For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for นอกรีต.

นอกรีต

กาลิเลโอกาลิลีตัดสินลงโทษคนนอกรีต
การสังหารหมู่ ณ Mérindol ใน ค.ศ. 1545 เป็นการลงโทษพวกนอกรีตทางศาสนาของฝรั่งเศส

นอกรีต (อังกฤษ: heresy) หมายถึง ไม่ประพฤติตามจารีตประเพณี[1] เป็นคำที่ใช้เรียกทรรศนะของผู้อื่นซึ่งขัดแย้งกับทรรศนะของตน[2] ในโลกตะวันตกคริสตจักรโรมันคาทอลิกเริ่มใช้คำนี้เพื่อหมายถึงแนวความเชื่อใด ๆ ที่ขัดแย้งกับคำสอนต้องเชื่อที่คริสตจักรกำหนด ต่อมาคำนี้ถูกใช้ในความหมายที่กว้างขึ้น คือเป็นข้อกล่าวหาที่คนกลุ่มหนึ่งใช้เรียกคนอีกฝ่ายหนึ่งที่มีความเชื่อขัดกับผู้กล่าวหา มักใช้ในกรณีที่มีการละเมิดกฎศาสนาหรือแบบแผนประเพณี ในทางการเมืองนักการเมืองหัวรุนแรงก็อาจใช้คำนี้กล่าวหาฝ่ายตรงข้าม คำนี้ยังมีความหมายโดยนัยถึงพฤติกรรมหรือความเชื่อที่อาจบ่อนทำลายศีลธรรมที่สังคมยอมรับกันอยู่ การนอกรีตต่างจากการละทิ้งความเชื่อซึ่งเป็นการละทิ้งความเชื่อทางศาสนาหรือการเมืองเดิมของตน[3] และต่างจากความผิดฐานเหยียดหยามศาสนา ซึ่งหมายถึงการแสดงออกว่าไม่เคารพพระเป็นเจ้าหรือศาสนา[4] แต่การนอกรีตนั้นรวมถึงการเชื่อในศาสนาแต่ต่างจากรูปแบบที่คนส่วนใหญ่ยอมรับ[5]

ศาสนาพุทธ

[แก้]

ในศาสนาพุทธเรียกความเชื่อนอกรีตว่า ติตถายตนะ[6] หรือ มิจฉาทิฐิ (ทิฏฐิ)

ติตถายตนะ 3 ได้แก่

1. ปุพเพกตวาท คือ ความเชื่อที่ว่าทุกสิ่งที่เกิดขึ้น ไม่ว่าความสุขหรือความทุกข์ ล้วนแต่มาจากผลกรรมที่ทำไว้แต่อดีตชาติ
2. อิสสรนิมมาณเหตุวาท คือ ความเชื่อที่ว่าทุกสิ่งที่เกิดขึ้น ไม่ว่าความสุขหรือความทุกข์ ล้วนแต่มาจากเทวลิขิต เรียกอีกอย่างว่าเทวนิยม
3. อเหตุอปัจจยวาท คือ ความเชื่อที่ว่าทุกสิ่งที่เกิดขึ้น ไม่ว่าความสุขหรือความทุกข์ ล้วนแต่ปราศจากเหตุปัจจัย แต่เกิดขึ้นเอง เป็นไปเอง
มิจฉาทิฐิมี 2 หมวด ได้แก่ ทิฏฐิ 2 และทิฏฐิ 3
ทิฏฐิ 2 ได้แก่
1. สัสสตทิฐิ คือ ความเห็นผิดว่าโลกหรืออัตตาเป็นสิ่งเที่ยงแท้ถาวรอยู่ตลอดไป
2. อุจเฉททิฐิ คือ ความเห็นผิดว่าโลกหรืออัตตาจะพินาศขาดสูญไปตลอด ทางปรัชญาเรียกว่าสุญนิยม
ทิฏฐิ 3 หรือนิยตมิจฉาทิฏฐิ ได้แก่
1. อกิริยทิฏฐิ คือ ความเห็นผิดว่าการกระทำต่าง ๆ ไม่มีผลใด ๆ
2. อเหตุกทิฏฐิ คือ ความเห็นผิดว่าสิ่งทั้งหลาย เช่น สุข ทุกข์ เกิดขึ้นโดยไม่มีสาเหตุ
3. นัตถิกทิฏฐิ คือ ความเห็นผิดว่าชาติหน้าไม่มี มารดาบิดาไม่มีบุญคุณ โอปปาติกะไม่มี เป็นต้น


ศาสนาคริสต์

[แก้]

คาทอลิก

[แก้]

ในโบทก์คาทอลิกการกระทำนอกรึตอย่างตั้งใจนั้นคือการที่คนคนใดคนหนึ่งตัดตนเองทางจิตวิญญาญออกจากโบสถ์ก่อนการที่ตนจะโดนตัดขาดออกจาศาสนา

ในหนังสือโคเด็กจัสติเนียสได้บอกไว้ว่า "ผู้ใดผู้ซึ่งมิได้อุทิตตนต่อโบสถ์คาทอลิกและความเชื่อของเราคือพวกนอกรีต"

โบสถ์คาทอลิกได้จัดการกับผู้ที่เป็นพวกนอกรึตอย่างรุนแรงตลอดมา แต่ในช่วงก่อนศตวรรษที่ 11 กลุ่มคนนอกรึตนั้นส่วนใหญ่จะเป็นแค่นักบวชเพียงคนเดียวหรือในกลุ่มเล็กๆเท่านั้น แต่ภายหลังจากศตวรรษที่ 11 ก็มีกลุ่มคนนอกรึตที่มีการจัดการดีและกล้าแข็งมากขึ้นขึ้นมาหลายกลุ่มในแถบยุโรปตะวันตกอย่างเช่นกลุ่มคาทาร์เป็นต้น

ในฝรั่งเศษกลุ่มคาทาร์นี้ได้เติบใหญ่และเพิ่มพูนกำลังขึ้นมาจนกลายเป็นการเคลื่อนไหวทางสังคมครั้งใหญ่และความเชื่อนอกรึตนี้ก็มีแต่จะแพร่กระจายไปสู่ส่วนอื่นของยุโรป สงครามครูเสดคาทาร์ ได้เริ่มขึ้นมาด้วยเหตุนี้โดยโบสถ์คาทอลิกเพื่อหยุดการเคลื่อนไหวของกลุ่มคาทาร์ในส่วนทางตอนใต้ของฝรั่งเศษ การมีอยู่ของกลุ่มนอกรึตตอนหลังได้กลายมาเป็นสาเหตุที่ทางโบสถ์ได้นำการใช้สำหรับการสอบสวนโดยหน่่วยสอบสวนของทางโบสถ์ และการก่อสงครามทางศาสนาที่เกี่ยวข้องกับการคริสตจักรปฏิรูปโปรเตสแตนท์

อ้างอิง

[แก้]
  1. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ เก็บถาวร 2012-07-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน" ราชบัณฑิตยสถาน
  2. ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ปรัชญา อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 4, 2548, หน้า 42
  3. apostasy. . Cambridge Dictionaries Online
  4. blasphemy. Cambridge Dictionaries Online
  5. heresy. Cambridge Dictionaries Online
  6. พระพรหมคุณาภรณ์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต), พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม, พิมพ์รวมเล่ม 3 ภาคครั้งที่ 16 เป็นอนุสรณ์พระราชทานเพลิงศพพลเรือโท ชอบสิโรดม, 2551, หน้า 371
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
นอกรีต
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?