักสูตรระหว่างอยู่ในประเทศไทย สิ่งที่นิยมได้แก่ชั้นเรียนการทำอาหารไทย, พระพุทธศาสนา และการนวดแผนไทย เทศกาลของไทยมีตั้งแต่เทศกาลที่สนุกกับการสาดน้ำอย่างสงกรานต์ ไปจนถึงประเพณีในตำนานอย่างลอยกระทง ท้องถิ่นจำนวนมากในประเทศไทยมีเทศกาลของพวกเขาเองเช่นกัน ที่มีชื่อเสียงได้แก่ "การจัดงานแสดงช้าง" ในจังหวัดสุรินทร์, "ประเพณีบุญบั้งไฟ" ใน จังหวัดร้อยเอ็ด โดยเฉพาะ งานประเพณีบุญบั้งไฟลายศรีภูมิ (เทคนิคการเอ้ประดับบั้งไฟ ด้วยลายกรรไกรตัดแห่งเดียวในประเทศไทย) ที่อำเภอสุวรรณภูมิ และ การจุดบั้งไฟขึ้นสูง มากที่สุดในประเทศไทย ที่อำเภอพนมไพร และนอกจากนี้ ในทุกสัปดาห์ที่สอง ของเดือนพฤษภาคม งานบุญบั้งไฟจังหวัดยโสธร เป็นต้น หรืองานที่รวมประเพณีบุญบั้งไฟ รวมกันกับ บุญผะเหวด เป็นงานบุญหลวง นับเป็นเทศกาลน่าสนใจอย่าง "ผีตาโขน" ในอำเภอด่านซ้าย อาหารไทยบางอย่างมีชื่อเสียงทั่วโลกด้วยการใช้สมุนไพรและเครื่องเทศสด จากส้มตำอร่อยไม่แพงที่ร้านริมถนนเรียบง่ายในชนบทถึงอาหารไทยในร้านอาหารชวนชิมของกรุงเทพฯ

กรุงเทพมหานครมีชื่อเสียงจากห้างสรรพสินค้าหลักในบริเวณใจกลางเมือง ให้ความหลากหลายของสินค้ายี่ห้อท้องถิ่นและนานาชาติ ไปทางเหนือของเมืองมี"ตลาดนัดจตุจักร" ซึ่งสามารถเดินทางได้สะดวกด้วยรถไฟฟ้าและใต้ดิน เป็นไปได้ว่าเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดในโลก ขายสินค้าทุกอย่างตั้งแต่อุปกรณ์ใช้งานในบ้าน[20] ไปจนถึงสัตว์ชนิดต่างๆ ตลาด "ประตูน้ำ" ใจกลางเมือง เป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านผ้าและเสื้อผ้า นักท่องเที่ยวเน้นตลาดกลางคืนในถนนสีลมและบนถนนข้าวสารเป็นหลัก ซึ่งขายสินค้าเช่น เสื้อยืด, หัตถกรรม, นาฬิกาข้อมือและแว่นกันแดด ในบริเวณใกล้เคียงกรุงเทพมหานครสามารถหาตลาดน้ำยอดเยี่ยมอย่างแท้จริงเช่นในดำเนินสะดวก "ตลาดถนนคนเดินวันอาทิตย์เย็น" จัดบนถนนราชดำเนินในเมืองเก่าเป็นไฮไลต์ของการช็อปปิ้งเมื่อไปเยือนจังหวัดเชียงใหม่ในภาคเหนือของประเทศไทย มันดึงดูดคนท้องถิ่นมากมายรวมทั้งชาวต่างประเทศ "ไนท์บาซาร์" ในเชียงใหม่เป็นตลาดที่นักท่องเที่ยวเน้นเช่นกัน ซึ่งขยายไปหลายช่วงของเมือง แค่ผ่านกำแพงเมืองเก่าไปตามแม่น้ำ

สยามพารากอน

เรื่องอื้อฉาว

[แก้]

