For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for ดีกัน.

ดีกัน

พันธบริกรคาทอลิกในชุดดัลมาติก (Dalmatic) ซึ่งเป็นเครื่องแบบในศาสนพิธี

ดีกัน[1] (อังกฤษ: deacon) เป็นตำแหน่งหนึ่งในการบริหารคริสตจักร พบได้ในทุกนิกาย แต่มีการกำหนดหน้าที่และคุณสมบัติไว้แตกต่างกัน นิกายโรมันคาทอลิกในประเทศไทยใช้คำว่าสังฆานุกร[2]

ดีกันในคริสต์ศาสนายุคแรก

คำว่าดีกัน (deacon) มาจากคำภาษากรีก diakonos ซึ่งแปลว่า ผู้รับใช้ คัมภีร์ไบเบิลระบุว่าเมื่อคริสตชนมีจำนวนมากขึ้น เหล่าอัครทูตเห็นสมควรให้มีการเลือกคริสตชน 7 คนเพื่อมาช่วยงานคริสตจักร และจะได้เป็นการแบ่งเบาภาระของอัครทูตด้วย ในที่สุดจึงมีการเลือกบุรุษ 7 คน ได้แก่ นักบุญสเทเฟน ฟีลิป โปรโครัส นิคาโนร์ ทิโมน ปารเมนัส และนิโคเลาส์ เป็นผู้ช่วยงานคริสตจักร จึงถือว่าเป็นดีกันรุ่นแรกในคริสต์ศาสนา อัครทูตก็ได้รับรองบุคคลทั้งเจ็ดนี้โดยการทำพิธีปกมือบนศีรษะ[3] (กจ. 6:1-6)

นักบุญเปาโลยังระบุคุณสมบัติของดีกันไว้ในจดหมายของท่านที่มีไปถึงนักบุญทิโมธี ว่าดีกันต้องเป็นคนเอาการเอางาน ไม่ปลิ้นปล้อน ไม่ขี้เมา ไม่ขี้โลภ ถ้าเป็นหญิงก็ต้องไม่ใส่ร้ายผู้อื่น รู้จักประมาณตน ซื่อสัตย์ ผู้ชายต้องมีภรรยาเดียว ปกครองบุตรและบ้านของตนได้เรียบร้อยดี[4]

พันธบริกรในคริสตจักรคาทอลิก

ดีกันในคริสตจักรจักรคาทอลิกคือพันธบริกร[5] บางแห่งก็เรียกว่าสังฆานุกร[6] ถือว่าเป็นผู้รับศีลบวช (cleric) ที่มีสถานะต่ำกว่าบาทหลวง (priest) พันธบริกรมีหน้าที่ช่วยเหลือมุขนายกและบาทหลวงในการประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ เช่น พิธีมิสซา พิธีศีลล้างบาป พิธีศพ เป็นต้น รวมถึงช่วยงานสงเคราะห์ เช่น ช่วยเหลือคนยากจน[7]

พันธบริกรมีสองประเภท คือพันธบริกรถาวร และพันธบริกรชั่วคราว พันธบริกรถาวรแต่งงานได้และจะต้องดำรงตำแหน่งพันธบริกรตลอดชีวิต ส่วนพันธบริกรชั่วคราวคือพันธบริกรที่เตรียมตัวเพื่อจะบวชเป็นบาทหลวง พันธบริกรชนิดนี้จะต้องถือพรหมจรรย์ตลอดชีวิต และจะสิ้นสุดสถานะพันธบริกรเมื่อได้บวชเป็นบาทหลวงแล้ว[7]

ตามประมวลกฎหมายพระศาสนจักรคาทอลิก กำหนดให้บุรุษรับศีลบวชเป็นพันธบริกรชั่วคราวได้เมื่อเรียนจบสาขาวิชาปรัชญาหรือเทววิทยาหลักสูตร 5 ปี และจะบวชเป็นบาทหลวงได้เมื่อผ่านการฝึกงานในเขตมิสซังตามที่มุขนายกหรืออธิการใหญ่ (major superior) กำหนดไว้ ส่วนพันธบริกรถาวรหากยังไม่ได้แต่งงานจะบวชเป็นพันธบริกรได้เมื่ออายุไม่น้อยกว่า 25 ปี หากแต่งงานแล้วต้องมีอายุไม่น้อยกว่า 35 ปีและได้รับการเห็นชอบจากภรรยา[8]

พันธบริกรในคริสตจักรออร์ทอดอกซ์

พันธบริกร หรือสังฆานุกร ในคริสตจักรออร์ทอดอกซ์[9] เป็นตำแหน่งแรกที่จะก้าวไปสู่ตำแหน่งต่อไป เช่น บาทหลวง หรือมุขนายก ในคริสตจักรออร์ทอดอกซ์ พันธบริกรสามารถเลือกที่จะสมรสได้ก่อนที่จะรับศีลบวช และยังเลือกที่จะเป็นพันธบริกรตลอดชีวิตได้ตามความประสงค์ของตนเอง โดยพันธบริกรบางคนจะเป็นพันธบริกรประจำตัวของมุขนายก หน้าที่หลักของพันธบริกรก็คือช่วยพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ นำสวดบทวิงวอนต่าง ๆ ตามธรรมเนียมของคริสตจักรออร์ทอดอกซ์ พันธบริกรจะได้รับการเรียกว่า 'คุณพ่อ' แล้ว

