For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for เพชรา เชาวราษฎร์.

เพชรา เชาวราษฎร์

เพชรา เชาวราษฎร์
เพชรา เชาวราษฎร์
เพชรา เชาวราษฎร์
สารนิเทศภูมิหลัง
ชื่อเกิดเอก เชาวราษฎร์
ชื่ออื่นปัทมา เชาวราษฎร์
เกิด19 มกราคม พ.ศ. 2485 (82 ปี)
จังหวัดระยอง ประเทศไทย
คู่สมรสชรินทร์ นันทนาคร
(2512 – 2567) (55 ปี)
บุตร1 คน (เสียชีวิต)
อาชีพ
  • นักแสดง
  • นักจัดรายการวิทยุ
ปีที่แสดงพ.ศ. 2505 – 2521 (16 ปี)
รางวัล
ศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดง
(ภาพยนตร์) พ.ศ. 2561
พระสุรัสวดีนักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม
พ.ศ. 2507 – นกน้อย
ชมรมวิจารณ์บันเทิงรางวัลคู่ขวัญดาราทอง
พ.ศ. 2508 – เงิน เงิน เงิน

เพชรา เชาวราษฎร์ (เกิด 19 มกราคม พ.ศ. 2485)[1] หรือชื่อจริงว่า เอก นันทนาคร ชื่อเล่น อี๊ด เป็นนักแสดง และ นักจัดรายการวิทยุชาวไทย เจ้าของฉายา “นางเอกนัยน์ตาหยาดน้ำผึ้ง“ มีผลงานแสดงภาพยนตร์ราว 300 เรื่อง ระหว่าง พ.ศ. 2505 – 2521 บทบาทการแสดงของเธอมีความหลากหลาย ตั้งแต่เป็นเจ้าหญิง เด็กแก่นแก้ว จนกระทั่งแสดงเป็นขอทาน และยังเคยแสดงภาพยนตร์กำลังภายในจีนของประเทศไต้หวัน

เพชรา เชาวราษฎร์ ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติจากคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติเป็น ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ภาพยนตร์) ประจำปี พ.ศ. 2561[2]

ประวัติ

[แก้]

วัยเด็ก

[แก้]

เพชรา เชาวราษฎร์ หรือชื่อจริง เอก นันทนาคร เกิดเมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2485 ที่ตำบลน้ำคอก อำเภอเมือง จังหวัดระยอง เป็นบุตรคนที่ 4 จากพี่น้องทั้งหมด 7 คน บิดามีเชื้อสายจีนด้วยปู่เป็นจีนอพยพ ส่วนมารดาเป็นคนไทย ครอบครัวประกอบอาชีพค้าขายและทำไร่สวน เบื้องต้นเธอจบการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จากโรงเรียนเกาะกลอย[3]

เมื่ออายุ 15 ปี ได้เข้าเรียนกวดวิชาที่กรุงเทพมหานครจนจบมัธยมศึกษาปีที่ 3[4] โดยพักอาศัยอยู่กับพี่สาวและพี่เขย และช่วยงานที่ร้านเสริมสวยของน้องสาวพี่เขย เธอได้รับการชักชวนให้เข้าประกวดเทพธิดาเมษาฮาวาย ประจำปี พ.ศ. 2504 จัดโดยสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล ใช้ชื่อในการประกวดว่า ปัทมา เชาวราษฎร์ ได้ตำแหน่งชนะเลิศ[5]

เข้าสู่วงการ

[แก้]

เธอได้รับการชักชวนจาก ศิริ ศิริจินดา และ ดอกดิน กัญญามาลย์ ให้แสดงภาพยนตร์เรื่องแรกในชีวิต บันทึกรักของพิมพ์ฉวี เมื่อ พ.ศ. 2505 เป็นเรื่องแรกขณะอายุ 19 ปี แสดงคู่กับ มิตร ชัยบัญชา โดย ดอกดิน กัญญามาลย์ เป็นผู้ตั้งชื่อว่า "เพชรา เชาวราษฎร์" โดยให้เหตุผลว่าปัทมาชื่อเก่านั้นเรียบไป[3] ส่วน เจน จำรัสศิลป์ได้ตั้งฉายาให้ว่า "นางเอกสาวนัยน์ตาหยาดน้ำผึ้ง"[6]

