For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for บาทหลวง.

บาทหลวง

บาทหลวง (อังกฤษ: priest)[1] หมายถึง นักบวชในศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก[2] และออร์ทอดอกซ์ ส่วนนิกายโปรเตสแตนต์เรียก priest ว่า ปุโรหิต

บาทหลวงในนิกายคาทอลิก

นิกายโรมันคาทอลิก

ในคริสตจักรโรมันคาทอลิก บาทหลวงหมายถึงบุรุษที่ได้รับศีลอนุกรม (เรียกอีกอย่างว่าศีลบวช) ขั้นที่ 2 คือขั้นบาทหลวง (priesthood) มีหน้าที่เป็นโปรดศีลศักดิ์สิทธิ์ ชาวคาทอลิกถือว่าบาทหลวงเป็นตัวแทนของพระเยซูและอัครทูตของพระองค์ ผู้ที่เป็นบาทหลวงในนิกายนี้ในพิธีบวชต้องปฏิญาณตน 3 อย่างชั่วชีวิต[1] คือ

  1. เชื่อฟังผู้บังคับบัญชา
  2. ถือโสด
  3. ดำรงชีวิตแบบเรียบง่าย

หากบาทหลวงนั้นสังกัดคณะนักบวชคาทอลิก จะต้องปฏิญาณเพิ่มอีก 1 ข้อ คือ ไม่ถือกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน ชาวคาทอลิกจะเรียกบาทหลวงว่า “คุณพ่อ” (Father) เพราะถือว่าเป็นบิดาทางฝ่ายจิตวิญญาณ ที่คอยแนะนำสั่งสอนและให้พรต่าง ๆ เพื่อความเจริญฝ่ายจิตวิญญาณ

บาทหลวงในศาสนจักรคาทอลิกยังแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ บาทหลวงประจำมุขมณฑล (diocesan/secular priest) และบาทหลวงประจำคณะนักบวช (regular priest)

บาทหลวงประจำมุขมณฑลจะขึ้นตรงต่อมุขนายกประจำมุขมณฑล เมื่อบุรุษคนใดจะเป็นบาทหลวงประเภทนี้ จะต้องเข้ารับการอบรมที่เซมินารีจนครบตามเวลาที่กำหนด และจะได้รับศีลบวชเป็นลำดับขั้นไป จนถึงขั้นพันธบริกรจึงถือว่าเป็นเคลริก โดยสมบูรณ์ เมื่อได้รับศีลบวชขั้นบาทหลวงจึงได้เป็นบาทหลวง บาทหลวงประเภทนี้จะต้องทำงานให้กับมุขมณฑลตามคำสั่งของมุขนายกประจำมุขมณฑลที่ตนอยู่ (โดยมุขนายกประเภทมุขนายกปริมุขมณฑลอยู่ใต้การปกครองของมุขนายกมหานคร) ส่วนมุขนายกประจำมุขมณฑลจะขึ้นตรงต่อพระสันตะปาปา

บาทหลวงประจำคณะนักบวชจะขึ้นตรงต่ออธิการ (abbot/superior) เมื่อบุคคลใดไม่ว่าชายหรือหญิงจะเข้าเป็นนักบวชจะต้องเข้าอบรมในอารามของคณะนักบวชในฐานะโปสตูลันต์ (postulant) เป็นเวลาประมาณ 6 เดือน จากนั้นเป็นโนวิซ (novice) อีกประมาณ 2 ปี แล้วปฏิญาณถวายตัวชั่วคราวเป็นเวลา 1-3 ปี แล้วจึงทำการปฏิญาณถวายตัวตลอดชีพ เมื่อได้ปฏิญาณตนแล้วจึงถือว่าเป็นนักบวชในคณะโดยสมบูรณ์[1] หากเป็นนักบวชชายเรียก ภราดา หรือบราเดอร์ (brother) หากเป็นนักบวชหญิงเรียก ภคินี หรือซิสเตอร์ (sister)

