For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for มารีย์ (มารดาพระเยซู).

มารีย์ (มารดาพระเยซู)

มารีย์
แม่พระระทมทุกข์ วาดโดยซัสโซแฟร์ราโต ราวคริสต์ศตวรรษที่ 17
เกิดแม่พระเกิดเมื่อวันที่ 8 กันยายน แต่ไม่ได้ระบุปีเกิด อีกทั้งกำหนดให้วันที่ 8 กันยายนเป็นวันฉลองแม่พระบังเกิด[1]
สัญชาติอิสราเอล จักรวรรดิโรมัน[2]
คู่สมรสนักบุญโยเซฟ[3]
บุตรพระเยซู
บิดามารดานักบุญโยอาคิมและนักบุญอันนา[4]

มารีย์[5] (ฮีบรู: מרים, มัรยาม, มีเรียม) คริสต์ศาสนิกชนบางนิกายเรียกว่าพระแม่มารีย์ พระนางมารีย์พรหมจารี (อังกฤษ: Blessed Virgin Mary) หรือพระนางมารีย์พระชนนีพระเป็นเจ้า (Mary, Mother of God) (ในอัลกุรอานว่านางมัรยัม) เป็นสตรีชาวยิวจากเมืองนาซาเรธ แคว้นกาลิลี คัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาใหม่และคัมภีร์อัลกุรอานระบุตรงกันว่านางได้เป็นมารดาของพระเยซูโดยอำนาจของพระเจ้า[6][7][8]

รูปปั้นพระแม่มารี ทรงอุ้มพระกุมาร(พระเยซู) หน้าศูนย์มิสซังราชบุรี

พระวรสารนักบุญมัทธิวและพระวรสารนักบุญลูการะบุว่ามารีย์เป็นหญิงพรหมจรรย์ (παρθένος, parthénos ในภาษากรีก)[9] ชาวคริสต์เชื่อสืบกันมาแต่อดีตว่านางได้ตั้งครรภ์บุตรด้วยอำนาจพระวิญญาณบริสุทธิ์ขณะที่ยังเป็นหญิงพรหมจรรย์ ส่วนชาวมุสลิมก็เชื่อว่านางตั้งครรภ์ด้วยโองการของพระเจ้า เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อนางได้หมั้นหมายกับนักบุญโยเซฟแล้วและอยู่ระหว่างรอพิธีแต่งงาน[10] เมื่อนางได้แต่งงานกับโยเซฟแล้วก็ย้ายไปอยู่ที่เมืองเบธเลเฮมซึ่งได้เป็นที่ประสูติพระเยซู[3] ตามธรรมเนียมยิวการหมั้นน่าจะเกิดขึ้นเมื่อนางอายุราว 12 ปีแล้วให้กำเนิดพระเยซูในหนึ่งปีหลังจากนั้น[11]

คัมภีร์ภาคพันธสัญญาใหม่เริ่มกล่าวถึงนางด้วยเหตุการณ์แม่พระรับสาร เมื่อทูตสวรรค์กาเบรียลมาปรากฏกายต่อหน้านาง แล้วแจ้งว่าพระเจ้าทรงเลือกนางให้เป็นมารดาของพระเยซู คริสตจักรและข้อเขียนนอกพระคัมภีร์ในยุคแรกยังระบุว่าบิดามารดาของนางเป็นคู่สามีภรรยาสูงอายุชื่อนักบุญโยอาคิมและนักบุญอันนา คัมภีร์ไบเบิลบันทึกถึงบทบาทของนางในชีวิตของพระเยซูตั้งแต่การตั้งครรภ์พระองค์จนถึงพระองค์เสด็จขึ้นสวรรค์ ข้อเขียนจากคัมภีร์นอกสารบบยังกล่าวว่าหลังจากมรณกรรมนางได้รับการยกขึ้นสวรรค์ทั้งกายและวิญญาณด้วย[12]

ชาวโรมันคาทอลิก อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ ออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์ แองกลิคัน และลูเทอแรน เชื่อว่ามารีย์ในฐานะที่เป็นมารดาของพระเยซูย่อมถือว่าเป็นพระมารดาพระเจ้า (Μήτηρ Θεοῦ) ด้วย ซึ่งตามตัวอักษร (คำว่า theotokos) แปลว่าผู้ให้กำเนิดพระเจ้า พระแม่มารีย์เป็นที่เคารพนับถือมาตั้งแต่ศาสนาคริสต์ยุคแรก[13][14] ตลอดยุคสมัยนางได้เป็นแรงบันดาลใจให้เกิดงานศิลปะ ดนตรี และวรรณกรรมมากมายในคริสต์ศาสนา

คริสต์ศาสนานิกายต่าง ๆ จะมีความเชื่อและหลักปฏิบัติที่แสดงถึงเลื่อมใสต่อพระแม่มารีย์แตกต่างกัน ไป คริสตจักรโรมันคาทอลิกมีหลักความเชื่อเกี่ยวกับพระแม่มารีย์โดยเฉพาะ เช่น การปฏิสนธินิรมล การถูกรับขึ้นสวรรค์ทั้งกายและวิญญาณ ชาวคาทอลิกเรียกนางว่าแม่พระหรือพระแม่เจ้า (Our Lady) และมีการแสดงความเคารพต่อนางด้วยเชื่อว่านางเป็นราชินีสวรรค์และมารดาคริสตจักร แต่ชาวโปรเตสแตนต์ส่วนมากไม่ยอมรับความเชื่อเหล่านี้[15][16] ทั้งเห็นว่านางมีบทบาทเพียงเล็กน้อยเท่านั้นในคริสต์ศาสนา เพราะคัมภีร์ไบเบิลเองก็กล่าวถึงนางเพียงสั้น ๆ นางจึงเป็นเพียงธรรมิกชนและมิได้ถูกยกขึ้นตามความเชื่อที่กล่าวมาข้างต้น

