For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for แม่พระปฏิสนธินิรมล.

แม่พระปฏิสนธินิรมล

รูปแม่พระปฏิสนธินิรมล

พระนางมารีย์ผู้ปฏิสนธินิรมล หรือ แม่พระปฏิสนธินิรมล[1] (อังกฤษ: Immaculate Conception of Mary; ละติน: immaculata conceptio) เป็นความเชื่อในคริสตจักรโรมันคาทอลิกที่ว่าพระนางมารีย์พรหมจารีทรงปฏิสนธิโดยปราศจากมลทินใด ๆ [2] ของบาปกำเนิด[3] ความเชื่อนี้นับเป็นหนึ่งในสี่คำสอนต้องเชื่อในมารียวิทยาในคริสตจักรโรมันคาทอลิก ด้วยเหตุนี้ในงานศิลปะบางครั้งจึงเรียกพระนางมารีย์พรหมจารีว่า อิมมากูลาตา (Immaculata: ผู้นิรมล)[4]

คำสอนต้องเชื่อที่คริสตจักรโรมันคาทอลิกประกาศนั้นระบุว่า "พระเจ้าผู้ทรงสรรพานุภาพ ด้วยทรงคำนึงถึงประโยชน์แก่พระเยซูคริสต์พระผู้ไถ่มวลมนุษยชาติ จึงประทานพระหรรษทานและเอกสิทธิ์ให้พระนางมารีย์พรหมจารีพ้นจากมลทินของบาปกำเนิดทั้งปวงมาตั้งแต่ตอนปฏิสนธิ"[2] ด้วยการปราศจากบาปกำเนิดนี้ จึงถือกันว่านางเป็นผู้เปี่ยมด้วยพระหรรษทานศักดิ์สิทธิกรมาตั้งแต่ต้น ซึ่งตามปกติถ้าเป็นผู้อื่นจะได้รับหลังจากรับศีลล้างบาป

คริสตจักรโรมันคาทอลิกยังถือว่าแม่พระปฏิสนธินิรมลเป็นองค์อุปถัมภ์นักปรัชญา[5] และจัดให้มี "วันสมโภชพระนางมารีย์ผู้ปฏิสนธินิรมล" ตรงกับวันที่ 8 ธันวาคมของทุกปี[1]

มุมมองของคริสตจักรอื่น

[แก้]

นิกายแองกลิคัน

[แก้]

แม้ว่าชาวแองโกล-คาทอลิกจะเชื่อเรื่องแม่พระปฏิสนธินิรมล แต่ความเชื่อนี้กลับไม่เป็นที่ยอมรับในนิกายแองกลิคัน[6] ในหนังสือภาวนา "พิธีนมัสการทั่วไป" ของคริสตจักรแห่งอังกฤษ ถือว่าวันที่ 8 ธันวาคมเป็นเทศกาลฉลอง "การปฏิสนธิของพระนางพรหมจารีมารี" (ไม่มีคำว่านิรมล)[7]

รายงานเรื่อง "พระแม่มารีย์ ศรัทธาและความหวังในพระคริสต์" ของคณะกรรมการสากลแองกลิคัน-โรมันคาทอลิก สรุปว่าคำสอนเกี่ยวกับพระแม่มารีย์เรื่องแม่พระรับเกียรติยกขึ้นสวรรค์และแม่พระปฏิสนธินิรมลนั้นนับว่าสอดคล้องกับคำสอนของคัมภีร์ไบเบิลและธรรมประเพณีโบราณที่ถือสืบกันมา[8] แต่รายงานนี้ก็แสดงความกังวลหากคริสตจักรโรมันคาทอลิกจะตีความคำสอนนี้ว่าเป็น "พระวิวรณ์จากพระเจ้า" จึงระบุว่า "อย่างไรก็ตามชาวแองกลิคันสงสัยว่าหลักความเชื่อนี้จะมาจากพระเจ้าจนเราต้องถือว่าเป็นความศรัทธาด้วยหรือไม่"[9]