ปลายปี 2566 ได้เกิดเหตุที่น่าสลดใจกับนักท่องเที่ยวที่เดินทางมายังประเทศไทย แล้วประสบอุบัติเหตุ จึงได้รับการส่งตัวไปยังโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด อย่างไรก็ตาม เนื่องจากโรงพยาบาลนั้นปฏิเสธการรักษานักท่องเที่ยวเคสนี้ และปรากฏคลิปวิดีโอที่แสดงพฤติการณ์ร้ายแรงอย่างยิ่งของโรงพยาบาล [1] กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาได้แสดงความเสียใจอย่างยิ่ง [2] เลขาธิการสำนักงานสภาผู้บริโภคระบุว่าการปฏิเสธการรักษาผู้ป่วยกรณีอุบัติเหตุฉุกเฉินที่ไม่รู้สึกตัวอย่างเช่นเคสชาวไต้หวันรายนี้และให้ไปรักษาที่โรงพยาบาลของรัฐแทนนั้น เป็นการละเมิดหลักมนุษยธรรม ละเมิดสิทธิตามกฎหมาย และยังไม่เป็นการคุ้มครองผู้บริโภค ที่สำคัญยังส่งผลต่อภาพลักษณ์ของประเทศที่ไม่ดูแลมนุษย์ให้เท่าเทียมกันอีกด้วย [3]

ดูเพิ่ม

[แก้]
หอไตร ของวัดทุ่งศรีเมืองในจังหวัดอุบลราชธานี
การขายร่มที่ถนนคนเดินวันอาทิตย์ในจังหวัดเชียงใหม่
หญิงชาวกะเหรี่ยง
น้ำตกศรีดิษฐ์ในอุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง จังหวัดเพชรบูรณ์

ทั่วไป

[แก้]

ศิลปะและวัฒนธรรม

[แก้]

ธรรมชาติและกีฬา

[แก้]

ภาษา

[แก้]
  • ภาษาไทย
  • ทิงลิช ภาษาอังกฤษที่เปลี่ยนแปลงเนื่องจากผู้ใช้ภาษาไทย
  • ฝรั่ง คำภาษาไทยที่ใช้เรียกชาวต่างชาติที่เชื้อสายยุโรป

การท่องเที่ยว

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ปี 59 ทำเงินเข้าไทยกระเป๋าตุง! รัฐปลื้มตัวเลขท่องเที่ยวสวยหรู
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-28. สืบค้นเมื่อ 2010-06-26.
  3. UNTWO (2008). "UNTWO World Tourism Barometer, Vol.6 No.2" (PDF). สืบค้นเมื่อ 2009-12-03. ((cite web)): ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)
  4. สาเหตุที่การท่องเที่ยวไทยได้รับการสนับสนุนมาก
  5. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-05-29. สืบค้นเมื่อ 2010-06-26.
  6. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-04. สืบค้นเมื่อ 2010-06-26.
  7. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-06-11. สืบค้นเมื่อ 2014-03-18.
  8. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-16. สืบค้นเมื่อ 2013-02-13.
  9. คนไทยรู้ยัง : ปี 2558 นักท่องเที่ยวจีนมีสัดส่วน 27% ของนักท่องเที่ยวทุกชาติที่มาเที่ยวไทย
  10. การแข่งขันด้านการท่องเที่ยวของประเทศไทยกับประเทศต่างๆ
  11. รับกระทบอย่างหนักจากวิกฤตซับไพรม์
  12. Hedrick-Wong, Yuwa; Choong, Desmond (2014). MasterCard 2014 Global Destination Cities Index. MasterCard. p. 3. ((cite book)): |access-date= ต้องการ |url= (help)
  13. "จากการจัดอันดับของ Master card" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-06-20. สืบค้นเมื่อ 2016-06-27.
  14. tourism Intelligence center สถิตินักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามาไทย
  15. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-16. สืบค้นเมื่อ 2013-02-13.
  16. "สถิติด้านการท่องเที่ยว ปี 2566 (Tourism Statistics 2023)". Ministry of Tourism & Sports. สืบค้นเมื่อ 27 JAN 2024. ((cite web)): ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  17. "สถิติด้านการท่องเที่ยว ปี 2562 (Tourism Statistics 2019)". Ministry of Tourism & Sports. สืบค้นเมื่อ 23 January 2020.
  18. Amazing Thailand, Amazing Value page 34
  19. "ชำนาญ ศรีสวัสดิ์" นั่งเก้าอี้ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยคนใหม่
  20. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-03. สืบค้นเมื่อ 2010-06-26.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
การท่องเที่ยวในประเทศไทย
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?