นักบวชหญิงในนิกายคาทอลิกจะไม่มีสิทธิ์รับศีลบวช จึงมีสถานะสูงสุดที่ซิสเตอร์ ไม่สามารถเป็นบาทหลวงหญิงได้ แต่นักบวชชายสามารถรับศีลบวชเป็นบาทหลวงได้ เมื่อเป็นบาทหลวงแล้วก็ยังคงอยู่ในสังกัดคณะนักบวชอยู่ โดยมีอธิการเป็นหัวหน้า อธิการคณะจะขึ้นตรงต่ออัคราธิการ (superior general - บางคณะก็เรียกว่ามหาธิการ) อีกต่อหนึ่ง และอัคราธิการจะขึ้นตรงต่อพระสันตะปาปาถ้าคณะนั้นเป็นสิทธิของพระสันตะปาปา (pontifical right) หรือขึ้นต่อมุขนายกประจำมุขมณฑลถ้าเป็นคณะที่เป็นสิทธิของมุขมณฑล (diocesan right)

บาทหลวงโรมันคาทอลิกชาวไทยคนแรก คือ บาทหลวงอันโตนีโอ ปินโต ลูกครึ่งโปรตุเกส-สยาม ศึกษาที่วิทยาลัยกลาง กรุงศรีอยุธยา เรียนจบแล้วไปศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยโปรปากันดาฟีเด กรุงโรม รับศีลบวชขั้นบาทหลวงในปี ค.ศ. 1682 แล้วกลับมาปฏิบัติศาสนกิจที่สยามจนถึงแก่กรรมในวันที่ 24 สิงหาคม ค.ศ. 1696[3]

บาทหลวงในนิกายออร์ทอดอกซ์

บาทหลวงในคริสตจักรอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์มีลักษณะคล้ายกับในคริสตจักรโรมันคาทอลิก คือเป็นนักบวชที่ผ่านการรับศีลบวช โดยในขั้นต้นต้องบวชเป็นพันธบริกรก่อน และทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยในการประกอบพิธีกรรม เมื่อผ่านการฝึกฝนในลำดับต่อมาแล้วจึงจะรับศีลบวชขั้นบาทหลวงได้ และมีหน้าที่เป็นผู้ประกอบพิธีกรรมโปรดศีลศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ ตามที่กฎหมายศาสนจักรอนุญาต ข้อแตกต่างระหว่างทั้งสองคริสตจักรคือชายที่แต่งงานแล้วยังบวชเป็นบาทหลวงออร์ทอดอกซ์ได้ แต่จะแต่งงานหลังผ่านพิธีบวชไม่ได้ (ขณะที่คริสตจักรละตินไม่อนุญาตเลย) แต่กรณีขั้นมุขนายก คริสตจักรออร์ทอดอกซ์จะอนุญาตเฉพาะบาทหลวงที่ถือโสดมาตลอดชีพเท่านั้นให้รับศีลบวชขั้นมุขนายกได้

ชาวไทยคนแรกที่ได้บวชเป็นบาทหลวงออร์ทอดอกซ์คือบาทหลวงดาเนียล ดนัย วรรณะ สังกัดศาสนจักรออร์โธดอกซ์รัสเซีย ซึ่งได้รับศีลบวชเป็นบาทหลวงเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ที่โบสถ์ตรีเอกานุภาพแห่งผู้มอบชีวิตอันศักดิ์สิทธิ์แห่งกรุงมอสโก โดยมีบิชอปมาร์ค อีกาเรฟสกี้ เป็นผู้โปรดศีลบวช[4]

ปุโรหิตในนิกายโปรเตสแตนต์

ในคัมภีร์ไบเบิลฉบับของชาวโปรเตสแตนต์เรียกบาทหลวง (priest) ว่าปุโรหิต และถือว่าคริสตชนทุกคนเป็นปุโรหิตของพระเจ้าอยู่แล้ว ตามข้อความในพระธรรม 1 เปโตร ตอนหนึ่งความว่า