นิกายโปรเตสแตนต์

[แก้]

มาร์ติน ลูเทอร์ผู้เริ่มต้นการปฏิรูปศาสนาฝ่ายโปรเตสแตนต์กล่าวว่า "พระแม่มารีย์เปี่ยมด้วยพระคุณ เป็นผู้ปราศจากบาปโดยสิ้นเชิง พระคุณของพระเจ้าทำให้ท่านเปี่ยมด้วยสิ่งดีทุกอย่าง และปราศจากสิ่งชั่วร้ายทั้งมวล[10] แต่พอปี ค.ศ. 1532 เขากลับปฏิเสธเรื่องแม่พระปฏิสนธินิรมลโดยกล่าวว่า "มารีย์ก็ปฏิสนธิในบาปดังเช่นพวกเราทั้งหลาย" [11] แต่ชาวลูเทอแรนบางคน เช่น สมาชิกของคริสตจักรแองโกล-ลูเทอแรนคาทอลิก กลับยังยอมรับหลักความเชื่อนี้

ชาวโปรเตสแตนต์ส่วนมากปฏิเสธหลักความเชื่อนี้ เพราะเห็นว่าเป็นเรื่องที่มาจากพัฒนาการของเทววิทยาสิทธันต์ ซึ่งไม่น่าเชื่อถือเว้นแต่จะมีนัยวิเคราะห์ได้จากคัมภีร์ไบเบิล และหลักความเชื่อนี้ก็ไม่ปรากฏอยู่ในคัมภีร์ไบเบิลเลย[12] การที่คริสตจักรโรมันคาทอลิกประกาศอย่างเป็นทางการรับรองการปฏิสนธินิรมลของพระแม่มารีย์ในปี ค.ศ. 1854 จึงทำให้เกิดความขัดแย้งกับฝ่ายโปรเตสแตนต์บางคริสตจักรขึ้น ส่วนหนึ่งก็เพราะความเชื่อนี้สื่อความได้ว่าไม่ใช่ทุกคนเป็นคนบาป[13]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 สมโภชพระนางมารีย์ผู้ปฏิสนธินิรมล 8 ธันวาคม. มิสซังคาทอลิกกรุงเทพฯ. เรียกข้อมูลวันที่ 19 ส.ค. พ.ศ. 2554
  2. 2.0 2.1 "Encyclical Ineffabilis Deus of Pope Pius IX". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-03-14. สืบค้นเมื่อ 2011-08-20.
  3. Encyclical Ad diem illum of Pope Pius X
  4. Mark Miravalle, 1993, Introduction to Mary, Queenship Publishing ISBN 9781882972067 page 64-70
  5. Patron Saints: P. Catholic Online
  6. Our Lady Saint Mary by J.G.H. Barry, 2008, ISBN 0554243326, pages 25-27
  7. Common Worship: Festivals (Church House Publishing, Church of England ISBN 978-0-7151-2114-6), p. 20
  8. Ecumenical Affairs - Dialogues - Anglican Roman Catholic Paragraph 78 - Accessed 8 December 2008
  9. Ecumenical Affairs - Dialogues - Anglican Roman Catholic Paragraph 60 - Accessed 8 December 2008
  10. Luther's Works, American edition, vol. 43, p. 40, ed. H. Lehmann, Fortress, 1968
  11. Gregory Lee Jackson Catholic, Lutheran, Protestant: A Doctrinal Comparison ( 1993 ISBN 9780615166353), p. 249
  12. The Protestant faith by George Wolfgang Forell 1962 ISBN 0800610954 page 23
  13. 'Jesus in history, thought, and culture: an encyclopedia, Volume 1 by James Leslie Houlden 2003 ISBN 1576078566 page
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
แม่พระปฏิสนธินิรมล
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?