เพชรา เชาวราษฎร์ แจ้งเกิดอย่างเต็มตัวจากภาพยนตร์เรื่องที่สอง เรื่อง ดอกแก้ว ตามด้วย หนึ่งในทรวง, อ้อมอกสวรรค์ และได้แสดงคู่กับ มิตร ชัยบัญชา รับบทคู่รักในภาพยนตร์อีกหลายเรื่องจนเป็นที่ชื่นชอบของแฟนภาพยนตร์เรียกว่า คู่ขวัญ มิตร-เพชรา ที่มีชื่อเสียงสูงสุดช่วงปี พ.ศ. 2506-2513[7] ในยุคที่เธอโด่งดังมากที่สุด แต่ละเดือนมีคิวถ่ายหนังประมาณ 12-18 เรื่อง แต่ละวันต้องถ่ายทำภาพยนตร์วันละ 3-4 เรื่อง ในปี พ.ศ. 2508 เพชราเข้ารับพระราชทานรางวัลตุ๊กตาทอง จากพระหัตถ์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ซึ่งถือเป็นความภาคภูมิใจสูงสุดของเธอ เธอเคยกล่าวไว้ว่า "เป็นความประทับใจ เป็นความภาคภูมิใจที่สุดในชีวิต และจะไม่มีวันลืมตราบที่ยังมีลมหายใจ"[8] จากบทบาทภาพยนตร์เรื่อง นกน้อย

หลังจาก มิตร ชัยบัญชา ประสบอุบัติเหตุเสียชีวิตในการถ่ายภาพยนตร์เรื่อง อินทรีทอง เพชรายังรับบทนางเอกภาพยนตร์ต่อเนื่องมาอีกหลายปี คู่กับ สมบัติ เมทะนี, ไชยา สุริยัน, ลือชัย นฤนาท และพระเอกใหม่ ครรชิต ขวัญประชา, นาท ภูวนัย, ยอดชาย เมฆสุวรรณ, กรุง ศรีวิไล.

เพชราเคยต้องเผชิญกับวิกฤตการเงินครั้งใหญ่เมื่อถูกกรมสรรพากรเล่นงานเรื่องภาษีถึงขั้นฟ้องล้มละลาย จนต้องเลหลังขายบ้าน แต่ในตอนนั้น ชรินทร์ นันทนาคร ทำภาพยนตร์ใหม่เรื่อง เพลงรักดอกไม้บาน นำแสดงโดย นันทิดา แก้วบัวสาย เมื่อหนังออกฉายก็พอมีเงินใช้หนี้ และได้เข้าเจรจากับกรมสรรพากรขอส่งตามที่มี แต่บางครั้งเมื่อขาดส่งทีไรหนังสือพิมพ์ก็มักลงข่าวว่า "เพชราโกงภาษี" ทุกที[9]

โลกแห่งความมืด

[แก้]
มิตร ชัยบัญชา กับ เพชรา เชาวราษฎร์ นักแสดงคู่ขวัญภาพยนตร์ไทย

ประมาณ พ.ศ. 2515 เธอเริ่มมีปัญหาเรื่องสายตา เนื่องจากในการถ่ายภาพยนตร์ต้องใช้แสงไฟสว่างจ้า[4] ใช้เวลารักษาอยู่หลายปี จนกระทั่งตาบอดสนิททั้งสองข้าง เมื่อ พ.ศ. 2521[4] ภาพยนตร์เรื่องสุดท้ายที่เธอแสดงคือเรื่อง ไอ้ขุนทอง ซึ่งเธออำนวยการสร้าง และแสดงเป็นแม่ของพระเอก รับบทโดย สรพงศ์ ชาตรี

สาเหตุของการตาบอดของเพชรา มาจากการไม่ได้พักสายตา ไม่ว่าจะเป็นบทบาทที่ต้องร้องไห้บ่อย การขับรถไปทำงานเอง ประกอบกับสมัยนั้นถ่ายหนังต้องใช้ไฟแรง หรือใช้รีเฟล็กซ์เยอะ ช่วงหลัง ๆ ที่ถ่ายหนังเรื่อง “ไทยใหญ่” เมื่อปี 2513 เริ่มแสบตา แต่เธอก็ยังขับรถไปถ่ายหนังต่างจังหวัดเอง และอดทนแสดงภาพยนตร์จนถึงเรื่องสุดท้ายคือ “ไอ้ขุนทอง” เข้าฉายในปี 2520

