For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for ตรีเอกภาพ.

ตรีเอกภาพ

ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด
จิตรกรรมฝาผนัง “ตรีเอกภาพ” โดยลูคา โรสเซ็ทที (Luca Rossetti) แสดงให้เห็นพระเจ้าพระบิดา (พระยาห์เวห์) พระเจ้าพระบุตร (พระเยซู) และพระวิญญาณบริสุทธิ์ ในรูปของนกพิราบ (ค.ศ. 1738-ค.ศ. 1739) ที่โบสถ์เซนต์กอเซนซิโอ ที่เมื่องอิฟเรีย ใกล้ตูริน

ตรีเอกภาพ (ศัพท์โรมันคาทอลิกและอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์) หรือ ตรีเอกานุภาพ (ศัพท์โปรเตสแตนต์) (อังกฤษ: Trinity) คือภาวะที่พระเป็นเจ้าพระองค์เดียวเป็นเอกภาพ แต่ปรากฏเป็นสามพระบุคคล คือ พระบิดา พระบุตร (เชื่อว่ามาเกิดเป็นพระเยซู) และพระวิญญาณบริสุทธิ์ ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 4 เทววิทยาศาสนาคริสต์ทั้งทางตะวันออกและตะวันตกยอมรับว่า “ในพระเจ้าเดียว มีสามพระบุคคล[1]” สามสิ่งนี้ต่างบุคคลกันแต่มีธรรมชาติเดียวคือความเป็นพระเจ้า ทางปรัชญายังกล่าวต่อไปว่าพระบุตรหรือพระเยซูมีสองธรรมชาติรวมอยู่ในบุคคลเดียวกัน คือความเป็นพระเจ้าและขณะเดียวกันก็เป็นมนุษย์ (hypostatic union)

ความเชื่อเรื่อง “ตรีเอกภาพ” เรียกว่า “ตรีเอกภาพนิยมคริสตจักรเกือบทุกคริสตจักรในคริสต์ศาสนามีความเชื่อแบบ “ตรีเอกภาพนิยม” และถือว่าเป็นรากฐานของคำสอนของคริสต์ศาสนา[2][3]

ผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับลัทธิตรีเอกภาพนิยมก็มี เช่น “ลัทธิทวิเอกภาพนิยม” (Binitarianism) ซึ่งเชื่อในความเป็นสองพระบุคคลของพระเจ้าเดียว และลัทธิเอกภาพนิยม (Unitarianism) ที่เชื่อว่ามีพระเจ้าเดียว โดยไม่แบ่งพระบุคคล

ลัทธิตรีเอกภาพนิยมหลังพันธสัญญาใหม่[2] เป็นปรัชญาที่สำคัญที่ทำให้เกิดความขัดแย้งกับลัทธิเอเรียส ซึ่งเชื่อว่าพระเยซูเป็นสิ่งที่สร้างโดยพระเจ้า และสิ่งทั้งสามมิได้คงอยู่ร่วมกันตลอดกาลอย่างที่ลัทธิตรีเอกภาพนิยมเชื่อ ความขัดแย้งนี้เป็นความขัดแย้งสำคัญครั้งแรกในประวัติคริสต์ศาสนาและมีผลกระทบกระเทือนต่อคริสตจักรในจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ซึ่งเป็นผลให้ชาวเจอร์มานิกที่ถือลัทธิเอเรียส (Germanic Arians) แยกตัวจากคริสต์ศาสนิกชนที่ยึดหลักข้อเชื่อไนซีน (Nicene Christians)

ตรีเอกภาพในศิลปะ

“ตรีเอกภาพ” ที่มหาวิหารแซ็ง-เดอนีที่ปารีส แสดงพระบุตรในรูปของแกะ
“ตรีเอกภาพ” เป็นรูปสามเหลี่ยมซ้อนกับรูปจิก