ทัศนะอิสลาม

ส่วนชาวมุสลิมเรียกมารีย์มารดาของพระเยซู (นบีอีซา) ว่า มัรยัม และเชื่อเช่นเดียวกับชาวคริสต์ทั่วไปว่านางให้กำเนิดนบีทั้งที่เป็นหญิงพรหมจรรย์ ในอัลกุรอานยังมีชื่อบทที่ตั้งตามชื่อนางโดยเฉพาะ (คือบทที่ 19 ซูเราะฮ์มัรยัม) กล่าวถึงหลายเหตุการณ์เกี่ยวกับนาง ทั้งก่อนเกิด ตอนเกิด ตอนเติบโต การรับสารจากทูตสวรรค์ว่าจะมีบุตรโดยการเป่าวิญญาณเข้าไปในครรภ์ เพื่อให้กำเนิดนบีอีซา มีการบ่งบอกการเกิดของนางมัรยัมในกุรอาน โดยนางฮันนะฮ์มารดาของมัรยัมได้บนบานกับพระเจ้าไว้ว่าขอให้มีบุตรและหากมีบุตรก็จะมอบให้กับโบสถ์เพื่อการสักการะพระเจ้า ดังใน ซูเราะฮ์ อาละอิมรอน วรรคที่ 35-36

ดูเพิ่ม

แหล่งค้นคว้าเพิ่มเติม

  • อัญชลี สุสายัณห์. “แมรีในฐานะแม่พระ (Mother of God) กับความเปลี่ยนแปลงของคริสตศาสนาในยุโรป.” รวมบทความประวัติศาสตร์ 24 (2545): 1-30.

อ้างอิง

  1. "Feast of the Nativity of the Blessed Virgin Mary". Newadvent.org. 1911-10-01. สืบค้นเมื่อ 2010-03-02.
  2. The Life of Jesus of Nazareth, By Rush Rhees, (BiblioBazaar, LLC, 2008), page 62
  3. 3.0 3.1 Ruiz, Jean-Pierre. "Between the Crèche and the Cross: Another Look at the Mother of Jesus in the New Testament." New Theology Review; Aug2010, Vol. 23 Issue 3, pp3-4
  4. Ronald Brownrigg, Canon Brownrigg Who's Who in the New Testament 2001 ISBN 0-415-26036-1 page T-62
  5. กิจการของอัครทูต บทที่ 1 ข้อที่ 14 เก็บถาวร 2011-12-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. คริสตจักรไคร้สตเชิช กรุงเทพ. เรียกข้อมูลวันที่ 25 ก.ค. พ.ศ. 2554
  6. "พระกิตติคุณฉบับมัทธิว บทที่ 1 ข้อที่ 16". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-20. สืบค้นเมื่อ 2011-07-25.
  7. "ลูกา 1:26-56". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-20. สืบค้นเมื่อ 2011-07-25.
  8. "ลูกา 2:2-7". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-12-22. สืบค้นเมื่อ 2011-07-25.
  9. มัทธิว 1:23 เก็บถาวร 2011-05-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ใช้คำภาษากรีกว่า parthénos ซึ่งแปลว่าพรหมจารี ขณะที่ฉบับภาษาฮีบรูหนังสืออิสยาห์ บทที่ 7 ข้อที่ 14 เก็บถาวร 2011-12-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ซึ่งภาคพันธสัญญาใหม่ใช้อ้างอิงมากลับระบุแค่เป็น Almah ซึ่งแปลว่าหญิงสาว ดูบทความว่าด้วย parthénos ใน Bauer/(Arndt)/Gingrich/Danker, "A Greek-English Lexicon of the New Testament and Other Early Christian Literature", พิมพ์ครั้งที่ 2, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยชิคาโก, 1979, หน้า 627
  10. Browning, W. R. F. A dictionary of the Bible. 2004 ISBN 0-19-860890-X page 246
  11. Dale C. Allison, "Matthew: A Shorter Commentary", p.12
  12. สมโภชแม่พระรับเกียรติยกขึ้นสวรรค์ เก็บถาวร 2010-10-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. เขตมิสซังกรุงเทพฯ. เรียกข้อมูลวันที่ 14 ก.พ. พ.ศ. 2554
  13. Burke, Raymond L.; et al. (2008). Mariology: A Guide for Priests, Deacons, Seminarians, and Consecrated Persons ISBN 978-1-57918-355-4 page 178
  14. Mary for evangelicals by Tim S. Perry, William J. Abraham 2006 ISBN 0-8308-2569-X page 142
  15. Christian belief and practice by Gordon Geddes, Jane Griffiths 2002 ISBN 0-435-30691-X page 12
  16. "Mary, the mother of Jesus." The New Dictionary of Cultural Literacy, Houghton Mifflin. Boston: Houghton Mifflin, 2002. Credo Reference. Web. 28 September 2010.
  • ความหมายอัลกุรอ่าน ภาษาไทย โดย สมาคมนักเรียนเก่าอาหรับ
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
มารีย์ (มารดาพระเยซู)
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?