เมื่อดวงตาเริ่มมีปัญหาจึงไปหาหมอ แต่ว่าไม่ได้ไปตามนัดโดยสม่ำเสมอ เพราะต้องไปถ่ายหนัง บางวันก็อยู่ต่างจังหวัด พออาการเริ่มหนักขึ้น ถึงขั้นขับรถปีนเกาะกลางถนนหลายครั้ง ช่วงที่อาการหนักมาก ๆ ก็พยายามรักษาทุกวิถีทางครั้นเมื่อแพทย์ให้ยารักษาตามารับประทาน เธอได้แพ้ยาดังกล่าวจนตัวบวม จากเดิมน้ำหนัก 47-48 กิโลกรัม ขึ้นหนัก 60 กว่ากิโลกรัม ต้องซื้อเสื้อผ้าคนท้องมาใส่ ผมร่วงหมดศีรษะ ฝ้าขึ้นดำไปทั้งหน้าทั้งตัว เมื่อตัวบวมมาก ๆ ก็หายใจไม่ออก[10] กลืนน้ำก็ไม่ได้ ต้องเข้าไปนอนรักษาตัวที่โรงพยาบาล การทำงานของไตหยุด พิษยาจึงคั่งค้างทำให้ตัวบวม ต้องรอให้พิษยาลดลง จากที่เคยสวมแว่นดำและนั่งแท็กซี่ไปไหนมาไหนได้เอง ตอนหลังก็มองไม่เห็น ออกไปไหนคนเดียวไม่ได้[11]

ครั้นเวลาต่อมาเธอจึงเข้าผ่าตัดดวงตาด้วยหวังใจจะรักษาหาย แต่ผลกลับทำให้ตาที่เห็นเลือนรางกลายเป็นบอดสนิทในที่สุด[10] หลังตาบอดสนิทในกลางปี 2524 หลังจากนั้นเธอก็ไม่ปรากฏตัวที่ไหนอีกเลย

คืนวงการ

[แก้]

หลังจากหยุดงานแสดงเพื่อรักษาสุขภาพมาหลายปี เธอทำงานเป็นนักจัดรายการวิทยุคลื่นลูกทุ่งเอฟเอ็ม ตั้งแต่ พ.ศ. 2544-2548 เธอก็ไม่ปรากฏตัวในที่แห่งใดส่วนใหญ่จะอยู่แต่ในบริเวณบ้าน โดยเธอให้เหตุผลว่า "ไม่ค่อยได้ออกไปไหนไม่อยากเป็นภาระคนอื่นเขาเพราะว่าถ้าไปต้องมีคนช่วยดูแลหน้าตาอะไรต่ออะไรรวมทั้งเครื่องแต่งตัวดูว่าพอใช้ได้ใช่มั้ย ไม่ใช่ออกไป โอ้โห แล้วคนเขาจำได้ด้วยไง ถ้าเราแต่งตัวอยู่ในสภาพไม่พร้อมนี่ อยากมุดแผ่นดินหนี แต่เราอยู่ในสภาพที่ดีแล้วยังคุยกันได้ ยังพอรู้เรื่อง"[10]

ในช่วงต้นปี พ.ศ. 2552 เธอให้สัมภาษณ์รายการโทรทัศน์ครั้งแรกในรอบ 30 ปี ในรายการ วู้ดดี้เกิดมาคุย ซึ่งดำเนินรายการโดย วุฒิธร มิลินทจินดา หรือ วู้ดดี้ โดยเข้าไปคุยในบ้านของเธอเองพร้อมพูดเปิดใจและบอกสาเหตุที่เก็บตัวเงียบ ไม่ยอมออกรายการโทรทัศน์ แต่ยังคงไม่เปิดเผยหน้าตา[12]

เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2552 เพชราได้รับงานโฆษณาลิปสติกมิสทีน จากการเข้าติดต่อการเจรจาถึง 9 ครั้ง[13] จนครั้งสุดท้ายที่สำเร็จ โดยรายได้จากงานครั้งนี้เพชราจะบริจาคให้องค์กรการกุศลทั้งหมด ส่วนหนึ่งจะมอบให้กับมูลนิธิคนตาบอดแห่งประเทศไทย โฆษณาประชาสัมพันธ์ได้แพร่ภาพเมื่อประมาณกลางเดือนกันยายน โดยตัวแรกที่นำเสนอภาพของเพชราในอดีต และตัวที่สองมีพรีเซนเตอร์ของมิสทีนคนก่อน ๆ มาพูดถึงจุดเด่นของโฆษณาตัวนี้ โฆษณาชุดนี้ถ่ายทำเมื่อวันที่ 16-17 กันยายน และเผยแพร่ครั้งแรกเมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2552 โดยผู้บรรยายโฆษณาคือ นิรุตต์ ศิริจรรยา และผู้ขับร้องเพลง หยาดเพชร เพลงประกอบโฆษณาชิ้นนี้คือ ศุกลวัฒน์ คณารศ นับเป็นโฆษณาทางโทรทัศน์ตัวแรกในรอบกว่า 30 ปีที่เธอยอมให้มีการถ่ายภาพใบหน้าของเธออย่างชัดเจน[14][15][16]

