For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for มานพ ยาระณะ.

มานพ ยาระณะ

มานพ ยาระณะ

มานพ ยาระณะ ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง ประจำปี พ.ศ. 2548
เกิด5 กันยายน พ.ศ. 2478
อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
เสียชีวิต22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 (80 ปี)
อาชีพผู้เชี่ยวชาญ:
ศิลปะการฟ้อน
ศิลปะการต่อสู้
กลองสะบัดชัยแบบโบราณ, กลองปู่จา, กลองปู่เจ่
ดนตรีพื้นบ้านล้านนาและดนตรีไทย
คู่สมรสสมัย ยาระณะ
รางวัลศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง[1]

พ่อครูมานพ ยาระณะ หรือ พ่อครูพัน (5 กันยายน พ.ศ. 2478 – 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558[2]) เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปะการฟ้อน, ศิลปะการต่อสู้, การตีกลองสะบัดชัยแบบโบราณ, กลองปู่จา, กลองปู่เจ่, ดนตรีพื้นบ้านล้านนาและดนตรีไทย โดยได้รับการเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง ประจำปี พ.ศ. 2548[3]

นอกจากนี้ เขายังเป็นผู้สอนศิลปะการต่อสู้ล้านนา และมวยไทยให้แก่ พ.อ.(พิเศษ) อำนาจ พุกศรีสุข รวมถึงวิชาดาบสะบัดชัยให้แก่ณปภพ ประมวญ (ครูแปรง)[4]

ประวัติ

[แก้]

มานพ ยาระณะ เป็นบุตรของคำปัน และบัวเขียว ยาระณะ โดยมานพได้สำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษาปีที่ 4 จากโรงเรียนวัดศรีดอนไชย ที่อำเภอเมืองเชียงใหม่[5] ภายหลังจากสำเร็จการศึกษาก็ได้ช่วยพ่อแม่ทำการค้า และขณะเดียวกันก็ได้ศึกษาวิชาศิลปะการต่อสู้, ศิลปะการแสดงดนตรี รวมถึงศิลปะการตีกลองล้านนาชนิดต่าง ๆ จากผู้เชี่ยวชาญ จากนั้น เขาได้ถ่ายทอดสู่สังคม โดยทำการสอนให้แก่คนรุ่นใหม่หลายรุ่น ทั้งวิชามวยไทย, การฟ้อนเจิง, ฟ้อนหอก, ฟ้อนผานประทีป, การตีกลองปู่จา, กลองสะบัดชัยแบบโบราณ, กลองมองเซิง, กลองปู่เจ่ และศิลปะการแสดงอื่น ๆ อีกหลายแขนง เป็นระยะเวลาร่วม 50 ปีโดยที่ไม่เคยเอ่ยปากขอรับค่าตอบแทนแต่อย่างใด[6][7]

ด้านผลงานที่ได้รับการกล่าวถึง พ่อครูมานพ ยังเป็นผู้ประดิษฐ์ท่าการแสดงชุด ฟ้อนขันดอก เพื่อเป็นการฟ้อนรำบูชาพระรัตนตรัย ให้บังเกิดความสงบร่มเย็นแก่บ้านเมือง[8]

พ.ศ. 2550 รายการปราชญ์เดินดิน ทางสถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ ได้เคยถ่ายทอดเรื่องราวของมานพ ยาระณะ ที่ซึ่งเขารับจ้างถีบรถสามล้อในย่านตลาดสันป่าข่อย ที่อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่[9]

ใน พ.ศ. 2552 พ่อครูมานพ ยาระณะ ยังได้ร่วมการแสดงฟ้อน ในมหกรรมวัฒนธรรมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร 82 พรรษา 5 ธันวาคม 2552 ที่จัดขึ้น ณ ป้อมมหากาฬ ถนนราชดำเนิน[10]

วันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2556 พ่อครูมานพ ซึ่งเป็นศิลปินแห่งชาติ ได้รับเกียรติให้เป็นผู้ทำการผูกข้อมืออวยพรให้แก่ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เนื่องในวันสงกรานต์ ที่บริเวณอนุสาวรีย์สามกษัตริย์ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่[11]

ชีวิตส่วนตัว

[แก้]

ด้านชีวิตส่วนตัว สมรสกับสมัย ยาระณะ และมีลูกสาว 1 คนชื่อชลธาร ยาระณะ[5][6]

เสียชีวิต

[แก้]

มานพ ยาระณะ เสียชีวิตเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ด้วยโรคมะเร็งปอด สิริอายุได้ 80 ปี สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปในการพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2560 ณ สุสานสันกู่เหล็ก อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่

เกียรติประวัติ

[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. หมอ มช.เตรียมตั้งโต๊ะตรวจสุขภาพรับแนวโน้มไทยก้าวสู่สังคมสูงอายุ[ลิงก์เสีย]
  2. สิ้น'พ่อครูพัน-อ.มานพ ยาระณะ'ศิลปินแห่งชาติ ผู้เชี่ยวชาญศิลปะล้านนา
  3. "9 ศิลปินแห่งชาติครูลพ-ประเทือง - ศูนย์วิทยบริการ - กระทรวงสาธารณสุข". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2014-04-08.
  4. "ครูแปรง (ณปภพ ประมวญ) - มวยไชยา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2014-04-08.
  5. 5.0 5.1 "มานพ ยาระณะ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-11. สืบค้นเมื่อ 2014-04-08.
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 "พ่อครูมานพ ยาระณะ - คลังเอกสารสาธารณะ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-04-01. สืบค้นเมื่อ 2014-04-08.
  7. ล้านนาผลิต จากศิษย์ถึงครู - กรุงเทพธุรกิจ ออนไลน์[ลิงก์เสีย]
  8. ""ฟ้อนขันดอก" - ArtBangkok.com". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-28. สืบค้นเมื่อ 2014-04-08.
  9. แฉ วิน ธาวิน ทั้งขี้แกล้งและขี้งก! - Entertainment - Manager Online[ลิงก์เสีย]
  10. "มหกรรมวัฒนธรรมเทิดไท้ "องค์ราชัน" - ไทยโพสต์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-09-15. สืบค้นเมื่อ 2014-04-08.
  11. นายกฯให้ศิลปินแห่งชาติ "พ่อครูมานพ" ผูกข้อมืออวยพรปีใหม่ : มติชน
  12. วันศิลปินแห่งชาติ - กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม[ลิงก์เสีย]
  13. 10 ศิลปินแห่งชาติ รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ - S! News
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
มานพ ยาระณะ
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?