For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for หม่อมหลวงพวงร้อย อภัยวงศ์.

หม่อมหลวงพวงร้อย อภัยวงศ์


พวงร้อย อภัยวงศ์

เกิดหม่อมหลวงพวงร้อย สนิทวงศ์
28 ธันวาคม พ.ศ. 2457
อำเภอบางรัก จังหวัดพระนคร
เสียชีวิต17 สิงหาคม พ.ศ. 2543 (85 ปี)[1]
กรุงเทพมหานคร
คู่สมรสเชียด อภัยวงศ์ (พ.ศ. 2485–2515)
บุตรกสก อภัยวงศ์
มัทนพันธุ์ ดุละลัมพะ
พัชราภรณ์ บุนนาค
บิดามารดาหม่อมราชวงศ์สุวพันธุ์ สนิทวงศ์
ยี่สุ่น สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
รางวัลพ.ศ. 2529 – ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (เพลงไทยสากล)

ท่านผู้หญิงพวงร้อย อภัยวงศ์ (28 ธันวาคม พ.ศ. 2457 — 17 สิงหาคม พ.ศ. 2543) หรือเดิม หม่อมหลวงพวงร้อย สนิทวงศ์ เป็นสตรีไทยคนแรกที่เป็นนักประพันธ์เพลง เมื่อ พ.ศ. 2480 และได้รับยกย่องให้เป็น ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (เพลงไทยสากล) เมื่อปี พ.ศ. 2529[2]

ประวัติ

[แก้]

ท่านผู้หญิงพวงร้อย เกิดเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2457 เป็นบุตรีของหม่อมราชวงศ์สุวพันธุ์ สนิทวงศ์ และยี่สุ่น สนิทวงศ์ ณ อยุธยา (สกุลเดิม มังกรพันธ์) เป็นพี่สาวต่างมารดากับหม่อมหลวงประพันธ์ สนิทวงศ์

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเยาวภาพงศ์สนิท ทรงได้ประทานนามแก่เธอว่า"พวงร้อย" อันมีความหมายว่า "ไม้เลื้อย หนึ่งพวงมีร้อยดอก" เพื่อให้คล้องจองกับนามมารดาคือ "ยี่สุ่น"[3] ทั้งนี้เนื่องจากอยู่ในครอบครัวของนักดนตรีจึงชอบดนตรี และเล่นเปียโนมาตั้งแต่เด็ก มีพี่น้องร่วมบิดามารดา คือ หม่อมหลวงสร้อยระย้า ยุคล หม่อมหลวงซัง สนิทวงศ์ และหม่อมหลวงคงคา สนิทวงศ์

หม่อมหลวงพวงร้อยสำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 8 จากโรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย เมื่อปี พ.ศ. 2477 และปริญญาตรีด้านเปียโนจากวิทยาลัยดนตรีทรีนิตี (Trinity College of Music) ลอนดอน สหราชอาณาจักร

ชีวิตส่วนตัว

[แก้]

หม่อมหลวงพวงร้อยสมรสกับเชียด อภัยวงศ์ ซึ่งเป็นน้องชายของควง อภัยวงศ์ อดีตนายกรัฐมนตรี เมื่อ พ.ศ. 2485 มีบุตรธิดา 3 คน คือ

  1. กสก อภัยวงศ์
  2. มัทนพันธุ์ ดุละลัมพะ
  3. พัชราภรณ์ บุนนาค

การประพันธ์เพลง

[แก้]

ในปี พ.ศ. 2480 พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล ได้ทรงสร้างภาพยนตร์เรื่อง "ถ่านไฟเก่า" และทรงนิพนธ์เพลงประกอบคือ บัวขาว และ ในฝัน ขึ้น และทรงมอบหมายให้หม่อมหลวงพวงร้อย เป็นผู้ประพันธ์ทำนองเมื่อมีอายุได้ 23 ปี เพลงบัวขาว กลายเป็นเพลงอมตะที่สร้างชื่อเสียงให้กับท่านเป็นอย่างมาก ในปี พ.ศ. 2522 ศูนย์วัฒนธรรมแห่งเอเชียของยูเนสโก ประเทศฟิลิปปินส์ ได้คัดเลือก "เพลงบัวขาว" เป็น "เพลงแห่งเอเชีย" นักร้องยอดนิยมของฮ่องกง "ฟรานซิส ยิป" ได้นำเพลงนี้ไปขับร้องบันทึกแผ่นเสียง ส่วเพลง ในฝัน ก็เป็นเพลงแรกของครูเอื้อ สุนทรสนาน นักดนตรีชื่อดังและบุคคลสำคัญของโลก