ลำดับขั้น

พันธบริกร แบ่งเป็นสองสายคือสายสมรสและสายถือโสด โดยสายที่ถือโสดเมื่อได้รับศีลบวชจะได้รับขั้นเป็น "พันธบริกร" ธรรมดา หากเป็นพันธบริกรอยู่นานหรือได้รับเลือกให้เป็นพันธบริกรประจำตัวมุขนายกอาจจะได้รับแต่งตั้งให้เป็น "ปฐมพันธบริกร" (Protodeacon) ซึ่งเรื่องนี้ขึ้นอยู่กับมุขนายก สำหรับพันธบริกรสายถือโสดหากได้ถวายตัวเป็นนักพรตก็จะได้ตำแหน่งเป็น "พันธบริกรนักพรต" (Hierodeacon) หากเป็นพันธบริกรอยู่นานหรือได้รับเลือกให้เป็นพันธบริกรประจำตัวมุขนายก อาจได้รับการแต่งตั้งให้เป็น "อัครพันธบริกร" ซึ่งเรื่องนี้ก็ขึ้นอยู่กับมุขนายกเช่นกัน

มัคนายกในนิกายโปรเตสแตนต์

ดีกันในนิกายโปรเตสแตนต์เรียกว่ามัคนายก[10] เป็นตำแหน่งในคริสตจักร มีหน้าที่ในการรับใช้คริสตจักรและชุมชน มีหน้าที่ดังนี้[11]

  1. เป็นนักเทศน์ที่สำแดงถึงน้ำพระทัยของพระเจ้าเพื่อเพิ่มพูนความเชื่อ และความรู้ของคริสเตียนและคนทั่วไป
  2. เยี่ยมเยียน บำบัดทุกข์ บำรุงสุขสมาชิก
  3. รับผิดชอบงานด้านสังคมสงเคราะห์
  4. รับผิดชอบดูแลรักษาทรัพย์สินของคริสตจักรทั้งสังหาริมทรัพย์ และอสังหาริมทรัพย์ ด้วยระบบการเงิน และการบัญชีที่รัดกุม
  5. ส่งเสริมการนันทนาการ การเผยแพร่ การเพิ่มพูนสมาชิก การเป็นพยาน การบริการ ฉันทะภาระ และความสามัคคีของสมชิก
  6. ทำหน้าที่ผู้ปกครองในกรณีที่คริสตจักรท้องถิ่นใดไม่มีตำแหน่งผู้ปกครอง

อ้างอิง

  1. ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 201
  2. พระสมณกฤษฎีกาว่าด้วยเรื่องบรรดาคริสตจักรคาทอลิกตะวันออก, เอกสารแห่งสภาสังคายนาวาติกัน ที่ 2
  3. พระคริสตธรรมคัมภีร์ ภาคพันธสัญญาเดิมและพันธสัญญาใหม่ ฉบับ ๑๙๗๑ (ฉบับเรียงพิมพ์ใหม่ ๑๙๙๘), กรุงเทพฯ: สมาคมพระคริสตธรรมไทย, 2543, หน้า 190
  4. พระคริสตธรรมคัมภีร์ ภาคพันธสัญญาเดิมและพันธสัญญาใหม่ ฉบับ ๑๙๗๑ (ฉบับเรียงพิมพ์ใหม่ ๑๙๙๘), หน้า 328
  5. ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, หน้า 250
  6. พระฐานานุกรมของพระศาสนจักร, เอกสารแห่งสภาสังคายนาวาติกัน ที่ 2
  7. 7.0 7.1 วัชศิลป์ กฤษเจริญ, บาทหลวง, คาทอลิกสอนอะไร, พิมพครั้งที่ 4, ราชบุรี: ศูนย์คริสตศาสนธรรม เขตมิสซังราชบุรี, 2548, หน้า 88
  8. ประมวลกฎหมายพระศาสนจักร บรรพ ๔ หน้าที่ทำให้ศักดิ์สิทธิ์ของพระศาสนจักร, กรุงเทพฯ: สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย, 2546, หน้า 117-9
  9. https://www.facebook.com/peeptheorthodox/posts/1034273960037636
  10. พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, หน้า 251
  11. โครงสร้างคริสตจักร เก็บถาวร 2015-05-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. คริสตจักรพิษณุโลก. เรียกข้อมูลวันที่ 22 ก.พ. พ.ศ. 2554.
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
ดีกัน
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?