For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for ฌ็อง ฟูแก.

ฌ็อง ฟูแก

ฌ็อง ฟูแก
ภาพเหมือน ค.ศ. 1450 ซึ่งเป็นภาพเหมือนแบบจุลจิตรกรรมแรกที่สุด และอาจจะเป็นภาพเหมือนภาพแรกๆ ที่ทำขึ้น[1]
เกิดค.ศ. 1420
เสียชีวิตค.ศ. 1481
สัญชาติฝรั่งเศส

ฌ็อง ฟูแก (ฝรั่งเศส: Jean Fouquet) หรือ เฌออ็อง ฟูแก (Jehan Fouquet; ค.ศ. 1420 - ค.ศ. 1481) เป็นจิตรกรคนสำค้ญของฝรั่งเศสของคริสต์ศตวรรษที่ 15 มีความสำคัญทั้งการเขียนภาพบนแผ่นไม้และการเขียนภาพสำหรับ หนังสือวิจิตร (Illuminated manuscript) และเป็นผู้เริ่มการวาดภาพเหมือนแบบจุลจิตรกรรม (Miniature)

ชีวิต

[แก้]

ฌ็อง ฟูแกเกิดที่เมืองตูร์ ประวัติของฟูแกไม่มีให้ทราบมากนักนอกจากว่าได้ไปประเทศอิตาลีราวปี ค.ศ. 1437 และได้เขียนภาพของสมเด็จพระสันตะปาปายูจีนที่ 4 ซึ่งเหลือเพียงงานลอกที่มาทำกันหลังจากนั้น หลังจากที่กลับมาจากอิตาลีฟูแกก็นำอิทธิพลทัสเคนีมาผสมกับแบบฝรั่งเศสของตนเองและลักษณะของยาน แวน เอค ซึ่งกลายมาเป็นฐานของจิตรกรรมฝรั่งเศสสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 15 ฉะนั้นฟูแกจึงถือว่าเป็นผู้ริเริ่มตระกูลศิลปะใหม่ตระกูลหนึ่ง นอกจากนั้นฟูแกก็ยังเป็นจิตรกรประจำราชสำนักของพระเจ้าหลุยส์ที่ 11 แห่งฝรั่งเศสด้วย

งาน

[แก้]
พระแม่มารีและพระบุตรล้อมรอบด้วยเทวดา” (Virgin and Child Surrounded by Angels) เขียนเมื่อปี ค.ศ. 1450

ความสามารถที่เด่นที่สุดของฟูแกคือการวาดภาพในหนังสือวิจิตร ซึ่งทำได้อย่างคมชัดและมีรายละเอียดที่สวยงาม ฟูแกสามารถแสดงภาพที่มีพลังในการแสดงออกในเนื้อทีที่จำกัด ความสำคัญของฟูแกจะเห็นได้จากการรวบรวมงานจากทั่วยุโรปมาจัดงานแสดงภาพเขียนที่หอสมุดแห่งชาติที่ปารีส

งานที่สำคัญที่สุดชิ้นหนื่งของฟูแกคืองานบานพับภาพสอง “เมอเลิง” (Melun) ที่เขียนราวปี ค.ศ. 1450 เดิมตั้งอยู่ภายในมหาวิหารเมลุน ภาพทางปีกซ้ายเป็นภาพของเอเตียน เชอวาลีเย (Étienne Chevalier) และนักบุญสตีเฟนผู้เป็นนักบุญผู้พิทักษ์ (ปัจจุบันอยู่ที่เกอเมลเดอกาเลอรี (Gemäldegalerie) กรุงเบอร์ลิน) ทางปีกขวาเป็นภาพพระแม่มารีและพระบุตรล้อมรอบด้วยเทวดา (ปัจจุบันอยู่ที่ราชพิพิธภัณฑ์ศิลปะแห่งชาติ ที่เมืองแอนต์เวิร์ป ประเทศเบลเยียม) ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 เป็นต้นมาก็เป็นที่ทราบกันว่าพระแม่มารีในรูปเป็นภาพเหมือนของแอ็กเนส ซอเรล (รูป)[2] พิพิธภัณฑ์ลูฟร์เป็นเจ้าของภาพเหมือนของพระเจ้าชาร์ลที่ 7, เคานท์วิลเซค (Wilczek) และ Guillaume Jouvenal des Ursins รวมทั้งภาพเขียนดินสอสี

ภาพเหมือนแบบจุลจิตรกรรมเป็นงานภาพเหมือนภาพแรกของศิลปะยุโรปตะวันตก นอกจากว่าจะนับภาพที่เขียนโดยยาน แวน เอคซึ่งนักประวัติศาสตร์ศิลปะเชื่อกันว่าเป็นภาพแรก

งานส่วนใหญ่ของฟูแกคือการวาดภาพในหนังสือวิจิตร และจุลหนังสือวิจิตร วังชองทิอี (Château de Chantilly) มีงานของฟูแกถึง 40 เล่มจากหนังสือประจำชั่วโมงซึ่งเขียนเมื่อปี ค.ศ. 1461 สำหรับเอเตียน เชอวาลีเย

อ้างอิง

[แก้]
  1. As opposed to ones "inserted" into religious or other scenes. Jan van Eyck painted a self-portrait (National Gallery, London that is widely believed to be a self-portrait and is dated 1433
  2. Snyder, J. (1985). Northern Renaissance art painting, sculpture, the graphic arts from 1350 to 1575. New York: Abrams; p. 247

ดูเพิ่ม

[แก้]

สมุดภาพ

[แก้]
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
ฌ็อง ฟูแก
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?