เพชรากลับมาเป็นข่าวอีกครั้ง เมื่อมีผู้นำคลิปงานเลี้ยงวันเกิดเมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2559 ซึ่งชรินทร์ สามี ได้ขับร้องเพลง หยาดเพชร ให้แก่เธอมาเผยแพร่ในสังคมออนไลน์[17] โดยก่อนหน้านี้ในวันเกิดเมื่อปี 2558 ศุภชัย ศรีวิจิตร ได้โพสต์ภาพของเพชราลงในบัญชีผู้ใช้อินสตาแกรมของเขา[18] และในเดือนกันยายน พ.ศ. 2559 เพชราได้รับเป็นพรีเซนเตอร์ของศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ด้านโรคตับ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์[19]

ชีวิตส่วนตัว

[แก้]
เพชรา เชาวราษฎร์ (ศิลปินแห่งชาติ) มาประทับรอยมือและรอยเท้าที่ หอภาพยนตร์ องค์การมหาชน เมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2563

เพชราเคยมีคู่หมั้นเป็นลูกเศรษฐีเจ้าของอู่ต่อเรือประมงเมื่อตอนอายุ 15 ปี โดยผู้ใหญ่จะตัดสินใจรับหมั้น แต่ด้วยความที่อายุน้อยจึงบ่ายเบี่ยงไปตลอดเกือบ 2 ปี ครั้นเมื่อจวนจะถึงวันสมรสเพชราจึงหนีไปก่อนวันเข้าพิธี 20 วัน[6][20] อันเป็นเหตุที่ทำให้พ่อแม่เธอชดใช้ค่าเสียหายจำนวนมาก[5] และหลังจากนั้นก็มีชายหนุ่มมากหน้าหลายตาแวะเวียนเข้าหาเธอเพื่อหวังสานสัมพันธ์แต่เธอปฏิเสธทั้งหมด[6]

เธอมีความสนิทสนมกับมิตร ชัยบัญชา อย่างมาก หลังรู้จักกันครั้งแรกจากการแสดงภาพยนตร์เรื่อง บันทึกรักของพิมพ์ฉวี ซึ่งถ่ายทำนานราว 3-4 เดือนจนสนิทสนมกัน[7] เพชรากล่าวว่าเธอมองมิตรเป็นพี่ชายที่แสนดีของเธอเพราะเกิดปีเดียวกับพี่ชายคนโตจึงรักและเคารพยิ่ง และมิตรเองได้ทำหน้าที่ปกป้องเพชราหากมีผู้ชายเจ้าชู้เข้ามาใกล้เธอ[6][7] หลังมิตรเสียชีวิต เพชรากล่าวว่าเธอฝันเห็นเขาหลังจากนั้นกว่า 20 ปี[7]

เพชราสมรสกับชรินทร์ นันทนาคร และได้ร่วมแสดงกับชรินทร์ครั้งแรกในภาพยนตร์เรื่อง แพนน้อย พ.ศ. 2506 หลังฝ่ายชายได้เลิกรากับสปัน เธียรประสิทธิ์ ไปก่อนหน้านี้[5] ในปี พ.ศ. 2518 เพชราและชรินทร์จึงตัดสินใจใช้ชีวิตร่วมกัน ทั้งคู่แต่งงานกันเงียบ ๆ เลี้ยงเพื่อนร่วมวงการเพียงไม่กี่คน[21] เพชราและชรินทร์ไม่มีบุตรด้วยกัน เคยตั้งครรภ์ถึง 3 ครั้ง คนที่ 3 อุ้มท้องนาน 6-7 เดือน แต่อยู่วันหนึ่งต้นโกสนถูกลมพัดล้มลงบนพื้น เพชราจึงก้มไปหยิบต้นไม้ตั้งไว้อย่างเดิม แต่เป็นเหตุทำให้ต้องเข้าโรงพยาบาลด่วน ฉีดยาห้ามเลือดอยู่ 1-2 วัน สุดท้ายหมอได้ทำคลอดออกมาเป็นผู้ชายแต่ไม่หายใจแล้ว[22]

