For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for พิมพ์ปฏิภาณ พึ่งธรรมจิตต์.

พิมพ์ปฏิภาณ พึ่งธรรมจิตต์

พิมพ์ปฏิภาณ พึ่งธรรมจิตต์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปการแสดง (ดนตรีไทยสากล) พ.ศ. 2560 ชาวอำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส[1] เกิดเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2481 เสียชีวิตวันที่ 19  กรกฏาคม พ.ศ. 2563 ด้วยโรคมะเร็งเม็ดเลือด[2]

ประวัติวัยเรียน

[แก้]

พิมพ์ปฏิภาณ เริ่มเรียนชั้นประถมศึกษา ในอำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส แต่ด้วยอยู่ในครอบครัวข้าราชการ จึงต้องย้ายที่อยู่ ย้ายโรงเรียนหลายครั้ง กระทั่งย้ายมาเรียนชั้นมัธยมศึกษา ที่โรงเรียนนราธิวาส จึงได้ฝึกเล่นดนตรีกับวงโยธวาทิต โดยเริ่มจากบาริโทน หลังจากนั้นก็ย้ายไปเป่าปิคโคโล

จากโรงเรียนนราธิวาส พิมพ์ปฏิภาณ ย้ายไปที่โรงเรียนสันติราษฎร์บำรุง กรุงเทพฯ ซึ่งเขาก็ยังคงเล่นดนตรีอยู่เช่นเคย หลังจากนั้นมีโอกาสไปเรียนต่อที่โรงเรียนพณิชยการพระนคร ช่วงนี้เริ่มเล่นเป็นวงดนตรีคอมโบ จากนั้นย้ายเป็นนักเรียนของโรงเรียนพณิชยการธนบุรี ซึ่งก็ยังคงเล่นดนตรี

ในระดับมหาวิทยาลัย พิมพ์ปฏิภาณเรียนที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เขาได้เป็นนักดนตรีของวงธรรมศาสตร์ โดยรับหน้าที่เป่าแซกโซโฟน ตำแหน่งเฟิร์สแซก[3]

ประวัติวัยทำงาน

[แก้]

หลังเรียนจบ พิมพ์ปฏิภาณใช้ความสามารถทางดนตรี สอบเข้าทำงานเป็นนักดนตรีของธนาคารออมสิน โดยเขาถนัดแซกโซโฟน แต่นักดนตรีในตำแหน่งนี้ มีอยู่แล้ว จึงต้องไปฝึกเป่าทรอมโบน แทน เนื่องจากนักดนตรีตำแหน่งนี้ขาดอยู่ตำแหน่งเดียว

เมื่อทำงานไปเรื่อย ๆ พิมพ์ปฏิภาณก็ได้เปลี่ยนจากตำแหน่งทรอมโบน เป็นบาริโทนแซกโซโฟน แล้วมาเล่นเทเนอร์แซกโซโฟน กระทั่งได้เป็นเฟิร์สแซกโซโฟนของธนาคารออมสิน

ระหว่างทำงานที่ธนาคารออมสิน พิมพ์ปฏิภาณ มักติดตาม ครูสมาน กาญจนะผลิน ไปบันทึกเสียงให้นักร้องอาชีพอยู่เสมอ จึงมีโอกาสเก็บประสบการณ์เกี่ยวกับเพลงที่หลากหลาย นอกจากนี้เขายังเป็นหัวหน้าวง Big Band อีกด้วย

หลังจากทำงานกับธนาคารออมสิน 7 ปี พิมพ์ปฏิภาณ ก็ลาออก มาทำงานเพลงเต็มตัว ได้แก่ เล่นดนตรีที่ไนท์คลับ และอัดเสียงให้นักร้อง เป็นต้น กระทั่งเขาเข้าไปเรียนดนตรีที่สยามดนตรียามาฮ่า ได้ทำเพลงให้กับ ครูศรีสวัสดิ์ พิจิตรวรการ ในชุดแม่สาย ชื่อเสียงของเขาจึงเป็นที่รู้จักวงกว้าง และได้มีกิจการสตูดิโออัดเสียง อีกด้วย

เมื่ออายุ 40 ปี พิมพ์ปฏิภาณ ก็เข้ารับราชการที่กรมศิลปากร โดยตลอดอายุของพิมพ์ปฏิภาณ คลุกคลีกับดนตรีเสมอ ทั้งลูกทุ่ง ลูกกรุง และสากล[3]

รางวัลจากผลงานเรียบเรียงเสียงประสาน

[แก้]
  • เพลง “ไทยธำรงไทย” ได้รับรางวัลแผ่นเสียงทองคำ ปี 2514
  • เพลง “นํ้าตาหรือจะแก้ปัญหาใจ” ได้รับรางวัลแผ่นเสียงทองคำ ปี 2518
  • เพลง “ตะแลงแกงแทงใจ” ได้รับรางวัลแผ่นเสียงทองคำ ปี 2520
  • เพลง “พะวงรัก” ได้รับรางวัลแผ่นเสียงทองคำ ปี 2521
  • เพลง “สุดเหงา” ได้รับรางวัลแผ่นเสียงทองคำ ปี 2525

ผลงานประพันธ์

[แก้]
  • เพลงแม่สาย
  • เพลงพะวงรัก
  • เพลงเทพธิดาดอย
  • เพลงโชคดีที่มีในหลวง
  • เพลงสมเด็จย่าของชาวไทย
  • เพลงพุทธานุภาพ
  • เพลงมหาราชินี[4]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-01. สืบค้นเมื่อ 2024-01-11.
  2. "สิ้น "พิมพ์ปฏิภาณ พึ่งธรรมจิตต์" ศิลปินแห่งชาติ อายุ 82 ปี เจ้าของผลงาน "เพลงโชคดีที่มีในหลวง-เพลงมหาราชินี-เทพธิดาดอย"". mgronline.com. 2020-07-20.
  3. 3.0 3.1 "NEVER FORGET THAI MUSICAL - พิมพ์ปฏิภาณ พึ่งธรรมจิตต์". www.mixmagazine.in.th.
  4. "เปิดประวัติ "พิมพ์ปฏิภาณ พึ่งธรรมจิตต์" ศิลปินแห่งชาติ". คมชัดลึกออนไลน์. 2020-07-20.
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
พิมพ์ปฏิภาณ พึ่งธรรมจิตต์
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?