“ตรีเอกภาพ” เป็นหัวข้อที่มักจะพบในศิลปะศาสนาคริสต์โดยใช้นกพิราบเป็นของพระวิญญานบริสุทธิ์ ตามที่กล่าวในพระวรสารจากเหตุการณ์ “พระเยซูทรงรับบัพติศมา” (Baptism of Christ) รูปนกพิราบส่วนใหญ่จะกางปีก การแสดง “ตรีเอกภาพ” เป็นมนุษย์สามคนก็ใช้ในศิลปะทุกสมัย[4]

ภาพพระบิดาและพระบุตรจะเป็นปรากฏเป็นชายที่มีอายุต่างกัน และต่อมาก็จะแตกต่างกันจากการแต่งกายด้วยแต่ก็ไม่เสมอไป โดยทั่วไปพระบิดาจะเป็นชายสูงอายุมีหนวดขาวซึ่งอาจจะนำมาจากตำนานไบเบิล Ancient of Days ซึ่งมักจะใช้อ้างเมื่อมีข้อขัดแย้งในการแสดงภาพเช่นนี้ แต่ในคริสตจักรออร์ทอดอกซ์ ตำนาน Ancient of Days เชื่อว่าชายคนเดียวกันนีคือพระบุตรมิใช่พระเจ้าภาคพระบิดา บางครั้งเมื่อแสดงภาพของพระบิดาในงานศิลปะศิลปินจะใช้รัศมีเหนือพระเศียรที่เป็นสามเหลื่ยมแทนที่จะกลมเช่นรัศมีทั่วไป พระบุตรมักจะอยู่ทางขวาของพระบิดา [5] บางครั้งก็จะใช้สัญลักษณ์เป็นลูกแกะ หรือ กางเขน แทนพระบุตร หรือพระบุตรบนกางเขน ฉะนั้นพระบิดาจะแสดงเป็นมนุษย์ขนาดเต็มตัว ในสมัยกลางตอนต้นพระเจ้าจะเป็นเพียงมือที่ยื่นออกมาจากก้อนเมฆคล้ายประทานพรเช่นในการให้พรเมื่อ “พระเยซูทรงรับบัพติศมา” ต่อมาก็มีการสร้างศิลปะที่เรียกว่า “บัลลังก์แห่งความกรุณา” (Throne of Mercy หรือ Throne of Grace) ซึ่งเป็นที่นิยมกัน ในศิลปะแบบนี้พระบิดาบางครั้งจะนั่งบนบัลลังก์ถือไม่ก็กางเขน[6] ก็ประคองร่างพระบุตร ซึ่งโครงการจัดภาพหรือรูปปั้นจะคล้ายคลึงกับทรงปีเอตะ ซึ่งที่เยอรมนีเรียกว่า “Not Gottes”[7] ในขณะที่นกพิราบจะกางปีกอยู่เหนือพระเศียรหรืออยู่ระหว่างพระบิดาและพระบุตร ทรงนี้เป็นที่นิยมทำกันจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 18

ปลายสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 15 การแสดง “ตรีเอกภาพ” ก็เริ่มใหญ่ขึ้น และมีโครงลักษณะแบบอื่นๆ นอกเหนือไปจากทรง “บัลลังก์แห่งความกรุณา” การแสดงตรีเอกภาพก็เริ่มใช้กันเป็นมาตรฐานโดยแสดงพระบิดาเป็นชายใส่เสื้อคลุมเรียบ ๆ ร่างท่อนบนของพระบุตรจะเปลือยแสดงให้เห็นแบบพระสันตะปาปา

การแสดง “ตรีเอกภาพ” จะหายากในศิลปะในคริสตจักรออร์ทอดอกซ์ไม่ว่าจะเป็นสมัยใด การไม่นิยมแสดงรูปเคารพของพระบิดาจนกระทั่งสมัยกลางตอนปลาย หลังจากสังคายนาไนเซียครั้งที่สอง (Second Council of Nicea) เมื่อปี ค.ศ. 787 อนุญาตให้มีการแสดงรูปสัญลักษณ์ของพระเยซูได้เพราะพระเยซูเป็นมนุษย์ แต่ความคิดเห็นเกี่ยวกับการแสดงรูปพระเจ้าไม่มีหลักฐานแน่นอน การแสดง “เทวรูปพระตรีเอกภาพ” จะใช้ “ตรีเอกภาพ” จากพันธสัญญาเดิม ซึ่งเป็นทูตสวรรค์สามองค์ที่มาปรากฏตัวต่ออับราฮัม และกล่าวว่าเป็น “พระผู้เป็นเจ้า” (ปฐมกาล:18.1-15) การประชุมซีนอดแห่งมอสโก (Great Synod of Moscow) ในปี ค.ศ. 1667 ประกาศห้ามการแสดงรูปเคารพของพระบิดาในรูปเหมือนมนุษย์