เพชรามีหลานสาวเป็นนักแสดง คือ นันทรัตน์ ชาวราษฎร์ (ชื่อเล่น ตรี) ซึ่งเป็นบุตรของจำรัส เชาวราษฎร์ ผู้จัดการออนไลน์ว่าผู้นี้เป็นน้องชายคนหนึ่งของเพชรา[23] ต่อมานันทรัตน์ได้ออกมาระบุว่า ปู่ของเธอเป็นน้องชายของบิดาเพชรา และยืนยันว่าตนเป็นญาติเพชราจริง โดยเพชรามีศักดิ์เป็นป้า[24] ต่อมานันทรัตน์ให้สัมภาษณ์อีกครั้งว่า "เธอกับเพชราเป็นญาติที่ห่างมาก ๆ จนแทบนับญาติกันไม่ได้"[25]

ผลงานภาพยนตร์

[แก้]
  • บันทึกรักของพิมพ์ฉวี (2505)
  • อ้อมอกสวรรค์ (2505)
  • ดอกแก้ว (2505)
  • หนึ่งในทรวง (2505)
  • ใจเพชร (2506)
  • อวสานอินทรีแดง (2506)
  • เหยี่ยวดำ (2506)
  • แพนน้อย (2506)
  • รวงแก้ว (2506)
  • นกน้อย (2507)
  • พรายดำ (2507)
  • ตำหนักเพชร (2507)
  • พันธุ์ลูกหม้อ (2507)
  • ร้อยป่า (2507)
  • เลิศชาย (2507)
  • สิงห์ล่าสิงห์ (2507)
  • สมิงบ้านไร่ (2507)
  • พนาสวรรค์ (2507)
  • มังกรคนอง (2507)
  • หัวใจเถื่อน (2507)
  • เก้ามหากาฬ (2507)
  • จ้าวพยัคฆ์ (2507)
  • เทพบุตร 12 คม (2507)
  • ลมหวน (2508)
  • 5 พยัคฆ์ร้าย (2508)
  • ชาติเจ้าพระยา (2508)
  • เงิน เงิน เงิน (2508)
  • จอมใจ (2508)
  • ใจฟ้า (2508)
  • นกขมิ้น (2508)
  • หยกแก้ว (2508)
  • วังเสือ (2508)
  • ขวัญชวีต (2508)
  • ฉัตรดาว (2508)
  • ชาติฉกรรจ์ (2508)
  • ชื่นชีวา (2508)
  • เทพบุตรนักเลง (2508)
  • แผ่นดินสวรรค์ (2508)
  • อ้อมอกดิน (2508)
  • มังกรดำ (2508)
  • น้องนุช (2508)
  • น้ำผึ้งป่า (2508)
  • น้ำเพชร (2508)
  • ลูกของแม่ (2508)
  • สุภาพบุรุษนักเลง (2508)
  • วีระบุรุษเมืองใต้ (2508)
  • ถิ่นผู้ดี (2508)
  • ทาสผยอง (2508)
  • เพชรน้ำผึ้ง (2508)
  • ลูกผู้ชายชื่อไอ้แผน (2508)
  • เกิดเป็นหงส์ (2509)
  • หงส์เหิร (2509)
  • ตัวต่อตัว (2509)
  • เพชรตัดเพชร (2509)
  • สามเกลอเจอล่องหน (2509)
  • นกเอี้ยง (2509)
  • แสงเทียน (2509)
  • เพชรสีเลือด (2509)
  • เสือสั่งถ้ำ (2509)
  • เหยี่ยวสังหาร (2509)
  • ชุมทางรัก (2509)
  • เปลวสุริยา (2509)
  • นกแก้ว (2509)
  • นางนกป่า (2509)
  • ลมหนาว (2509)
  • เจ้าแม่สร้อยดอกหมากฯ (2509)
  • นกยูง (2509)
  • พระอภัยมณี (2509)
  • พิษพยศ (2509)
  • มือปืนสิบทิศ (2509)
  • วังไพร (2509)
  • สายเลือดกตัญญู (2509)
  • เสือเหลือง (2509)
  • งูผี (2509)
  • 4 สมิง (2509)
  • จอมประจัญบาน (2509)
  • ชุมทางหาดใหญ่ (2509)
  • ดรุณีสีเลือด (2509)
  • น้ำค้าง (2509)
  • ปีศาจดำ (2509)
  • มือนาง (2509)
  • แม่ยอดชีวิต (2509)
  • ชาติกระทิง (2509)
  • ใกล้รุ่ง (2510)
