For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for หลักข้อเชื่อไนซีน.

หลักข้อเชื่อไนซีน

จักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 1 และเหล่ามุขนายกสมาชิกสภาสังคายนาถือคำประกาศหลักข้อเชื่อไนซีน

หลักข้อเชื่อไนซีน[1] (อังกฤษ: Nicene Creed; ละติน: Symbolum Nicaenum) คือการประกาศศรัทธาและหลักข้อเชื่อที่ถูกใช้มากที่สุดในพิธีกรรมทางศาสนาคริสต์ และเป็นบรรทัดฐานความเชื่อในคริสต์ศาสนากระแสหลักในปัจจุบัน

แม้หลักข้อเชื่อฉบับนี้จะถูกเรียบเรียงขึ้นโดยสภาสังคายนาคอนสแตนติโนเปิลครั้งที่หนึ่งเมื่อปี ค.ศ. 381 แต่ก็เรียกว่า "ไนซีน" เพราะถือว่าได้ข้อสรุปความเชื่อกันมาจากสภาสังคายนาไนเซียครั้งที่หนึ่งในปี ค.ศ. 325 นิกายในศาสนาคริสต์ที่ยึดถือหลักข้อเชื่อนี้ได้แก่โรมันคาทอลิก อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ ออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์ แองกลิคันคอมมิวเนียน และหลาย ๆ นิกายในฝ่ายโปรเตสแตนต์

ประวัติ

[แก้]

ช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 4 ได้เกิดข้อถกเถียงทางเทววิทยาขึ้นในคริสตจักรว่าพระเยซูเป็นพระเจ้าหรือไม่ เอเรียส บาทหลวงชาวแอฟริกาเหนือ เสนอแนวคิดว่าพระบุตรมีสถานะต่ำกว่าพระบิดา พระบิดาคือพระเป็นเจ้าพระผู้สร้างเพียงพระองค์เดียว ส่วนพระบุตรเป็นสิ่งที่ถูกสร้างในภายหลัง แต่ก็ได้รับเกียรติให้ประเสริฐกว่ามนุษย์อื่นทั้งหมด แนวคิดนี้ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในคริสตจักรสมัยนั้น แต่ขัดกับหลักตรีเอกภาพที่ถือว่าทั้งพระบิดาและพระบุตรล้วนแต่เป็นพระเจ้าหนึ่งเดียวเสมอกัน จึงเกิดความแตกแยกขึ้นภายในคริสตจักร จักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 1 ทรงเห็นว่าปัญหานี้จะส่งผลต่อความมั่นคงแห่งชาติ จึงประกาศเรียกประชุมสังคายนาขึ้นที่เมืองไนเซียในปี ค.ศ. 325 บรรดามุขนายกจากทั่วคริสตจักรมาร่วมสภา จนที่สุดได้มติว่าพระบิดาและพระบุตรเป็นพระเจ้าหนึ่งเดียว พระบุตรไม่ได้ถูกสร้าง แต่ทรงบังเกิดจากพระบิดาโดย "ร่วมธรรมชาติเดียวกัน" (homoousios) เอเรียสปฏิเสธไม่ยอมรับมตินี้ จึงถูกสภาสังคายนาขับออกจากคริสตจักร

ลัทธิเอเรียสยังคงแพร่หลายอยู่ในคริสตจักร มุขนายกหลายองค์สงวนท่าทีไม่ยอมรับมติสภาสังคายนาไนเซีย จักรพรรดิเกรเชียนและจักรพรรดิธีโอโดเซียสที่ 1 จึงประกาศเรียกประชุมสภาสังคายนาอีกครั้งที่เมืองคอนสแตนติโนเปิลในปี ค.ศ. 381 ผลการประชุมมีมติยืนยันว่าพระบิดา พระบุตร ตลอดจนพระวิญญาณบริสุทธิ์ เสมอกันเป็นพระเจ้าองค์เดียว และเรียบเรียงข้อสรุปความเชื่อจากสภาไนเซียจนออกมาเป็น "หลักข้อเชื่อไนซีน" ในเวลาต่อมา

ฉบับภาษาไทย

[แก้]

หลักข้อเชื่อไนเซียฉบับแปลภาษาไทยที่ใช้ในปัจจุบันมี 4 ฉบับ คือ 1. ของคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อพิธีกรรม 2. ศาสนจักรออร์ทอดอกซ์ 3. สภาคริสตจักรในประเทศไทย และ 4. คริสตจักรแองลิกันในประเทศไทย เนื้อหาแบ่งออกเป็น 16 ส่วน เปรียบเทียบกันได้ดังนี้

อ้างอิง

[แก้]
  1. ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 177
  2. คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อพิธีกรรม, พิธีมิสซาบูชาขอบพระคุณ, 2543, หน้า 5-6
  3. หนังสือพิธีกรรมศีลมหาสนิท, หน้า49
  4. "ธรรมนูญแห่งสภาคริสตจักรในประเทศไทย ค.ศ. 1998" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-10-22. สืบค้นเมื่อ 2014-01-09.
  5. หนังสือภาวนาของคริสตจักรแองลิกันเพื่อใช้ในประเทศไทย หน้า 11-12, คริสตจักรแองลิกันในประเทศไทย
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
หลักข้อเชื่อไนซีน
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?