การแสดง “ตรีเอกภาพ” ในศิลปะคริสเตียนจะมีไม่กี่ฉากนอกจากภาพพระเยซูทรงรับบัพติศมาซึ่งจะแสดงทั้งสามองค์ประกอบในบทบาทที่ต่างกัน หรือภาพ “การสวมมงกุฏพระนางพรหมจารี” (Coronation of the Virgin) ซึ่งเป็นที่นิยมกันทางตะวันตกก็เป็นอีกภาพหนึ่งที่มักจะแสดง “ตรีเอกภาพ” แต่ภาพเช่น “พระคริสต์ทรงพระสิริ” (Christ in Majesty) หรือ “การพิพากษาครั้งสุดท้าย” (Last Judgement) ซึ่งตามเหตุผลน่าจะแสดง “ตรีเอกภาพ” แต่กลับแสดงเพียงพระเยซู[8]

การแสดง “ตรีเอกภาพ” ที่เป็นคนสามคนเหมือนกันจะหายากเพราะแต่ละภาคของตรีเอกภาพมีบทบาทต่างกัน แต่ที่หายากกว่าคือการแสดงเหมือนมนุษย์คนเดียวที่มีสามหน้า เพราะคำบรรยายของ “ตรีเอกภาพ” เป็นคนสามคนที่มีหัวพระเจ้าหนึ่งหัวไม่ใช่คนคนเดียวที่มีสามบทบาท ซึ่งกลายเป็นการสนับสนุนปรัชญา Modalism ซึ่งเป็นลัทธิที่ถูกฝ่ายอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์และออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์ประณามว่าเป็นพวกนอกรีต

การแสดง “ตรีเอกภาพ” อาจจะเป็นแบบนามธรรมโดยใช้สัญลักษณ์เช่นสามเหลื่ยม หรือสามเหลี่ยมสองอันซ้อนกัน, ดอกจิก, หรือผสมสิ่งที่กล่าวมา บางครั้งก็จะมีรัศมีในรูปด้วย สัญลักษณ์เหล่านี้ไม่แต่จะพบในงานจิตรกรรมหรือประติมากรรมแต่ยังพบในงานปัก, พรมทอแขวนผนัง, เครื่องแต่งตัวของพระ, ผ้าคลุมแท่นบูชา, หรือรายละเอียดในสถาปัตยกรรม

อ้างอิง

  1. Lawrence B. Porter, "On Keeping 'Persons' in the Trinity: A Linguistic Approach to Trinitarian Thought," Theological Studies 41 (1980) pages 530-548
  2. 2.0 2.1 Harris, Stephen L. (1985) Understanding the Bible Palo Alto: Mayfield. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ "Harris" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน
  3. Cross, F. L., ed. (2005) The Oxford Dictionary of the Christian Church New York: Oxford University Press
  4. See below and G Schiller, Iconography of Christian Art, Vol. I,1971, Vol II, 1972, (English trans from German), Lund Humphries, London, figs I;5-16 & passim, ISBN 853312702and ISBN 853313245
  5. กิจการ 7:56
  6. Schiller op cit II:p.122-124 and figs 409-414
  7. Schiller op cit II: pp. 219-224 and figs 768-804
  8. for both, Schiller op cit I:pp. 6-12 and figs 10-16

ข้อมูลเพิ่มเติม

สมุดภาพ

{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
ตรีเอกภาพ
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?