  • จันทร์เจ้า (2510)
  • ผึ้งหลวง (2510)
  • 7 พระกาฬ (2510)
  • จุฬาตรีคูณ (2510)
  • ปิ่นรัก (2510)
  • ปูจ๋า (2510)
  • มดแดง (2510)
  • นางพรายตานี (2510)
  • โป๊ยเซียน (2510)
  • สิงห์หนุ่ม (2510)
  • ตำหนักแดง (2510)
  • 9 เสือ (2510)
  • โนรี (2510)
  • ฟ้าเพียงดิน (2510)
  • ไฟเสน่หา (2510)
  • 5 พยัคฆ์สาว (2510)
  • แก้วกาหลง (2510)
  • ใจนาง (2510)
  • ใต้เงาปืน (2510)
  • เทพธิดาบ้านไร่ (2510)
  • นางนวล (2510)
  • สายเปล (2510)
  • สาวจ้าวสมิง (2510)
  • แสนรัก (2510)
  • เหนือเกล้า (2510)
  • เทพปืนทอง (2510)
  • มนุษย์ทองคำ (2510)
  • ตั๊กแตน (2510)
  • แมวเหมียว (2510)
  • ภูพานอย่าร้องไห้ (2510)
  • ทะเลเงิน (2510)
  • สุดแผ่นดิน (2510)
  • เหนือนักเลง (2510)
  • ดอกบัว (2511)
  • พรายพิศวาส (2511)
  • จักจั่น (2511)
  • ไอ้หนึ่ง (2511)
  • กบเต้น (2511)
  • แสนงอน (2511)
  • ดอกอ้อ (2511)
  • น้ำอ้อย (2511)
  • พระลอ (2511)
  • ยอดแก่น (2511)
  • รักเอย (2511)
  • ลูกชาติเสือ (2511)
  • เลือดอาชาไนย (2511)
  • เงิน จ๋า เงิน (2511)
  • สิงห์ล้างสิงห์ (2511)
  • ลูกแมว (2511)
  • สกุลกา (2511)
  • สมิงดง (2511)
  • กำพร้า (2511)
  • ขวัญเรือน (2511)
  • แท็กซี่ (2511)
  • เพชรตะวัน (2511)
  • แมวไทย (2511)
  • ยอดชีวิต (2511)
  • สองฟากฟ้า (2511)
  • สัญชาติชาย (2511)
  • แสนสงสาร (2511)
  • เหนือน้ำใจ (2511)
  • เฟื่องฟ้า (2511)
  • 16 ปีแห่งความหลัง (2511)
  • มรกตแดง (2511)
  • ทรามวัยใจเพชร (2511)
  • ไก่แก้ว (2512)
  • เพชรแท้ (2512)
  • เศรษฐีข้างถนน (2512)
  • สมิงจ้าวท่า (2512)
  • รัก-ยม (2512)
  • ปีศาจเสน่หา (2512)
  • ลูกเขย (2512)
  • ไอ้เปีย (2512)
  • ลูกปลา (2512)
  • จอมคน (2512)
  • อภินิหารอาจารย์ทอง (2512)
  • ยอดคนจริง (2512)
  • จอมพล (2512)
  • ปลาไหลทอง (2512)
  • แม่ค้า (2512)
  • วิมานไฟ (2512)
  • ไพรรัก (2512)
  • ขวัญหล้า (2512)
  • ยอดคนจริง (2512)
  • สอยดาวสาวเดือน (2512)
  • ชาติลำชี (2512)
  • ปราสาททราย (2512)
  • กามเทพลวง (2512)
  • ลอยกระทง (2512)
  • เทพบุตรสลาตัน (2512)
  • ความรักเจ้าขา (2512)
  • สวรรค์วันเพ็ญ (2512)
  • รอยพราน (2512)
  • คฤหาสน์รัก (2512)
  • ผีเสื้อ (2512)
  • หลั่งเลือดแดนสิงห์ (2512)
  • เขี้ยวพยัคฆ์ (2512)
  • ไทยน้อย (2512)
  • เด็กวัด (2512)
  • ลูกสาวพระอาทิตย์ (2512)
  • หาดใหญ่ใจสู้ (2512)
  • เพลงรักแม่น้ำแคว (2513)
  • รักนิรันดร์ (2513)
  • ไทยใหญ่ (2513)
  • ขุนทาส (2513)