หม่อมหลวงพวงร้อยมีผลงานประพันธ์ทำนองและคำร้องเพลงมากมาย จำนวน 124 เพลง [4] รวมทั้งบทเพลงปลุกใจ เพื่อถวายสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เช่น เพลงดุจบิดามารดร เพลงแด่ ต.ช.ด. เพลงชายชาญทหารไทย ใน พ.ศ. 2516 ท่านได้เปลี่ยนลักษณะการแต่งเพลง ที่มักจะใส่คำไม่ลงโน้ต มาใช้คำที่มีวรรณยุกต์ตรงกับโน้ตเพลงมากขึ้น บทเพลงที่ท่านแต่งจึงมีความไพเราะ สละสลวย มีการผสมผสานการร้องแบบดนตรีไทยเดิมกับดนตรีสากล

หม่อมหลวงพวงร้อย ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ จึงใช้คำนำหน้าท่านผู้หญิง ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2543 สิริอายุ 85 ปี

รายชื่อเพลง

[แก้]

(ส่วนหนึ่ง)

  • บัวขาว พ.ศ. 2480 ภาพยนตร์เรื่อง “ถ่านไฟเก่า”
  • ในฝัน พ.ศ. 2480 ภาพยนตร์เรื่อง “ถ่านไฟเก่า”
  • เพลิน พ.ศ. 2481 ภาพยนตร์เรื่อง “แม่สื่อสาว”
  • ลมหวน พ.ศ. 2481 ภาพยนตร์เรื่อง “แม่สื่อสาว”
  • วันเพ็ญ พ.ศ. 2481 ภาพยนตร์เรื่อง “วันเพ็ญ”
  • ดอกไม้ พ.ศ. 2481 ภาพยนตร์เรื่อง “วันเพ็ญ”
  • เงาไม้ พ.ศ. 2482 ภาพยนตร์เรื่อง “ลูกทุ่ง” และ “เรือนแพ”
  • สายัณห์ พ.ศ. 2482 ภาพยนตร์เรื่อง “ลูกทุ่ง”
  • เปลี่ยวใจ พ.ศ. 2482 ภาพยนตร์เรื่อง “ปิดทองหลังพระ”
  • แรกรัก พ.ศ. 2482 ภาพยนตร์เรื่อง “ปิดทองหลังพระ”
  • จันทร์เอ๋ย พ.ศ. 2482 ภาพยนตร์เรื่อง “ปิดทองหลังพระ”
  • ตาแสนกลม พ.ศ. 2482 ละครเรื่อง “จุดไต้ตำตอ”
  • เกี้ยวสาว พ.ศ. 2482 ละครเรื่อง “จุดไต้ตำตอ”
  • ชายในฝัน พ.ศ. 2482 ละครเรื่อง “จุดไต้ตำตอ”
  • แสนห่วง พ.ศ. 2482 ละครเรื่อง “จุดไต้ตำตอ”
  • โอ้ความรัก พ.ศ. 2482 ละครเรื่อง “จุดไต้ตำตอ”
  • หัวใจเดียว พ.ศ. 2482 ละครเรื่อง “จุดไต้ตำตอ”
  • รักเธอแต่แรกยล
  • มะลิเจ้าเอ๋ย พ.ศ. 2490
  • ดุจบิดามารดร พ.ศ. 2516
  • แด่ ต.ช.ด. พ.ศ. 2516
  • ชายชาญทหารไทย พ.ศ. 2516
  • ตำรวจตระเวนชายแดน
  • ทหารพระนเรศวร พ.ศ. 2516
  • รินเข้าริน
  • ฝากรักเอาไว้ในเพลง
  • สวนหลวง ร.9

100 ปีชาตกาลท่านผู้หญิงพวงร้อย

[แก้]

โดยมีกฤษฎา ล่ำซำ รองประธานกรรมการของธนาคารกสิกรไทย ในนามบริการเดอะวิสคอมจัดงานแสดงดนตรี “ร้อยบรรเลง เพลงพวงร้อย : An Exclusive Orchestral Concert” และ นิทรรศการ “๑๐๐ ปี คีตกรหญิงแห่งกรุงสยาม” เป็นปีที่ 2 เพื่อเชิดชูเกียรติ ท่านผู้หญิงพวงร้อย อภัยวงศ์ ในโอกาสครบรอบ 100 ปี ชาตกาล ทั้งนี้ ยังได้รับพระกรุณาธิคุณจาก พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ เสด็จเป็นองค์ประธานในงาน ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย

ภายในงานนิทรรศการ “๑๐๐ ปี คีตกรหญิงแห่งกรุงสยาม” มีการจัดแสดงประวัติ ผลงาน ของสะสมและเครื่องดนตรี โดยได้รับความอนุเคราะห์สนับสนุนจากทายาทท่านผู้หญิงพวงร้อย และหอสมุดแห่งชาติในการเอื้อเฟื้อข้อมูล ถือเป็นจุดกำเนิดเพลงอมตะของท่านผู้หญิงพวงร้อยหลายบทเพลง ผลงานของท่านในระยะแรกนั้น เป็นผลงานที่ประพันธ์ในการประกอบภาพยนตร์ของ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล และประกอบการแสดงต่าง ๆ อาทิ เพลง บัวขาว, เงาไม้, จันทร์เอ๋ย, ลมหวน ต่อมา ท่านผู้หญิงจึงเริ่มประพันธ์บทเพลงปลุกใจ เพื่อสร้างจิตสำนึกให้เกิดความรักชาติตามพระราชเสาวนีย์ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ รวมถึงบทเพลงเทิดพระเกียรติ บทเพลงประจำสถาบัน และบทเพลงในวาระพิเศษต่าง ๆ

ส่วนการแสดงดนตรีนั้น แบ่งเป็นช่วงต่าง ๆ คือ การ “ร้อง เต้น เล่นละคร” เป็นการขับร้องเพลงโดยศิลปินแนวหน้าระดับประเทศ จินตลีลาประกอบเพลงวอลทซ์ และการแสดงละคร โดยนำเพลงของ ท่านผู้หญิงพวงร้อย มาร้อยเป็นเรื่องราว บรรเลงโดยวงดุริยางค์ซิมโฟนีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ อำนวยเพลงและเรียบเรียงขึ้นใหม่โดย ทฤษฎี ณ พัทลุง และมี มัทนพันธุ์ ดุละลัมพะ ลูกสาวท่านผู้หญิงพวงร้อย ในฐานะนักเปียโนรับเชิญกิตติมศักดิ์ และยังมีศิลปินมาร่วมร้องได้แก่ ธนชัย อุชชิน, ธีรนัยน์ ณ หนองคาย, กิตตินันท์ ชินสำราญ, กรวิช เทพหัสดิน ณ อยุธยา, พิจิกา จิตตะปุตตะ, ดวงพร พงศ์ผาสุก, สาธิดา พรหมพิริยะ, กรกันต์ สุทธิโกเศศ

การแสดงครั้งนี้มีการบรรเลง “เพลงวันเพ็ญ” ประกอบภาพยนตร์เรื่อง “วันเพ็ญ” ซึ่งมี หม่อมปริม บุนนาค นางเอกจากเรื่องวันเพ็ญ ในวัย 90 ปี มาร่วมชมการแสดง “เพลงเปลี่ยวใจ” ซึ่งเป็นเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่อง “ปิดทองหลังพระ” ซึ่งมีการฉายภาพยนตร์ที่หายากมาให้ได้รับชม และไฮไลต์เพลง “ร้อยบรรเลง เพลงพวงร้อย” ซึ่งทฤษฎี ณ พัทลุง นำ 18 บทเพลงของท่านผู้หญิงมาเรียบแรง โดยให้ศิลปิน นักแสดง นักร้องประสานเสียง นักดนตรี กว่า 120 คน มาร่วมบรรเลง[5]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "ท่านผู้หญิงพวงร้อย (สนิทวงศ์) อภัยวงศ์ ศิลปินแห่งชาติ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2013-02-25.
  2. รำลึก 100 ปีชาตกาล คีตกรหญิงแห่งกรุงสยาม
  3. บ้านน้าเพลงไทย. พวงร้อย อภัยวงศ์[ลิงก์เสีย]. เรียกดูเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2556
  4. กรมศิลปากร. สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์. สตรีสำคัญในประวัติศาสตร์ไทย. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, พ.ศ. 2547. 360 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-9527-87-9
  5. "ร้อยรำลึก ๑๐๐ ปีชาตกาลคีตกรหญิงแห่งกรุงสยาม". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-04. สืบค้นเมื่อ 2014-10-10.
  6. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี 2535" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 109 (154ง ฉบับพิเศษ): 68. 4 ธันวาคม 2535. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-28. สืบค้นเมื่อ 8 มีนาคม 2563. ((cite journal)): ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฝ่ายหน้าและฝ่ายใน ประจำปี 2533" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 107 (74ข ฉบับพิเศษ): 3. 4 พฤษภาคม 2533. สืบค้นเมื่อ 8 มีนาคม 2563. ((cite journal)): ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
หม่อมหลวงพวงร้อย อภัยวงศ์
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?