ท่านทั้งหลายเป็นชาติที่พระองค์ทรงเลือกไว้แล้ว เป็นพวกปุโรหิตหลวง...[5] (you are a chosen generation, a royal priesthood,…)

— เปโตร 2:9

จึงถือว่าคริสเตียนทุกคนเป็นผู้รับใช้พระเป็นเจ้าโดยเท่าเทียมกัน

นิกายแองกลิคัน

แม้ว่าคริสตจักรฝ่ายโปรเตสแตนต์ส่วนมากจะมีทัศนะข้างต้น แต่คริสตจักรในแองกลิคันคอมมิวเนียน (ทั้งที่เป็นโปรเตสแตนต์) ก็ถือจารีตคล้ายกับนิกายคาทอลิก ในนิกายนี้จึงมีปุโรหิตที่มีลักษณะอย่างบาทหลวง คือต้องผ่านการบวช (ordination) ซึ่งเรียกว่าการสถาปนา[6] และยังมีการแต่งกายและหน้าที่ในศาสนพิธีคล้ายบาทหลวงโรมันคาทอลิก ปุโรหิตในนิกายแองกลิคันจึงเป็นนักบวช ไม่ใช่คริสตชนทุกคนดังที่คริสตจักรอื่น ๆ ในนิกายโปรเตสแตนต์ถือ

ข้อแตกต่างของนักบวชทั้งสองนิกายคือนิกายแองกลิคันอนุญาตให้นักบวชที่สังกัดมุขมณฑลแต่งงานได้ ขณะที่บาทหลวงคาทอลิก (ไม่ว่าสังกัดมุขมณฑลหรือสังกัดคณะนักบวช) มีกฎให้ต้องถือโสดตลอดชีวิต นอกจากนี้คริสตจักรส่วนใหญ่ในแองกลิคันคอมมิวเนียนยังอนุญาตให้บวชสตรีเป็นนักบวช (priest) ได้ ซึ่งเริ่มอนุญาตมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1971[7]

ชาวไทยคนแรกที่รับสถาปนาเป็นนักบวชแองกลิคันท้องถิ่น (local Anglican priest) คือ ศาสนาจารย์ไพโรจน์ เปี่ยมเมตตาวัฒน์ ได้รับการสถาปนาเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 ที่คริสตจักรไคร้สตเชิช กรุงเทพฯ โดยมีศาสนาจารย์ อาร์ชบิชอป จอห์น ชิว (John Chew) เป็นผู้สถาปนา[8]

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 1.2 ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 387-8
  2. ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว, กรุงเทพพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2556, หน้า 668
  3. วรยุทธ กิจบำรุง, บาทหลวง, บาทหลวง, กรุงเทพฯ: สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย, 2546, หน้า 21-2, 460
  4. ข่าวพิธีบวชบาทหลวงดาเนียล เก็บถาวร 2013-07-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. มูลนิธิคริสต์ศาสนิกชนดั้งเดิมออร์โธดอกซ์ในประเทศ.
  5. จดหมายของเปโตร ฉบับที่ 1, พระคริสตธรรมคัมภีร์, บทที่ 2, ข้อที่ 9
  6. การสถาปนาของคริสตจักรแองลิกัน 1 เก็บถาวร 2011-05-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. คริสตจักรไคร้สตเชิช กรุงเทพฯ. เรียกข้อมูลวันที่ 15 ก.ย. 2554
  7. Emma John (2010-07-04). "Should women ever be bishops?". The Observer. London.
  8. The Anglican Church of Thailand ordains its first Thai priest เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. มุขมณฑลสิงคโปร์. เรียกข้อมูลวันที่ 15 ก.ย. 2554
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
บาทหลวง
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?