  • หวานใจ (2513)
  • ไอ้สู้ (2513)
  • ท่าจีน (2513)
  • เงินจางนางจร (2513)
  • มนต์รักลูกทุ่ง (2513)
  • เรือมนุษย์ (2513)
  • ไอ้เบี้ยว (2513)
  • สวรรค์เบี่ยง (2513)
  • วิญญาณดอกประดู่ (2513)
  • ลูกหนี้ทีเด็ด (2513)
  • ม้ามืด (2513)
  • จอมโจรมเหศวร (2513)
  • เจ้าแม่สไบทอง (2513)
  • กำแพงเงินตรา (2513)
  • 7 สิงห์คืนถิ่น (2513)
  • ชุมทางนักเลง (2513)
  • ลำพู (2513)
  • รักเธอเสมอ (2513)
  • อัศวินดาบกายสิทธิ์ (2513)
  • อินทรีทอง (2513)
  • บ้านสาวโสด (2513)
  • เสน่ห์ลูกทุ่ง (2513)
  • ฝนเหนือ (2513)
  • ฝนใต้ (2513)
  • ไอ้หนุ่มบ้านนา (2514)
  • นักบุญทรงกลด (2514)
  • ดวงใจสวรรค์ (2514)
  • ไอ้ทุย (2514)
  • เสือขาว (2514)
  • ดาบคู่สะท้านโลกันต์ (2514)
  • อรุณรุ่งฟ้า (2514)
  • ยั่วรัก (2514)
  • เหนือพญายม (2514)
  • เขยตีนโต (2514)
  • คีรีบูน (2514)
  • มนต์รักป่าซาง (2514)
  • ทโมนไพร (2514)
  • เจ้าจอม (2514)
  • เจ้าสาวขี้คุก (2514)
  • สื่อกามเทพ (2514)
  • วิมานสีทอง (2514)
  • ยมบาลเจ้าขา (2514)
  • ลำดวน (2514)
  • อีรวง (2514)
  • พุดตาล (2514)
  • ธารรักไทรโยค (2514)
  • คนใจบอด (2514)
  • ลานพัยพญ้า (2514)
  • ไก่นา (2514)
  • แม่ศรีไพร (2514)
  • มนต์รักจากใจ (2514)
  • แม่นม (2514)
  • ยอดต่อยอด (2514)
  • ทุ่งเศรษฐี (2514)
  • รักร้อน (2514)
  • ลูกยอด (2514)
  • พิษผยอง (2514)
  • รักจ๋ารัก (2514)
  • เชิงชายชาญ (2514)
  • มดตะนอย (2514)
  • สุดที่รัก (2514)
  • แก้วขนเหล็ก (2514)
  • เลือดแม่ (2515)
  • หัวใจปรารถนา (2515)
  • เชียงตุง (2515)
  • กว๊านพะเยา (2515)
  • ระเริงชล (2515)
  • มนต์กากี (2515)
  • พ่อปลาไหล (2515)
  • กลิ่นร่ำ (2515)
  • น้ำผึ้งพระจันทร์ (2515)
  • ลานสาวกอด (2515)
  • วิวาห์ลูกทุ่ง (2515)
  • จันทร์แรม (2515)
  • มนต์รักดอกคำใต้ (2515)
  • หัวใจป่า (2515)
  • สุดสายป่าน (2515)
  • แสนทนง (2515)
  • รักคืนเรือน (2515)
  • หาดทรายแก้ว (2515)
  • กล้าสิบทิศ (2515)
  • คุ้มนางฟ้า (2515)
  • เจ้าสาวเรือพ่วง (2516)
  • ไอ้แดง (2516)
  • กุหลาบไฟ (2516)
  • สายฝน (2516)
  • ไม้ป่า (2516)
  • พยัคฆ์พันลาย (2516)
  • เตะฝุ่น (2516)
  • ดอนโขมด (2516)
  • เจ้าปลิวสิงห์สุพรรณ (2516)
  • หัวใจหิน (2516)
  • อีสาน (2517)
  • แว่วเสียงลมรัก (2517)
  • กังหันสวาท (2517)
  • ดอกคูนเสียงแคน (2517)
  • แผ่นดินแม่ (2518)
  • ชะตาชีวิต (2519)
  • ฉันไม่อยากเป็นคุณนาย (2519)
  • ลูกเจ้าพระยา (2520)
  • ไอ้ขุนทอง (2521)
  • พ่อปลาไหล (2524)

รางวัล

[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. http://www.culture.go.th/culture_th/images/akasit/34210262.pdf
  2. ธนกร วงษ์ปัญญา. "ประกาศยกย่อง 12 บุคคล เป็นศิลปินแห่งชาติปี 2561 เพชรา เชาวราษฎร์, ประภาส ชลศรานนท์, แดนอรัญ แสงทอง". เดอะสแตนดาร์ด.
  3. 3.0 3.1 "เสียงจากเพชรา เชาวราษฏร์ เพชรของภาพยนตร์ไทย". มูลนิธิหนังไทย. 9 กรกฎาคม 2547. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-27. สืบค้นเมื่อ 24 มกราคม 2559. ((cite web)): ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. 4.0 4.1 4.2 30ปีแห่งความหลัง"เพชรา เชาวราษฎร์" เก็บถาวร 2009-09-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน komchadluek.net
  5. 5.0 5.1 5.2 ""เพชรา" ในความทรงจำ (ตอนที่ 1)". ผู้จัดการ. 28 กันยายน 2552. สืบค้นเมื่อ 24 มกราคม 2559. ((cite web)): ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 "เส้นทางรัก...เพชรามาถึงวันนี้ที่มีแต่ "ชรินทร์"". คมชัดลึก. 6 ตุลาคม 2552. สืบค้นเมื่อ 24 มกราคม 2559. ((cite web)): ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. 7.0 7.1 7.2 7.3 "'ถ้ามีเขาเราคงไม่อ้างว้างอย่างนี้...' เพชรา ถึง มิตร ชัยบัญชา พี่ชายที่แสนดี". ไทยรัฐออนไลน์. 2 มกราคม 2554. สืบค้นเมื่อ 24 มกราคม 2559. ((cite web)): ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  8. ย้อนฉากชีวิต 'เพชรา' 'เอก เชาวราษฎร์' dailynews.co.th
  9. พิสุทธินี, "ชรินทร์ นันทนาคร", นิตยสารลิปส์ ฉบับปักษ์หลังมกราคม 2553 หน้า 178-185
  10. 10.0 10.1 10.2 ภาวิณีย์ เจริญยิ่ง (7 มกราคม 2559). "สิ่งดี ๆ ในโลกมืด จากปาก "เพชรา เชาวราษฎร์"". มติชนออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 24 มกราคม 2559. ((cite web)): ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  11. ชีวิตในโลกมืด ของอดีตนางเอกนัยน์ตา หยาดน้ำผึ้งเพชรา เชาวราษฎร์ 14 พ.ค. 49 - 04:24 ไทยรัฐ
  12. "วู้ดดี้เกิดมาคุย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-03-26. สืบค้นเมื่อ 2009-03-23.
  13. 30 ปีแห่งความหวังกับวันที่รอคอย[ลิงก์เสีย] dailynews.co.th
  14. ฮือฮา!! เพชรา เชาวราษฎร์ รับเป็นพรีเซ็นเตอร์เครื่องสำอางชื่อดัง
  15. อดีตดาราดัง เพชรา เชาวราษฎร์ รับพรีเซ็นเตอร์มิสทีน!!
  16. เพชรา เชาวราษฎร์ ปัจจุบัน เพชรา เชาวราษฎร์ ถ่ายโฆษณา
  17. หวานซึ้ง! ชรินทร์ ครวญเพลง"หยาดเพชร"ในวันเกิด เพชรา
  18. "ยลโฉม "เพชรา เชาวราษฎร์" ในวัย 72 ปี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-01-22. สืบค้นเมื่อ 2016-01-22.
  19. เผยโฉมนางเอกตลอดกาล เพชรา เชาวราษฎร์ ปัจจุบันยังสวยเซี้ยะ!
  20. "เพชรา เชาวราษฎร์ กับ 30 ปี ที่แฟน ๆ คิดถึง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-09-28. สืบค้นเมื่อ 2009-10-04.
  21. "เพชรา" ในความทรงจำ (ตอนที่ 1) เก็บถาวร 2017-07-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ASTVผู้จัดการออนไลน์
  22. พิสุทธินี, "ชรินทร์ นันทนาคร", นิตยสารลิปส์ ฉบับปักษ์หลังมกราคม 2553 หน้า 178-185
  23. "ทายาท "เพชรา" มาแล้วจ้า ..."ตรี-นันทรัตน์ ชาวราษฎร์"". ผู้จัดการรายวัน. 16 เมษายน 2553. สืบค้นเมื่อ 22 มกราคม 2559. ((cite web)): ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  24. "ตรี ท้าพิสูจน์บัตรประชาชนแอบอ้างเป็นหลาน เพชรา". อาร์วายทีไนน์. 27 กรกฎาคม 2553. สืบค้นเมื่อ 24 มกราคม 2559. ((cite web)): ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  25. "'ตรี' สาวเซ็กซี่ไซส์มินิ คบแฟนแก่กว่า 1 รอบ พอใจอึ๋มเล็กพริกขี้หน". บ้านเมือง. 29 กันยายน 2556. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-06-01. สืบค้นเมื่อ 22 มกราคม 2559. ((cite web)): ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  26. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๖๓ เก็บถาวร 2022-05-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๒ ข หน้า ๒๔๑, ๒๙ มกราคม ๒๕๖๔

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]


{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
เพชรา เชาวราษฎร์
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?